คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 800

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 116 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6630/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้รับมอบอำนาจให้การแทนจำเลยในคดีแรงงาน และการวินิจฉัยคดีโดยไม่มีข้อเท็จจริงสนับสนุน
ใบมอบอำนาจที่จำเลยยื่นต่อศาลแรงงานได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าป. ผู้มีอำนาจลงนามแทนจำเลยมอบอำนาจให้ ย.เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยเกี่ยวกับการพิจารณาและการสืบพยานโจทก์ที่ศาลแรงงาน เมื่อคำให้การเป็นกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งและเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (8)ย.จึงมีอำนาจให้การด้วยวาจากต่อศาลแรงงานได้
การห้ามมิให้ว่าความอย่างทนายความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60หมายถึงห้ามมิให้ผู้รับมอบอำนาจซักถามพยานในศาลอย่างทนายความเท่านั้น แต่มิได้ห้ามมิให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นต่อศาล
การยื่นคำให้การหรือการให้การด้วยวาจาต่อศาลแรงงาน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่มิใช่เป็นการว่าความอย่างทนายความ ย.ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยจึงมีอำนาจให้การด้วยวาจาต่อศาลแทนจำเลยได้ และเมื่อเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่อยู่ในขอบอำนาจที่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลย ศาลแรงงานจึงรับคำให้การด้วยวาจาของ ย.ไว้พิจารณาได้
จำเลยให้การด้วยวาจา ศาลแรงงานได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยได้ค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ และจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยยังไม่ได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องจริง แต่ตามคำให้การที่ศาลบันทึกไว้ดังกล่าว จำเลยมิได้ยอมรับว่าเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด กรณีจะถือว่าจำเลยไม่ได้ให้การโดยแจ้งชัดว่าปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด และจะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง มาใช้อย่างเคร่งครัดในกรณีเช่นนี้ไม่ได้ เพราะศาลแรงงานเป็นผู้บันทึกคำให้การจำเลยไว้เอง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติไม่ได้ว่า จำเลยยอมรับว่าเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามคำฟ้อง การที่ศาลแรงงานสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการวินิจฉัยโดยไม่มีข้อเท็จจริงดังกล่าวในสำนวน เป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
คดีแรงงานเป็นคดีมีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้ด้วยความเข้าใจอันดีต่อกันดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้ไกล่เกลี่ยให้โจทก์จำเลยได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกัน ศาลฎีกาจึงให้ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่การไกล่เกลี่ยโจทก์จำเลยตามมาตรา 38 เป็นต้นไปแล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6630/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแรงงาน & การวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ไม่ชัดเจน
ใบมอบอำนาจที่จำเลยยื่นต่อศาลแรงงานได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า ป. ผู้มีอำนาจลงนามแทนจำเลยมอบอำนาจให้ ย. เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยเกี่ยวกับการพิจารณาและการสืบพยานโจทก์ที่ศาลแรงงาน เมื่อคำให้การเป็นกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งและเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(8) ย. จึงมีอำนาจให้การด้วยวาจาต่อศาลแรงงานได้
การห้ามมิให้ว่าความอย่างทนายความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 หมายถึงห้ามมิให้ผู้รับมอบอำนาจซักถามพยานในศาลอย่างทนายความเท่านั้น แต่มิได้ห้ามมิให้รับมอบอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นต่อศาล
การยื่นคำให้การหรือการให้การด้วยวาจาต่อศาลแรงงาน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่มิใช่เป็นการว่าความอย่างทนายความ ย. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยจึงมีอำนาจให้การด้วยวาจาต่อศาลแทนจำเลยได้ และเมื่อเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่อยู่ในขอบอำนาจที่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลย ศาลแรงงานจึงรับคำให้การด้วยวาจาของ ย. ไว้พิจารณาได้
