คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พร สุขารมณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 203 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอุทธรณ์ไม่สมบูรณ์เพราะขาดลายมือชื่อผู้ฟ้อง ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อให้แก้ไขฟ้องก่อนพิจารณาใหม่
ฟ้องอุทธรณ์ที่มิได้ลงชื่อผู้อุทธรณ์ ย่อมเป็นฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) และศาลอุทธรณ์ก็ชี้ขาดตัดสินฟ้องอุทธรณ์ไปโดยมิได้แก้ไขข้อบกพร่องให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อน นั้น ศาลฎีกาชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 วรรค 2 โดยให้โจทก์ลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในฟ้องอุทธรณ์เสียให้บริบูรณ์ตามกฎหมาย แล้วส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2508).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอุทธรณ์ต้องมีลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ หากไม่มีถือเป็นฟ้องไม่บริบูรณ์ ศาลต้องแก้ไขก่อนพิจารณา
ฟ้องอุทธรณ์ที่มิได้ลงชื่อผู้อุทธรณ์ ย่อมเป็นฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) และศาลอุทธรณ์ก็ชี้ขาดตัดสินฟ้องอุทธรณ์ไปโดยมิได้แก้ไขข้อบกพร่องให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อนนั้น ศาลฎีกาควรยกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เสีย แล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสองโดยให้โจทก์ลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในฟ้องอุทธรณ์เสียให้บริบูรณ์ตามกฎหมาย แล้วส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด, สัญญาเช่า, การรับซื้อฝาก, สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่า, สิทธิการฟ้องขับไล่
จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์ โจทก์มีหนังสือยอมตกลงเลิกสัญญาเช่ากับจำเลย ถือว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับแล้ว
จำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 เป็นแม่ลูกกันและอยู่บ้านเดียวกัน จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาให้เช่าตึกแถวซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และจำเลยที่ 1 ได้ยอมผูกพันและปฏิบัติตนตามสัญญาเช่าที่จำเลยที่ 2 ทำกับผู้เช่า ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนไปทำสัญญาเช่ากับผู้เช่า สัญญาเช่านั้นจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย
โจทก์รับซื้อฝากตึกพิพาทจากจำเลยทั้งๆที่รู้ดีแล้วว่าตึกพิพาทนั้นจำเลยได้ให้คนเช่าอยู่ โจทก์จึงต้องรับโอนตึกพิพาทนั้นไปทั้งสิทธิและหน้าที่ สัญญาเช่าจึงมีผลผูกพันโจทก์ด้วย เมื่อยังไม่ครบกำหนดตามสัญญาเช่า โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้เช่า
เมื่อจำเลยต่อสู้ว่า จำเลยทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่2 และมีผลผูกพันโจทก์สัญญาเช่านั้นมีผลผูกพันโจทก์หรือไม่ ศาลจะต้องวินิจฉัยถึงมูลฐานซึ่งเป็นต้นเหตุให้จำเลยที่ 2 ไปทำสัญญาเช่า การที่ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2 ให้ไปทำสัญญาเช่าจึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น
โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกไปจากทรัพย์พิพาทปรากฏว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยระงับแล้ว และจำเลยมิได้เกี่ยวข้องกับทรัพย์พิพาท ก็ไม่จำต้องพิพากษาบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าเมื่อมีการซื้อฝากและตัวแทนเชิด ศาลพิจารณาถึงผลผูกพันของสัญญาเช่าต่อผู้รับซื้อฝาก
จำเลยบอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์ โจทก์มีหนังสือยอมตกลงเลิกสัญญาเช่ากับจำเลย ถือว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับแล้ว
จำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 เป็นแม่ลูกกันและอยู่บ้านเดียวกัน จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาให้เช่าตึกแถวซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และจำเลยที่ 1 ได้ยอมตนผูกพันและปฏิบัติตนตามสัญญาเช่าที่จำเลยที่ 2 ทำกับผู้เช่า ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนไปทำสัญญาเช่ากับผู้เช่า สัญญาเช่านั้นจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย
โจทก์รับซื้อฝากตึกพิพาทจากจำเลย ทั้ง ๆ ที่รู้ดีแล้วว่าตึกพิพาทนั้นจำเลยได้ให้คนเช่าอยู่ โจทก์จึงต้องรับโอนตึกพิพาทนั้นไปทั้งสิทธิและหน้าที่ สัญญาเช่าจึงมีผลผูกพันโจทก์ด้วย เมื่อยังไม่ครบกำหนดตามสัญญาเช่าโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้เช่า
เมื่อจำเลยต่อสู้ว่า จำเลยทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 2 และมีผลผูกพันโจทก์ สัญญาเช่านั้นมีผลผูกพันโจทก์หรือไม่ ศาลจะต้องวินิจฉัยถึงมูลฐานซึ่งเป็นต้นเหตุให้จำเลยที่ 2 ไปทำสัญญาเช่า การที่ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2 ให้ไปทำสัญญาเช่าจึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น
โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกไปจากทรัพย์พิพาท ปรากฏว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยระงับแล้ว และจำเลยมิได้เกี่ยวข้องกับทรัพย์พิพาท ก็ไม่จำต้องพิพากษาบังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อ ไม่จัดการคืนเช็คไม่มีเงิน ทำให้ลูกค้าเสียหายและขาดอายุความฟ้องร้อง
จำเลยเป็นธนาคาร โดยปกติย่อมจะต้องระมัดระวังผลประโยชน์ของลูกค้า แต่จำเลยกลับละเลยต่อหน้าที่อันจะพึงต้องปฏิบัติต่อลูกค้าโดยไม่พยายามจัดการส่งคืนเช็คที่ผู้สั่งจ่ายโดยไม่มีเงินให้แก่โจทก์ ซ้ำยังปล่อยให้เช็คนั้นสูญหายไป ทำให้โจทก์ต้องเสียหายเพราะเช็คนั้นขาดอายุความที่จะฟ้องร้องเอากับผู้สั่งจ่าย หรือผู้สลักหลัง และไม่มีเช็คคืนให้โจทก์เพื่อเรียกร้องเอากับผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังอีกด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
โจทก์เพิ่งทราบก่อนฟ้องไม่ถึงปี ว่าเช็คที่โจทก์นำเข้าบัญชีไว้หลายปีแล้วนั้นไม่มีเงิน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อในการจัดการเช็คของลูกค้า ทำให้ลูกค้าเสียหายและขาดอายุความเรียกร้อง
จำเลยเป็นธนาคารโดยปกติย่อมจะต้องระมัดระวังผลประโยชน์ของลูกค้าแต่จำเลยกลับละเลยต่อหน้าที่อันจะพึงต้องปฏิบัติต่อลูกค้าโดยไม่พยายามจัดการส่งคืนเช็คที่ผู้สั่งจ่ายโดยไม่มีเงินให้แก่โจทก์ซ้ำยังปล่อยให้เช็คนั้นสูญหายไปทำให้โจทก์ต้องเสียหายเพราะเช็คนั้นขาดอายุความที่จะฟ้องร้องเอากับผู้สั่งจ่าย หรือผู้สลักหลังและไม่มีเช็คคืนให้โจทก์เพื่อเรียกร้องเอากับผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังอีกด้วยจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
โจทก์เพิ่งทราบก่อนฟ้องไม่ถึงปีว่าเช็คที่โจทก์นำเข้าบัญชีไว้หลายปีแล้วนั้นไม่มีเงิน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนพินัยกรรมต้องด้วยการกระทำทำลายหรือขีดฆ่า มิใช่เพียงแสดงเจตนา
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1693 บัญญัติว่าผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมของตนในเวลาใดก็ได้นั้นหมายถึงว่าจะเพิกถอนเวลาใดก็ได้ตามใจชอบ การเพิกถอนทำอย่างไรนั้น มาตรา 1695 บัญญัติว่า อาจทำโดยทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจ 'ทำลาย' หมายความว่า รื้อทำให้ทลาย ทำให้พัง ทำให้ฉิบหาย ทำให้หมดสิ้นไป การทำลายจึงเป็นการที่ต้องทำให้เกิดผลเช่นนั้นและการเพิกถอนมิใช่ให้ทำโดยเพียงแต่แสดงเจตนาด้วยถ้อยคำหากจะต้องมีการกระทำคือ 'ทำลาย' หรือ'ขีดฆ่า' เป็นสำคัญ
