พบผลลัพธ์ทั้งหมด 116 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4877/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา, การนับโทษต่อกัน, และองค์ประกอบความผิดฐานออกเช็คไม่มีเงิน
ตามหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินคดีระบุว่า โจทก์โดยส.และ บ.กรรมการ มอบอำนาจให้ก.เป็นผู้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย เป็นการมอบอำนาจเฉพาะการเพื่อฟ้องคดีอาญาและหนังสือมอบอำนาจนี้มิได้ระบุเจาะจงว่าให้ฟ้องได้เพียงคดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะ ก. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาเป็นหลายสำนวนได้ ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า จำเลยออกเช็คพิพาททั้งหกฉบับเพื่อชำระหนี้ค่ากระป๋องและฝา กระป๋อง ให้แก่โจทก์จำเลยฎีกาโต้แย้งว่าพยานโจทก์เบิกความว่า จำเลยออกเช็คเพื่อค้ำประกันหนี้ให้ล.เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยออกเช็คให้โจทก์รวม 6 ฉบับ เมื่อเช็คแต่ละฉบับถึงกำหนด ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องโดยยกฟ้องเป็นสามสำนวน สำนวนแรกโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คจำนวน 1 ฉบับ สำนวนที่ 2 บรรยายฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คจำนวน 3 ฉบับ สำนวนที่ 3 บรรยายฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คจำนวน 2 ฉบับ คำขอท้ายฟ้องแต่ละสำนวนไม่ขอให้นับโทษจำเลยต่อ จึงนับโทษต่อกันไม่ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้นับโทษจำเลยแต่ละสำนวนต่อกันจึงไม่ชอบ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี, การแก้ไขคำฟ้อง, และคำให้การที่ไม่ชัดเจน
โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องในส่วนที่คิดอัตราดอกเบี้ยถึงวันฟ้องให้ตรงกับวันที่ที่โจทก์ยื่นคำฟ้องตามความเป็นจริง ไม่มีผลทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมแต่อย่างใดส่วนดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเป็นเรื่องที่จะต้องคำนวณให้ถูกต้องอีกขั้นตอนหนึ่ง ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง
หนังสือมอบอำนาจเป็นกรณีที่ตัวการมอบหมายให้ตัวแทนทำกิจการใด ๆ ที่มิใช่กิจการเฉพาะตัว แทนตัวการ ตัวการย่อมมอบอำนาจให้ตัวแทนทำกิจการใด ๆ ล่วงหน้า รวมทั้งการฟ้องคดีได้โดยไม่จำกัดเวลา และหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนั้นไม่จำต้องระบุบุคคลที่ต้องถูกฟ้องไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นผู้ใด ส่วนตัวการจะมีอำนาจฟ้องบุคคลใดได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่จะพิจารณาในขณะยื่นคำฟ้องว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของตัวการตามกฎหมายแพ่งหรือไม่ การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ย.มีอำนาจทำกิจการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้รวมทั้งฟ้องคดีเรียกร้องหนี้สิน ฯลฯ ด้วย เนื้อหาในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงมิใช่เป็นกรณีที่ ย.ซึ่งเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปจากโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 801 ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ดังกล่าวย่อมสมบูรณ์ มีผลใช้ได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตที่โจทก์มอบให้ไปใช้จ่ายเพื่อชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆ โจทก์ได้แจ้งรายการใช้บัตรเครดิตที่โจทก์จ่ายแทนไปให้จำเลยตามกำหนดในแต่ละเดือน จำเลยไม่นำเงินมาหักทอนบัญชีกับโจทก์เป็นเวลาหลายเดือน ภาระหนี้ ณ วันที่ 26 เมษายน 2533 จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 294,702.43 บาท จำเลยให้การปฏิเสธแต่เพียงว่า จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะก่อภาระหนี้โดยใช้บัตรเครดิตของโจทก์ ภาระหนี้ที่โจทก์อ้างเกิดขึ้นจากแหล่งอื่นซึ่งเป็นผู้ทำขึ้น จำเลยจึงไม่เป็นลูกหนี้โจทก์ และไม่ผิดสัญญาต่อโจทก์ คำให้การของจำเลยมิได้อ้างเหตุแห่งการนั้นไว้ในคำให้การว่าจำเลยมิได้เป็นลูกหนี้โจทก์ และไม่ได้ผิดสัญญาต่อโจทก์เพราะเหตุใด จึงเป็นคำให้การที่ไม่แจ้งชัดซึ่งเหตุแห่งการนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยไม่มีสิทธินำพยานมาสืบ
