พบผลลัพธ์ทั้งหมด 290 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6453/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 จากการกระทำโดยปราศจากอำนาจ และการแก้ไขดอกเบี้ยตามคำฟ้อง
เมื่อศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนว่าการโฆษณาในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ฉบับหน้าเหลืองภาษาอังกฤษเป็นการโฆษณาของบริษัทอื่นไม่ใช่ของบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 กระทำไปโดยปราศจากอำนาจ และจำเลยที่ 1 ไม่ให้สัตยาบัน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยลำพังตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ให้การต่อสู้คดีไว้ตั้งแต่แรกว่าไม่เคยมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ทำการใด ๆ แทนจำเลยที่ 1 ผลแห่งการวินิจฉัยดังกล่าวทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 มูลความแห่งคดีจึงมิได้เป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ อันจะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) มาใช้บังคับจึงนำเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ให้การต่อสู้ไว้มิได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยของต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2537 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2537 จึงเป็นการพิพากษากำหนดดอกเบี้ยให้เกินไปกว่า ที่ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยของต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2537 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2537 จึงเป็นการพิพากษากำหนดดอกเบี้ยให้เกินไปกว่า ที่ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อ สัญญาทางศาสนสมบัติ การไม่สมบูรณ์ของสัญญา และค่าเสียหายจากการละเมิดสัญญา
โจทก์ให้ ส. เป็นผู้ลงชื่อทำสัญญาก่อสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 1 ตามเอกสารหมาย จ.2 มี ศ. ซึ่งเป็นไวยาวัจกรของจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นคู่สัญญา โจทก์เคยรู้จักกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 มาก่อน เคยเจรจาตกลงกับจำเลยที่ 2 เรื่องโจทก์ปรับปรุงที่ดินของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เขียนข้อความว่า "อาตมารับทราบแล้ว" และลงชื่อไว้ท้ายสัญญาเอกสารหมาย จ.2 เป็นการยืนยันได้ว่า จำเลยที่ 2 ให้สัตยาบันหนังสือดังกล่าวให้มีผลสมบูรณ์ผูกพันจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญา อีกทั้งหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.1 ระบุให้ ศ. มีอำนาจดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด การที่ ศ. ไปลงชื่อตามสัญญาเอกสารหมาย จ.2 โดยมีจำเลยที่ 2 ลงชื่อรับทราบไว้ท้ายสัญญาเพื่อให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นการจัดการศาสนสมบัติของวัดแล้ว กรณีไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจเป็นการเฉพาะเรื่องอีก จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อของ ส.
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ข้อ 2 ระบุว่า การกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์จะกระทำได้ต่อเมื่อกรมการศาสนาเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม และข้อ 4 ระบุว่า การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ ที่กัลปนาหรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดระยะเวลาเช่าเกิน 3 ปี จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา แม้สัญญาก่อสร้างตึกแถวเอกสารหมาย จ. 2 จะไม่ใช่สัญญาเช่าโดยตรง แต่เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขในอนาคต เพราะขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ปลูกสร้างอาคารและอาคารเหล่านั้นก็ยังไม่มี แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 ก็มีผลให้เห็นได้ในอนาคตว่า หากโจทก์ปลูกสร้างอาคารแล้วเสร็จตามสัญญาย่อมจะมีผลให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามสัญญา คือให้โจทก์มีสิทธิหาผู้เช่ามาจดทะเบียนการเช่ามีกำหนด 30 ปี กับจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเป็นจะต้องขอความเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน เมื่อสัญญาก่อสร้างตึกแถวดังกล่าวยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนาตามกฎกระทรวงจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ยังไม่สามารถนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่การที่จำเลยที่ 1 รับเงินค่าหน้าดินจากโจทก์และโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมเป็นเงินเจ็ดแสนกว่าบาท แล้วจำเลยที่ 1 ไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำการก่อสร้างอาคารต่อไป ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ข้อ 2 ระบุว่า การกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์จะกระทำได้ต่อเมื่อกรมการศาสนาเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคม และข้อ 4 ระบุว่า การให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ ที่กัลปนาหรือที่วัดที่กันไว้เป็นที่จัดประโยชน์ที่มีกำหนดระยะเวลาเช่าเกิน 3 ปี จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา แม้สัญญาก่อสร้างตึกแถวเอกสารหมาย จ. 2 จะไม่ใช่สัญญาเช่าโดยตรง แต่เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขในอนาคต เพราะขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ปลูกสร้างอาคารและอาคารเหล่านั้นก็ยังไม่มี แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 ก็มีผลให้เห็นได้ในอนาคตว่า หากโจทก์ปลูกสร้างอาคารแล้วเสร็จตามสัญญาย่อมจะมีผลให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามสัญญา คือให้โจทก์มีสิทธิหาผู้เช่ามาจดทะเบียนการเช่ามีกำหนด 30 ปี กับจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเป็นจะต้องขอความเห็นชอบจากกรมการศาสนาก่อน เมื่อสัญญาก่อสร้างตึกแถวดังกล่าวยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนาตามกฎกระทรวงจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ยังไม่สามารถนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่การที่จำเลยที่ 1 รับเงินค่าหน้าดินจากโจทก์และโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมเป็นเงินเจ็ดแสนกว่าบาท แล้วจำเลยที่ 1 ไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำการก่อสร้างอาคารต่อไป ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2823/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของตัวการที่มิได้เปิดเผยชื่อในสัญญาจะซื้อจะขาย
