พบผลลัพธ์ทั้งหมด 116 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะตัวการตัวแทน vs. ลูกจ้างนายจ้าง: สัญญาประกันชีวิตและการจ่ายค่าชดเชย
กรณีที่คู่สัญญาตกลงทำสัญญาเป็นหนังสือ เจตนาของคู่สัญญาซึ่งประสงค์จะให้สัญญามีผลผูกพันกันอย่างไร ย่อมแสดงออกโดยข้อความในสัญญาโจทก์ทำสัญญาเป็นตัวแทนประกันชีวิตของจำเลยมีหน้าที่ชักชวนบุคคลเข้าทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยหรือที่เรียกว่าขายประกันชีวิต ข้อความในสัญญาระบุว่าตัวแทนประกันชีวิตไม่มีอำนาจออกกรมธรรม์ หรือสัญญาประกันชีวิตแทนบริษัท และความผูกพันระหว่างบริษัทกับตัวแทนประกันชีวิตเป็นไปในฐานะตัวการกับตัวแทนรับมอบอำนาจเฉพาะการเท่านั้น ไม่ใช่ในฐานะบริษัทกับพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัท ดังนี้เห็นได้ว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาที่จะผูกพันต่อกันในฐานะเป็นตัวการกับตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 15 หาได้มีความประสงค์จะผูกพันกันอย่างลูกจ้างกับนายจ้างไม่ นอกจากนี้ฐานะและสิทธิของโจทก์ก็ยังแตกต่างจากลูกจ้างของจำเลย โดยโจทก์มีสิทธิได้รับค่านายหน้าจาก การขายประกันชีวิตตอบแทนเป็นรายๆไปและมีสิทธิได้รับประโยชน์ตามระเบียบสำหรับตัวแทนประกันชีวิตโดยเฉพาะโจทก์ไม่มีสิทธิ ได้รับผลประโยชน์ เช่นโบนัสค่าครองชีพ หรือ เบี้ยเลี้ยงเช่นลูกจ้างทั่วไป ของจำเลยแม้จำเลยจะจัดให้โจทก์สังกัดหน่วยงานของจำเลย และโจทก์ต้องลงเวลาทำงานเมื่อขาดงานต้องลาหรือขออนุญาตผู้บังคับบัญชา ก็เป็นเรื่องปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาเพื่อให้ กิจการของจำเลยมีประสิทธิภาพและรัดกุมซึ่งโจทก์จำเลย ทำความตกลงกันได้มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องทำงานตามคำสั่ง หรือการบังคับบัญชาของจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่ากรณีที่โจทก์ฝ่าฝืน ต่อระเบียบดังกล่าวจำเลยมีอำนาจลงโทษโจทก์เป็นประการอื่นนอกจาก เลิกสัญญา ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะผลงานของโจทก์ต่ำกว่าข้อกำหนดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าชดเชย ค่าจ้าง และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนประกันชีวิต: เจตนาคู่สัญญา, สิทธิและฐานะของตัวแทน ไม่ถือเป็นลูกจ้าง
กรณีที่คู่สัญญาตกลงทำสัญญาเป็นหนังสือ เจตนาของคู่สัญญาซึ่งประสงค์จะให้สัญญามีผลผูกพันกันอย่างไร ย่อมแสดงออกโดยข้อความในสัญญาโจทก์ทำสัญญาเป็นตัวแทนประกันชีวิตของจำเลยมีหน้าที่ชักชวนบุคคลเข้าทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยหรือที่เรียกว่าขายประกันชีวิต ข้อความในสัญญาระบุว่าตัวแทนประกันชีวิตไม่มีอำนาจออกกรมธรรม์หรือสัญญาประกันชีวิตแทนบริษัท และความผูกพันระหว่างบริษัทกับตัวแทนประกันชีวิตเป็นไปในฐานะตัวการกับตัวแทนรับมอบอำนาจเฉพาะการเท่านั้นไม่ใช่ในฐานะบริษัทกับพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัท ดังนี้เห็นได้ว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาที่จะผูกพันต่อกันในฐานะเป็นตัวการกับตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ3 ลักษณะ 15 หาได้มีความประสงค์จะผูกพันกันอย่างลูกจ้างกับนายจ้างไม่ นอกจากนี้ฐานะและสิทธิของโจทก์ก็ยังแตกต่างจากลูกจ้างของจำเลยโดยโจทก์มีสิทธิได้รับค่านายหน้าจาก