หนังสือมอบอำนาจเป็นกรณีที่ตัวการมอบหมายให้ตัวแทนทำกิจการใด ๆ ที่มิใช่กิจการเฉพาะตัว แทนตัวการ ตัวการย่อมมอบอำนาจให้ตัวแทนทำกิจการใด ๆ ล่วงหน้า รวมทั้งการฟ้องคดีได้โดยไม่จำกัดเวลา และหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนั้นไม่จำต้องระบุบุคคลที่ต้องถูกฟ้องไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นผู้ใด ส่วนตัวการจะมีอำนาจฟ้องบุคคลใดได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่จะพิจารณาในขณะยื่นคำฟ้องว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของตัวการตามกฎหมายแพ่งหรือไม่ การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ย.มีอำนาจทำกิจการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้รวมทั้งฟ้องคดีเรียกร้องหนี้สิน ฯลฯ ด้วย เนื้อหาในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงมิใช่เป็นกรณีที่ ย.ซึ่งเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปจากโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 801 ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ดังกล่าวย่อมสมบูรณ์ มีผลใช้ได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตที่โจทก์มอบให้ไปใช้จ่ายเพื่อชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆ โจทก์ได้แจ้งรายการใช้บัตรเครดิตที่โจทก์จ่ายแทนไปให้จำเลยตามกำหนดในแต่ละเดือน จำเลยไม่นำเงินมาหักทอนบัญชีกับโจทก์เป็นเวลาหลายเดือน ภาระหนี้ ณ วันที่ 26 เมษายน 2533 จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 294,702.43 บาท จำเลยให้การปฏิเสธแต่เพียงว่า จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะก่อภาระหนี้โดยใช้บัตรเครดิตของโจทก์ ภาระหนี้ที่โจทก์อ้างเกิดขึ้นจากแหล่งอื่นซึ่งเป็นผู้ทำขึ้น จำเลยจึงไม่เป็นลูกหนี้โจทก์ และไม่ผิดสัญญาต่อโจทก์ คำให้การของจำเลยมิได้อ้างเหตุแห่งการนั้นไว้ในคำให้การว่าจำเลยมิได้เป็นลูกหนี้โจทก์ และไม่ได้ผิดสัญญาต่อโจทก์เพราะเหตุใด จึงเป็นคำให้การที่ไม่แจ้งชัดซึ่งเหตุแห่งการนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยไม่มีสิทธินำพยานมาสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพและการพิจารณาความผิดฐานต่างๆ ศาลฎีกายกฟ้องฐานพรากผู้เยาว์และยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิมขอให้การใหม่รับสารภาพศาลชั้นต้นจดคำให้การจำเลยที่รับสารภาพขึ้นใหม่ การที่ตัวจำเลยได้ลงชื่อในฐานะจำเลยลงในคำให้การและในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลต่อหน้าศาลชั้นต้นนั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนายื่นคำร้องให้การรับสารภาพผิดตามฟ้องโจทก์ใหม่ต่อศาลด้วยตัวของจำเลยโดยไม่ประสงค์ให้ทนายความที่แต่งตั้งทำแทนซึ่งย่อมกระทำได้เพราะทนายความที่จำเลยแต่งตั้งนั้นตามกฎหมายเพียงให้เข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลในฐานะตัวแทนของจำเลยเท่านั้น ฟ้องโจทก์ระบุว่า ผู้เสียหายอายุ 11 ปี 10 เดือน ทางพิจารณาปรากฏว่าผู้เสียหายอายุ 14 ปี 10 เดือน 16 วัน เมื่อตามฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 277 วรรคแรก วรรคสอง และวรรคสามซึ่งตามวรรคแรกได้ระบุอายุของผู้เสียหายไว้ไม่เกิน 15 ปีข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องอายุของผู้เสียหายจึงไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในฟ้องอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง การที่จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นการรับสารภาพว่าจำเลยได้กระทำตามฟ้องจริง ส่วนการกระทำตามฟ้องจะเป็นความผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในข้อหาความผิดฐานพรากผู้เยาว์แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยมิได้มีเจตนาพรากผู้เสียหายไปจากผู้ปกครอง ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องในข้อหาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215,225 ที่จำเลยฎีกาว่า ลายมือชื่อผู้ร้องทุกข์ในบันทึกคำร้องทุกข์หรือกล่าวโทษในคดีนี้เป็นลายมือชื่อปลอมนั้น เป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำแถลงขอถอนการยึดทรัพย์จากความสำคัญผิด ไม่ถือเป็นการสละสิทธิเด็ดขาดในการบังคับคดี
