คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 800

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 116 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9513/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคลไม่กระทบอำนาจฟ้องคดี และการมอบอำนาจยังคงมีผลแม้เปลี่ยนชื่อแล้ว
แม้ขณะฟ้องโจทก์ได้เปลี่ยนชื่อจากบริษัทอ. เป็นบริษัทท. แล้วก็ตามแต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเปลี่ยนชื่อใหม่เช่นนั้นก็ไม่ทำให้ความเป็นนิติบุคคลของโจทก์สิ้นสุดลงโจทก์ยังคงเป็นนิติบุคคลมีตัวตนอยู่เช่นเดิมต่อไปและไม่ว่าโจทก์จะทำนิติกรรมในชื่อเดิมหรือชื่อที่เปลี่ยนใหม่แล้วก็ตามก็เป็นการทำนิติกรรมโดยนิติบุคคลคนเดียวกันนั้นเองการทำนิติกรรมในชื่อเดิมของโจทก์หลังจากที่โจทก์ได้เปลี่ยนชื่อใหม่แล้วนั้นไม่มีผลให้เป็นการทำนิติกรรมโดยสิ่งที่ไม่มีตัวตนเป็นนิติบุคคลดังนั้นแม้การมอบอำนาจให้ฟ้องและดำเนินคดีนี้แทนโจทก์เป็นการมอบอำนาจภายหลังจากที่โจทก์ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัทท. แล้วโจทก์ก็ยังมอบอำนาจในชื่อเดิมของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9513/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคลไม่กระทบความเป็นนิติบุคคลเดิม และอำนาจทำนิติกรรม
แม้ขณะฟ้องโจทก์ได้เปลี่ยนชื่อจากบริษัท อ.เป็นบริษัท ท.แล้วก็ตาม แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเปลี่ยนชื่อใหม่เช่นนั้น ก็ไม่ทำให้ความเป็นนิติบุคคลของโจทก์สิ้นสุดลง โจทก์ยังคงเป็นนิติบุคคลมีตัวตนอยู่เช่นเดิมต่อไป และไม่ว่าโจทก์จะทำนิติกรรมในชื่อเดิมหรือชื่อที่เปลี่ยนใหม่แล้วก็ตาม ก็เป็นการทำนิติกรรมโดยนิติบุคคลคนเดียวกันนั้นเอง การทำนิติกรรมในชื่อเดิมของโจทก์หลังจากที่โจทก์ได้เปลี่ยนชื่อใหม่แล้วนั้น ไม่มีผลให้เป็นการทำนิติกรรมโดยสิ่งที่ไม่มีตัวตนเป็นนิติบุคคล ดังนั้น แม้การมอบอำนาจให้ฟ้องและดำเนินคดีนี้แทนโจทก์เป็นการมอบอำนาจภายหลังจากที่โจทก์ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัท ท.แล้ว โจทก์ก็ยังมอบอำนาจในชื่อเดิมของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9083/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลต่อความเสียหายของสินค้า และอำนาจฟ้องคดีของโจทก์
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่มลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจประกันภัยหลายประเภท โดยมีหนังสือรับรองของสถานกงสุลไทย ณ เมืองบอสตันรับรองความถูกต้องของเอกสารรับรองความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ จำเลยไม่ได้นำสืบถึงความไม่ถูกต้องและไม่ได้ฎีกาโต้แย้งเอกสารดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับอนุญาตให้ตั้งสาขาของบริษัทประกอบธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยจากทางราชการ
โจทก์ได้แต่งตั้งให้ พ.เป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ในประเทศไทยและมีอำนาจยื่นฟ้องคดีทั้งปวงแทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งได้ทำในเมืองต่างประเทศ มี ป.โนตารีปับลิกลงลายมือชื่อรับรองเป็นพยานว่าผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจได้สาบานและลงลายมือชื่อต่อหน้าตน และมีใบสำคัญของเลขาธิการแห่งมลรัฐนิวแฮมป์เชียร์กับจ่าศาลสูงแห่งมลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ณ มณฑลฮิลส์โบโรห์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องรับรองว่า ป.เป็นโนตารีปับลิกผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย แสดงว่า ป.ซึ่งเป็นโนตารีปับลิกมีอำนาจเป็นพยานรับการสาบานและการลงลายมือชื่อดังกล่าวได้ จึงไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่ใช่เอกสารที่แท้จริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 47
โจทก์มีหนังสือมอบอำนาจซึ่ง อ.และ จ.ได้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจในฐานะรองประธานและเลขานุการของโจทก์ ซึ่งบุคคลทั้งสองมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ และได้มอบอำนาจให้ พ.มีอำนาจฟ้องคดีทั้งปวงในประเทศไทยและมีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ พ.จึงมีสิทธิมอบอำนาจช่วงให้ส.ฟ้องคดีทั้งปวงแทนโจทก์ได้ แม้โจทก์จะได้ใช้หนังสือมอบอำนาจช่วงดังกล่าวฟ้องคดีอื่น ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้นำมาใช้ฟ้องคดีนี้อีก เพราะมิใช่หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องเฉพาะคดีในคดีหนึ่งเท่านั้น
