พบผลลัพธ์ทั้งหมด 290 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8338/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันสัญญาซื้อขายและการมอบหมายตัวแทน โดยการรับสินค้าและนำไปใช้ประโยชน์
โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า เหตุที่ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลานั้น สาเหตุมาจากความเจ็บป่วยของทนายโจทก์คนเดิม โดยโจทก์มีแพทย์ ผู้ตรวจร่างกายทนายโจทก์คนเดิมเบิกความยืนยัน โดยโจทก์ไม่จำต้องนำเอกสารประวัติคนไข้มาสืบประกอบ และเมื่อศาลชั้นต้นรับฟังคำเบิกความของพยานแล้วเห็นว่า ทนายโจทก์คนเดิมป่วยจริง ความบกพร่องไม่ได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อที่ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน และข้ออ้างของทนายโจทก์มีเหตุอันสมควรที่จะรับบัญชีระบุพยานของโจทก์ไว้เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดในข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม ดังนี้ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 183 ทวิ วรรคสอง ซึ่งบังคับใช้ในขณะนั้น
จำเลยได้ทราบและมีส่วนเกี่ยวข้องในการที่บริษัท ม.สั่งซื้อเหล็กหล่อเพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างชั้นใต้ดินของอาคาร บ. ยิ่งกว่านั้นในช่วงที่โจทก์ส่งเหล็กหล่อมาให้ตามสถานที่ก่อสร้างนั้น จำเลยได้เข้ามารับช่วงงานก่อสร้างต่อแล้ว และวัสดุก่อสร้างทุกอย่างที่ส่งมาภายหลังจำเลยก็เป็นผู้ใช้ประโยชน์ทั้งหมดดังนี้ เมื่อโจทก์ส่งเหล็กหล่อมาให้จำเลยและจำเลยได้รับไว้ใช้ประโยชน์ทั้งหมดโดยมิได้อิดเอื้อนหรือส่งคืนแก่โจทก์ ถือได้ว่าการรับสินค้าของจำเลยเป็นการให้สัตยาบันแก่การนั้น ย่อมผูกพันจำเลยในฐานะตัวการว่าได้มอบหมายให้บริษัท ม.เป็นตัวแทนสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์แล้ว สำหรับบันทึกข้อตกลงที่จำเลยกำหนดให้บริษัท ภ.ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการอาคาร บ.จะต้องมีหน้าที่จัดหาเหล็กก่อสร้างให้ไม่เกิน200 ตัน มอบแก่จำเลย เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับ ภ.เท่านั้น หาได้มีผลผูกพันโจทก์แต่อย่างใดไม่ เมื่อโจทก์ส่งเหล็กมาให้จำเลย จำเลยรับไว้แล้วนำไปใช้ในกิจการของจำเลยหมด จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์กับโจทก์โดยเข้ามาให้สัตยาบันแก่การนั้น
จำเลยได้ทราบและมีส่วนเกี่ยวข้องในการที่บริษัท ม.สั่งซื้อเหล็กหล่อเพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างชั้นใต้ดินของอาคาร บ. ยิ่งกว่านั้นในช่วงที่โจทก์ส่งเหล็กหล่อมาให้ตามสถานที่ก่อสร้างนั้น จำเลยได้เข้ามารับช่วงงานก่อสร้างต่อแล้ว และวัสดุก่อสร้างทุกอย่างที่ส่งมาภายหลังจำเลยก็เป็นผู้ใช้ประโยชน์ทั้งหมดดังนี้ เมื่อโจทก์ส่งเหล็กหล่อมาให้จำเลยและจำเลยได้รับไว้ใช้ประโยชน์ทั้งหมดโดยมิได้อิดเอื้อนหรือส่งคืนแก่โจทก์ ถือได้ว่าการรับสินค้าของจำเลยเป็นการให้สัตยาบันแก่การนั้น ย่อมผูกพันจำเลยในฐานะตัวการว่าได้มอบหมายให้บริษัท ม.เป็นตัวแทนสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์แล้ว สำหรับบันทึกข้อตกลงที่จำเลยกำหนดให้บริษัท ภ.ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการอาคาร บ.จะต้องมีหน้าที่จัดหาเหล็กก่อสร้างให้ไม่เกิน200 ตัน มอบแก่จำเลย เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับ ภ.เท่านั้น หาได้มีผลผูกพันโจทก์แต่อย่างใดไม่ เมื่อโจทก์ส่งเหล็กมาให้จำเลย จำเลยรับไว้แล้วนำไปใช้ในกิจการของจำเลยหมด จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์กับโจทก์โดยเข้ามาให้สัตยาบันแก่การนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8338/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันการซื้อขายโดยการรับสินค้า และการยอมรับการมอบหมายให้สั่งซื้อสินค้า
โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าเหตุที่ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลานั้นสาเหตุมาจากความเจ็บป่วยของทนายโจทก์คนเดิม โดยโจทก์มีแพทย์ ผู้ตรวจร่างกายทนายโจทก์คนเดิมเบิกความยืนยันโดยโจทก์ไม่จำต้องนำเอกสารประวัติคนไข้มาสืบประกอบและเมื่อศาลชั้นต้นรับฟังคำเบิกความของพยานแล้ว เห็นว่าทนายโจทก์คนเดิมป่วยจริง ความบกพร่องไม่ได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อที่ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน และข้ออ้างของทนายโจทก์มีเหตุอันสมควรที่จะรับบัญชีระบุพยานของ โจทก์ไว้เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดในข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม ดังนี้ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาต ให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 ทวิ วรรคสองซึ่งบังคับใช้ในขณะนั้น จำเลยได้ทราบและมีส่วนเกี่ยวข้องในการที่บริษัท ม.สั่งซื้อเหล็กหล่อเพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างชั้นใต้ดิน ของอาคารบ. ยิ่งกว่านั้นในช่วงที่โจทก์ส่งเหล็กหล่อมาให้ตามสถานที่ก่อสร้างขึ้น จำเลยได้เข้ามารับช่วงงานก่อสร้างต่อแล้ว และวัสดุก่อสร้างทุกอย่างที่ส่งมาภายหลังจำเลยก็เป็นผู้ใช้ประโยชน์ทั้งหมด ดังนี้ เมื่อโจทก์ส่งเหล็กหล่อมาให้จำเลยและจำเลยได้รับไว้ใช้ประโยชน์ทั้งหมดโดยมิได้อิดเอื้อนหรือส่งคืนแก่โจทก์ ถือได้ว่าการรับสินค้าของจำเลยเป็นการให้สัตยาบันแก่การนั้น ย่อมผูกพันจำเลยในฐานะตัวการว่าได้มอบหมายให้บริษัทม.เป็นตัวแทนสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์แล้ว สำหรับบันทึกข้อตกลงที่จำเลยกำหนดให้บริษัท ก.ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการอาคาร บ.จะต้องมีหน้าที่จัดหาเหล็กก่อสร้างให้ไม่เกิน 200 ตัน มอบแก่จำเลย เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับ ภ. เท่านั้น หาได้มีผลผูกพันโจทก์แต่อย่างใดไม่เมื่อโจทก์ส่งเหล็กมาให้จำเลย จำเลยรับไว้แล้วนำไปใช้ในกิจการ ของจำเลยหมด จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์กับโจทก์โดยเข้ามาให้ สัตยาบันแก่การนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5902/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองโดยทนายความที่ได้รับการมอบอำนาจ การให้สัตยาบัน และผลของการไม่ทำตามแบบ
การบอกกล่าวบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728 บังคับให้ทำเป็นหนังสือเท่านั้น มิได้กำหนดเป็นแบบไว้ โจทก์มอบอำนาจให้ อ. บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลย โดยมิได้มอบอำนาจเป็นหนังสือ อ. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามโจทก์ เมื่อต่อมาโจทก์ได้แต่งตั้งให้ อ. เป็นทนายความฟ้องร้องบังคับจำนองต่อจำเลย โจทก์ได้เบิกความยืนยันการมอบอำนาจให้ อ. บอกกล่าวบังคับจำนองต่อจำเลย ถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันการบอกกล่าวบังคับจำนองให้จำเลยทราบแล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ต้องทำโดยลูกหนี้เอง สัญญาที่ตัวแทนไม่มีอำนาจทำแทน ไม่มีผลผูกพัน
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) ผู้ที่จะรับสภาพหนี้ได้มีเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ทำสัญญารับใช้หนี้แทน ซ. ลูกหนี้ของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.4 ขึ้นแต่ไม่มีผลบังคับเพราะ น. คู่สัญญาผู้กระทำการแทนโจทก์กระทำการโดยปราศจากอำนาจ แม้ฟังได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวผูกพันตนเข้ารับชำระหนี้แก่โจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์ อันเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ก็ไม่มีลักษณะของลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) ไม่มีผลบังคับตามกฎหมายจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้โดยบุคคลภายนอกและผลผูกพันตามกฎหมาย
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (1) ผู้ที่จะรับสภาพหนี้ได้มีเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ทำสัญญารับใช้หนี้แทน ซ.ลูกหนี้ของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.4 ขึ้น แต่ไม่มีผลบังคับเพราะ น.คู่สัญญาผู้กระทำการแทนโจทก์กระทำการโดยปราศจากอำนาจแม้ฟังได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวผูกพันตนเข้ารับชำระหนี้แก่โจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์ อันเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ก็ไม่มีลักษณะของลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (1) ไม่มีผลบังคับตามกฎหมายจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้ไม่มีตราบริษัท หากมีเจตนาและผู้มีอำนาจลงนาม