โจทก์ที่ 1 และ ที่ 2 บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามสำเนาหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและวางมัดจำเอกสารท้ายฟ้อง เอกสารดังกล่าวไม่ปรากฏชื่อของโจทก์ที่ 1 เป็นคู่สัญญา พอแปลได้แล้วว่า โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ทำไว้ จำเลยทั้งสามก็ให้มีการต่อสู้คดีว่าโจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ได้เป็นคู่สัญญา คดีจึงมีประเด็นในเรื่องอำนาจฟ้องดังที่ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า "โจทก์ที่ 1 มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามหรือไม่" ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 1 โดยโจทก์ที่ 1 เป็นตัวการที่มิได้เปิดเผยชื่อ มีอำนาจฟ้องคดีนี้ จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นข้อพิพาทซึ่งได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้นแล้ว
จำเลยผู้จะขายทราบอยู่แล้วว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซื้อที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่ 1 เมื่อโจทก์ที่ 1 แสดงตัวเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อเข้ารับเอาสัญญาจะซื้อจะขายที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ทำไว้แทน โดยโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ก็รับรู้อยู่ด้วยเพราะเป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1 เช่นนี้ จำเลยย่อมไม่มีเหตุที่จะปฏิเสธการปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ส่วนที่การกระทำของโจทก์ทั้งสามเป็นเรื่องการแสวงหาประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้บริหารของ โจทก์ที่ 1 ก็ดี เป็นการหลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมและค่าภาษีก็ดี เป็นเรื่องที่ผู้ถือหุ้นของโจทก์ที่ 1 หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าภาษีจะดำเนินการแก่โจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เองนั้น จำเลย จะอ้างเอาเป็นเหตุที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาหาได้ไม่
จำเลยผู้จะขายทราบอยู่แล้วว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซื้อที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่ 1 เมื่อโจทก์ที่ 1 แสดงตัวเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อเข้ารับเอาสัญญาจะซื้อจะขายที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ทำไว้แทน โดยโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ก็รับรู้อยู่ด้วยเพราะเป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1 เช่นนี้ จำเลยย่อมไม่มีเหตุที่จะปฏิเสธการปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ส่วนที่การกระทำของโจทก์ทั้งสามเป็นเรื่องการแสวงหาประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้บริหารของ โจทก์ที่ 1 ก็ดี เป็นการหลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมและค่าภาษีก็ดี เป็นเรื่องที่ผู้ถือหุ้นของโจทก์ที่ 1 หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าภาษีจะดำเนินการแก่โจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 3 เองนั้น จำเลย จะอ้างเอาเป็นเหตุที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9442/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันเช็คที่ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับบริษัท ทำให้บริษัทผูกพันตามเช็ค แม้ลายเซ็นไม่ถูกต้อง
แม้เช็คพิพาทจำเลยที่ 2 ลงชื่อในเช็คแต่ผู้เดียวและประทับตราบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ที่ต้องมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการอื่นอีกหนึ่งคน และประทับตราสำคัญของบริษัทก็ตาม แต่บริษัทจำเลยที่ 1 ก็ให้การยอมรับว่า จำเลยที่ 1 ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อค้ำประกันการกู้ยืมของจำเลยที่ 1 เท่ากับเป็นการให้สัตยาบัน บริษัทจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับผิดตามเช็คแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 , 1167 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9442/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันเช็คและการรับผิดของผู้ออกเช็ค แม้ลงลายมือชื่อไม่ถูกต้อง
แม้เช็คพิพาทจำเลยที่ 2 ลงชื่อในเช็คแต่ผู้เดียวและประทับตราบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ถูกต้องตามข้อบังคับที่ต้องมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการอื่นอีกหนึ่งคนและประทับตราสำคัญของบริษัทก็ตาม แต่บริษัทจำเลยที่ 1ก็ให้การยอมรับว่า จำเลยที่ 1 ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อค้ำประกันการกู้ยืมของจำเลยที่ 1จึงเท่ากับเป็นการให้สัตยาบัน บริษัทจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันรับผิดตามเช็คแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823,1167 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9264/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าแม้ไม่มีตราประทับ แต่ยอมรับผลและให้เข้าครอบครอง ถือเป็นสัตยาบันผูกพันผู้เช่า