ใบตราส่งมีข้อความกำหนดไว้ว่า ในกรณีที่การขนส่งสินค้าไปยังหรือมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดความเสียหายในระหว่างการขนส่งให้ใช้กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาบังคับ และศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีคือศาลแห่งกรุงนิวยอร์ก ดังนั้น เมื่อสินค้าลงเรือแล้วผู้รับขนได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้าและสัญญาว่าผู้รับขนจะขนส่งสินค้าไปส่งมอบแก่ผู้รับใบตราส่งในประเทศปลายทาง ใบตราส่งจึงมีลักษณะเป็นหลักฐานแห่งสัญญาในการขนส่งสินค้าอยู่ด้วย ซึ่งจำเลยก็ได้ให้การยอมรับแล้ว ข้อความดังกล่าวจึงมีผลผูกพันคู่สัญญาในใบตราส่ง คือบริษัท บ.ผู้ส่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและจำเลยผู้รับขน ส่วนโจทก์เป็นเพียงผู้รับประกันภัยสินค้าในระหว่างการขนส่งจากผู้รับตราส่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศไทย โจทก์เป็นบุคคลภายนอก ไม่ใช่คู่สัญญาในใบตราส่ง จึงไม่ถูกผูกพันตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (2) เดิม อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีกรณีจึงไม่มีข้อที่จะต้องวินิจฉัยตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481
คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดและจำนวนหนังโคฟอกย้อมสีที่ได้รับความเสียหายเพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจและให้การต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการคิดคำนวณค่าเสียหายเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
บริษัท 2 บริษัทที่ประเทศเดนมาร์ก คือ ด.และ อ.ได้ร่วมกันมอบอำนาจให้ พ.จดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยในประเทศไทยเพื่อประกอบธุรกิจเดินเรือจำเลยจึงเป็นตัวแทนหรือบริษัทสาขาของบริษัทแม่ 2 บริษัทดังกล่าว คนทั่วไปรู้จักจำเลยในชื่อว่าเมอส์กไลน์หรือสายเดินเรือเมอส์ก ดังนั้น คำว่าเมอร์กไลน์ จึงเป็นชื่อที่ใช้ในทางธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเลของบริษัทแม่ 2 บริษัท ที่ประเทศเดนมาร์กรวมทั้งจำเลยด้วย ในใบตราส่งใช้คำว่า เมอส์กไลน์ ที่ข้างกระดาษและลงลายมือชื่อโดยเมอส์กไลน์เอเยนซี่ เมืองบอสตัน ในฐานะตัวแทนผู้ขนส่ง แม้จะไม่ได้ใช้ชื่อจำเลยออกใบตราส่ง แต่ก็ต้องถือว่าใบตราส่งได้ออกโดยสายเดินเรือเมอส์กที่เมืองบอสตันซึ่งเป็นตัวแทนสาขาของบริษัทแม่ดังกล่าวในประเทศเดนมาร์ก
เมื่อเรือ ม.เดินทางมาถึงประเทศไทย จำเลยซึ่งเป็นบริษัทสาขาหรือตัวแทนบริษัทเดินเรือที่ประเทศเดนมาร์กในประเทศไทยได้ยื่นเอกสารขอนำเรือเข้าท่าและขอเช่าเรือลากจูงกับนำหนังสือสัญญาค้ำประกันค่าใช้จ่ายของธนาคารมาวางเป็นประกันต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทย และยื่นเอกสารต่อกองตรวจคนเข้าเมืองตามรายการเกี่ยวกับพาหนะโดยระบุว่าเป็นสายเดินเรือเมอส์ก และเมื่อเรือ ม.เดินทางมาถึงท่าเรือแล้ว จำเลยได้ขออนุญาตต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยขอนำเรือเข้าเทียบท่าเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์เข้าโรงพักสินค้า ดังนั้น เมื่อสายเดินเรือเมอส์กเป็นธุรกิจของบริษัทเดินเรือแม่ในประเทศเดนมาร์กที่จำเลยเป็นตัวแทนในประเทศไทย และจำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท และสินค้าที่ขนส่งโดยเรือของสายเดินเรือเมอส์กเพื่อส่งให้แก่ผู้รับตราส่งในประเทศไทยเกิดความเสียหายซึ่งผู้ขนส่งจะต้องรับผิดชอบ จำเลยจะปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่ง จึงไม่ได้เป็นผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าหาได้ไม่
สินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างขนส่งเพราะเกิดแต่เหตุสุดวิสัยจำเลยผู้ขนส่งจึงไม่ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 นั้น จำเลยมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์
สินค้าหนังโคฟอกย้อมสีที่จำเลยขนส่งถึงกรุงเทพมหานครมาโดยเรือ ล.และเรือ ม.บางส่วนเปียกน้ำทะเลและขึ้นรา เนื่องจากมีน้ำทะเลเข้าไปในตู้คอนเทนเนอร์การที่น้ำทะเลเข้าดาดฟ้าเรือในขณะเรือแล่นอยู่กลางทะเลย่อมเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามปกติของการขนส่งทางทะเล ซึ่งจำเลยผู้ขนส่งทางทะเลย่อมทราบดีถึงภัยทางทะเลดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้สินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ต้องเสียหายจากการที่น้ำทะเลไหลเข้าไปในตู้สินค้า จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่เปียกน้ำทะเลว่าเกิดแต่เหตุสุดวิสัยได้ ทั้งเหตุพายุหมุนอย่างรุนแรง คลื่นสูง และท้องทะเลปั่นป่วน จำเลยก็มิได้นำสืบให้ปรากฏว่าเป็นเหตุผิดปกติวิสัยที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาระเช่นจำเลย จึงยังไม่อาจถือเป็นเหตุสุดวิสัย ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่งป.พ.พ.