ตัวแทนโจทก์ในการบังคับคดียื่นคำแถลงขอถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยและด้วยความสำคัญผิด ตัวแทนโจทก์ได้ระบุในคำแถลงด้วยว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว ทั้งที่ความจริงจำเลยยังชำระไม่ครบ การยื่นคำแถลงขอถอนการยึดทรัพย์จึงไม่ได้เกิดจากความสมัครใจของโจทก์ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิเด็ดขาดในการบังคับคดีจำเลย โจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนข้อความที่ระบุว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้วได้เพื่อให้เป็นไปตามความจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการดำเนินคดี - ผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง
ตามหนังสือมอบอำนาจไม่ปรากฏว่ากรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทผู้ร้องมอบอำนาจให้ ช.ผู้รับมอบอำนาจยื่นคำร้องหรือดำเนินคดีในชั้นศาลเพื่อขอรถยนต์ของกลางคืน ช.จึงไม่มีอำนาจมายื่นคำร้องหรือดำเนินคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการดำเนินคดีแทนบริษัท: การมอบอำนาจต้องระบุชัดเจนถึงการยื่นคำร้องในชั้นศาล
ตามหนังสือมอบอำนาจไม่ปรากฏว่ากรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทผู้ร้องมอบอำนาจให้ ช.ผู้รับมอบอำนาจยื่นคำร้องหรือดำเนินคดีในชั้นศาลเพื่อขอรถยนต์ของกลางคืนช. จึงไม่มีอำนาจมายื่นคำร้องหรือดำเนินคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีล้มละลายครอบคลุมการขอรับชำระหนี้ หากละเลยการดำเนินการตามกำหนด เจ้าหนี้ใช้สิทธิไม่สุจริต
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า เจ้าหนี้มอบอำนาจให้ ม. มีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องหรือดำเนินการตามกฎหมายทั้งปวง รวมทั้งดำเนินคดีล้มละลายเจ้าหนี้ไม่ได้เจาะจงให้ ม. ดำเนินคดีเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นการเฉพาะแทน ใบมอบอำนาจเป็นการตั้งตัวแทนเฉพาะการเพื่อให้ฟ้องคดีหาใช่เป็นการตั้งตัวแทนเฉพาะการเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นการเฉพาะไม่ ส่วนคำว่าให้มีอำนาจดำเนินคดีล้มละลายได้นั้น ก็ไม่ได้เจาะจงว่าคดีล้มละลายเรื่องใด ย่อมหมายถึงคดีล้มละลายทุกคดีที่เกี่ยวกับเจ้าหนี้ ไม่ว่าเจ้าหนี้จะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ม. ก็มีอำนาจดำเนินการแทนได้และการดำเนินคดีล้มละลายนั้นหมายความรวมถึงการขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย เมื่อ ม. เป็นตัวแทนเจ้าหนี้ในการดำเนินคดีล้มละลาย แต่ ม. กลับละเลยมิได้ขอรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้จนพ้นกำหนดสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แล้วจึงให้เจ้าหนี้มอบอำนาจใหม่ให้บุคคลอื่นมาขอรับชำระหนี้แทน และขอขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ นับว่าเจ้าหนี้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่สมควรที่จะขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้ แม้เจ้าหนี้จะอยู่นอกราชอาณาจักรก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทนฟ้องคดีล้มละลายและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เจ้าหนี้มอบอำนาจให้ ม. มีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องหรือดำเนินการตามกฎหมายทั้งปวง รวมทั้งดำเนินคดีล้มละลาย ถือได้ว่าเป็นการตั้งตัวแทนเฉพาะการเพื่อให้ฟ้องคดี หาใช่เป็นการตั้งตัวแทนเฉพาะการเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ คำว่าให้มีอำนาจดำเนินคดีล้มละลายได้นั้นก็ย่อมหมายถึงคดีล้มละลายทุกคดีที่เกี่ยวกับเจ้าหนี้ ไม่ว่าเจ้าหนี้จะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ และการดำเนินคดีล้มละลายหมายความรวมถึงการขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย
การที่เจ้าหนี้มีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักร ตั้ง ม. เป็นตัวแทนมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีล้มละลายได้ แต่ ม. ละเลยมิได้ขอรับชำระหนี้ในคดีนี้แทนเจ้าหนี้จนพ้นกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แล้วจึงให้เจ้าหนี้มอบอำนาจใหม่ให้บุคคลอื่นมายื่นคำขอรับชำระหนี้แทนโดยขอขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ นับได้ว่าเจ้าหนี้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่สมควรขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้
การที่เจ้าหนี้มีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักร ตั้ง ม. เป็นตัวแทนมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีล้มละลายได้ แต่ ม. ละเลยมิได้ขอรับชำระหนี้ในคดีนี้แทนเจ้าหนี้จนพ้นกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แล้วจึงให้เจ้าหนี้มอบอำนาจใหม่ให้บุคคลอื่นมายื่นคำขอรับชำระหนี้แทนโดยขอขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ นับได้ว่าเจ้าหนี้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่สมควรขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสัญญาส่วนตัวและการมอบอำนาจ: การลดค่าเช่าซื้อที่ผูกพันคู่สัญญา แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตามหนังสือมอบอำนาจ ธ. มีอำนาจเต็มในการขายรถยนต์ให้เช่าซื้อรถยนต์ตลอดจนการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ อำนาจเช่นนี้ย่อมหมายความรวมถึงอำนาจในการลดราคาขายหรือราคาเช่าซื้อหรือลดค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระด้วย ดังนั้น การที่ ธ. ลดค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ ให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำตามที่ได้รับมอบอำนาจมาจากโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อตามจำนวนที่ลดลงให้โจทก์เสร็จเรียบร้อยแล้ว โจทก์หามีสิทธิยึดรถยนต์คันพิพาทและฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ไม่เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้ผิดสัญญาเช่าซื้อ ธ. ผู้แทนโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ตกลงลดค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดที่ค้างชำระแล้ว เท่ากับคู่กรณีได้ตกลงลดค่าเช่าซื้อให้แก่กันโดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อสัญญาเดิมที่ให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วใช้ข้อสัญญาใหม่ดังกล่าวมานั่นเอง ข้อสัญญาใหม่นี้มีผลผูกพันคู่กรณีเพราะเป็นข้อสัญญาที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขกับสัญญาเช่าซื้อ และอำนาจฟ้องของตัวแทน
สัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข โดยมีข้อตกลงว่า กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะตกไปอยู่แก่ผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อชำระราคา ตามเงื่อนไขครบถ้วนและในกรณีที่ผู้ซื้อผิดนัดขาดการชำระเงินงวดใด ผู้ขายมีสิทธิที่จะเรียก ให้ผู้ซื้อชำระราคาที่เหลืออยู่โดยพลัน ซึ่งแตกต่างจากบทบัญญัติเรื่องเช่าซื้อตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 และ มาตรา 574 ในสาระสำคัญ จึงเป็น สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในสัญญา มิใช่สัญญาเช่าซื้อตามที่จำเลยอ้าง โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ม.มีอำนาจจดทะเบียนและโอนทะเบียนรถยนต์ไปยังผู้ซื้อแทนโจทก์ได้ ม.จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายแทนโจทก์.