จำเลยให้การด้วยวาจา ศาลแรงงานได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยได้ค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ และจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยยังไม่ได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องจริง แต่ตามคำให้การที่ศาลบันทึกไว้ดังกล่าว จำเลยมิได้ยอมรับว่าเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด กรณีจะถือว่าจำเลยไม่ได้ให้การโดยแจ้งชัดว่าปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด และจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง มาใช้อย่างเคร่งครัดในกรณีเช่นนี้ไม่ได้ เพราะศาลแรงงานเป็นผู้บันทึกคำให้การจำเลยไว้เอง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติไม่ได้ว่า จำเลยยอมรับว่าเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามคำฟ้อง การที่ศาลแรงงานสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการวินิจฉัยโดยไม่มีข้อเท็จจริงดังกล่าวในสำนวน เป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
คดีแรงงานเป็นคดีมีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้ด้วยความเข้าใจอันดีต่อกันดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้ไกล่เกลี่ยให้โจทก์จำเลยได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกัน ศาลฎีกาจึงให้ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่การไกล่เกลี่ยโจทก์จำเลยตามมาตรา 38 เป็นต้นไป แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5011/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนโรงงานแปรรูปไม้: ความรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีและการดูแลกิจการตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
ความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดที่ไม่จัดทำบัญชีรับและจำหน่ายไม้แปรรูป บัญชีรับและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามให้ถูกต้องตามความจริงอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 58 ประกอบด้วยมาตรา 73 ทวิ เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษสำหรับผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับใบอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้าม จำเลยเป็นเพียงตัวแทนดูแลกิจการโรงงานแปรรูปไม้ที่เกิดขึ้นของผู้รับอนุญาต จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับใบอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามประการหนึ่ง กับเมื่อผู้รับอนุญาตซึ่งเป็นตัวการได้มอบอำนาจให้จำเลยตัวแทนมีอำนาจเฉพาะสั่งให้คนงานหรือผู้รับจ้างหยุดทำการแปรรูปไม้ หยุดขนหรือเคลื่อนย้ายไม้เมื่อได้รับคำสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ อำนวยความสะดวก ตอบข้อซักถาม และรับทราบคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจสอบกิจการที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ลงนามในหนังสือกำกับไม้แปรรูปและลงนามในคำขอใบเบิกทางเพื่อขอนำไม้เคลื่อนที่ และลงนามในหนังสือกำกับสิ่งประดิษฐ์และลงนามในคำขอประทับรอยตราประจำต่อหนังสือกำกับสิ่งประดิษฐ์ติดต่อเจ้าหน้าที่ป่าไม้กับโรงงานแปรรูปไม้ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือตั้งตัวแทนเท่านั้นอันมีลักษณะเป็นกรณีที่จำเลยตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีรับและจำหน่ายไม้แปรรูป บัญชีรับและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดดังนี้ แม้จำเลยไม่ได้จัดทำบัญชีดังกล่าว จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดอันเป็นความผิดตามมาตรา 58 ประกอบด้วยมาตรา 73 ทวิ และตามข้อกำหนดฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2532) ออกตามความในพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ว่าด้วยการควบคุมการแปรรูปไม้ ข้อ 14 ระบุว่า ผู้รับอนุญาตต้องอยู่ดูแลกิจการแปรรูปไม้ด้วยตนเอง หากไม่อาจอยู่ดูแลกิจการด้วยตนเองได้ต้องจัดให้มีตัวแทนเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนด เพื่ออำนวยความสะดวกและตอบคำถามแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ และวรรคสามระบุว่า หากฝ่าฝืนให้สั่งพักใช้ใบอนุญาต ตามข้อกำหนดดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่อาจอยู่ดูแลกิจการแปรรูปไม้ด้วยตนเองได้ ต้องจัดให้มีตัวแทนเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบคำถามแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หากผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนไม่จัดให้มีตัวแทนเพื่อการดังกล่าวไว้ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งพักใช้ใบอนุญาตของผู้รับอนุญาตได้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5011/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนโรงงานแปรรูปไม้ไม่มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามกฎหมาย ผู้รับอนุญาตต่างหากที่มีหน้าที่
ความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดที่ไม่จัดทำบัญชีรับและจำหน่ายไม้แปรรูป บัญชีรับและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามให้ถูกต้องตามความจริงอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 58 ประกอบด้วยมาตรา 73 ทวิ เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษสำหรับผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับใบอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้าม จำเลยเป็นเพียงตัวแทนดูแลกิจการโรงงานแปรรูปไม้ที่เกิดขึ้นของผู้รับอนุญาต จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับใบอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามประการหนึ่ง กับเมื่อผู้รับอนุญาตซึ่งเป็นตัวการได้มอบอำนาจให้จำเลยตัวแทนมีอำนาจเฉพาะสั่งให้คนงานหรือผู้รับจ้างหยุดทำการแปรรูปไม้หยุดขนหรือเคลื่อนย้ายไม้เมื่อได้รับคำสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ อำนวยความสะดวก ตอบข้อซักถาม และรับทราบคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจสอบกิจการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ลงนามในหนังสือกำกับไม้แปรรูปและลงนามในคำขอใบเบิกทางเพื่อขอนำไม้เคลื่อนที่ และลงนามในหนังสือกำกับสิ่งประดิษฐ์และลงนามในคำขอประทับรอยตราประจำต่อหนังสือกำกับสิ่งประดิษฐ์ติดต่อเจ้าหน้าที่ป่าไม้กับโรงงานแปรรูปไม้ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือตั้งตัวแทนเท่านั้น อันมีลักษณะเป็นกรณีที่จำเลยตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีรับและจำหน่ายไม้แปรรูป บัญชีรับและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดดังนี้ แม้จำเลยไม่ได้จัดทำบัญชีดังกล่าว จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดอันเป็นความผิดตามมาตรา 58ประกอบด้วยมาตรา 73 ทวิ และตามข้อกำหนดฉบับที่ 18(พ.ศ.2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ว่าด้วยการควบคุมการแปรรูปไม้ ข้อ 14 ระบุว่า ผู้รับอนุญาตต้องอยู่ดูแลกิจการแปรรูปไม้ด้วยตนเอง หากไม่อาจอยู่ดูแลกิจการด้วยตนเองได้ต้องจัดให้มีตัวแทนเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนด เพื่ออำนวยความสะดวกและตอบคำถามแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ และวรรคสามระบุว่า หากฝ่าฝืนให้สั่งพักใช้ใบอนุญาต ตามข้อกำหนดดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่อาจอยู่ดูแลกิจการแปรรูปไม้ด้วยตนเองได้ ต้องจัดให้มีตัวแทนเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบคำถามแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หากผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนไม่จัดให้มีตัวแทนเพื่อการดังกล่าวไว้ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งพักใช้ใบอนุญาตของผู้รับอนุญาตได้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ & การยอมความ: สิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ แม้มีการตกลงชดใช้ค่าเสียหาย
ตามหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ ผู้เสียหายระบุให้จ. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่งต่อพนักงานสอบสวนในเหตุความผิดทั้งหลายซึ่งได้มีผู้กระทำขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายย่อมเป็นการมอบอำนาจโดยชัดแจ้งให้ จ. ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว บันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยยอมตกลงโอนสิทธิ และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ให้แก่ผู้เสียหายภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมีผลผูกพันกันเฉพาะทางแพ่งเมื่อไม่มีข้อความตอนใดเลยที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความ ทางอาญาโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้อง ของผู้เสียหายจึงไม่ระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจดำเนินคดีอาญา & การตกลงชดใช้ค่าเสียหาย ไม่ถือเป็นการยอมความ
ตามหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ ผู้เสียหายระบุให้ จ.เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่งต่อพนักงานสอบสวนในเหตุความผิดทั้งหลายซึ่งได้มีผู้กระทำขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายย่อมเป็นการมอบอำนาจโดยชัดแจ้งให้ จ.ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว
บันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยยอมตกลงโอนสิทธิและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ให้แก่ผู้เสียหายภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมีผลผูกพันกันเฉพาะทางแพ่ง เมื่อไม่มีข้อความตอนใดเลยที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความทางอาญาโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของผู้เสียหายจึงไม่ระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2922/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจผู้รับมอบอำนาจ: การอุทธรณ์คำสั่งปรับของผู้ประกัน
ข.เป็นผู้รับมอบอำนาจจาก ก.ให้นำที่ดินตาม น.ส.3ไปประกันตัวจำเลยต่อศาลชั้นต้น ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า ก.ได้มอบให้ ข.นำที่ดินตาม น.ส.3 ดังกล่าวข้างต้นไปประกันตัวจำเลยต่อศาล และให้มีอำนาจประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกาหรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด และให้ ข.ทำหน้าที่ต่าง ๆ ในฐานะผู้ประกันอันพึงปฏิบัติ ทั้งให้ถอนหลักทรัพย์และเงินวางศาลคืนจากศาลได้เท่านั้นก.หาได้มอบอำนาจให้ ข.อุทธรณ์คำสั่งศาลที่สั่งปรับ ก.ผู้ประกันแทน ก.แต่อย่างใดไม่ข.จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2922/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้รับมอบอำนาจในการอุทธรณ์คำสั่งศาลจำกัดเฉพาะการถอนหลักทรัพย์และเงินวางศาลเท่านั้น
ข. เป็นผู้รับมอบอำนาจจาก ก. ให้นำที่ดินตาม น.ส.3ไปประกันตัวจำเลยต่อศาลชั้นต้น ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า ก. ได้มอบให้ ข. นำที่ดินตาม น.ส.3ดังกล่าวข้างต้นไปประกันตัวจำเลยต่อศาล และให้มีอำนาจประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกาหรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุดและให้ ข. ทำหน้าที่ต่าง ๆ ในฐานะผู้ประกันอันพึงปฏิบัติทั้งให้ถอนหลักทรัพย์และเงินวางศาลคืนจากศาลได้เท่านั้นก. หาได้มอบอำนาจให้ ข. อุทธรณ์คำสั่งศาลที่สั่งปรับก. ผู้ประกันแทน ก. แต่อย่างใดไม่ ข. จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนอง, การบอกกล่าวหนี้, การยินยอมโดยปริยาย, และการกำหนดค่าทนายความในคดีแพ่ง
ในส่วนการบอกกล่าวบังคับจำนองนั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์ได้แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจและสำเนาหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้เงินกู้ หนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชี หนี้ค้ำประกัน และให้ไถ่ถอนการจำนองไว้ท้ายคำฟ้องด้วย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง นอกจากนี้แล้วคำขอบังคับท้ายคำฟ้องโจทก์ก็ระบุไว้ชัดเจน ทั้งจำเลยทั้งห้าก็สามารถให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องโดยมิได้หลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องประทับตราของโจทก์ การที่ ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป.ดำเนินคดีนี้แทน รวมทั้งให้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ด้วย หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจเป็นการทั่วไป ซึ่ง ป.สามารถใช้ในการดำเนินคดีแก่บุคคลใดก็ได้เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างบุคคลนั้น ๆ กับโจทก์เกี่ยวกับกิจการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายไว้ โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุให้ ป.มีอำนาจฟ้องจำเลยคนใดโดยเฉพาะเจาะจง ดังนี้ ป.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้
จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์โดยวิธีหักทอนบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้ ซึ่งโจทก์จะออกหลักฐานใบเสร็จรับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ทุกครั้งและจะมีใบแจ้งการหักทอนบัญชีให้จำเลยที่ 1 ทราบ รวมข้อตกลงเมื่อได้มีการหักเงินจากบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้าน กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมโดยปริยายให้มีการกระทำดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่โจทก์หักทอนบัญชีไปดังกล่าว
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้การที่โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ผู้กู้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าว จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือแล้วแต่ละเลยไม่ชำระหนี้ จึงเป็นการผิดนัดชำระหนี้ อันเป็นผลให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันนั้น
ป.พ.พ.มาตรา 728 มิได้บัญญัติไว้ว่าระยะเวลามากน้อยเพียงใดเป็นเวลาอันสมควร จึงต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน แม้จำนวนหนี้ที่โจทก์เรียกร้องทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระมีจำนวนมากถึง 9,799,838.75 บาท ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เพียงพอในอันที่จำเลยที่ 1 จะขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นเวลาอันสมควร การบอกกล่าวบังคับจำนองจึงชอบแล้ว
