พบผลลัพธ์ทั้งหมด 290 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3081/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บอกกล่าวบังคับจำนองโดยไม่เป็นหนังสือ & การคิดดอกเบี้ยผิดสัญญา: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
การบอกกล่าวบังคับจำนองนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 ไม่ได้กำหนดว่าต้องทำตามแบบอย่างใดบ้าง ผู้รับจำนองเพียงแต่มีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันควร ก็ถือได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยบทมาตราดังกล่าวแล้ว ดังนั้น แม้โจทก์จะมอบอำนาจให้ ส. เป็นตัวแทนบอกกล่าวบังคับจำนองโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือมอบอำนาจก็ไม่เป็นโมฆะ นอกจากนี้เมื่อโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ ส. ได้กระทำการไปในนามของโจทก์โดยการฟ้องคดีนี้ ย่อมถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การบอกกล่าวบังคับจำนองนั้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่ลูกหนี้โดยถูกต้องตามกฎหมาย
สัญญาค้ำประกันมีข้อความให้สัญญาสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2541 ก็มีความหมายว่าจำเลยที่ 3 ยอมค้ำประกันการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 เมื่อหนี้รายนี้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2541 จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนการนำคดีมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์จะยื่นฟ้องเมื่อใดก็ได้ภายในกำหนดอายุความ
สัญญาทรัสต์รีซีทระบุว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเกินได้ตามประกาศธนาคารโจทก์ ซึ่งตามประกาศธนาคารโจทก์ก็คืออัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ผิดนัด เท่ากับอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดีมีกำหนดเวลา (MLR) บวกส่วนต่าง (Margin) แต่ปรากฏว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์กลับคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดนัดชำระหนี้ซึ่งสูงกว่าอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ผิดนัด จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
สัญญาค้ำประกันมีข้อความให้สัญญาสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2541 ก็มีความหมายว่าจำเลยที่ 3 ยอมค้ำประกันการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 เมื่อหนี้รายนี้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2541 จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนการนำคดีมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์จะยื่นฟ้องเมื่อใดก็ได้ภายในกำหนดอายุความ
สัญญาทรัสต์รีซีทระบุว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเกินได้ตามประกาศธนาคารโจทก์ ซึ่งตามประกาศธนาคารโจทก์ก็คืออัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ผิดนัด เท่ากับอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดีมีกำหนดเวลา (MLR) บวกส่วนต่าง (Margin) แต่ปรากฏว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์กลับคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดนัดชำระหนี้ซึ่งสูงกว่าอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ผิดนัด จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันซื้อขายสินค้าและการผิดนัดชำระหนี้ตามกำหนด
แม้การสั่งซื้อสินค้าพิพาทและการลงลายมือชื่อรับสินค้าของเจ้าหน้าที่คลังสินค้าของจำเลยจะถูกต้องตามระเบียบที่จำเลยกำหนดหรือไม่ก็ตาม แต่การที่สินค้าพิพาทอยู่ที่จำเลยและพฤติการณ์ที่จำเลยได้ส่งสินค้าพิพาทบางส่วนไปให้โจทก์ซ่อมแซม ถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันในการซื้อสินค้าพิพาทแล้ว จำเลยจึงต้องชำระราคาสินค้าพิพาทแก่โจทก์
ข้อตกลงการชำระราคาสินค้ามีว่าต้องชำระภายใน 45 วัน นับแต่วันส่งมอบสินค้า จึงเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยมิได้ชำระหนี้ตามกำหนด จึงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโดยโจทก์มิพักต้องเตือนอีก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินที่ค้างชำระนับแต่วันครบกำหนด
ข้อตกลงการชำระราคาสินค้ามีว่าต้องชำระภายใน 45 วัน นับแต่วันส่งมอบสินค้า จึงเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยมิได้ชำระหนี้ตามกำหนด จึงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโดยโจทก์มิพักต้องเตือนอีก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินที่ค้างชำระนับแต่วันครบกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การมอบอำนาจ, การบอกกล่าวบังคับจำนอง, พยานเอกสาร, การทิ้งฟ้อง: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
บทบัญญัติมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่ได้บังคับว่าในการมอบอำนาจแก่กันนั้น วันที่ลงในหนังสือมอบอำนาจจะต้องเป็นวันที่เดียวกันกับวันที่มีการมอบอำนาจกันจริง ทั้งผู้มอบอำนาจผู้รับมอบอำนาจ และพยานผู้รู้เห็นการมอบอำนาจก็ย่อมจะลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจในภายหลังที่มีการมอบอำนาจกันแล้วได้ ไม่ถือเป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ช. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยก่อนที่จะได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ แต่โจทก์ได้ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ ช. ได้กระทำไปในนามของโจทก์โดยได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 วรรคหนึ่ง ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์พ.ศ. 2496 ได้รับยกเว้นไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ในเอกสารต่าง ๆ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 เป็นสิ่งที่ศาลรู้เอง โจทก์ไม่ต้องนำสืบศาลก็รับฟังพยานเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2541 ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องหมายเรียกส่งสำเนาให้จำเลยโดยให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วันหากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 10 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ หากไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2541 ต่อศาลชั้นต้นขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยและได้ยื่นคำแถลงลงวันที่ 5พฤศจิกายน 2541 เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกดังกล่าวแก่จำเลยซึ่งเป็นเวลาเกิน 10 วัน นับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายรายงานให้ศาลชั้นต้นทราบว่าส่งหมายดังกล่าวให้จำเลยไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดี ซึ่งอาจเป็นเพราะศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีมีเหตุขัดข้องไม่สามารถส่งหมายเรียกให้จำเลยตามภูมิลำเนาที่ระบุไว้ในคำฟ้องแต่แรกได้ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว
ช. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยก่อนที่จะได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ แต่โจทก์ได้ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ ช. ได้กระทำไปในนามของโจทก์โดยได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 วรรคหนึ่ง ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์พ.ศ. 2496 ได้รับยกเว้นไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ในเอกสารต่าง ๆ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 เป็นสิ่งที่ศาลรู้เอง โจทก์ไม่ต้องนำสืบศาลก็รับฟังพยานเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2541 ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องหมายเรียกส่งสำเนาให้จำเลยโดยให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วันหากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 10 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ หากไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2541 ต่อศาลชั้นต้นขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยและได้ยื่นคำแถลงลงวันที่ 5พฤศจิกายน 2541 เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกดังกล่าวแก่จำเลยซึ่งเป็นเวลาเกิน 10 วัน นับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายรายงานให้ศาลชั้นต้นทราบว่าส่งหมายดังกล่าวให้จำเลยไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดี ซึ่งอาจเป็นเพราะศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีมีเหตุขัดข้องไม่สามารถส่งหมายเรียกให้จำเลยตามภูมิลำเนาที่ระบุไว้ในคำฟ้องแต่แรกได้ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อ สัญญาทางศาสนสมบัติ และผลของการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
โจทก์ให้ ส. เป็นผู้ลงชื่อทำสัญญาก่อสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ.2 มี ศ. ซึ่งเป็นไวยาวัจกรของจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นคู่สัญญา โจทก์เคยรู้จักกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 มาก่อน เคยเจรจาตกลงกับจำเลยที่ 2 เรื่องโจทก์ปรับปรุงที่ดินของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เขียนข้อความว่า "อาตมารับทราบแล้ว" และลงชื่อไว้ท้ายสัญญาเอกสารหมาย จ.2 เป็นการยืนยันได้ว่า จำเลยที่ 2 ให้สัตยาบันหนังสือดังกล่าวให้มีผลสมบูรณ์ผูกพันจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญา อีกทั้งหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.1 ระบุให้ ศ. มีอำนาจดูแลรักษาและจัดการศาส์นสมบัติของวัด การที่ ศ. ไปลงชื่อตามสัญญาเอกสารหมาย จ.2 โดยมีจำเลยที่ 2 ลงชื่อรับทราบไว้ท้ายสัญญาเพื่อให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นการจัดการศาสนสมบัติของวัดแล้ว กรณีไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจเป็นการเฉพาะเรื่องอีก จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อของ ส.
