คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 823

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 290 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองบริษัท, สัญญาค้ำประกัน, ตัวแทนช่วง, การบอกกล่าวบังคับจำนอง, การรับคำเบิกความ
หนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นเอกสารมหาชนแม้จะเป็นสำเนาแต่เจ้าพนักงานก็รับรองความถูกต้องจึงรับฟังได้ ส่วนหนังสือรับรองท้ายฟ้องโจทก์มีข้อความตรงกับหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทสาขาหาใช่หนังสือรับรองสาขาโจทก์ การที่ปรากฏข้อความแสดงที่ตั้งของสำนักงานโจทก์การที่ปรากฎข้อความแสดงที่ตั้งของสำนักงานโจทก์ต่าง จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะเป็นเอกสารที่โจทก์อ้างประกอบคำฟ้องแสดงฐานะและอำนาจกรรมการของโจทก์เท่านั้น
เมื่อสัญญาค้ำประกันระบุว่าจำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจต่อสู้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยที่ 1 ก่อนได้
ตามหนังสือมอบอำนาจให้ อ.ผู้รับมอบอำนาจตั้งตัวแทนช่วงเพื่อดำเนินการแทนได้ ซึ่งรวมถึงการบอกกล่าวบังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยทั้งสามตามสัญญา แม้ อ.มอบอำนาตจโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อโจทก์รับเอาการกระทำของ ธ.ตัวแทนช่วงแล้วถือได้ว่าให้ส้ตยาบันตาม ป.พ.พ. มาตรา 823และถือได้ว่าโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว
การที่ ธ.เบิกความภายหลังพยานโจทก์ปากอื่นเบิกความไปแล้วก็ปรากฏว่า โจทก์อ้าง ธ.เป็นพยานโจทก์เอาไว้และนำเข้าสืบตามกระบวนพิจารณาคำเบิกความของ ธ.รับฟังได้เพียงใดอยู่ที่ดุลพินิจของศาล ไม่มีเหตุจะให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาส่วนนี้ได้
ที่ ธ.มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปถึงจำเลยทั้งสามปรากฏว่าคนใช้และคนในบ้านของจำเลยทั้งสามเป็นผู้รับ ย่อมถือว่าจำเลยทั้งสามได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสัตยาบันการกระทำของตัวแทนที่ไม่เป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด ทำให้การบอกกล่าวบังคับจำนองชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ตั้ง ส. ทนายความผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนบอกกล่าวบังคับจำนองโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 แต่เมื่อ ส. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลย จำเลยได้รับแล้วไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของ ส.เป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำของส.ซึ่งเป็นตัวแทนแล้ว ถือได้ว่า ส. เป็นตัวแทนของโจทก์โดยชอบตามมาตรา 823 ซึ่งการตั้งตัวแทนลักษณะเช่นนี้ไม่ต้องทำเป็นหนังสือการบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสัตยาบันการบอกกล่าวบังคับจำนองของตัวแทน แม้การแต่งตั้งตัวแทนไม่เป็นหนังสือ ก็ถือว่าชอบแล้ว
โจทก์ตั้ง ส. ทนายความผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ ส. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลย จำเลยได้รับแล้วไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของ ส. ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ ส. ซึ่งเป็นตัวแทนที่บอกกล่าวบังคับจำนองตามป.พ.พ. มาตรา 823 ดังนี้ ถือว่าโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยโดยชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดและการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม: การมอบอำนาจที่ไม่ชัดเจนและการโต้แย้งสิทธิ
การฟ้องคดีเรื่องจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินกับเรื่องละเมิดและเรียกค่าเสียหายที่จำเลยนำบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวออกให้เช่าเป็นคนละเรื่องมิได้เกี่ยวเนื่องกันเมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ ย. ดำเนินคดีเฉพาะเรื่องจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดิน ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีเรื่องละเมิดและเรียกค่าเสียหาย แม้โจทก์จะเบิกความว่าได้ให้ ย. ดำเนินคดีเกี่ยวกับละเมิดและเรียกค่าเสียหายด้วยก็จะฟังคำเบิกความดังกล่าวเป็นการให้สัตยาบันตามกฎหมายหาได้ไม่ คำฟ้องเรื่องละเมิดและเรียกค่าเสียหายจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีก่อนศาลวินิจฉัยเพียงว่า ตามคำฟ้องโจทก์ยังไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ มิได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีที่ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมหรือไม่ ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ขอแบ่งสัดส่วนในที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมตามข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยโดยขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกให้ เป็นการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ซึ่งจำเลยในฐานะผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมจะต้องดำเนินการทางทะเบียนด้วย เมื่อจำเลยไม่ยอมดำเนินการดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3255/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทนที่กระทำนอกเหนืออำนาจและการค้ำประกันการทำงาน
จำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของโจทก์ กระทำการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจ ปล่อยให้จำเลยที่ 1 กู้โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันกู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงินที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการขัดต่อระเบียบวิธีปฏิบัติของโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ทั้งโจทก์มิได้ให้สัตยาบันในการกระทำของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2ต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812 จำเลยที่ 4ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 3 ในการเข้าทำงานกับโจทก์ก็ต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญานายหน้า: การฟ้องเรียกเงินคืนฐานผิดสัญญา ไม่ใช่ลาภมิควรได้, อายุความ 10 ปี, และข้อจำกัดในการยกข้อต่อสู้ใหม่ในฎีกา