พินัยกรรมมีข้อกำหนดตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อไม่ปรากฏว่าข้อกำหนดนั้นไม่มีผลบังคับด้วยประการใดๆ ถึงแม้โจทก์จะเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่เป็นกรณีมีเหตุสมควรที่โจทก์จะขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนพินัยกรรมต้องด้วยวิธีการทำลายหรือขีดฆ่า การตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1693 บัญญัติว่า ผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมของตนในเวลาใดก็ได้นั้น หมายถึงว่าจะเพิกถอนเวลาใดก็ได้ตามใจชอบ การเพิกถอนทำอย่างไรนั้น มาตรา 1695 บัญญัติว่า อาจทำโดยทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจ "ทำลาย" หมายความว่า รื้อ ทำให้ทลาย ทำให้พัง ทำให้ฉิบหาย ทำให้หมดสิ้นไป การทำลายจึงเป็นการที่ต้องทำให้เกิดผลเช่นนั้น และการเพิกถอนมิใช่ให้ทำโดยเพียงแต่แสดงเจตนาด้วยถ้อยคำ หากจะต้องมีการกระทำ คือ "ทำลาย" หรือ "ขีดฆ่า" เป็นสำคัญ
พินัยกรรมีข้อกำหนดตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อไม่ปรากฏว่าข้อกำหนดนั้นไม่มีผลบังคับด้วยประการใด ๆ ถึงแม้โจทก์จะเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่เป็นกรณีมีเหตุสมควรที่โจทก์จะขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลชี้ขาดประเด็นการอยู่อาศัยในที่ดินหลังประนีประนอม คำสั่งเด็ดขาดแล้วห้ามขอแก้ไข
การที่ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ย่อมใช้บังคับได้ตลอดถึงบริวารจำเลยด้วย
โจทก์ร้องว่า ผู้ร้องกับพวกเป็นบริวารจำเลยผู้ร้องกับพวกสู้ว่าไม่ได้เป็นบริวารจำเลยเพราะเป็นผู้เช่าที่ดินจากจำเลยศาลสั่งว่าให้ผู้ร้องกับพวกอยู่ในที่ดินโจทก์ต่อไปอีก 3 เดือน คำสั่งศาลที่ว่านี้เป็นคำสั่งศาลชี้ขาดในประเด็นระหว่างผู้ร้องกับโจทก์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในข้อโต้เถียงแล้วมิได้มีฝ่ายใดอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นย่อมเด็ดขาดถึงที่สุดตามกฎหมายและบังคับคดีต่อไปตามคำสั่งนั้นได้ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา271)
ศาลสั่งให้ผู้ร้องกับพวกอยู่ในที่ดินโจทก์ได้เพียง 3 เดือน เพราะการเช่าจากจำเลยเป็นการอยู่โดยอาศัยอำนาจจำเลย ชื่อว่าเป็นบริวารจำเลย ผู้ร้องขอให้แก้เป็นให้ผู้ร้องอยู่ได้ต่อไป เพราะผู้ร้องมิใช่บริวารจำเลยย่อมไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา144(1) เพราะมิใช่การขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตามมาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลชี้ขาดประเด็นบริวารจำเลยแล้ว ห้ามขอแก้ไขซ้ำตามมาตรา 144
การที่ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ ย่อมใช้บังคับได้ตลอดถึงบริวารจำเลยด้วย
โจทก์ร้องว่า ผู้ร้องกับพวกเป็นบริวารจำเลยผู้ร้องกับพวกสู้ว่าไม่ได้เป็นบริวารจำเลย เพราะเป็นผู้เช่าที่ดินจากจำเลย ศาลสั่งว่าให้ผู้ร้องกับพวกอยู่ในที่ดินโจทก์ต่อไปอีก 3 เดือน คำสั่งศาลที่ว่านี้เป็นคำสั่ง ศาลชี้ขาดในประเด็นระหว่างผู้ร้องกับโจทก์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในข้อโต้เถียงแล้วมิได้มีฝ่ายใดอุทธรณ์คัดค้าน คำสั่งนั้นย่อมเด็ดขาดถึงที่สุดตามกฎหมายและบังคับคดีต่อไปตามคำสั่งนั้นได้(ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271)
ศาลสั่งให้ผู้ร้องกับพวกอยู่ในที่ดินโจทก์ได้เพียง 3 เดือน เพราะการเช่าจากจำเลยเป็นการอยู่โดยอาศัยอำนาจจำเลย ชื่อว่าเป็นบริวารจำเลย ผู้ร้องขอให้แก้เป็นให้ผู้ร้องอยู่ต่อไป เพราะผู้ร้องมิใช่บริวารจำเลยย่อมไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144(1) เพราะมิใช่การขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตามมาตรา 143
of 21