บริษัท ซ.ผู้เอาประกันภัยสินค้าที่จำเลยขนส่งมา และผู้แทนจำเลยได้พบว่าสินค้าที่จำเลยขนส่งมาเกิดความเสียหายในวันเดียวกับที่จำเลยได้ส่งมอบ แม้จะฟังว่าผู้รับตราส่งได้ชำระค่าระวางเรือแล้ว ก็ไม่อาจฟังได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับสินค้าไว้โดยไม่อิดเอื้อน ความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งจึงยังไม่สิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 623 วรรคหนึ่ง
โจทก์ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยผู้ขนส่งสินค้า มิได้ฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาประกันภัย จึงไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานการรับประกันภัยเป็นหนังสือมาแสดง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9083/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายสินค้า การรับช่วงสิทธิประกันภัย และเหตุสุดวิสัย
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่มลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกามีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจประกันภัยหลายประเภท โดยมีหนังสือรับรองของสถานกงสุลไทย ณ เมืองบอสตันรับรองความถูกต้องของเอกสารรับรองความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ จำเลยไม่ได้นำสืบถึงความไม่ถูกต้องและไม่ได้ฎีกาโต้แย้งเอกสารดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับอนุญาตให้ตั้งสาขาของบริษัทประกอบธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยจากทางราชการ
โจทก์ได้แต่งตั้งให้ พ. เป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ในประเทศไทยและมีอำนาจยื่นฟ้องคดีทั้งปวงแทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งได้ทำในเมืองต่างประเทศ มี ป. โนตารีปับลิกลงลายมือชื่อรับรองเป็นพยานว่าผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจได้สาบานและลงลายมือชื่อต่อหน้าตน และมีใบสำคัญของเลขาธิการแห่งมลรัฐนิวแฮมป์เชียร์กับจ่าศาลสูงแห่งมลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ณมณฑลฮิลส์โบโรห์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องรับรองว่า ป. เป็นโนตารีปับลิกผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย แสดงว่า ป. ซึ่งเป็นโนตารีปับลิกมีอำนาจเป็นพยานรับการสาบานและการลงลายมือชื่อดังกล่าวได้ จึงไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่ใช่เอกสารที่แท้จริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47
โจทก์มีหนังสือมอบอำนาจซึ่ง อ. และ จ. ได้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจในฐานะรองประธานและเลขานุการของโจทก์ ซึ่งบุคคลทั้งสองมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้และได้มอบอำนาจให้ พ. มีอำนาจฟ้องคดีทั้งปวงในประเทศไทยและมีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ พ. จึงมีสิทธิมอบอำนาจช่วงให้ ส. ฟ้องคดีทั้งปวงแทนโจทก์ได้แม้โจทก์จะได้ใช้หนังสือมอบอำนาจช่วงดังกล่าวฟ้องคดีอื่น ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้นำมาใช้ฟ้องคดีนี้อีก เพราะมิใช่หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องเฉพาะคดีในคดีหนึ่งเท่านั้น
ใบตราส่งมีข้อความกำหนดไว้ว่า ในกรณีที่การขนส่งสินค้าไปยังหรือมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดความเสียหายในระหว่างการขนส่งให้ใช้กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาบังคับ และศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีคือศาลแห่งกรุงนิวยอร์กดังนั้น เมื่อสินค้าลงเรือแล้วผู้รับขนได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้าและสัญญาว่าผู้รับขนจะขนส่งสินค้าไปส่งมอบแก่ผู้รับใบตราส่งในประเทศปลายทาง ใบตราส่งจึงมีลักษณะเป็นหลักฐานแห่งสัญญาในการขนส่งสินค้าอยู่ด้วย ซึ่งจำเลยก็ได้ให้การยอมรับแล้ว ข้อความดังกล่าวจึงมีผลผูกพันคู่สัญญาในใบตราส่ง คือบริษัท บ. ผู้ส่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและจำเลยผู้รับขน ส่วนโจทก์เป็นเพียงผู้รับประกันภัยสินค้าในระหว่างการขนส่งจากผู้รับตราส่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศไทย โจทก์เป็นบุคคลภายนอก ไม่ใช่คู่สัญญาในใบตราส่ง จึงไม่ถูกผูกพันตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) เดิม อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดี กรณีจึงไม่มีข้อที่จะต้องวินิจฉัยตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481
คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดและจำนวนหนังโคฟอกย้อมสีที่ได้รับความเสียหายเพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจและให้การต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการคิดคำนวณค่าเสียหายเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
บริษัท 2 บริษัทที่ประเทศเดนมาร์ก คือ ด. และ อ. ได้ร่วมกันมอบอำนาจให้พ. จดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยในประเทศไทยเพื่อประกอบธุรกิจเดินเรือ จำเลยจึงเป็นตัวแทนหรือบริษัทสาขาของบริษัทแม่ 2 บริษัทดังกล่าว คนทั่วไปรู้จักจำเลยในชื่อว่าเมอส์กไลน์หรือสายเดินเรือเมอส์กดังนั้นคำว่าเมอร์กไลน์ จึงเป็นชื่อที่ใช้ในทางธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเลของบริษัทแม่ 2 บริษัท ที่ประเทศเดนมาร์กรวมทั้งจำเลยด้วย ในใบตราส่งใช้คำว่า เมอส์กไลน์ที่ข้างกระดาษและลงลายมือชื่อโดยเมอส์กไลน์เอเยนซี่เมืองบอสตัน ในฐานะตัวแทนผู้ขนส่ง แม้จะไม่ได้ใช้ชื่อจำเลยออกใบตราส่ง แต่ก็ต้องถือว่าใบตราส่งได้ออกโดยสายเดินเรือเมอส์กที่เมืองบอสตัน ซึ่งเป็นตัวแทนสาขาของบริษัทแม่ดังกล่าวในประเทศเดนมาร์ก
เมื่อเรือ ม. เดินทางมาถึงประเทศไทย จำเลยซึ่งเป็นบริษัทสาขาหรือตัวแทนบริษัทเดินเรือที่ประเทศเดนมาร์กในประเทศไทยได้ยื่นเอกสารขอนำเรือเข้าท่าและขอเช่าเรือลากจูงกับนำหนังสือสัญญาค้ำประกันค่าใช้จ่ายของธนาคารมาวางเป็นประกันต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทย และยื่นเอกสารต่อกองตรวจคนเข้าเมืองตามรายการเกี่ยวกับพาหนะโดยระบุว่าเป็นสายเดินเรือเมอส์ก และเมื่อเรือ ม. เดินทางมาถึงท่าเรือแล้ว จำเลยได้ขออนุญาตต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยขอนำเรือเข้าเทียบท่าเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์เข้าโรงพักสินค้า ดังนั้น เมื่อสายเดินเรือเมอส์ก เป็นธุรกิจของบริษัทเดินเรือแม่ในประเทศเดนมาร์กที่จำเลยเป็นตัวแทนในประเทศไทยและจำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท และสินค้าที่ขนส่งโดยเรือของสายเดินเรือเมอส์กเพื่อส่งให้แก่ผู้รับตราส่งในประเทศไทยเกิดความเสียหายซึ่งผู้ขนส่งจะต้องรับผิดชอบจำเลยจะปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่ง จึงไม่ได้เป็นผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าวหาได้ไม่
สินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างขนส่งเพราะเกิดแต่เหตุสุดวิสัย จำเลยผู้ขนส่งจึงไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 นั้น จำเลยมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์
สินค้าหนังโคฟอกย้อมสีที่จำเลยขนส่งถึงกรุงเทพมหานครมาโดยเรือ ล. และเรือ ม. บางส่วนเปียกน้ำทะเลและขึ้นรา เนื่องจากมีน้ำทะเลเข้าไปในตู้คอนเทนเนอร์การที่น้ำทะเลเข้าดาดฟ้าเรือในขณะเรือแล่นอยู่กลางทะเลย่อมเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามปกติของการขนส่งทางทะเล ซึ่งจำเลยผู้ขนส่งทางทะเลย่อมทราบดีถึงภัยทางทะเลดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้สินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ต้องเสียหายจากการที่น้ำทะเลไหลเข้าไปในตู้สินค้า จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่เปียกน้ำทะเลว่าเกิดแต่เหตุสุดวิสัยได้ ทั้งเหตุพายุหมุนอย่างรุนแรง คลื่นสูง และท้องทะเลปั่นป่วน จำเลยก็มิได้นำสืบให้ปรากฏว่าเป็นเหตุผิดปกติวิสัยที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาระเช่นจำเลย จึงยังไม่อาจถือเป็นเหตุสุดวิสัยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บริษัทช. ผู้เอาประกันภัยสินค้าที่จำเลยขนส่งมา และผู้แทนจำเลยได้พบว่าสินค้าที่จำเลยขนส่งมาเกิดความเสียหายในวันเดียวกับที่จำเลยได้ส่งมอบ แม้จะฟังว่าผู้รับตราส่งได้ชำระค่าระวางเรือแล้ว ก็ไม่อาจฟังได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับสินค้าไว้โดยไม่อิดเอื้อน ความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งจึงยังไม่สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 วรรคหนึ่ง
โจทก์ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยผู้ขนส่งสินค้า มิได้ฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาประกันภัย จึงไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานการรับประกันภัย เป็นหนังสือมาแสดง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4179/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยผิดสัญญา แบ่งที่ดินไม่ทันตามกำหนด โจทก์มีสิทธิริบมัดจำ
โจทก์ที่1ที่2และที่3มอบอำนาจให้โจทก์ที่4โดยระบุให้ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขายคดีนี้และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลในทางจำหน่ายสิทธิเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียวคือการดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะคดีนี้โดยมีอำนาจตามความที่ปรากฏในเอกสารซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์10บาทตามบัญชีอากรแสตมป์ข้อ7(ก)และกรณีนี้มีผู้มอบอำนาจ3คนซึ่งมิได้เป็นผู้มอบอำนาจร่วมกันแต่มอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกันต้องปิดอากรแสตมป์ตามรายตัวบุคคลสำหรับผู้มอบอำนาจคนหนึ่งเป็นเรื่องหนึ่งโจทก์ปิดอากรแสตมป์รวม30บาทซึ่งครบถ้วนตามนัยประมวลรัษฎากรมาตรา108และใช้เป็นพยานหลักฐานได้ โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยได้บรรยายฟ้องแสดงเหตุให้เห็นว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ที่1ถึงที่3แล้วจำเลยผิดสัญญาโดยไม่ไปรับโอนที่ดินและมอบตั๋วแลกเงินอาวัลชำระราคาที่ดินแก่โจทก์ตามกำหนดโจทก์ที่1ถึงที่3จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยจำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะขออายัดห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินของโจทก์ที่1ที่2และที่4ตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไปดังนั้นคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้จำเลยยกเลิกเพิกถอนการอายัดห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินต่อสำนักงานที่ดินและต่อสำนักงานวางทรัพย์จึงมิใช่คนละเรื่องกับคำฟ้องส่วนโจทก์ที่4ได้บรรยายฟ้องถึงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อจะขายโดยรับโอนมาจากโจทก์ที่3และแสดงถึงนิติสัมพันธ์ทั้งเหตุที่จำเลยผิดสัญญากับการที่จำเลยไปอายัดที่ดินดังกล่าวทำให้โจทก์ที่4เสียหายพร้อมกับเรียกค่าเสียหายในการนี้ด้วยดังนี้ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนี้ที่ดินดังกล่าวได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ทายาทของข.จึงเป็นเหตุให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแยกกันไปตามทายาทผู้รับมรดกที่ดินของข. แต่ละแปลงเนื้อหาสาระของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททั้ง3ฉบับเป็นอย่างเดียวกันคู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อเป็นบุคคลคนเดียวกันคือจำเลยนี้ถือได้ว่าเป็นคดีที่คู่ความบางฝ่ายเป็นคู่ความรายเดียวกันจึงเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกันหากแยกฟ้องก็สามารถขอให้พิจารณารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา28โจทก์ทั้งสี่จึงย่อมใช้สิทธิร่วมกันฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันได้ ข้อฎีกาจำเลยซึ่งจำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้วแต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยให้และจำเลยมิได้อุทธรณ์การที่จำเลยกลับมายกขึ้นฎีกาแม้ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่ปัญหาว่าผู้รับมอบอำนาจกระทำการนอกเหนืออำนาจหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาและศาลฎีกามีอำนาจรับวินิจฉัยให้ นอกจากโจทก์ที่1ที่2และที่3มอบอำนาจให้โจทก์ที่4ดำเนินคดีแก่จำเลยในฐานะผิดสัญญาแล้วยังมอบอำนาจให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆในศาลด้วยการที่โจทก์ที่4ฟ้องจำเลยและขอศาลบังคับจำเลยให้ทำการเพิกถอนที่ดินที่จำเลยอายัดไว้มิให้จำหน่ายจ่ายโอนจึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการที่จำเลยผิดสัญญาและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆในศาลนั่นเองโจทก์ที่4จึงหาได้กระทำการนอกเหนืออำนาจแต่อย่างใดไม่ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่พิพาทที่โจทก์ที่2ในฐานะผู้จัดการมรดกของข. โดยโจทก์ที่4เป็นผู้รับมอบอำนาจเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขายและจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อสิทธิและหน้าที่ความรับผิดต่างๆตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสิทธิและหน้าที่ของกองมรดกของข. เมื่อโจทก์ที่4ได้รับมรดกที่ดินดังกล่าวโจทก์ที่4จึงรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวด้วยโจทก์ที่4จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินข้อ3ระบุว่า"ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะทำการโอนและรับโอนที่ดินที่ซื้อขายในข้อ1และผู้จะซื้อจะส่งมอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารตามข้อ2ให้แก่ผู้จะขายให้แล้วเสร็จตามกฎหมายจนกระทั่งสำนักงานที่ดินออกโฉนดใหม่ให้เรียบร้อยทั้งนี้ภายในวันที่17เมษายน2531นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไปและในระหว่างก่อนถึงเวลากำหนดข้างต้นนี้ผู้จะขายยินยอมให้ความร่วมมือในการที่จะแบ่งที่ดินที่ซื้อขายนี้เป็นแปลงย่อยๆในนามเดิมและยินยอมให้ผู้จะซื้อทำการปรับปรุงถนนและที่ดินตลอดจนทำการก่อสร้างซ่อมแซมเพิ่มเติมได้ยินยอมให้ขออนุญาตปลูกสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารขอเลขบ้านมิเตอร์ไฟฟ้าประปาโทรศัพท์การจัดสรรที่ดินหรือการขออนุญาตอื่นๆที่จำเป็นต่อหน่วยราชการรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในนามของผู้จะซื้อหรือผู้จะขายก็ได้ส่วนค่าใช้จ่ายผู้จะซื้อเป็นผู้ออกเองทั้งสิ้น"จากข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นความประสงค์ของคู่สัญญาว่าในการดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินทั้ง3แปลงก่อนถึงกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ผู้จะขายยินยอมให้ผู้จะซื้อเป็นผู้ดำเนินการแบ่งที่ดินที่จะซื้อจะขายเป็นแปลงย่อยๆด้วยตนเองโดยผู้จะขายคือฝ่ายโจทก์ให้ความร่วมมือมอบอำนาจให้ผู้จะซื้อคือจำเลยดำเนินการดังนั้นการที่ยังมิได้มีการแบ่งแยกที่ดินที่จะซื้อจะขายออกเป็นแปลงย่อยๆก่อนวันครบกำหนดสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ใช่ความผิดของฝ่ายโจทก์ผู้จะขายทั้งการจดทะเบียนทางภารจำยอมฝ่ายโจทก์ก็ดำเนินการให้แล้วการที่จำเลยไม่ไปรับจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและไม่มอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารให้แก่ฝ่ายโจทก์ภายในกำหนดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายใดๆจากโจทก์และเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเลิกกันเพราะความผิดของจำเลยโจทก์ทั้งสี่ย่อมมีอำนาจริบมัดจำที่จำเลยวางไว้เป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4179/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: ผู้ซื้อผิดสัญญาไม่แบ่งแยกที่ดินและไม่ชำระเงิน ผู้ขายมีสิทธิริบมัดจำ
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 4โดยระบุให้ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขายคดีนี้และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลในทางจำหน่ายสิทธิเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว คือการดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะคดีนี้โดยมีอำนาจตามความที่ปรากฏในเอกสาร ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์10 บาท ตามบัญชีอากรแสตมป์ข้อ 7(ก) และกรณีนี้มีผู้มอบอำนาจ3 คน ซึ่งมิได้เป็นผู้มอบอำนาจร่วมกัน แต่มอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกัน ต้องปิดอากรแสตมป์ตามรายตัวบุคคล สำหรับผู้มอบอำนาจคนหนึ่งเป็นเรื่องหนึ่ง โจทก์ปิดอากรแสตมป์รวม30 บาท ซึ่งครบถ้วนตามนัย ประมวลรัษฎากร มาตรา 108 และใช้เป็นพยานหลักฐานได้ โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยได้บรรยายฟ้องแสดงเหตุให้เห็นว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3แล้วจำเลยผิดสัญญาโดยไม่ไปรับโอนที่ดินและมอบตั๋วแลกเงินอาวัลชำระราคาที่ดินแก่โจทก์ตามกำหนดโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยจำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะขออายัด ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไปดังนั้นคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้จำเลยยกเลิกเพิกถอนการอายัด ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินต่อสำนักงานที่ดินและต่อสำนักงานวางทรัพย์จึงมิใช่คนละเรื่องกับคำฟ้องส่วนโจทก์ที่ 4 ได้บรรยายฟ้องถึงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อจะขาย โดยรับโอนมาจากโจทก์ที่ 3 และแสดงถึงนิติสัมพันธ์ ทั้งเหตุที่จำเลยผิดสัญญา กับการที่จำเลยไปอายัดที่ดินดังกล่าวทำให้โจทก์ที่ 4 เสียหาย พร้อมกับเรียกค่าเสียหายในการนี้ด้วย ดังนี้ ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนี้ที่ดินดังกล่าวได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ทายาทของ ข.จึงเป็นเหตุให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแยกกันไปตามทายาทผู้รับมรดกที่ดินของ ข. แต่ละแปลง เนื้อหาสาระของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททั้ง 3 ฉบับเป็นอย่างเดียวกัน คู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อเป็นบุคคลคนเดียวกันคือจำเลยนี้ ถือได้ว่าเป็นคดีที่คู่ความบางฝ่ายเป็นคู่ความรายเดียวกันจึงเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกันหากแยกฟ้องก็สามารถขอให้พิจารณารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 28โจทก์ทั้งสี่จึงย่อมใช้สิทธิร่วมกันฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันได้ ข้อฎีกาจำเลยซึ่งจำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้วแต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยให้ และจำเลยมิได้อุทธรณ์การที่จำเลยกลับมายกขึ้นฎีกาแม้ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาว่าผู้รับมอบอำนาจกระทำการนอกเหนืออำนาจหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาและศาลฎีกามีอำนาจรับวินิจฉัยให้ นอกจากโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 4 