คดีนี้นอกจากโจทก์อุทธรณ์ในทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์ 72,059.57 บาทแล้ว จำเลยก็ได้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ซึ่งคิดเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 5,549,409.85 บาท อีกด้วย การกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์จึงต้องถือตามทุนทรัพย์ทางฝ่ายจำเลย และแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่ผลคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็ยังคงแพ้คดีอยู่ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จึงอาจกำหนดค่าทนายความใช้แทนได้สูงกว่า 10,000 บาท ได้ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งห้าใช้แทนโจทก์เป็นเงิน 10,000 บาท จึงถูกต้องตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ.แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี การยินยอมโดยปริยาย การบอกกล่าวบังคับจำนอง และการกำหนดค่าทนายความ
ในส่วนการบอกกล่าวบังคับจำนองนั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์ ได้แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจและสำเนาหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้เงินกู้ หนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชี หนี้ค้ำประกัน และให้ไถ่ถอนการจำนองไว้ท้ายคำฟ้องด้วย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง นอกจากนี้แล้วคำขอบังคับท้ายคำฟ้องโจทก์ก็ระบุไว้ชัดเจน ทั้งจำเลยทั้งห้าก็สามารถให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องโดย มิได้หลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องประทับตราของโจทก์การที่ ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป.ดำเนินคดีนี้แทน รวมทั้งให้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ด้วย หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจเป็นการทั่วไป ซึ่ง ป.สามารถใช้ในการดำเนินคดีแก่บุคคลใดก็ได้เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่าง บุคคลนั้น ๆ กับโจทก์เกี่ยวกับกิจการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายไว้โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุให้ ป. มีอำนาจฟ้องจำเลยคนใดโดยเฉพาะเจาะจง ดังนี้ ป. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้ จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์โดยวิธีหักทอนบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้ ซึ่งโจทก์จะออกหลักฐานใบเสร็จรับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ทุกครั้งและจะมีใบแจ้งการหักทอนบัญชีให้จำเลยที่ 1 ทราบ รวมข้อตกลงเมื่อได้มีการหักเงินจากบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้าน กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมโดยปริยายให้มีการกระทำดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่โจทก์หักทอนบัญชีไปดังกล่าว สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้การที่โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวถามให้จำเลยที่ 1 ผู้กู้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือแล้วแต่ละเลยไม่ชำระหนี้ จึงเป็นการผิดนัดชำระหนี้ อันเป็นผลให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 มิได้บัญญัติ ไว้ว่าระยะเวลามากน้อยเพียงใดเป็นเวลาอันสมควร จึงต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน แม้จำนวนหนี้ที่โจทก์เรียกร้องทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระมีจำนวนมากถึง 9,799,838.75 บาท ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เพียงพอในอันที่จำเลยที่ 1 จะขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นเวลาอันสมควรการบอกกล่าวบังคับจำนองจึงชอบแล้ว คดีนี้นอกจากโจทก์อุทธรณ์ในทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์72,059.57 บาท แล้ว จำเลยก็ได้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ซึ่งคิดเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า5,549,409.85 บาท อีกด้วย การกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์จึงต้องถือตามทุนทรัพย์ทางฝ่ายจำเลย และแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่ผลคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็ยังคงแพ้คดีอยู่ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จึงอาจกำหนดค่าทนายความใช้แทนได้สูงกว่า10,000 บาท ได้ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งห้าใช้แทนโจทก์เป็นเงิน 10,000 บาท จึงถูกต้องตามตาราง 6อัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้ว
of 12