คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พร สุขารมณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 203 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 308/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: เหตุสมควรและการพิจารณาคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่
ศาลนัดพิจารณาเวลา 8.30 น. ถึงวันนัดศาลออกนั่งพิจารณาและสั่งขาดนัด ให้ยกฟ้องโจทก์เมื่อเวลา 9.10 น. โจทก์ยื่นคำร้องให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ในวันนั้นเวลา 9.55 น. ช้ากว่าเวลาที่ศาลออกนั่งพิจารณา 45 นาที เพราะโจทก์ยังต้องใช้เวลาเขียนคำร้อง โจทก์และทนายโจทก์อยู่จังหวัดอื่น ต้องเดินทางมาโดยรถไฟ เวลาจึงคลาดเคลื่อน ดังนี้ ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์มาศาลไม่ทันตามกำหนดนัดโดยไม่มีเหตุสมควร ไม่ควรด่วนยกฟ้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาตามกฎหมายต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 308/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: เหตุสมควรและความล่าช้าที่ยอมรับได้
ศาลนัดพิจารณาเวลา 8.30 น. ถึงวันนัดศาลออกนั่งพิจารณาและสั่งขาดนัดให้ยกฟ้องโจทก์เมื่อเวลา 9.10 น. โจทก์ยื่นคำร้องให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ในวันนั้นเวลา 9.55น. ช้ากว่าเวลาที่ศาลออกนั่งพิจารณา 45 นาที เพราะโจทก์ยังต้องใช้เวลาเขียนคำร้องโจทก์และทนายโจทก์อยู่จังหวัดอื่น ต้องเดินทางมาโดยรถไฟ เวลาจึงคลาดเคลื่อนดังนี้ ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์มาศาลไม่ทันตามกำหนดนัดโดยไม่มีเหตุสมควร ไม่ควรด่วนยกฟ้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาตามกฎหมายต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาเช่า, การไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะฯ จากการเปลี่ยนวัตถุประสงค์การเช่า, และสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้ห้องพิพาทเพื่อประกอบการค้าและให้เช่าช่วงกับผิดนัดชำระค่าเช่าสองคราวติดกัน เพื่อแสดงว่าจำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 ถือว่าฟ้องโจทก์สมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
จำเลยให้การว่าได้เช่าตึกแถวรายพิพาทเพื่ออยู่อาศัย ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายถือได้ว่าจำเลยได้อ้างสิทธิตามกฎหมายพิเศษคือ พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 แล้ว
ผู้มีชื่อเช่าที่ดินโจทก์เพื่อสร้างตึกแถวให้คนเช่ามีกำหนดเวลาแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า กรรมสิทธิ์ในตึกแถวตกเป็นของโจทก์ตามสัญญาโดยสมบูรณ์ ไม่ต้องทำพิธีจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีกและเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเช่าตึกแถวรายพิพาทเป็นที่ผลิตสินค้าสำหรับจำหน่ายภายหลังต่อมาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแต่อย่างเดียวเป็นการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการเช่าโดยผู้ให้เช่ามิได้ยินยอมด้วยตึกแถวรายพิพาทจึงไม่เป็นเคหะควบคุม ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและเมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่ากับจำเลยโดยชอบแล้ว สัญญาเช่าก็เป็นอันระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในตึกแถว, การใช้ตึกแถวผิดวัตถุประสงค์, สัญญาเช่าสิ้นสุด, การบอกเลิกสัญญาเช่า, สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้ห้องพิพาทเพื่อประกอบการค้าและให้เช่าช่วง กับผิดนัดชำระค่าเช่าสองคราวติดกัน เพื่อแสดงว่าจำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 ถือว่าฟ้องโจทก์สมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
จำเลยให้การว่าได้เช่าตึกแถวให้คนเช่ามีกำหนดเวลา แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า กรรมสิทธิ์ในตึกแถวตกเป็นของโจทก์ตามสัญญาโดยสมบูรณ์ ไม่ต้องทำพิธีจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก และเมื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเช่าตึกแถวรายพิพาทเป็นที่ผลิตสินค้าสำหรับจำหน่าย ภายหลังต่อมาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแต่อย่างเดียว เป็นการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการเช่าโดยผู้ให้เช่ามิได้ยินยอมด้วย ตึกแถวรายพิพาทจึงไม่เป็นเคหะควบคุม ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและเมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่ากับจำเลยโดยชอบแล้ว สัญญาเช่าก็เป็นอันระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง: ศาลอนุญาตให้จำเลยสืบหักล้างความสมบูรณ์ของสัญญาขายฝากได้ แม้ไม่มีสัญญาจำนองจดทะเบียน