ดำเนินคดีแก่จำเลยในฐานะผิดสัญญาแล้วยังมอบอำนาจให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลด้วยการที่โจทก์ที่ 4 ฟ้องจำเลยและขอศาลบังคับจำเลยให้ทำการเพิกถอนที่ดินที่จำเลยอายัดไว้ มิให้จำหน่ายจ่ายโอนจึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการที่จำเลยผิดสัญญาและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลนั่นเองโจทก์ที่ 4 จึงหาได้กระทำการนอกเหนืออำนาจแต่อย่างใดไม่ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่พิพาทที่โจทก์ที่ 2ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ข. โดยโจทก์ที่ 4เป็นผู้รับมอบอำนาจเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขาย และจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อ สิทธิและหน้าที่ความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสิทธิและหน้าที่ของกองมรดกของ ข. เมื่อโจทก์ที่ 4 ได้รับมรดกที่ดินดังกล่าวโจทก์ที่ 4 จึงรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวด้วย โจทก์ที่ 4 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ข้อ 3 ระบุว่า "ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะทำการโอนและรับโอนที่ดินที่ซื้อขายในข้อ 1และผู้จะซื้อจะส่งมอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารตามข้อ 2ให้แก่ผู้จะขายให้แล้วเสร็จตามกฎหมายจนกระทั่งสำนักงานที่ดินออกโฉนดใหม่ให้เรียบร้อย ทั้งนี้ภายในวันที่ 17 เมษายน 2531 นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไปและในระหว่างก่อนถึงเวลากำหนดข้างต้นนี้ ผู้จะขายยินยอมให้ความร่วมมือในการที่จะแบ่งที่ดินที่ซื้อขายนี้เป็นแปลงย่อย ๆ ในนามเดิม และยินยอมให้ผู้จะซื้อทำการปรับปรุงถนนและที่ดินตลอดจนทำการก่อสร้างซ่อมแซมเพิ่มเติมได้ ยินยอมให้ขออนุญาตปลูกสร้าง ดัดแปลง ต่อเติมอาคารขอเลขบ้านมิเตอร์ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ การจัดสรรที่ดินหรือการขออนุญาตอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อหน่วยราชการรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในนามของผู้จะซื้อหรือผู้จะขายก็ได้ ส่วนค่าใช้จ่ายผู้จะซื้อเป็นผู้ออกเองทั้งสิ้น"จากข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นความประสงค์ของคู่สัญญาว่าในการดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินทั้ง 3 แปลง ก่อนถึงกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้จะขายยินยอมให้ผู้จะซื้อเป็นผู้ดำเนินการแบ่งที่ดินที่จะซื้อจะขายเป็นแปลงย่อย ๆ ด้วยตนเองโดยผู้จะขายคือฝ่ายโจทก์ให้ความร่วมมือมอบอำนาจให้ผู้จะซื้อคือจำเลยดำเนินการ ดังนั้น การที่ยังมิได้มีการแบ่งแยกที่ดินที่จะซื้อจะขายออกเป็นแปลงย่อย ๆก่อนวันครบกำหนดสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ใช่ความผิดของฝ่ายโจทก์ผู้จะขาย ทั้งการจดทะเบียนทางภารจำยอมฝ่ายโจทก์ก็ดำเนินการให้แล้วการที่จำเลยไม่ไปรับจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และไม่มอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารให้แก่ฝ่ายโจทก์ภายในกำหนดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากโจทก์และเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเลิกกันเพราะความผิดของจำเลย โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีอำนาจริบมัดจำที่จำเลยวางไว้เป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4179/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน, การมอบอำนาจ, และผลของการผิดสัญญา
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 4 โดยระบุให้ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขายคดีนี้ และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลในทางจำหน่ายสิทธิ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว คือการดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะคดีนี้โดยมีอำนาจตามความที่ปรากฏในเอกสาร ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ตามบัญชีอากรแสตมป์ข้อ 7 (ก) และกรณีนี้มีผู้มอบอำนาจ 3 คน ซึ่งมิได้เป็นผู้มอบอำนาจร่วมกัน แต่มอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกัน ต้องปิดอากรแสตมป์ตามรายตัวบุคคล สำหรับผู้มอบอำนาจคนหนึ่งเป็นเรื่องหนึ่ง โจทก์ปิดอากรแสตมป์รวม 30 บาท ซึ่งครบถ้วนตามนัย ป.รัษฎากร มาตรา 108 และใช้เป็นพยานหลักฐานได้
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยได้บรรยายฟ้องแสดงเหตุให้เห็นว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ที่ 1ถึงที่ 3 แล้วจำเลยผิดสัญญาโดยไม่ไปรับโอนที่ดินและมอบตั๋วแลกเงินอาวัลชำระราคาที่ดินแก่โจทก์ตามกำหนด โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยจำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะขออายัด ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่ 2และที่ 4 ตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป ดังนั้นคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้จำเลยยกเลิกเพิกถอนการอายัด ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินต่อสำนักงานที่ดินและต่อสำนักงานวางทรัพย์จึงมิใช่คนละเรื่องกับคำฟ้อง ส่วนโจทก์ที่ 4 ได้บรรยายฟ้องถึงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อจะขาย โดยรับโอนมาจากโจทก์ที่ 3 และแสดงถึงนิติสัมพันธ์ ทั้งเหตุที่จำเลยผิดสัญญา กับการที่จำเลยไปอายัดที่ดินดังกล่าวทำให้โจทก์ที่ 4 เสียหาย พร้อมกับเรียกค่าเสียหายในการนี้ด้วย ดังนี้ ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม
ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนี้ที่ดินดังกล่าวได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ทายาทของ ข.จึงเป็นเหตุให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแยกกันไปตามทายาทผู้รับมรดกที่ดินของ ข.แต่ละแปลง เนื้อหาสาระของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททั้ง 3 ฉบับ เป็นอย่างเดียวกัน คู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อเป็นบุคคลคนเดียวกันคือจำเลยนี้ ถือได้ว่าเป็นคดีที่คู่ความบางฝ่ายเป็นคู่ความรายเดียวกันจึงเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกัน หากแยกฟ้องก็สามารถขอให้พิจารณารวมกันได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 28 โจทก์ทั้งสี่จึงย่อมใช้สิทธิร่วมกันฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันได้
