คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประกอบ หุตะสิงห์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 722 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินค่าสมาชิกสมาคมที่มิได้จดทะเบียนชอบด้วยกฎหมาย เข้าลักษณะลาภมิควรได้
การฌาปนกิจสงเคราะห์ที่จำเลยแต่ละคนเป็นกรรมการ แต่มิได้จดทะเบียนเป็นสมาคมนั้นถ้าจำเลยรับเงินค่าเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้นจึงถือได้ว่า เป็นเงินที่จำเลยรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นลาภมิควรได้อย่างหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินค่าสมาชิกสมาคมฌาปนกิจที่ไม่จดทะเบียนชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นลาภมิควรได้
การฌาปนกิจสงเคราะห์ที่จำเลยแต่ละคนเป็นกรรมการ แต่มิได้จดทะเบียนเป็นสมาคมนั้น ถ้าจำเลยรับเงินค่าเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น จึงถึงได้ว่าเป็นเงินที่จำเลยรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นลาภมิควรได้อย่างหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุมในที่รโหฐาน: กรณีฉุกเฉินและขอบเขตการป้องกันสิทธิ
การจับในที่รโหฐาน ในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมายจับนั้นเมื่อพฤติการณ์ปรากฏว่าความผิดซึ่งหน้าซึ่งจำเลยผู้ถูกจับได้กระทำแล้วหลบหนีเข้าไปเป็นเพียงความผิดฐานลหุโทษตำรวจผู้จับรู้จักจำเลยและหลักแหล่งของจำเลยมาก่อนทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยจะหลบหนีต่อไปเช่นนี้ ก็ไม่เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 96(2) จ่าสิบตำรวจ สิบตำรวจโท และพลตำรวจจึงไม่มีอำนาจเข้าไปจับ การเข้าไปจับโดยไม่มีอำนาจเช่นนี้จำเลยย่อมกระทำการป้องกันได้และเมื่อไม่เกินสมควรแก่เหตุ จำเลยก็ไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุมในที่รโหฐาน: กรณีความผิดลหุโทษและเหตุฉุกเฉินที่ไม่เพียงพอ
การจับในที่รโหฐาน ในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมายจับนั้น เมื่อพฤติการณ์ปรากฎว่าความผิดซึ่งหน้าซึ่งจำเลยผู้ถูกจับได้กระทำแล้วหลบหนีเข้าไปเป็นเพียงความผิดฐานลหุโทษ ตำรวจผู้จับรู้จักจำเลยและหลักแหล่งของจำเลยมาก่อน ทั้งไม่ปรากฎว่าจำเลยจะหลบหนีต่อไป เช่นนี้ ก็ไม่เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46(2) จ่าสิบตำรวจ สิบตำรวจโท และพลตำรวจ จึงไม่มีอำนาจเข้าไปจับ การเข้าไปจับโดยไม่มีอำนาจเช่นนี้ จำเลยย่อมกระทำการป้องกันได้ และเมื่อไม่เกินสมควรแก่เหตุ จำเลยก็ไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ในเรือโดยสาร: การจำแนกความผิดฐานลักทรัพย์จากการยักยอกทรัพย์ และประเด็นสถานที่เกิดเหตุ
ผู้เสียหายฝากกระเป๋าถือแก่จำเลยเพื่อเข้าห้องส้วม ขณะผู้เสียหายเข้าห้องส้วม จำเลยได้เปิดกระเป๋าถือเอาสร้อยกับธนบัตรของผู้เสียหายไป เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งกำลังโดยสารอยู่ในเรือประจำทาง เหตุเกิดที่ตำบลปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทางพิจารณาไม่แน่ว่าขณะเกิดเหตุเรือแล่นอยู่ในเขตตำบลปากพนังตามฟ้องหรือแล่นเข้าไปในในเขตตำบลหูล่องกับตำบลบ้านเกิง ซึ่งติดต่อกันแล้ว คงได้ความเพียงว่า เหตุเกิดในเรือโดยสารซึ่งเดินจากอำเภอปากพนังไปอำเภอหัวไทย ดังนี้ ยังไม่พอถือเป็นข้อแตกต่างกับฟ้องจนถึงขนาดจะยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ vs. ยักยอกทรัพย์: การฝากกระเป๋าถือชั่วคราวไม่ถือเป็นการสละการครอบครอง
ผู้เสียหายฝากกระเป๋าถือแก่จำเลยเพื่อเข้าห้องส้วม ขณะผู้เสียหายเข้าห้องส้วมจำเลยได้เปิดกระเป๋าถือเอาสร้อยกับธนบัตรของผู้เสียหายไปเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งกำลังโดยสารอยู่ในเรือประจำทางเหตุเกิดที่ตำบลปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทางพิจารณาไม่แน่ว่าขณะเกิดเหตุเรือแล่นอยู่ในเขตตำบลปากพนังตามฟ้องหรือแล่นเข้าไปในเขตตำบลหูล่องกับตำบลบ้านเกิงซึ่งติดต่อกันแล้วคงได้ความเพียงว่า เหตุเกิดในเรือโดยสารซึ่งเดินจากอำเภอปากพนังไปอำเภอหัวไทรดังนี้ ยังไม่พอถือเป็นข้อแตกต่างกับฟ้องจนถึงขนาดจะยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 152/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่ใช้ขนไม้ผิดกฎหมาย: พิจารณาความเชื่อมโยงระหว่างการขนส่งกับความผิดฐานครอบครองไม้
คดีที่ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานมีไม้ที่ยังมิได้แปรรูปไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงและรอยตรารัฐบาลประทับไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตนั้น รถยนต์ทีจำเลยใช้บรรทุกขัดลาภไม้ของกลางนั้นมาจนถูกจับจึงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ให้ได้รับผลในการกระทำผิดอันเข้าข่ายต้องริบตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 74 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 152/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่ใช้ขนไม้ผิดกฎหมาย: ศาลฎีกาชี้ว่าเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำผิด
คดีที่ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานมีไม้ที่ยังมิได้แปรรูปไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงและรอยตรารัฐบาลประทับไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตนั้น รถยนต์ที่จำเลยใช้บรรทุกชักลากไม้ของกลางนั้นมาจนถูกจับจึงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ให้ได้รับผลในการกระทำผิด อันเข้าข่ายต้องริบตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 74 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษในความผิดฉ้อโกงและการจำกัดสิทธิในการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264, 265, 266, 268 และ 341 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้อง แต่ให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 266 ซึ่งเป็นบทหนัก ให้จำคุก 4 ปี ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลย 2 ปี 8 เดือนศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าจำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 กระทงเดียว ให้จำคุกจำเลย 2 ปี ลดโทษให้ 1ใน 3 คงจำคุก 1 ปี 4 เดือนเช่นนี้ความผิดฐานฉ้อโกงมีการแก้ไขเฉพาะโทษและเป็นการแก้ไขเล็กน้อยจำเลยจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดฐานฉ้อโกงไม่ได้ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระดอกเบี้ยไม่ถือเป็นการชำระหนี้ต้นเงิน แม้ดอกเบี้ยจะเกินอัตราตามกฎหมาย ต้นเงินยังคงฟ้องร้องได้
เมื่อข้อความในเอกสารกล่าวถึงเรื่องชำระดอกเบี้ยอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมจะฟังว่าเป็นหลักฐานแห่งการใช้ต้นเงินด้วยไม่ได้
การกู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรานั้น เป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ยเท่านั้นต้นเงินหาเป็นโมฆะไม่ ผู้ให้กู้จึงฟ้องเรียกต้นเงินกู้คืนได้
of 73