การขายประกันชีวิตตอบแทนเป็นรายๆไปและมีสิทธิได้รับประโยชน์ตามระเบียบสำหรับตัวแทนประกันชีวิตโดยเฉพาะโจทก์ไม่มีสิทธิ ได้รับผลประโยชน์ เช่นโบนัสค่าครองชีพ หรือเบี้ยเลี้ยงเช่นลูกจ้างทั่วไป ของจำเลยแม้จำเลยจะจัดให้โจทก์สังกัดหน่วยงานของจำเลย และโจทก์ต้องลงเวลาทำงานเมื่อขาดงานต้องลาหรือขออนุญาตผู้บังคับบัญชา ก็เป็นเรื่องปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาเพื่อให้ กิจการของจำเลยมีประสิทธิภาพและรัดกุมซึ่งโจทก์จำเลย ทำความตกลงกันได้มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องทำงานตามคำสั่ง หรือการบังคับบัญชาของจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่ากรณีที่โจทก์ฝ่าฝืน ต่อระเบียบดังกล่าวจำเลยมีอำนาจลงโทษโจทก์เป็นประการอื่นนอกจาก เลิกสัญญา ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลย เมื่อจำเลย เลิกจ้างโจทก์เพราะผลงานของโจทก์ต่ำกว่าข้อกำหนดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าชดเชย ค่าจ้าง และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2696/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจในการยื่นคำร้องขอคืนของกลางต้องระบุชัดเจนในหนังสือมอบอำนาจ การมอบอำนาจให้รับของกลางจากพนักงานสอบสวนไม่ครอบคลุมถึงการดำเนินคดีต่อศาล
หนังสือมอบอำนาจท้ายคำร้องมีข้อความว่า ".....ให้มีอำนาจในการขอรับเอารถยนต์ไถนาคันดังกล่าวจากพนักงานสอบสวนได้....ฯลฯ" เป็นการมอบอำนาจให้รับรถไถจากพนักงานสอบสวน มิได้มีการมอบอำนาจให้มายื่นคำร้องหรือดำเนินคดีต่อศาลเพื่อขอคืนรถไถของกลาง เมื่อ ก. เจ้าของรถไถมิได้มอบอำนาจให้ ค. ยื่นคำร้องหรือดำเนินคดีต่อศาลเพื่อขอรถไถของกลางคืน ค. จึงไม่มีอำนาจมายื่นคำร้องหรือดำเนินคดีนี้ต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2696/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องร้องขอคืนของกลาง: หนังสือมอบอำนาจต้องระบุชัดเจนถึงการดำเนินคดีต่อศาล
หนังสือมอบอำนาจท้ายคำร้องมีข้อความว่า.'.....ให้มีอำนาจในการขอรับเอารถยนต์ไถนาคันดังกล่าวจากพนักงานสอบสวนได้....ฯลฯ' เป็นการมอบอำนาจให้รับรถไถจากพนักงานสอบสวนมิได้มีการมอบอำนาจให้มายื่นคำร้องหรือดำเนินคดีต่อศาลเพื่อขอคืนรถไถของกลาง เมื่อ ก. เจ้าของรถไถมิได้มอบอำนาจให้ ค. ยื่นคำร้องหรือดำเนินคดีต่อศาลเพื่อขอรถไถของกลางคืน ค. จึงไม่มีอำนาจมายื่นคำร้องหรือดำเนินคดีนี้ต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจตัวแทนในการจัดการมรดก: การฟ้องคดีถอนผู้จัดการมรดก
หนังสือมอบอำนาจมีใจความว่า ขอมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจทั้งปวงจัดการเกี่ยวกับการขอรับมรดก และมีอำนาจเต็มที่ในการรับและจัดการมรดกดังกล่าวดังนี้ เป็นการมอบอำนาจเฉพาะการให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจในการขอรับมรดกและมีลักษณะเป็นการตั้งให้เป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปที่จะจัดการเกี่ยวกับมรดกที่ได้รับมาได้ตามสมควร ผู้รับมอบอำนาจย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีขอให้ศาลถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกและแต่งตั้งให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกแทนหรือร่วมกับจำเลย เพราะเป็นการขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจตัวแทนในการจัดการมรดก: การฟ้องคดีขัดแย้งผู้จัดการมรดกเกินขอบเขต