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ข้อ 2 ระบุว่า การกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์จะกระทำได้ต่อเมื่อกรมการศาสนาเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม และข้อ 4 ระบุว่า การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ ที่กัลปนาหรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดระยะเวลาเช่าเกิน 3 ปี จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา แม้สัญญาก่อสร้างตึกแถวเอกสารหมาย จ. 2 จะไม่ใช่สัญญาเช่าโดยตรง แต่เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขในอนาคต เพราะขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ปลูกสร้างอาคารและอาคารเหล่านั้นก็ยังไม่มี แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 ก็มีผลให้เห็นได้ในอนาคตว่า หากโจทก์ปลูกสร้างอาคารแล้วเสร็จตามสัญญาย่อมจะมีผลให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามสัญญา คือให้โจทก์มีสิทธิหาผู้เช่ามาจดทะเบียนการเช่ามีกำหนด 30 ปี กับจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเป็นจะต้องขอความเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน เมื่อสัญญาก่อสร้างตึกแถวดังกล่าวยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนาตามกฎกระทรวงจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ยังไม่สามารถนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่การที่จำเลยที่ 1 รับเงินค่าหน้าดินจากโจทก์และโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมเป็นเงินเจ็ดแสนกว่าบาท แล้วจำเลยที่ 1 ไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำการก่อสร้างอาคารต่อไป ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ข้อ 2 ระบุว่า การกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์จะกระทำได้ต่อเมื่อกรมการศาสนาเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม และข้อ 4 ระบุว่า การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ ที่กัลปนาหรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดระยะเวลาเช่าเกิน 3 ปี จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา แม้สัญญาก่อสร้างตึกแถวเอกสารหมาย จ. 2 จะไม่ใช่สัญญาเช่าโดยตรง แต่เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขในอนาคต เพราะขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ปลูกสร้างอาคารและอาคารเหล่านั้นก็ยังไม่มี แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 ก็มีผลให้เห็นได้ในอนาคตว่า หากโจทก์ปลูกสร้างอาคารแล้วเสร็จตามสัญญาย่อมจะมีผลให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามสัญญา คือให้โจทก์มีสิทธิหาผู้เช่ามาจดทะเบียนการเช่ามีกำหนด 30 ปี กับจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเป็นจะต้องขอความเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน เมื่อสัญญาก่อสร้างตึกแถวดังกล่าวยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนาตามกฎกระทรวงจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ยังไม่สามารถนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่การที่จำเลยที่ 1 รับเงินค่าหน้าดินจากโจทก์และโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมเป็นเงินเจ็ดแสนกว่าบาท แล้วจำเลยที่ 1 ไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำการก่อสร้างอาคารต่อไป ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนองแม้คดีขาดอายุความ และการรับผิดของทายาท
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ ท. ได้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ไว้หลังจากที่ ท. ถึงแก่ความตายไปแล้วเกิน1 ปี ซึ่งทำให้คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสาม ก็ตาม แต่โจทก์ผู้รับจำนองยังสามารถใช้สิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้โจทก์เอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27
แม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ทนายโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อทนายโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองที่ทนายโจทก์ได้บอกกล่าวในนามของโจทก์แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 และถือว่าได้มีการบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสามแล้ว
ท. เป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตายลง จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ท. ย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1601 ส่วนการที่จำเลยทั้งสามจะได้รับมรดกของ ท. และท. จะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี
แม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ทนายโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อทนายโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองที่ทนายโจทก์ได้บอกกล่าวในนามของโจทก์แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 และถือว่าได้มีการบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสามแล้ว
ท. เป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตายลง จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ท. ย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1601 ส่วนการที่จำเลยทั้งสามจะได้รับมรดกของ ท. และท. จะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้และการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนอง แม้คดีขาดอายุความ
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ ท. ได้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ไว้หลังจากที่ ท. ถึงแก่ความตายไปแล้วเกิน 1 ปี ซึ่งทำให้คดีขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ก็ตาม แต่โจทก์ผู้รับจำนองยังสามารถใช้สิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้โจทก์เอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/27