สัญญาเช่าพื้นที่ห้องชุด มีข้อความระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าบริษัท บ. จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่า แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานกรรมการของจำเลยที่ 1 จะลงชื่อในสัญญาเช่าโดยไม่ได้ประทับตราของจำเลยที่ 1ตามข้อบังคับก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็ยอมรับเอาผลของสัญญาเช่าดังกล่าวโดยยินยอมให้บริษัท ซ. ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นประธานกรรมการเข้าไปครอบครองใช้พื้นที่ที่เช่าจากโจทก์แล้ว ทั้ง ๆ ที่บริษัท ซ. มิได้เป็นคู่สัญญาเช่ากับโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 2 และเข้าไปครอบครองใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่เช่าจากโจทก์แล้ว สัญญาเช่าพื้นที่ห้องชุดดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1ในฐานะผู้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9264/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาสื่อถึงกัน แม้ไม่มีตราบริษัท การยินยอมให้ใช้พื้นที่ถือเป็นการให้สัตยาบัน
สัญญาเช่าพื้นที่ห้องชุด มีข้อความระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าบริษัท บ. จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่า แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานกรรมการของจำเลยที่ 1 จะลงชื่อในสัญญาเช่าโดยไม่ได้ประทับตราของจำเลยที่ 1 ตามข้อบังคับก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็ยอมรับเอาผลของสัญญาเช่าดังกล่าวโดยยินยอมให้บริษัท ซ. ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นประธานกรรมการเข้าไปครอบครองใช้พื้นที่ที่เช่าจากโจทก์แล้ว ทั้ง ๆ ที่บริษัท ซ. มิได้เป็นคู่สัญญาเช่ากับโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 2 และเข้าไปครอบครองใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่เช่าจากโจทก์แล้ว สัญญาเช่าพื้นที่ห้องชุดดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาซื้อขายที่ดินโดยไม่มีอำนาจจากจำเลย สัญญาเป็นโมฆะ
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดไม่มีความประสงค์จะขายที่พิพาทให้โจทก์หรือผู้ใด การที่โจทก์ สมคบกับ ป. และ ห. ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป. ขายที่ดินให้โจทก์โดยทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะขายที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ประกอบ มาตรา 1167 สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6810/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจติดตามค่าทดแทนที่ดินและการกระทำนอกเหนืออำนาจของกรรมการจำเลย
เจ้าอาวาสของวัดจำเลยที่ 1 เพียงแต่มอบอำนาจให้ อ.ไปติดต่อเรียกร้องเงินค่าผาติกรรมจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจนเสร็จเรื่องเท่านั้น โดยไม่มีข้อตกลงที่ว่าจะให้เงินเป็นค่าตอบแทนเพื่อการนั้นแก่ อ. เลย ส่วนเอกสารข้อตกลงว่าจะให้เงินค่าตอบแทนแก่ อ. นั้น เจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1ซึ่งถือว่าเป็นผู้แทนของนิติบุคคลจำเลยที่ 1 ก็มิได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ตามเอกสารดังกล่าวคงมีแต่จำเลยที่ 3 และที่ 4ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 แม้จะมีข้อความระบุว่าเจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ดำเนินการติดตาม เรื่องที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่ถูกเวนคืนจนแล้วเสร็จนั้น ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือ มอบอำนาจให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 อีกทั้งเจ้าอาวาส ของจำเลยที่ 1 ก็ไม่เคยเห็นและไม่เคยทราบเรื่องข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าว และไม่เคยแจ้งให้จำเลยที่ 4 ไปดำเนินการ เรียกค่าตอบแทนดังกล่าวแต่อย่างใด เนื่องจากมีมติของ มหาเถรสมาคมซึ่งมีขึ้นตั้งแต่ปี 2507 ว่า เงินค่าผาติกรรม ไม่สามารถนำไปใช้จ่ายในการใดได้ นอกจากจะนำผลประโยชน์ ของเงินดังกล่าวไปใช้จ่ายได้เท่านั้น และมติดังกล่าวปัจจุบัน ก็ยังใช้บังคับอยู่ เจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับรู้ หรือได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่ผูกพัน และไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว สำหรับจำเลยที่ 2 แม้มีตำแหน่งเป็นไวยาวัจกรของจำเลยที่ 1 แต่ก็มิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าว กรณีจึงไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมตกลงที่จะให้เงิน ค่าตอบแทนแก่ อ. ตามข้อตกลงดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 นั้น แม้ว่าจะลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกข้อตกลง ตามเอกสารดังกล่าวแต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่า กระทำไปในฐานะ ที่เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 เท่านั้น อ. ย่อมทราบอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ใช่เจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 และ เจ้าอาวาสของจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับรู้หรือให้สัตยาบันแก่ การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นการกระทำโดยปราศจาก อำนาจหรือทำนอกเหนือขอบอำนาจ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด ต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย สำหรับจำเลยที่ 5 นั้น แม้จะมีตำแหน่งเป็น ประธานกรรมการฝ่ายฆราวาสของกองจัดการรายได้ และผลประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 5 ไม่ได้ร่วมลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวด้วย อีกทั้งจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน จำเลยทั้งห้ามีคำขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นใน ปัญหาข้อกฎหมายแม้ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวมา ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5458/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อโมฆะเนื่องจากลายมือชื่อไม่ถูกต้อง และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อเพียงคนเดียว ไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองของโจทก์ที่กำหนดให้กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและ ประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์ ดังนี้ย่อมมีผล เท่ากับโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อ จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ แต่เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)