พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ: ผู้ร้องมีสิทธิเริ่มคดีทั้งแบบมีข้อพิพาทและไม่มีข้อพิพาท หากมีผู้คัดค้าน ศาลต้องดำเนินคดีแบบมีข้อพิพาท
การขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057 นั้นผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งจะฟ้องร้องเป็นคดีมีข้อพิพาทก็ได้ หรือจะเริ่มต้นด้วยการร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทก็ได้และในกรณีหลังนี้หากมีหุ้นส่วนอื่นไม่เห็นพ้องด้วย ย่อมมี สิทธิร้องคัดค้านเข้ามาเกี่ยวข้อง ในคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188 และศาลต้องดำเนินคดีต่อไปอย่างคดีมีข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนไม่ปรองดอง พิพาททางอาญา เป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ได้
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีผู้เป็นหุ้นส่วนสองคน คือโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ยักยอกทรัพย์ ของห้างหุ้นส่วน และจำเลยที่ 2 กล่าวหาว่าโจทก์ลักทรัพย์ของห้างหุ้นส่วน จนโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างถูกพนักงานอัยการฟ้องคดีอาญาในความผิดที่ต่างฝ่ายต่างกล่าวหาซึ่งกันและกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ปรองดองกัน ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน จึง เป็นกรณีที่มีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรง คงอยู่ต่อไปได้ ศาลย่อมพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนขัดแย้งรุนแรงถึงขั้นฟ้องร้องอาญา ย่อมเป็นเหตุให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนได้
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีผู้เป็นหุ้นส่วนสองคน คือโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ยักยอกทรัพย์ ของห้างหุ้นส่วน และจำเลยที่ 2 กล่าวหาว่าโจทก์ลักทรัพย์ของห้างหุ้นส่วน จนโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างถูกพนักงานอัยการฟ้องคดีอาญาในความผิดที่ต่างฝ่ายต่างกล่าวหาซึ่งกันและกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ปรองดองกันไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน จึง เป็นกรณีที่มีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรง คงอยู่ต่อไปได้ ศาลย่อมพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องแย้ง: ประเด็นเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม vs. ประเด็นอื่นนอกเหนือ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 และจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนในระหว่างที่จำเลยร่วมกันดำเนินกิจการของโจทก์ที่1 แทนโจทก์ที่ 2 ได้จำหน่ายรถไถและอุปกรณ์รถไถของโจทก์ที่ 1 แล้วไม่นำเงินส่งให้โจทก์ที่1 กับเอาตราและเอกสารของโจทก์ที่ 1 ไปด้วย ขอให้จำเลยชำระเงินค่าสินค้าที่จำหน่ายไป กับให้ส่งมอบตราและเอกสารแก่โจทก์จำเลยที่ 4 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและลูกจ้างของโจทก์ที่ 1 ได้รับรถไถของจำเลยที่ 4 ไปจำหน่ายแล้วไม่นำเงินส่งมอบแก่โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 4 ตามข้อตกลง ทั้งยังได้นำเงินของโจทก์ที่ 1 ไปใช้จ่ายเป็นส่วนตัวอีกด้วยขอให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 4 กับให้โจทก์ที่ 3 ซึ่งเข้ามาช่วยโจทก์ที่ 2 ดำเนินการห้างฯ โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิดด้วย และให้โจทก์ที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้างฯ โจทก์ที่ 1 และชำระบัญชีดังนี้ ฟ้องแย้งในเรื่องที่เกี่ยวกับรถไถเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ส่วนฟ้องแย้งที่อ้างว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 นำเงินของโจทก์ที่ 1 ไปใช้จ่ายเป็นส่วนตัวกับให้โจทก์ที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้างฯ โจทก์ที่ 1 และชำระบัญชีนั้น เป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมต้องห้ามมิให้ฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตฟ้องแย้ง: ประเด็นเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิมต้องรับไว้พิจารณา แต่ประเด็นอื่นที่ไม่เกี่ยวเนื่องต้องห้าม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้าง ฯ โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 และจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วน ในระหว่างที่จำเลยร่วมกันดำเนินกิจการของโจทก์ 1 แทนโจทก์ที่ 2 ได้จำหน่ายรถไถและอุปกรณ์รถไถของโจทก์ที่ 1 แล้วไม่นำเงินส่งให้โจทก์ที่ 1 กับเอาตราและเอกสารของโจทก์ที่ 1 ไปด้วย ขอให้จำเลยชำระเงินค่าสินค้าที่จำหน่ายไป กับให้ส่งมอบตราและเอกสารแก่โจทก์ จำเลยที่ 4 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและลูกจ้างของโจทก์ที่ 1 ได้รับรถไถของจำเลยที่ 4 ไปจำหน่ายแล้วไม่นำเงินส่งมอบแก่โจทก์ 1 และจำเลยที่ 4 ตามข้อตกลง ทั้งยังได้นำเงินของโจทก์ที่ 1 ไปใช้จ่ายเป็นส่วนตัวอีกด้วย ขอให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 4 กับให้โจทก์ที่ 3 ซึ่งเข้ามาช่วยโจทก์ที่ 2 ดำเนินการห้าง ฯ โจทก์ที่ร่วมรับผิดด้วย และให้โจทก์ที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้าง ฯ โจทก์ที่ 1 และชำระบัญชี ดังนี้ ฟ้องแย้งในเรื่องที่เกี่ยวกับรถไถเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ส่วนฟ้องแย้งที่อ้างว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 นำเงินของโจทก์ที่ 1 ไปใช้จ่ายเป็นส่วนตัว กับให้โจทก์ที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้างฯ โจทก์ที่ 1และชำระบัญชีนั้น เป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ต้องห้ามมิให้ฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3850/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนร่วมก่อสร้าง สัญญาเดิมยังไม่เลิก โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากหุ้นส่วนก่อนเลิกสัญญา
คดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองหาว่าร่วมกันฉีกสัญญาก่อสร้างทิ้ง ขอให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ ศาลมีคำสั่งไม่ประทับฟ้องจำเลยที่ 1 ครั้นพิจารณาแล้วลงโทษจำเลยที่ 2 ดังนี้โจทก์มาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งข้อเท็จจริงในคดีอาญาคงผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 2 ไม่ผูกพันถึงจำเลยที่ 1 ด้วย ศาลในคดีแพ่งจึงฟังว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 2 ในการที่จำเลยที่ 2 ฉีกสัญญาอันเป็นการร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ได้
โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันทำการก่อสร้างตึกแถวยกกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของที่ดินการที่จำเลยที่ 2 ฉีกสัญญาก่อสร้างที่โจทก์และจำเลยที่2 ทำไว้ต่อจำเลยที่ 1 ไม่เป็นเหตุให้สัญญาก่อสร้างระงับส่วนการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาก่อสร้างฉบับใหม่กับจำเลยที่ 1 ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำในนามของหุ้นส่วนเดิม เท่ากับทำแทนโจทก์นั่นเอง โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกเงินที่โจทก์นำมาลงหุ้น รวมทั้งผลกำไรจากการที่โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนกัน จึงฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ และกรณีเกี่ยวกับจำเลยที่ 2นั้น โจทก์ชอบที่จะจัดการให้มีการเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055 ถึง 1063เสียก่อน เมื่อโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันทำการก่อสร้างตึกแถวยกกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของที่ดินการที่จำเลยที่ 2 ฉีกสัญญาก่อสร้างที่โจทก์และจำเลยที่2 ทำไว้ต่อจำเลยที่ 1 ไม่เป็นเหตุให้สัญญาก่อสร้างระงับส่วนการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาก่อสร้างฉบับใหม่กับจำเลยที่ 1 ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำในนามของหุ้นส่วนเดิม เท่ากับทำแทนโจทก์นั่นเอง โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกเงินที่โจทก์นำมาลงหุ้น รวมทั้งผลกำไรจากการที่โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนกัน จึงฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ และกรณีเกี่ยวกับจำเลยที่ 2นั้น โจทก์ชอบที่จะจัดการให้มีการเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055 ถึง 1063เสียก่อน เมื่อโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3850/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนลงทุนก่อสร้าง: การเลิกสัญญา, การทำสัญญาใหม่, และอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย
คดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองหาว่าร่วมกันฉีกสัญญาก่อสร้างทิ้ง ขอให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ ศาลมีคำสั่งไม่ประทับฟ้องจำเลยที่ 1 ครั้นพิจารณาแล้วลงโทษจำเลยที่ 2 ดังนี้ โจทก์มาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่ง ข้อเท็จจริงในคดีอาญาคงผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 2 ไม่ผูกพันถึงจำเลยที่ 1 ด้วย ศาลในคดีแพ่งจึงฟังว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 2 ในการที่จำเลยที่ 2 ฉีกสัญญาอันเป็นการร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ได้
โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันทำการก่อสร้างตึกแถวยกกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน การที่จำเลยที่ 2 ฉีกสัญญาก่อสร้างที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อจำเลยที่ 1 ไม่เป็นเหตุให้สัญญาก่อสร้างระงับส่วนการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาก่อสร้างฉบับใหม่กับจำเลยที่ 1 ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำในนามของหุ้นส่วนเดิม เท่ากับทำแทนโจทก์นั่นเอง โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกเงินที่โจทก์นำมาลงหุ้น รวมทั้งผลกำไรจากการที่โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนกัน จึงฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ และกรณีเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 นั้น โจทก์ชอบที่จะจัดการให้มีการเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1055 ถึง 1063เสียก่อน เมื่อโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันทำการก่อสร้างตึกแถวยกกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน การที่จำเลยที่ 2 ฉีกสัญญาก่อสร้างที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อจำเลยที่ 1 ไม่เป็นเหตุให้สัญญาก่อสร้างระงับส่วนการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาก่อสร้างฉบับใหม่กับจำเลยที่ 1 ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำในนามของหุ้นส่วนเดิม เท่ากับทำแทนโจทก์นั่นเอง โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกเงินที่โจทก์นำมาลงหุ้น รวมทั้งผลกำไรจากการที่โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนกัน จึงฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ และกรณีเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 นั้น โจทก์ชอบที่จะจัดการให้มีการเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1055 ถึง 1063เสียก่อน เมื่อโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนตัวจากหุ้นส่วนและการไม่มีอำนาจฟ้องคดีเลิกห้าง
เมื่อโจทก์มิได้เป็นหุ้นส่วนเพราะได้ตกลงถอนตัวจากการเป็นหุ้นส่วนในห้างพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิมาฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและขอชำระบัญชีในห้างพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนตัวจากหุ้นส่วน: สิทธิในการฟ้องเลิกห้างหุ้นส่วนและการผูกพันตามคำพิพากษา
เมื่อโจทก์มิได้เป็นหุ้นส่วนเพราะได้ตกลงถอนตัวจากการเป็นหุ้นส่วนในห้างพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิมาฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและขอชำระบัญชีในห้างพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของหุ้นส่วนผู้จัดการและการมีสิทธิฟ้องขอเลิกห้างหุ้นส่วน
ก. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยมิได้นำรถยนต์ที่ ผู้เป็นหุ้นส่วนนำมาลงหุ้นไปจดทะเบียนโอนเป็นทรัพย์สินของจำเลย ปล่อยให้ซ่อมแซมรักษาและเก็บผลประโยชน์กันเอง จัดทำบัญชีค่าใช้จ่าย ของจำเลยว่ามีค่าซ่อมรถยนต์ค่าซื้ออะไหล่ ค่าน้ำมัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะจำเลยไม่มีรถยนต์เป็นของตนเอง เอาใบเสร็จค่าน้ำมันรถยนต์ ของตนมาลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายของจำเลย และใบเสร็จรับเงินถูกแก้ไขจำนวนเงินและราคาให้สูงกว่าความเป็นจริง ถือได้ว่า ก. ปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบส่อไปในทางทุจริต เป็นการละเมิดข้อบังคับของจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจึงมีสิทธิฟ้องขอให้เลิกห้างจำเลยได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(1) และ มาตรา 1080