หนังสือมอบอำนาจมีใจความว่า ขอมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจทั้งปวงจัดการเกี่ยวกับการขอรับมรดก และมีอำนาจเต็มที่ในการรับและจัดการมรดกดังกล่าวดังนี้ เป็นการมอบอำนาจเฉพาะการให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจในการขอรับมรดกและมีลักษณะเป็นการตั้งให้เป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปที่จะจัดการเกี่ยวกับมรดกที่ได้รับมาได้ตามสมควรผู้รับมอบอำนาจย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีขอให้ศาลถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกและแต่งตั้งให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกแทนหรือร่วมกับจำเลยเพราะเป็นการขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: การมอบอำนาจดำเนินคดีต่อร้านค้า ย่อมรวมถึงเจ้าของร้าน
โจทก์มอบอำนาจให้ ป. ฟ้องคดีแทน ในหนังสือมอบอำนาจมีความว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ป. ดำเนินคดีแก่ร้าน อ. เกี่ยวกับสินค้าที่ร้าน อ. สั่งซื้อไปจากโจทก์และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยประกอบกิจการค้าโดยใช้สมญานาม ว่า อ. จึงเห็นได้ว่า การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ป. ดำเนินคดีแก่ร้าน อ. ก็เท่ากับ โจทก์มอบอำนาจให้ป.ดำเนินคดีแก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของร้าน อ. นั่นเอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: การมอบอำนาจดำเนินคดีต่อร้านค้า ย่อมรวมถึงเจ้าของร้าน
โจทก์มอบอำนาจให้ ป. ฟ้องคดีแทน ในหนังสือมอบอำนาจมีความว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ป. ดำเนินคดีแก่ร้าน อ. เกี่ยวกับสินค้าที่ร้าน อ. สั่งซื้อไปจากโจทก์และโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยประกอบกิจการค้าโดยใช้สมญานาม ว่า อ. จึงเห็นได้ว่า การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ป. ดำเนินคดีแก่ร้าน อ. ก็เท่ากับ โจทก์มอบอำนาจให้ป.ดำเนินคดีแก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของร้าน อ. นั่นเอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2817/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขับไล่จากใบมอบอำนาจเฉพาะการ
ใบมอบอำนาจมีข้อความว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจแต่งตั้งทนายความดำเนินคดีขับไล่ทางศาลต่อผู้อยู่อาศัย ผู้เช่าเดิมและผู้ครอบครองที่ดิน ให้ออกไปจากที่ดินดังนี้ เป็นเรื่องโจทก์ได้ระบุมอบอำนาจเฉพาะการมิใช่มอบอำนาจทั่วไปและกรณีที่โจทก์ระบุให้อำนาจแก่ผู้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจแต่งตั้งทนายความดำเนินคดีทางศาลเช่นนี้หาจำเป็นต้องมอบอำนาจให้ฟ้องคดีหนึ่งคดีใดโดยเฉพาะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจมอบอำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลาง: การตีความขอบเขตอำนาจตามใบมอบอำนาจที่ระบุสิทธิเรียกร้องทรัพย์สิน
ใบมอบอำนาจมีข้อความข้อหนึ่งว่า 'เป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลในทางแพ่งและอาญา เพื่อเรียกร้องทวงคืนซึ่งทรัพย์สิน ฯลฯ' นั้นถือได้ว่าผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ผู้รับมอบยื่นคำร้องต่อศาลขอคืนของกลางได้ เพราะการยื่นคำร้องขอคืนของกลางในคดีอาญาเป็นการใช้สิทธิดำเนินคดีในทางศาลอย่างหนึ่ง