(1) ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้นย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณีโดยคู่กรณีมีเจตนาลวงที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกัน หากเป็นความจริงดังจำเลยอ้าง สัญญาขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ฉะนั้น การที่จำเลยขอสืบว่าสัญญาขายฝากเป็นโมฆะจึงไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหากแต่เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาขายฝากไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย ส่วนเมื่อนำสืบได้ว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงเป็นโมฆะแล้ว จะบังคับตามสัญญาจำนองได้เพียงใดหรือไม่ ในเมื่อสัญญาจำนองมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ย่อมเป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในอันดับต่อไป
(2) ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่น หาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306, 308 ไม่
หมายเหตุ: หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2505 นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง: ศาลอนุญาตให้จำเลยนำสืบหักล้างความสมบูรณ์ของสัญญาขายฝากได้ แม้ไม่มีสัญญาจำนองจดทะเบียน
(1)ในกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้น ย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณี โดยคู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกันหากเป็นความจริงดังจำเลยอ้าง สัญญาขายฝากย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ฉะนั้น การที่จำเลยขอสืบว่าสัญญาขายฝากเป็นโมฆะจึงมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหากแต่เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาขายฝากไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยจึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้ายส่วนเมื่อนำสืบได้ว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงเป็นโมฆะแล้วจะบังคับตามสัญญาจำนองได้เพียงใดหรือไม่ ในเมื่อสัญญาจำนองมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ย่อมเป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในอันดับต่อไป
(2)ในกรณีที่ผู้ขายฝากไม่ไถ่คืนในกำหนด ผู้ซื้อฝากได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายฝากแล้ว ย่อมมีสิทธิโอนขายให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้ขายฝาก เพราะเป็นเรื่องเจ้าของโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของตนให้ผู้อื่นหาใช่เป็นเรื่องโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306,308 ไม่
หมายเหตุ หมายเลข 1 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2508 กลับหลักเรื่องการไม่อนุญาตให้นำสืบตามที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2505 ซึ่งปรึกษาในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่26/2505 นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าโดยบันดาลโทสะจากถูกทำร้าย: ศาลพิจารณาความรุนแรงของการกระทำและบาดแผลเพื่อตัดสินโทษ
ผู้ตายเมาสุรามาชวนจำเลยถึงบ้านเพื่อจะให้ไปดื่มสุราด้วยกันครั้นจำเลยไม่ไปและหลบขึ้นมาเสียบนเรือนผู้ตายยังตามขึ้นมารังควานโดยกระชากแขนอีกเมื่อจำเลยขัดขืนผู้ตายก็เข้าปลุกปล้ำจนจำเลยทนไม่ได้จึงฟันเอาเช่นนี้ จำเลยกระทำโดยบันดาลโทสะเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะจากเหตุถูกรังควาน ศาลพิจารณาความร้ายแรงของการกระทำและขนาดอาวุธ
ผู้ตายเมาสุรามาชวนจำเลยถึงบ้านเพื่อจะให้ไปดื่มสุราด้วยกัน ครั้นจำเลยไม่ไปและหลบขึ้นมาเสียบนเรือน ผู้ตายยังตามขึ้นมารังควานโดยกระชากแขนอีก เมื่อจำเลยขัดขืนผู้ตายก็เข้าปลุกปล้ำจนจำเลยทนไม่ได้จึงฟันเอา เช่นนี้ จำเลยกระทำโดยบันดาลโทสะเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมดาตามมาตรา 72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฉ้อโกงและการหลอกลวงประชาชนทั่วไปตามมาตรา 343 กับฐานความผิดฉ้อโกงตามมาตรา 341
การกระทำอันจะเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343นั้นผู้กระทำจะต้องกระทำด้วยเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนโดยทั่วไปจะถือเอาจำนวนผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงมากหรือน้อยและผลเสียหายอันเกิดจากคำหลอกลวงของจำเลยมีมากหรือน้อยเป็นหลักหาได้ไม่และเมื่อโจทก์มิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยได้หลอกลวงประชาชนโดยทั่วไปจึงเป็นฟ้องที่ไม่ครบองค์ความผิดตามมาตรา 343
เมื่อผู้ว่าจ้างแต่ละคนได้รับความเสียหาย โดยได้จ่ายเงินสดและเช็คให้จำเลยรับไปผู้ว่าจ้างแต่ละคนก็เป็นผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฉ้อโกงและการหลอกลวงประชาชนทั่วไป: การพิสูจน์องค์ประกอบความผิดตามมาตรา 341 และ 343
การกระทำอันจะเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 นั้น ผู้กระทำจะต้องกระทำด้วยเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนโดยทั่วไป จะถือเอาจำนวนผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงมากหรือน้อย และผลเสียหายอันเกิดจากคำหลอกลวงของจำเลยมีมากหรือน้อยเป็นหลักหาได้ไม่ และเมื่อโจทก์มิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยได้หลอกลวงประชาชนโดยทั่วไป จึงเป็นฟ้องที่ไม่ครบองค์ความผิดตามมาตรา 343
เมื่อผู้ว่าจ้างแต่ละคนได้รับความเสียหายโดยได้จ่ายเงินสดและเช็คให้จำเลยรับไป ผู้ว่าจ้างแต่ละคนก็เป็นผู้เสียหาย
of 21