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสองตกลงรับเป็นนายหน้าเพื่อชี้ช่องให้โจทก์ทั้งสองได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสุราแม่โขงในเขตจังหวัดอุทัยธานีแต่ผู้เดียว ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์ทั้งสองตกลงให้จำเลยทั้งสองเป็นนายหน้าติดต่อเพื่อให้โจทก์ทั้งสองได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสุราแม่โขง และข้อความที่ว่าแต่ผู้เดียว ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าเพื่อให้โจทก์ทั้งสองเป็นตัวแทนจำหน่ายสุราแม่โขงในเขตจังหวัดอุทัยธานีแต่ผู้เดียวนั่นเอง โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าเพื่อให้โจทก์คนหนึ่งคนใดเป็นตัวแทนจำหน่ายสุราดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกา คำฟ้องของโจทก์เช่นนี้จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสองฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 แม้โจทก์ที่ 2จะลงลายมือชื่อในสัญญาว่าจ้างจำเลยทั้งสองเป็นนายหน้าโดยมิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาดังกล่าวแล้ว โจทก์ทั้งสองได้จ่ายเงินค่านายหน้าบางส่วนให้แก่จำเลยทั้งสองล่วงหน้า ย่อมถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้ให้สัตยาบันยอมรับเอาสัญญาว่าจ้างนายหน้าดังกล่าวแล้ว สัญญานายหน้าย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1
กรณีที่จะเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 นั้น ต้องเป็นการที่บุคคลใดได้ทรัพย์สิ่งใดมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ คดีนี้ตามฟ้องโจทก์เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองรับเงินค่านายหน้าล่วงหน้าไว้จากโจทก์ตามสัญญานายหน้า จึงเป็นการรับเงินไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ มิใช่เรื่องลาภมิควรได้ เมื่อปรากฏต่อมาว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถดำเนินการให้โจทก์ทั้งสองเป็นตัวแทนจำหน่ายสุราได้ตามข้อตกลง และโจทก์ทั้งสองเรียกเงินค่านายหน้าที่จ่ายล่วงหน้าดังกล่าวคืนจึงเป็นเรื่องเรียกเงินคืนฐานผิดสัญญา มิใช่กรณีเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ จะนำเอาอายุความ1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 ซึ่งเป็นอายุความเกี่ยวกับลาภมิควรได้มาใช้บังคับไม่ได้
การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองที่ขอให้จำเลยคืนเงินค่านายหน้าที่จ่ายล่วงหน้า เพราะจำเลยผิดสัญญานายหน้าเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่สัญญารับเป็นนายหน้ากับโจทก์เพราะจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ อ. นั้น จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 รับเป็นนายหน้าให้แก่โจทก์โดยเป็นตัวแทนของ อ.หรือไม่จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกขึ้นฎีกาว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ อ. จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายลดตั๋วเงิน: ฟ้องชอบด้วยกฎหมาย, อายุความ 10 ปี, ดอกเบี้ยตามสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยออกตั๋วแลกเงินแล้วนำไปขายลดไว้แก่โจทก์โจทก์เรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินไม่ได้ ขอให้จำเลยชำระเงินตามตั๋วแลกเงินพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีตามที่ได้ตกลงกันไว้ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการเรียกดอกเบี้ยดังกล่าวตามสัญญาขายลดตั๋วเงินและท้ายฟ้องของโจทก์ยังได้แนบสำเนาสัญญาขายลดตั๋วแลกเงินมาด้วย แม้โจทก์ไม่บรรยายว่าฟ้องเรียกเงินตามตั๋วแลกเงินหรือตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน ฟ้องโจทก์ก็แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาขายลดตั๋วเงินและขอให้บังคับตามสัญญา ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะมิได้มอบอำนาจให้ ก. ผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์ซื้อขายลดตั๋วเงินแทนโจทก์ แต่โจทก์ก็มอบอำนาจให้ ก. ฟ้องคดีเกี่ยวกับการรับซื้อลดตั๋วเงินดังกล่าว ถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การซื้อขายลดตั๋วเงินนั้นแล้ว โจทก์ฟ้องบังคับฐานผิดสัญญาขายลดตั๋วเงิน ไม่ใช่ฟ้องบังคับตามตั๋วแลกเงิน จึงไม่จำต้องบอกกล่าวการไม่ใช้เงินไปยังจำเลยภายใน 4 วัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 963 และดอกเบี้ยต้องเป็นไปตามอัตราที่ตกลงกันไว้ มิใช่อัตราร้อยละ 5 ต่อปีตามมาตรา 968(2) ทั้งสัญญาขายลดตั๋วเงินไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันสัญญาซื้อขายลดตั๋วเงิน แม้การซื้อขายนั้นกระทำโดยผู้ไม่มีอำนาจ
ก. ซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์กระทำนอกอำนาจรับซื้อลดตั๋วเงินจากจำเลยไว้แทนโจทก์ แต่การที่โจทก์มอบอำนาจให้ก. ฟ้องคดีแทน เพื่อบังคับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เกี่ยวกับตั๋วเงินดังกล่าว ถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การซื้อขายลดตั๋วเงินนั้นแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนกระทำสัญญาเช่าโดยไม่ประทับตราบริษัท แต่มีการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ถือเป็นสัตยาบัน
บริษัทจำเลยทั้งสองได้เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในตึกพิพาทแม้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยทั้งสองได้ทำหนังสือสัญญาเช่าตึกพิพาทจากโจทก์ทั้งสองโดยมิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยทั้งสองให้ถูกต้อง ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 กระทำไปในฐานะตัวแทนของจำเลยทั้งสอง โดยจำเลยทั้งสองได้ให้สัตยาบันแล้ว เมื่อจำเลยที่ 3 ผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าล่วงหน้าให้โจทก์ทั้งสองตามกำหนด จำเลยทั้งสองจะปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของตัวแทนที่ผูกพันนายจ้าง แม้ไม่มีตราสำคัญ หากมีการให้สัตยาบันและการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ทำสัญญาเช่าตึกพิพาทจากโจทก์โดยมิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในตึกพิพาท ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 กระทำไปในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้สัตยาบันแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่.
of 29