คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1713.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388-389/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นทายาทเพื่อขอเป็นผู้จัดการมรดก และการวินิจฉัยความถูกต้องของพินัยกรรม
จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ล. ผู้ตาย โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุตรของ ล. โจทก์ค้านว่าจำเลยไม่ใช่บุตรของ ล. ปัญหาว่าจำเลยเป็นบุตรของล.หรือไม่จึงเป็นประเด็นโดยตรงและสำคัญแห่งคดี ซึ่งศาลจำเป็นต้องวินิจฉัยชี้ขาด หาใช่เป็นเรื่องที่จะให้ไปฟ้องร้องกันอีกคดีหนึ่งไม่ เพราะถ้าคดีฟังได้ว่าจำเลยไม่ใช่บุตรของ ล. ก็ย่อมไม่ใช่ทายาท ไม่มีอำนาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก คำร้องของจำเลยต้องยกเสียถ้าหากคดีฟังได้ในทางตรงข้าม คือฟังว่าจำเลยเป็นบุตร ล. จำเลยก็เป็นทายาทในลำดับผู้สืบสันดาน ส.ซึ่งเป็นโจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะผู้รับมรดกแทนที่ บ. ซึ่งเป็นทายาทในลำดับน้องร่วมบิดาเดียวกับ ล. ผู้ตาย
ส.ซึ่งเป็นโจทก์เป็นผู้รับมรดกแทนที่ บ.ซึ่งเป็นทายาทในลำดับเดียวกับจำเลย ส.ย่อมมีสิทธิรับมรดกและร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้เท่าเทียมกับจำเลย
โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่าโจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมทรัพย์บางอย่าง ฝ่ายจำเลยคัดค้านว่าพินัยกรรมปลอม. จึงต้องวินิจฉัยปัญหาว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ถ้าฟังได้ว่าพินัยกรรมไม่ปลอม โจทก์ก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่ระบุในพินัยกรรมย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ ถ้าฟังได้ว่าพินัยกรรมปลอม คำร้องของโจทก์ก็ต้องยก เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยชอบธรรมและในฐานะผู้รับพินัยกรรม
คดีของโจทก์เป็นเรื่องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก โดยโจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นผู้รับพินัยกรรม เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 50 บาทเท่านั้น โจทก์หาได้เรียกร้องเอาทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมมาด้วยไม่จึงไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์ ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์ในพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาข้อคัดค้านการตั้งผู้จัดการมฤดก และการปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ในเรื่องร้องขอเป็นผู้จัดมฤดก แม้ผู้คัดค้านไม่มีอำนาจศาลย่อมระลึกถึงข้องที่ผู้ร้องเรียกตลอดจนการเรียกพะยานเพื่อประกอบการพิจารณาได้
คำพิพากษาตามปกติย่อมเข้าใจว่า เป็นคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นหมดการพิจารณาสำหรับคดีนั้น ถ้ายังไม่ยุตติการพิจารณาคดีนี้ ก็ชอบที่จะใช้เป็นคำสั่งซึ่งในทางปฏิบัติเรียกว่าคำสั่งระหว่างพิจารณา
(ม.226 ป.ม.วิ.แพ่ง)
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ดำเนินคดีไปอย่างคดีมีข้อพิพาท ศาลชั้นต้นจะพิพากษาหรือสั่งว่าผู้คัดค้านไม่มีสิทธิเป็นคู่ความไม่ได้ เพราะขัดต่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการพิจารณาไปอย่างคดีมีข้อพิพาท