คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประกอบ หุตะสิงห์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 722 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์ในการฎีกา: คำนวณจากทุนทรัพย์ที่ฟ้องในศาลชั้นต้น แม้ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจะต่ำกว่าเกณฑ์
ทุนทรัพย์ที่จะถือเป็นหลักฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่นั้น ให้ถือทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องในศาลชั้นต้นเป็นเกณฑ์ ไม่ใช่ที่ศาลล่างตัดสินให้
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าที่พิพาทราคา 5,000 บาทเป็นของโจทก์ และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่ละเมิดเก็บเกี่ยวข้าวในที่พิพาทไปเป็นราคาเงิน 2,000 บาท ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์แม้ว่าค่าเสียหายจะให้เพียง 200 บาทเท่านั้นก็ตาม คู่ความก็ฎีกาข้อเท็จจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์: พฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะอนุญาตได้
กรณีเรื่องขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 ศาลจะสั่งขยายระยะเวลาได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษเท่านั้น
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำฟ้องอุทธรณ์ต่อไปอีก 15 วัน โดยอ้างว่าทนายโจทก์ยังทำคำฟ้องอุทธรณ์ไม่ได้ เนื่องจากคดีใหญ่โตมีทุนทรัพย์มาก มีกรณีสลับซับซ้อน และยังคัดคำเบิกความของพยานและรายงานกระบวนพิจารณาของศาลฉบับเผชิญสืบตรวจที่พิพาทไม่เสร็จทั้งทนายโจทก์ติดว่าความและเตรียมคดีเพื่อว่าความให้บุคคลอื่นหลายเรื่อง ดังนี้ตามข้ออ้างของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่า เป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะให้ศาลสั่งขยายเวลายื่นอุทธรณ์ให้ตามที่โจทก์ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษ พฤติการณ์ทั่วไปไม่เพียงพอ
กรณีเรื่องขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ศาลจะสั่งขยายระยะเวลาได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษเท่านั้น
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำฟ้องอุทธรณ์ต่อไปอีก 15 วัน โดยอ้างว่าทนายโจทก์ยังทำคำฟ้องอุทธรณ์ไม่ได้เนื่องจากคดีใหญ่โตมีทุนทรัพย์มาก มีกรณีสลับซับซ้อน และยังคัดคำเบิกความของพยานและรายงานกระบวนพิจารณาของศาลฉบับเผชิญสืบตรวจที่พิพาทไม่เสร็จ ทั้งทนายโจทก์คิดว่าความและเตรียมคดีเพื่อว่าความให้บุคคลอื่นหลายเรื่อง ดังนี้ ตามข้ออ้างของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่จะให้ศาลสั่งขยายเวลายื่นอุทธรณ์ให้ตามที่โจทก์ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์เช่าซื้อ: ตัวถังเป็นส่วนควบ ทรัพย์ประธานคือรถยนต์ของผู้ให้เช่าซื้อ ไม่ถือว่าเป็นการลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2เป็นผู้จัดการ กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันฉ้อโกงโดยหลอกลวงโจทก์ให้ทำสัญญาเช่าซื้อตัวรถยนต์จากจำเลยที่ 1 โจทก์หลงเชื่อลงนามสัญญาเช่าซื้อและได้ต่อตัวถังรถยนต์นั้นขึ้น ต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันลักรถยนต์ดังกล่าวซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของตัวถังรถ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานลักทรัพย์ ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเอาสังหาริมทรัพย์ของบุคคลหลายคนมารวมเข้ากันเป็นรถยนต์ชนิดมีตัวถังเป็นส่วนควบ ซึ่งตัวรถยนต์ของผู้ให้เช่าซื้ออาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1316วรรคหลัง ผู้ให้เช่าซื้อซึ่งเป็นเจ้าของตัวรถยนต์จึงเป็นเจ้าของทรัพย์ที่รวมเข้ากันแต่ผู้เดียว โจทก์หาใช่เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไม่ เมื่อผู้ให้เช่าซื้อเอารถยนต์นั้นไป จึงหาใช่เป็นการเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปไม่ จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์เกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์เช่าซื้อ: ตัวถังเป็นส่วนควบ ทรัพย์ประธานคือรถยนต์ของผู้ให้เช่าซื้อ ไม่ถือว่าเป็นการลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันฉ้อโกงโดยหลอกลวงโจทก์ให้ทำสัญญาเช่าซื้อตัวรถยนต์จากจำเลยที่ 1 โจทก์หลงเชื่อลงนามสัญญาเช่าซื้อและได้ต่อตัวถังรถยนต์นั้นขึ้น ต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันลักรถยนต์ดังกล่าวซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของตัวถังรถ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานลักทรัพย์ ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเอาสังหาริมทรัพย์ของบุคคลหลายคนมารวมเข้ากันเป็นรถยนต์ชนิดมีตัวถังเป็นส่วนควบ ซึ่งตัวรถยนต์ของผู้ให้เช่าซื้ออาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1012 วรรคหลัง ผู้ให้เช่าซื้อ ซึ่งเป็นเจ้าของตัวรถยนต์จึงเป็นเจ้าของทรัพย์ที่รวมเข้ากันแต่ผู้เดียว โจทก์หาใช่เป็นเจ้าของรวมอยู่เดียวไม่ เมื่อผู้ให้เช่าซื้อเอารถยนต์นั้นไป จึงหาใช่เป็นการเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปไม่ จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์เกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คแก้ไขเปลี่ยนแปลงปีออก: สิทธิผู้ทรงเช็คและอายุความ