ข้อฎีกาจำเลยซึ่งจำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้วแต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยให้ และจำเลยมิได้อุทธรณ์ การที่จำเลยกลับมายกขึ้นฎีกาแม้ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาว่าผู้รับมอบอำนาจกระทำการนอกเหนืออำนาจหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาและศาลฎีกามีอำนาจรับวินิจฉัยให้
นอกจากโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 4ดำเนินคดีแก่จำเลยในฐานะผิดสัญญาแล้ว ยังมอบอำนาจให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลด้วย การที่โจทก์ที่ 4 ฟ้องจำเลยและขอศาลบังคับจำเลยให้ทำการเพิกถอนที่ดินที่จำเลยอายัดไว้ มิให้จำหน่ายจ่ายโอนจึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการที่จำเลยผิดสัญญาและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลนั่นเองโจทก์ที่ 4 จึงหาได้กระทำการนอกเหนืออำนาจแต่อย่างใดไม่
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่พิพาทที่โจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ข.โดยโจทก์ที่ 4 เป็นผู้รับมอบอำนาจเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขาย และจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อ สิทธิและหน้าที่ความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสิทธิและหน้าที่ของกองมรดกของ ข. เมื่อโจทก์ที่ 4 ได้รับมรดกที่ดินดังกล่าวโจทก์ที่ 4 จึงรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวด้วย โจทก์ที่ 4 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ข้อ 3 ระบุว่า "ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะทำการโอนและรับโอนที่ดินที่ซื้อขายในข้อ 1 และผู้จะซื้อจะส่งมอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารตามข้อ 2 ให้แก่ผู้จะขายให้แล้วเสร็จตามกฎหมายจนกระทั่งสำนักงานที่ดินออกโฉนดใหม่ให้เรียบร้อย ทั้งนี้ภายในวันที่ 17 เมษายน 2531 นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป และในระหว่างก่อนถึงเวลากำหนดข้างต้นนี้ ผู้จะขายยินยอมให้ความร่วมมือในการที่จะแบ่งที่ดินที่ซื้อขายนี้เป็นแปลงย่อย ๆ ในนามเดิม และยินยอมให้ผู้จะซื้อทำการปรับปรุงถนนและที่ดินตลอดจนทำการก่อสร้างซ่อมแซมเพิ่มเติมได้ ยินยอมให้ขออนุญาตปลูกสร้าง ดัดแปลง ต่อเติมอาคาร ขอเลขบ้านมิเตอร์ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ การจัดสรรที่ดิน หรือการขออนุญาตอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในนามของผู้จะซื้อหรือผู้จะขายก็ได้ ส่วนค่าใช้จ่ายผู้จะซื้อเป็นผู้ออกเองทั้งสิ้น" จากข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นความประสงค์ของคู่สัญญาว่า ในการดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินทั้ง 3 แปลงก่อนถึงกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้จะขายยินยอมให้ผู้จะซื้อเป็นผู้ดำเนินการแบ่งที่ดินที่จะซื้อจะขายเป็นแปลงย่อย ๆ ด้วยตนเอง โดยผู้จะขายคือฝ่ายโจทก์ให้ความร่วมมือมอบอำนาจให้ผู้จะซื้อคือจำเลยดำเนินการ ดังนั้น การที่ยังมิได้มีการแบ่งแยกที่ดินที่จะซื้อจะขายออกเป็นแปลงย่อย ๆ ก่อนวันครบกำหนดสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ใช่ความผิดของฝ่ายโจทก์ผู้จะขาย ทั้งการจดทะเบียนทางภาระจำยอมฝ่ายโจทก์ก็ดำเนินการให้แล้ว การที่จำเลยไม่ไปรับจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และไม่มอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารให้แก่ฝ่ายโจทก์ภายในกำหนดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากโจทก์ และเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเลิกกันเพราะความผิดของจำเลย โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีอำนาจริบมัดจำที่จำเลยวางไว้เป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4008/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี: หนังสือมอบอำนาจเดิมยังใช้ได้หากคดีก่อนหน้ายังไม่เสร็จสิ้น แม้จะเคยฟ้องไปแล้ว
จำเลยที่2ได้ให้การต่อสู้เกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ไว้และยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวซึ่งเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นอ้างเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์แล้วคดีจึงมีประเด็นตามคำแก้อุทธรณ์ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ โจทก์มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันไปจนเสร็จการแม้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะเคยฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาดังกล่าวมาครั้งหนึ่งแล้วก็ตามแต่ในคดีเดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขาดนัดพิจารณากรณีจึงยังไม่เสร็จการตามที่ได้มอบอำนาจไว้การที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์อาศัยหนังสือมอบอำนาจที่เคยฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีเดิมมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ใหม่ภายในกำหนดอายุความในข้อหาเดิมอันเป็นมูลหนี้เดียวกันย่อมเป็นการฟ้องตามข้อกำหนดของหนังสือมอบอำนาจจึงไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9199/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าตึกแถวและการผูกพันตามสัญญาเช่าของผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด
หนังสือสัญญาเช่า หนังสือการจดทะเบียนการเช่ามีข้อความว่าผู้ให้เช่าตกลงให้เช่า และผู้เช่าตกลงเช่าตึกแถวสองชั้น (ชั้นล่างและชั้นสอง)จำนวน 8 คูหา พร้อมหน้าบ้านด้านหนึ่งกว้างประมาณ 4 เมตร อีกด้านหนึ่งกว้างประมาณ 6 เมตร ความยาวประมาณ 30 เมตร และตามหลักฐานการจดทะเบียนการเช่าก็มีข้อความระบุไว้ในทำนองเดียวกัน ทั้งยังมีข้อความเพิ่มเติมว่า ปลูกอยู่ในที่ดินของ ศ. และ ล.โฉนดที่ 1593 ตามข้อความในสัญญาเช่าและหลักฐานการจดทะเบียนดังกล่าวเห็นได้ชัดแจ้งว่าคู่สัญญาไม่ได้ให้เช่าและเช่าที่ดินซึ่งตึกแถวปลูกอยู่ จึงไม่ใช่เป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในที่ดินรวมกับที่ดินดังที่บัญญัติไว้ใน ป.ที่ดิน มาตรา 71 (1) แม้ตามสัญญาเช่าระบุว่ามีการเช่าบริเวณหน้าตึกแถวด้วยก็ตาม แต่บริเวณหน้าตึกแถวแม้จะไม่กล่าวถึงไว้ในสัญญาเช่า ผู้เช่าก็ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ได้อยู่แล้ว การที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าว่ามีการเช่าบริเวณหน้าตึกแถวด้วยก็หาทำให้การเช่าดังกล่าวกลายเป็นการเช่าตึกแถวในที่ดินรวมกับที่ดินไม่ การที่คู่สัญญาไปจดทะเบียนการเช่าที่สำนักงานเขตย่อมชอบด้วย ป. ที่ดิน มาตรา 71 (2)การจดทะเบียนการเช่าจึงชอบด้วยกฎหมาย
