พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก: ทรัพย์สินที่จำเลยอ้างเป็นของตน หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นมรดก จะแบ่งเฉพาะผู้ที่อุทธรณ์เท่านั้น
ในคดีที่โจทก์หลายคนฟ้องจำเลย ขอให้แบ่งมรดก จำเลยต่อสู้ว่าเป็นทรัพย์ของจำเลย ไม่ใช่มรดก เมื่อศาลชั้นต้น ฟังว่าทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยไม่ใช่มรดก จึงพิพากษาไม่ใช่แบ่งนั้น ถ้าโจทก์บางคนอุทธรณ์ขอให้แบ่งส่วนโจทก์บางคนไม่อุทธรณ์ ยินยอมตามคำพิพากษา ดังนี้ถ้าศาลอุทธรรณ์เห็นว่า ทรัพย์พิพาทตกเป็นมรดก อันจะต้องแบ่งให้ทายาทแล้วศาลอุทธรณ์ก็จะพิพากษาให้แบ่งเฉพาะโจทก์ที่อุทธรณ์ขึ้นมา เท่านั้นจะพิพากษาให้โจทก์ที่มิได้อุทธรณืขึ้นมาได้รับส่วนแบ่งด้วย ไม่ได้./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับมฤดกยังคงมีอยู่ แม้มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น และสามารถร้องขอเป็นโจทก์ร่วมได้ระหว่างพิจารณา
ศาลได้อนุญาตให้ผู้ร้อง ร้องขอแบ่งมฤดกในฐานทายาท ศาลชั้นต้นยกฟ้อง ผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วยกับโจทก์นั้น หาใช่เป็นการสละมฤดกตาม ก.ม.หรือต้องด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ที่จะทำให้สิทธิในการรับมฤดกของผู้ร้องต้องเสียไปไม่.
ในระหว่างพิจารณาทายาทมีสิทธิที่จะร้องขอส่วนแบ่งมฤดกในคดีที่ทายาทคนอื่นได้ฟ้องไว้แล้ว.
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6-7/2492
ในระหว่างพิจารณาทายาทมีสิทธิที่จะร้องขอส่วนแบ่งมฤดกในคดีที่ทายาทคนอื่นได้ฟ้องไว้แล้ว.
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6-7/2492
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกแทนที่ของญาติลำดับ 6 แม้ญาติลำดับเดียวกันจะได้รับมรดกไปแล้ว
ข.เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับ ล. ซึ่งเป็นมารดาของเจ้ามฤดก ป.เป็นพี่น้องร่วมบิดาแต่ต่างมารดากับ ล. ดังนี้ ช. และ ป. ย่อมเป็นน้าและอาของเจ้ามฤดก ทั้ง ช. และ ป. ย่อมเป็นญาติลำกัด 6 ในมาตรา 1629 เช่นเดียวกัน
ญาติลำดับ 6 ในมาตรา 1629 นี้ กฎหมายไม่ได้แยกญาติชิดและห่าง ดังในลำดับ 3 และ 4.
ญาติลำดับ 6 ในมาตรา 1629 ย่อมรับมฤดกแทนที่กันได้ตามมาตรา 1639.
ญาติลำดับ 6 ในมาตรา 1629 นี้ กฎหมายไม่ได้แยกญาติชิดและห่าง ดังในลำดับ 3 และ 4.
ญาติลำดับ 6 ในมาตรา 1629 ย่อมรับมฤดกแทนที่กันได้ตามมาตรา 1639.