เช็คที่จำเลยออกให้โจทก์เป็นเช็คที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตัวเลขปีที่ออกเช็คโดยไม่ปรากฏตัวผู้แก้นั้น ย่อมถือว่าเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ โดยความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คย่อมจะถือเอาประโยชน์จากเช็คนั้นได้เสมือนดังว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย และจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความเดิมก่อนจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช็คนั้นก็ได้แต่เมื่อมิได้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่เช็คถึงกำหนดแล้ว คดีของโจทก์ก็ย่อมเป็นอันขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเช็คโดยรู้นิติสัมพันธ์ระงับสิ้นแล้วถือเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตและอาจเข้าข่ายฉ้อฉล
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินแก่ผู้มีชื่อคนหนึ่ง ต่อมาจำเลยได้ชำระหนี้แก่ผู้มีชื่อคนนั้น โดยทำสัญญาประนีประนอมผ่อนใช้เงินตามเช็คซึ่งโจทก์ก็ได้ลงชื่อเป็นพยานด้วยนั้น แสดงว่าโจทก์รู้ดีแล้วว่าจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์จะต้องใช้เงินตามเช็คแล้ว ฉะนั้น การที่โจทก์กลับรับเช็คจากผู้มีชื่อดังกล่าวแล้วนำไปขึ้นเงินต่อธนาคาร จึงเท่ากับโจทก์กระทำโดยไม่สุจริต ถือได้ว่าเป็นการคบคิดกันฉ้อฉล โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำเช็คฉบับนั้นมาฟ้องเรียกเงินจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะขายฝาก: เจตนาคู่สัญญาและผลบังคับใช้ตามกฎหมาย
น้องชายของจำเลยถูกโจทก์กล่าวหาว่าฉ้อโกงและถูกจับจำเลยได้ตกลงกับโจทก์เพื่อเลิกคดี แล้วไปหาพนักงานสอบสวนเพื่อให้ทำสัญญาไว้เป็นหลักฐาน พนักงานสอบสวนร่างสัญญาจะขายฝากเพื่อปลดหนี้น้องชายจำเลย โจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ มีข้อความว่าจำเลยจะขายฝากที่ดินให้โจทก์เป็นเงิน 10,000 บาท แล้วพนักงานสอบสวนเอาสัญญากู้กับสัญญาขายฝากที่น้องชายจำเลยทำให้โจทก์ไว้มาฉีกทิ้งแม้สัญญานี้จะไม่มีข้อกำหนดว่า จะไปทำหนังสือและจดทะเบียนเมื่อใด แต่ได้ระบุว่าค่าธรรมเนียมต่างๆผู้รับซื้อฝากต้องออกเอง แสดงว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาทำสัญญาขายฝากแต่ต้องการให้เป็นเพียงสัญญาจะขายฝากซึ่งจะต้องมีการทำหนังสือจดทะเบียนกันให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเป็นสัญญาจะขายฝากซึ่งมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญแล้ว โจทก์ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045-1049/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเช่าและผลกระทบเมื่อผู้โอนผิดสัญญาเช่าเดิม ผู้รับเช่ามีสิทธิเรียกร้องค่าเช่าล่วงหน้าคืนได้
การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้เช่าอยู่ ซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 569 นั้น ผู้โอนต้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและโอนกรรมสิทธิ์ในขณะที่มีสัญญาเช่าผูกพันอยู่ด้วย ผู้รับโอนจึงจะรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่านั้น
สัญญาที่เจ้าของที่ดินให้จำเลยเช่าที่ดินปลูกตึก และให้ตึกตกเป็นของเจ้าของที่ดินตั้งแต่สร้างตึกเสร็จ โดยจำเลยมีสิทธิครอบครองและให้เช่าช่วงต่อไปได้นั้น เมื่อจำเลยทำผิดสัญญาจนเจ้าของที่ดินใช้สิทธิเข้าครอบครองตีกเสียแล้ว เจ้าของที่ดินจึงหาใช่ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในตึกซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา 569 ไม่
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิที่จะให้โจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากตึกที่เช่าอันเป็นการผิดสัญญาเช่าต่อโจทก์แล้ว โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกค่าเช่าที่ชำระล่วงหน้าไปแล้วคืนจากจำเลยได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045-1048/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่มีสัญญาเช่าอยู่ การรับโอนสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนเมื่อผู้โอนหมดสิทธิในทรัพย์สิน
การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้เช่าอยู่ ซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 นั้น ผู้โอนต้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และโอนกรรมสิทธิ์ในขณะที่มีสัญญาเช่าผูกพันอยู่ด้วย ผู้รับโอนจึงจะรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่านั้น
สัญญาที่เจ้าของที่ดินให้จำเลยเช่าที่ดินปลูกตึกและให้ตึกตกเป็นของเจ้าของที่ดิน ตั้งแต่สร้างตึกเสร็จโดยจำเลยมีสิทธิครอบครองและให้เช่าช่วงต่อไปได้นั้นเมื่อจำเลยทำผิดสัญญา จนเจ้าของที่ดินใช้สิทธิเข้าครอบครองตึกเสียแล้ว เจ้าของที่ดินจึงหาใช่ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในตึกซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 569 ไม่
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิที่จะให้โจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากตึกที่เช่าอันเป็นการผิดสัญญาเช่าต่อโจทก์แล้ว โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกค่าเช่าที่ชำระล่วงหน้าไปแล้วคืนจากจำเลยได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 22/2507)
of 73