แม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ทนายโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อทนายโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองที่ทนายโจทก์ได้บอกกล่าวในนามของโจทก์แล้วย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 และถือว่าได้มีการบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสามแล้ว
ท. เป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตายลง จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ท. ย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601 ส่วนการที่จำเลยทั้งสามจะได้รับมรดกของ ท. และ ท. จะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี
แม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ทนายโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อทนายโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองที่ทนายโจทก์ได้บอกกล่าวในนามของโจทก์แล้วย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 และถือว่าได้มีการบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสามแล้ว
ท. เป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตายลง จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ท. ย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601 ส่วนการที่จำเลยทั้งสามจะได้รับมรดกของ ท. และ ท. จะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้, สิทธิบังคับจำนอง, และความรับผิดของทายาทต่อหนี้สินของผู้ตาย
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ผู้ตายให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ ท. ได้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ไว้แม้โจทก์ฟ้องคดีหลังจาก ท. ถึงแก่ความตายไปเกิน 1 ปี คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสามแล้ว แต่บทบัญญัติดังกล่าวยกเว้นมิให้ใช้บังคับในกรณีสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามมาตรา 193/27 แม้คดีขาดอายุความแล้ว ก็ยังยอมให้โจทก์ผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับเอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ให้ชำระหนี้โจทก์จากทรัพย์สินที่จำนองได้
โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือแก่ ร. ทนายโจทก์ให้บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อ ร. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 และถือว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว
ท. ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 ส่วนจำเลยจะได้รับมรดกของผู้ตาย และผู้ตายจะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี
โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือแก่ ร. ทนายโจทก์ให้บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อ ร. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 และถือว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว
ท. ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 ส่วนจำเลยจะได้รับมรดกของผู้ตาย และผู้ตายจะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับการจ้างและการให้สัตยาบันสัญญา แม้ผู้ลงนามไม่มีอำนาจผูกพัน
ตามสัญญาจ้างจัดทำงานระบบไฟฟ้าและสื่อสารระหว่างโจทก์จำเลยตอนท้ายของสัญญาลงลายมือชื่อ อ. แม้จะไม่ปรากฏว่าอ. เป็นกรรมการของบริษัทจำเลยหรือได้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้ทำสัญญาจ้างดังกล่าวก็ตาม แต่การที่จำเลยยอมรับงานที่โจทก์ดำเนินการตามสัญญาจ้างโดยสั่งจ่ายเช็คชำระเงินให้แก่โจทก์และเมื่อเช็คดังกล่าวไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ จำเลยก็เสนอให้โจทก์รับชำระหนี้ด้วยบ้านและที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของกรรมการของจำเลยถือได้ว่าเป็นการยอมรับและให้สัตยาบันแก่การนั้น ย่อมผูกพันจำเลยในฐานะตัวการซึ่งได้ว่าจ้างโจทก์ตามสัญญาจ้างแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับผลงานและการให้สัตยาบันสัญญา แม้ไม่มีหลักฐานการมอบอำนาจโดยตรง แต่พฤติการณ์บ่งชี้ถึงการผูกพันตามสัญญา
แม้ไม่ปรากฏว่า อ.เป็นกรรมการของจำเลย หรือ อ.ได้รับมอบอำนาจจากบริษัทจำเลยให้ทำสัญญาจ้างจัดทำงานระบบไฟฟ้าและสื่อเอกสารฉบับพิพาทกับโจทก์ก็ตาม แต่สถานที่ตั้งของจำเลยก็เป็นอาคารเดียวกันกับที่โจทก์ดำเนินการจัดทำและติดตั้งระบบไฟฟ้าและสื่อสาร ทั้งจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คซึ่งประทับตราของจำเลยให้ไว้แก่โจทก์ด้วย การที่จำเลยยอมรับงานที่โจทก์ดำเนินการตามสัญญาจ้างโดยสั่งจ่ายเช็คชำระเงินให้แก่โจทก์และเมื่อเช็คดังกล่าวไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้จำเลยจึงเสนอให้โจทก์รับชำระหนี้ด้วยบ้านและที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของกรรมการของจำเลยถือได้ว่าเป็นการยอมรับและให้สัตยาบันแก่การนั้น ย่อมผูกพันจำเลยในฐานะตัวการซึ่งได้ว่าจ้างโจทก์ตามสัญญาจ้างแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6453/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 2 รับผิดใช้เงินตามสัญญา แม้จำเลยที่ 1 ยกอายุความ เพราะเป็นการกระทำส่วนตัวนอกเหนืออำนาจ
การว่าจ้างโจทก์ลงพิมพ์โฆษณาในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ฉบับหน้าเหลืองภาษาอังกฤษเป็นการโฆษณาของบริษัท ย. ไม่ใช่บริษัทจำเลยที่ 1 แต่เป็นบริษัทในเครือของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 1 และกระทำไปโดยปราศจากอำนาจและจำเลยที่ 1 ไม่ให้สัตยาบันจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยลำพังตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 มูลความแห่งคดีจึงมิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้อันจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) มาใช้บังคับจึงนำเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ให้การต่อสู้ไว้มิได้