คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1062

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน: การเลิกห้างและการมีอำนาจฟ้องหลังยังมิได้ชำระบัญชี
โจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ตกลงร่วมกันทำการค้าโดยโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ออกทุนด้วยเงินสด จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4เป็นผู้ลงทุนด้วยแรงงานคือเป็นผู้ดำเนินกิจการค้า จึงมีลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญโดยไม่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1025 และมาตรา 1026 แม้จะเรียกข้อตกลงนั้นว่าเป็นสัญญาร่วมค้าขายก็หาทำให้มิใช่เป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ เมื่อโจทก์ทั้งสองเลิกการเป็นหุ้นส่วนโดยยังไม่ได้จัดให้มีการชำระบัญชีก่อนตามมาตรา 1061 วรรคหนึ่ง ด้วยวิธีการดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1062 เพียงแต่ทำการเคลียร์บัญชีแล้วพบว่าจำเลยที่ 1ถึงที่ 4 ต้องคืนทุนและกำไรบางส่วนให้โจทก์ทั้งสองเท่านั้นโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3671/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญและการบังคับคดี: ทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนตัวของหุ้นส่วน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญแสดงบัญชีกำไรขาดทุนและให้นำเงินค่าเช่ามาแบ่งสรรให้หุ้นส่วนทั้งหลายตามสัดส่วน เมื่อเงินดังกล่าวเป็นรายรับหรือทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนอยู่ด้วย จำเลยย่อมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากเงินจำนวนดังกล่าวตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย โจทก์จะกล่าวอ้างในชั้นบังคับคดีว่าเงินดังกล่าวไม่เกี่ยวกับกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญเพื่อนำยึดทรัพย์สินของจำเลยมาขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนสามัญ พ.เลิกกัน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1057 (3) และให้โจทก์ จำเลย และผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดช่วยกันจัดทำหรือให้บุคคลอื่นซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่งตั้งขึ้นเป็นผู้จัดทำและชำระบัญชีโดยลำดับตามกฎหมาย กรณีจึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีตามมาตรา 1061 และเป็นหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับหนี้สินและทรัพย์สินของห้างดังกล่าวต่อไปตามป.พ.พ.มาตรา 1062 และ 1063 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงไม่อาจขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยมาขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งสรรให้หุ้นส่วนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ กรณีถือได้ว่าการบังคับคดีส่วนนี้ไม่เปิดช่องให้ทำได้โดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยเพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานมาตามหน้าที่ เมื่อไม่เกี่ยวกับจำเลย ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ จึงชอบแล้ว แม้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3671/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหลังเลิกห้างหุ้นส่วน: การชำระบัญชีทรัพย์สินและขอบเขตการยึดทรัพย์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญแสดงบัญชีกำไรขาดทุนและให้นำเงินค่าเช่ามาแบ่งสรร ให้หุ้นส่วนทั้งหลายตามสัดส่วน เมื่อเงินดังกล่าวเป็นรายรับทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนอยู่ด้วย จำเลยย่อมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากเงินจำนวนดังกล่าวตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย โจทก์จะกล่าวอ้างในชั้นบังคับคดีว่าเงินดังกล่าวไม่เกี่ยวกับกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญเพื่อนำยึดทรัพย์สินของจำเลยมาขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาหาได้ไม่ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนสามัญพ.เลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(3)และให้โจทก์ จำเลย และผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดช่วยกันจัดทำหรือให้บุคคลอื่นซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่งตั้งขึ้นเป็นผู้จัดทำ และชำระบัญชีโดยลำดับตามกฎหมาย กรณีจึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีตามมาตรา 1061 และเป็นหน้าที่ของ ผู้ชำระบัญชีที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับหนี้สินและทรัพย์สิน ของห้างดังกล่าวต่อไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1062 และ 1063 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงไม่อาจขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยมาขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งสรร ให้หุ้นส่วนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้กรณีถือได้ว่าการบังคับคดีส่วนนี้ไม่เปิดช่องให้ทำได้โดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดทรัพย์ของจำเลย เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานมาตามหน้าที่เมื่อไม่เกี่ยวกับจำเลย ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ จึงชอบแล้วแม้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินห้างหุ้นส่วนเมื่อเลิกกิจการ โดยไม่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชี
เมื่อทางไต่สวนได้ความว่า ห้างหุ้นส่วนที่ผู้ร้องกับนายสุวัฒน์เข้าหุ้นส่วนกันไม่มีเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกเงินทดรองและค่าใช้จ่ายของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง สินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนมีแต่เงินฝากอยู่ในบัญชีกระแสรายวัน และบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น การที่จะรื้อฟื้นให้พิจารณาเรื่องบัญชีของห้างหุ้นส่วนต่อไปก็คงไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้น จึงเห็นสมควรพิพากษาไปทีเดียว ให้แบ่งเงินทุนและผลกำไรโดยไม่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีก่อนได้
ป.พ.พ. มาตรา 1027 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิ่งที่นำมาลงหุ้นด้วยกันมีค่าเท่ากัน ดังนั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันก็ต้องเฉลี่ยแจกกำไรและทรัพย์สินที่มีอยู่ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1062 ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับกึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินห้างหุ้นส่วนสามัญเมื่อเลิกกิจการ โดยไม่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชี
เมื่อทางไต่สวนได้ความว่า ห้างหุ้นส่วนที่ผู้ร้องกับนายสุวัฒน์เข้าหุ้นส่วนกันไม่มีเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกเงินทดรองและค่าใช้จ่ายของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้างสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนมีแต่เงินฝากอยู่ในบัญชีกระแสรายวันและบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น การที่จะรื้อฟื้นให้พิจารณาเรื่องบัญชีของห้างหุ้นส่วนต่อไปก็คงไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นจึงเห็นสมควรพิพากษาไปทีเดียว ให้แบ่งเงินทุนและผลกำไรโดยไม่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีก่อนได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1027 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิ่งที่นำมาลงหุ้นด้วยกันมีค่าเท่ากัน ดังนั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันก็ต้องเฉลี่ยแจกกำไรและทรัพย์สินที่มีอยู่ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1062 ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับกึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2529 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนแบ่งเงินได้เสรี เงินที่แบ่งแล้วไม่ต้องส่งมอบให้ผู้ชำระบัญชี
ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ย่อมตกลงกันให้แบ่งเงินของห้างหุ้นส่วนเมื่อใดก็ได้ ทำนองเดียวกับเจ้าของรวมตกลงแบ่งทรัพย์กันนั่นเอง
จำเลยรับเงินส่วนแบ่งจำนวนหนึ่งมาจากศาลตามที่ศาลฎีกาพิพากษาให้แบ่งเงินค่าสินค้าของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์ที่ 1 กับจำเลยผู้เป็นหุ้นส่วนโดยห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันแล้วและอยู่ในระหว่างที่มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนอยู่ เงินส่วนที่แบ่งให้จำเลยก็ตกเป็นของจำเลย ผู้ชำระบัญชีหามีอำนาจที่จะเรียกร้องหรือเข้าเก็บรักษาเงินจำนวนนี้ โดยอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1259 ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนแบ่งทรัพย์ได้เสรีเมื่อเลิกห้าง ผู้ชำระบัญชีไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินส่วนแบ่ง
ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนย่อมตกลงกันให้แบ่งเงินของห้างหุ้นส่วนเมื่อใดก็ได้ทำนองเดียวกับเจ้าของรวมตกลงแบ่งทรัพย์กันนั่นเอง จำเลยรับเงินส่วนแบ่งจำนวนหนึ่งมาจากศาลตามที่ศาลฎีกาพิพากษาให้แบ่งเงินค่าสินค้าของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์ที่1กับจำเลยผู้เป็นหุ้นส่วนโดยห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันแล้วและอยู่ในระหว่างที่มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนอยู่เงินส่วนที่แบ่งให้จำเลยก็ตกเป็นของจำเลยผู้ชำระบัญชีหามีอำนาจที่จะเรียกร้องหรือเข้าเก็บรักษาเงินจำนวนนี้โดยอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1259ได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญแบ่งเงินได้เองเมื่อใดก็ได้ เงินที่แบ่งแล้วไม่เป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วน
ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนย่อมตกลงกันให้แบ่งเงินของห้างหุ้นส่วนเมื่อใดก็ได้ทำนองเดียวกับเจ้าของรวมตกลงแบ่งทรัพย์กันนั่นเอง จำเลยรับเงินส่วนแบ่งจำนวนหนึ่งมาจากศาลตามที่ศาลฎีกาพิพากษาให้แบ่งเงินค่าสินค้าของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์ที่1กับจำเลยผู้เป็นหุ้นส่วนโดยห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันแล้วและอยู่ในระหว่างที่มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนอยู่เงินส่วนที่แบ่งให้จำเลยก็ตกเป็นของจำเลยผู้ชำระบัญชีหามีอำนาจที่จะเรียกร้องหรือเข้าเก็บรักษาเงินจำนวนนี้โดยอ้างป.พ.พ.มาตรา1259ได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนแบ่งเงินได้เสรีหลังเลิกห้าง ผู้ชำระบัญชีไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ย่อมตกลงกันให้แบ่งเงินของห้างหุ้นส่วนเมื่อใดก็ได้ ทำนองเดียวกับเจ้าของรวมตกลงแบ่งทรัพย์กันนั่นเอง
จำเลยรับเงินส่วนแบ่งจำนวนหนึ่งมาจากศาลตามที่ศาลฎีกาพิพากษาให้แบ่งเงินค่าสินค้าของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์ที่ 1 กับจำเลยผู้เป็นหุ้นส่วนโดยห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันแล้วและอยู่ในระหว่างที่มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนอยู่ เงินส่วนที่แบ่งให้จำเลยก็ตกเป็นของจำเลย ผู้ชำระบัญชีหามีอำนาจที่จะเรียกร้องหรือเข้าเก็บรักษาเงินจำนวนนี้ โดยอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1259 ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2635/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการโอนที่ดินพร้อมไถ่ถอนจำนองหลังชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนไม่ตกเป็นโมฆะ แม้มีปัญหาการชำระหนี้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับห้าง อ.แต่บันทึกดังกล่าวสูญหายไป โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบถึงข้อตกลงดังกล่าวได้โดยได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2)หาใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันเป็น การขัดต่อมาตรา 94 ไม่
ข้อตกลงที่ว่าเมื่อห้าง อ. เลิกกิจการและชำระบัญชีแล้ว หากสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ ก็ให้โจทก์ออกเงิน 50,000 บาทและห้าง อ.จะโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์โดยปลอดจำนองนั้น ห้าง อ. จะมีเงินพอไถ่ถอนจำนองหรือไม่เป็นเรื่องภายหน้า มิใช่เหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะทำนิติกรรม ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยหาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่และข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นข้อตกลงในการชำระบัญชีแต่เป็นข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนซึ่งมีผลบังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1062 และมาตรา 1269 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ตกเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องให้มีการชำระหนี้ตามข้อตกลงในการเข้าเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับห้าง อ. ซึ่งโจทก์จะต้องชำระเงินให้แก่ห้างและห้างจะต้องจดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง เมื่อคำฟ้องบรรยายไว้ชัดแจ้งแล้ว แม้คำขอท้ายฟ้องจะขาดคำว่าโดยปลอดจำนองไป ก็พอแปลได้ว่าโจทก์ประสงค์จะให้จดทะเบียนโอนที่พิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้ได้ไม่เป็นการเกินคำขอและไม่เป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพราะห้าง อ. จะต้องไถ่ถอนจำนองก่อนจดทะเบียนโอน
of 4