ล.เบิกความไว้ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นยอมรับว่าได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ย.เป็นผู้จัดการผลประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดจนทรัพย์สินอื่นของตนได้ และยังปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นอีกว่าโจทก์ยอมรับว่าได้มีการทำหนังสือมอบอำนาจโดย ศ.และ ล.ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ย.จริงเช่นนี้ ก็ย่อมฟังได้ว่า ศ.และ ล.ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้แก่ ย.จริง ซึ่งตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ ย.มีอำนาจทำกิจการเฉพาะอย่างได้หลายประการ เช่น ขาย จำนอง จำนำ ฯลฯ รวมทั้งให้เช่าด้วย ย.จึงมีอำนาจให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทได้
ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่า ย.ไม่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินและเจ้าของอาคารที่แท้จริงเท่านั้น เมื่อฟังได้ว่า ย.ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินและเจ้าของอาคารคือ ศ.และ ล.แล้วก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นอื่น ๆ อีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด
ศ.และ ล.ไม่เคยกล่าวอ้างเลยว่า ย.ไม่มีอำนาจให้เช่าตึกแถวพิพาท ทั้งเมื่อ ศ.และ ล. กับ ย.มีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 1593และตึกแถวพิพาทจนต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล ในที่สุดได้มีการนำที่ดินและตึกแถวพิพาทออกขายทอดตลาด ซึ่งตามประกาศการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า ตึกแถวพิพาทมีการจดทะเบียนและนิติกรรมการเช่าตั้งแต่ปี 2522 มีกำหนด 30 ปี ล.เป็นผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทจากการขายทอดตลาดจึงต้องผูกผันตามสัญญาเช่าดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจาก ล.ก็ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของ ล.ซึ่งมีต่อจำเลยด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 569 วรรคสอง ซึ่งโจทก์น่าจะรู้ดีอยู่แล้ว การที่โจทก์พยายามอ้างเหตุต่าง ๆ มาฟ้องขับไล่จำเลยน่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลและความยุติธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9199/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าอสังหาริมทรัพย์: การจดทะเบียนการเช่าที่ถูกต้องตามกฎหมาย และผลของการโอนสิทธิสัญญาเช่า
หนังสือสัญญาเช่าหนังสือการจดทะเบียนการเช่ามีข้อความว่าผู้ให้เช่าตกลงให้เช่าและผู้เช่าตกลงเช่าตึกแถวสองชั้น(ชั้นล่างและชั้นสอง)จำนวน8คูหาพร้อมหน้าบ้านด้านหนึ่งกว้างประมาณ4เมตรอีกด้านหนึ่งกว้างประมาณ6เมตรความยาวประมาณ30เมตรและตามหลักฐานการจดทะเบียนการเช่าก็มีข้อความระบุไว้ในทำนองเดียวกันทั้งยังมีข้อความเพิ่มเติมว่าปลูกอยู่ในที่ดินของศ. และล. โฉนดที่1593ตามข้อความในสัญญาเช่าและหลักฐานการจดทะเบียนดังกล่าวเห็นได้ชัดแจ้งว่าคู่สัญญาไม่ได้ให้เช่าและเช่าที่ดินซึ่งตึกแถวปลูกอยู่จึงไม่ใช่เป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในที่ดินรวมกับที่ดินดังที่บัญญัติไว้ในประมวลที่ดินมาตรา71(1)แม้ตามสัญญาเช่าระบุว่ามีการเช่าบริเวณหน้าตึกแถวด้วยก็ตามแต่บริเวณหน้าตึกแถวแม้จะไม่กล่าวถึงไว้ในสัญญาเช่าผู้เช่าก็ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ได้อยู่แล้วการที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าว่ามีการเช่าบริเวณหน้าตึกแถวด้วยก็หาทำให้การเช่าดังกล่าวกลายเป็นการเช่าตึกแถวในที่ดินรวมกับที่ดินไม่การที่คู่สัญญาไปจดทะเบียนการเช่าที่สำนักงานเขตย่อมชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา71(2)การจดทะเบียนการเช่าจึงชอบด้วยกฎหมาย ล.เบิกความไว้ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นยอมรับว่าได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ย.เป็นผู้จัดการผลประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดจนทรัพย์สินอื่นของตนได้และยังปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นอีกว่าโจทก์ยอมรับว่าได้มีการทำหนังสือมอบอำนาจโดยศ. และล.ทำหนังสือมอบอำนาจให้ย.จริงเช่นนี้ก็ย่อมฟังได้ว่าศ.และล.ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้แก่ย.จริงซึ่งตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ย.มีอำนาจทำกิจการเฉพาะอย่างได้หลายประการเช่นขายจำนองจำนำฯลฯรวมทั้งให้เช่าด้วยย.จึงมีอำนาจให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทได้ ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่าย.ไม่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินและเจ้าของอาคารที่แท้จริงเท่านั้นเมื่อฟังได้ว่าย. ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินและเจ้าของอาคารคือศ. และล.แล้วก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นอื่นๆอีกเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ศ. และล. ไม่เคยกล่าวอ้างเลยว่าย.ไม่มีอำนาจให้เช่าตึกแถวพิพาททั้งเมื่อศ. และล.กับย.มีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่1593และตึกแถวพิพาทจนต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลในที่สุดได้มีการนำที่ดินและตึกแถวพิพาทออกขายทอดตลาดซึ่งตามประกาศการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าตึกแถวพิพาทมีการจดทะเบียนและนิติกรรมการเช่าตั้งแต่ปี2522มีกำหนด30ปีล.เป็นผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทจากการขายทอดตลาดจึงต้องผูกพันตามสัญญาเช่าดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจากล. ก็ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของล.ซึ่งมีต่อจำเลยด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569วรรคสองซึ่งโจทก์น่าจะรู้ดีอยู่แล้วการที่โจทก์พยายามอ้างเหตุต่างๆมาฟ้องขับไล่จำเลยน่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลและความยุติธรรม
of 12