คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประกอบ หุตะสิงห์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 722 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานที่เกิดเหตุในฟ้องคดีอาญาไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ ศาลยังลงโทษได้หากไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ
การที่โจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดในท้องที่อำเภอหนึ่ง แม้ศาลจะฟังข้อเท็จจริงดังที่จำเลยนำสืบว่าเหตุเกิดในท้องที่อีกอำเภอหนึ่งก็ตาม แต่เขตของสองอำเภอนั้นอยู่ใกล้ชิดติดต่อกัน และจำเลยก็รู้ดีอยู่แล้วว่าสถานที่เกิดเหตุนั้นอยู่ที่ใด เช่นนี้ ถือได้ว่าในข้อสถานที่เกิดเหตุนั้นทางพิจารณาไม่แตกต่างกับฟ้องในข้อสาระสำคัญ และจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้อย่างใด ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ซื้อเชื่อและการรับสภาพหนี้ที่ทำให้สะดุดหยุดลงตามกฎหมาย
จำเลยซื้อเชื่อกระดาษ เครื่องเขียน จากพ่อค้า(โจทก์)ไปขายต่อเด็กนักเรียน เช่นนี้หาใช่เป็นการทำเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยไม่ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
เมื่อ จำเลยรับสภาพหนี้ ย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว การเริ่มต้นนับอายุความใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 181 ก็ต้องถืออายุความเดิม เป็นแต่ตั้งต้นนับใหม่เท่านั้น
คู่ความแถลงขอให้ศาลชี้ขาดว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เพียงประเด็นเดียวโดยไม่สืบพยานในประเด็นอื่นอีก เช่นนี้ ศาลจะชี้ขาดได้ต้องอาศัยข้อเท็จจริงซึ่งปรากฏในคำฟ้องคำให้การและคำแถลงของคู่ความประกอบด้วย การวินิจฉัยข้อเท็จจริงเช่นนี้ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920-921/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหาย: กรณีผู้ตายประมาทด้วยและภริยาฟ้องแทน
ภรรยาเข้าเป็นโจทก์แทนสามีซึ่งถึงแก่ความตายฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาททำให้สามีโจทก์และคนอื่นถึงแก่ความตาย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า คนตายเพราะรถชนกันจากความประมาทของจำเลยและสามีโจทก์ด้วยกันแล้ว สามีโจทก์จึงเป็นผู้กระทำผิดฐานขับรถโดยประมาทจนเป็นเหตุให้คนตายอันจะต้องรับโทษทางอาญาด้วยผู้หนึ่ง จึงไม่เป็นผู้เสียหาย โจทก์ฟ้องจำเลยได้ก็โดยเข้าฟ้องแทนสามีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) เมื่อสามีไม่เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตามมาตรา2(4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธมีดดาบ แต่บาดแผลไม่ร้ายแรง ไม่ถึงขั้นเป็นอันตรายแก่กาย
ใช้มีดดาบแทงทำร้ายถูกชายโครงซ้ายมีรอยช้ำแดงโตกลมครึ่งเซนติเมตร รักษาประมาณ 5 วันหาย นั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย จึงผิดเพียงมาตรา 391

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีอาวุธปืนและลักทรัพย์/รับของโจร เป็นคนละกรรมต่างวาระ ฟ้องไม่ขัดกัน
มีคนร้ายลักอาวุธปืนของผู้เสียหายไปตั้งแต่วันที่ 12 ต่อมาวันที่ 16 เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมอาวุธปืนพนักงานอัยการโจทก์จึงฟ้องจำเลยฐานมีปืนไว้ในความครอบครองไม่รับอนุญาตเป็นคดีหนึ่ง แล้วฟ้องฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรอีกคดีหนึ่ง ดังนี้ เห็นได้ว่าการกระทำผิดฐานมีอาวุธปืนนั้นจำเลยย่อมจะได้กระทำผิดนับแต่วาระแรกที่ได้ปืนนั้นมาไว้ในครอบครอง และเป็นความผิดอยู่เรื่อยไปจนกระทั่งจำเลยถูกจับได้พร้อมอาวุธปืน ส่วนความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรนั้นเป็นความผิดในขณะใดขณะหนึ่งตามที่โจทก์กล่าวหา ฉะนั้น การกระทำผิดของจำเลยที่โจทก์กล่าวหาทั้งสองคดีจึงอาจเป็นความผิดคนละกระทงต่างกรรมต่างวาระกันได้ ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาซ้ำซ้อน ความผิดคนละกระทงต่างวาระกัน และขอบเขตการฟ้องคดีอาญา
มีคนร้ายลักอาวุธปืนของผู้เสียหายไปตั้งแต่วันที่12 ต่อมาวันที่ 16 เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมอาวุธปืน พนักงานอัยการโจทก์จึงฟ้องจำเลยฐานมีปืนไว้ในความครอบครองไม่รับอนุญาตเป็นคดีหนึ่ง แล้วฟ้องฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรอีกคดีหนึ่ง ดังนี้เห็นได้ว่าการกระทำผิดฐานมีอาวุธปืนนั้น จำเลยย่อมจะได้กระทำผิดนับแต่วาระแรกที่ได้ปืนนั้นมาไว้ในครอบครอง และเป็นความผิดอยู่เรื่อยไปจนกระทั่งจำเลยถูกจับได้พร้อมอาวุธปืน ส่วนความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรนั้น เป็นความผิดในขณะใดขณะหนึ่งตามที่โจทก์กล่าวหา ฉะนั้น การกระทำผิดของจำเลยที่โจทก์กล่าวหาทั้งสองคดีจึงอาจเป็นความผิดคนละกระทงต่างกรรมต่างวาระกันได้ ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19/2507

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธมีดดาบ แต่บาดแผลไม่ร้ายแรง ศาลตัดสินว่าไม่ถึงอันตรายแก่กาย
ใช้มีดดาบแทงทำร้ายถูกชายโครงซ้ายมีรอยช้ำแดงโตกลมครึ่งเซนติเมตร รักษาประมาณ 5 วันหาย นั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย จึงผิดเพียงมาตรา 391

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงหลักประกันในชั้นทุเลาการบังคับคดีทำให้ผู้ค้ำประกันเดิมหลุดพ้นจากความรับผิดชอบ
ในการสั่งคำร้องของจำเลยในชั้นขอทุเลาการบังคับคดีชั้นฎีกาศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับได้ในเมื่อจำเลยสามารถหาประกันที่มั่นคงและเป็นที่พอใจของศาลชั้นต้น เห็นได้ว่าศาลฎีกามิได้ให้ถือประกันเดิมที่ผู้ประกันได้ทำไว้ในการที่จำเลยขอทุเลาการบังคับในชั้นอุทธรณ์แล้วฉะนั้น การค้ำประกันในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นอันเพิกถอนไปในตัว จะบังคับการชำระหนี้อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขยายทางพิพาท แม้ไม่ได้จดทะเบียน ก็มีผลบังคับเป็นบุคคลสิทธิได้
การที่โจทก์จำเลยตกลงให้โจทก์ออกทุนขยายทางพิพาทให้กว้างเพื่อใช้ร่วมกัน แต่สัญญาข้อตกลงนี้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 นั้น ย่อมไม่ทำให้โจทก์ได้ทรัพย์สิทธิเป็นภารจำยอม แต่การไม่จดทะเบียนฯดังกล่าวนั้นหาได้ทำให้สัญญาข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะแต่อย่างใดไม่ คือเป็นเพียงยังไม่บริบูรณ์เท่านั้น โดยเหตุนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจึงมีผลก่อให้เกิดบุคคลสิทธิเรียกร้องบังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา ฉะนั้น โดยอาศัยสัญญาดังกล่าวโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยคู่สัญญามิให้ขัดขวางในอันที่โจทก์จะใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงในสัญญาได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจรอการลงโทษ: ฎีกาต้องห้ามเมื่อเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 3 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้รอการลงโทษไว้ ดังนี้ โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำคุกโดยไม่ต้องรอไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 เพราะการใช้ดุลพินิจในการรอการลงโทษเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
of 73