จำเลยที่2ทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทเพื่อแก้ปัญหาให้จำเลยที่1โดยจำเลยที่2และที่3เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันทำการแทนจำเลยที่1แต่มิได้ประทับตราบริษัทตามข้อบังคับเพราะในวันดังกล่าวมิได้นำตราบริษัทไปแต่ในวันเดียวกันนั้นร. ซึ่งเป็นน้องชายของย. และเป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลยที่1ได้โทรสารถึงก. ทนายความของจำเลยที่1เรื่องค่าบำเหน็จนายหน้าของโจทก์ที่จำเลยที่1จะต้องชำระให้โจทก์อันเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งในสัญญาประนีประนอมยอมความทั้งจำเลยที่3รู้เรื่องสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินอันเป็นมูลเหตุในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทด้วยดังนี้เมื่อการทำสัญญาประนีประนอมยอมความพิพาทก็เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างจำเลยที่1กับฝ่ายโจทก์และอยู่ในความประสงค์หรือขอบอำนาจของจำเลยที่1และถือว่าจำเลยที่1ได้เข้ารับเอาประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้วสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทนี้ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่1การที่จำเลยที่2และที่3ซึ่งมิได้เป็นผู้จัดการเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและการทำนิติกรรมแทนจำเลยที่1ก็ดีหรือที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่1ไม่รับรองสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ก็ดีหามีผลทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความนี้สิ้นความผูกพันจำเลยที่1แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้ไม่มีตราบริษัท หากเจตนาแก้ไขข้อพิพาทและมีผู้มีอำนาจลงนาม
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทเพื่อแก้ปัญหาให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันทำการแทนจำเลยที่ 1 แต่มิได้ประทับตราบริษัทตามข้อบังคับเพราะในวันดังกล่าวมิได้นำตราบริษัทไปแต่ในวันเดียวกันนั้นร. ซึ่งเป็นน้องชายของ ย. และเป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ได้โทรสารถึง ก. ทนายความของจำเลยที่ 1 เรื่องค่าบำเหน็จนายหน้าของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้โจทก์อันเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งในสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งจำเลยที่ 3 รู้เรื่องสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินอันเป็นมูลเหตุในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทด้วย ดังนี้ เมื่อการทำสัญญาประนีประนอมยอมความพิพาท ก็เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับฝ่ายโจทก์และอยู่ในความประสงค์หรือขอบอำนาจของจำเลยที่ 1 และถือว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ารับเอาประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทนี้ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมิได้เป็นผู้จัดการเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและการทำนิติกรรมแทนจำเลยที่ 1 ก็ดี หรือที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ 1 ไม่รับรองสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ก็ดี หามีผลทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความนี้สิ้นความผูกพันจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาประนีประนอมยอมความ: แม้ไม่มีการประทับตราบริษัทและไม่ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมกรรมการ
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทเพื่อแก้ปัญหาให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันทำการแทนจำเลยที่ 1 แต่มิได้ประทับตราบริษัทตามข้อบังคับเพราะในวันดังกล่าวมิได้นำตราบริษัทไป แต่ในวันเดียวกันนั้น ร.ซึ่งเป็นน้องชายของ ย.และเป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ได้โทรสารถึง ก.ทนายความของจำเลยที่ 1เรื่องค่าบำเหน็จนายหน้าของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้โจทก์อันเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งในสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งจำเลยที่ 3 รู้เรื่องสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินอันเป็นมูลเหตุในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทด้วย ดังนี้ เมื่อการทำสัญญาประนีประนอมยอมความพิพาท ก็เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1กับฝ่ายโจทก์และอยู่ในความประสงค์หรือขอบอำนาจของจำเลยที่ 1 และถือว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ารับเอาประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้วสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทนี้ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2และที่ 3 ซึ่งมิได้เป็นผู้จัดการเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและการทำนิติกรรมแทนจำเลยที่ 1 ก็ดี หรือที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ 1 ไม่รับรองสัญญาประนี-ประนอมยอมความนี้ก็ดี หามีผลทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความนี้สิ้นความผูกพันจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7104/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกโดยมิชอบ และสิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์มรดกของทายาท
เดิม ป.เจ้ามรดกเป็นเจ้าของที่ดินรวม 6 แปลง เมื่อ ป.ถึงแก่กรรมศาลได้มีคำสั่งตั้ง จ.เป็นผู้จัดการมรดกของ ป. และ จ.ได้ไปจดทะเบียนโอนที่ดินทรัพย์มรดก ทั้ง 6 แปลง ดังกล่าวมาเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ.ในฐานะผู้จัดการมรดกจ.จึงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้น ในฐานะผู้จัดการมรดกแทนทายาทอื่นทุกคนรวมถึงเด็กหญิง ส.บุตรของ ป.ซึ่งเกิดกับโจทก์ด้วย แม้ภายหลังจากที่ จ.ได้โอนที่พิพาททั้ง 6 แปลง มาเป็นของ จ.ในฐานะผู้จัดการมรดกแล้ว จ.ในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนที่พิพาททั้ง 6 แปลง ไปให้แก่ จ.เองในฐานะส่วนตัวนั้นก็จะถือว่า จ.ในฐานะส่วนตัวได้เปลี่ยนเจตนาการครอบครองที่พิพาทจากการครอบครองแทนทายาททุกคนมาเป็นการครอบครองในฐานะส่วนตัวเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวยังมิได้ เพราะจ.ยังมิได้บอกกล่าวไปยังทายาททุกคนว่าไม่มีเจตนายึดถือทรัพย์มรดกแทนทายาททุกคนต่อไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 ดังนั้น การที่ จ.ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่จะต้องนำมาแบ่งให้ทายาทไปให้แก่ตนเองทั้งหมดในฐานะเป็นทายาทคนหนึ่งแล้วนำไปโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้งหมด ก็เป็นการกระทำของในฐานะผู้จัดการมรดกที่กระทำไปโดยปราศจากอำนาจ จึงหามีผลผูกพันโจทก์และทายาทอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1720, 823 เมื่อ จ.ยังมิได้ดำเนินการจัดแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามสิทธิของทายาทที่กฎหมายกำหนดไว้หรือตามที่ทายาทตกลงกัน ก็ต้องถือว่าการจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้น จึงจะนำอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้
จ.ครอบครองที่พิพาทแทนทายาททุกคน จึงถือได้ว่าได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ผู้รับมรดกเด็กหญิง ส.ด้วย เมื่อโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกพิพาทที่ยังมิได้แบ่งกัน โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาห้ามฟ้องคดีมรดก 1 ปี และ 10 ปี นับแต่วันที่เจ้ามรดกตายตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1754 บัญญัติไว้ ทั้งนี้เป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1748เมื่อ จ.ได้โอนที่ดินมรดกพิพาททั้ง 6 แปลง ไปให้แก่ตนเองทั้งหมดและโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่ชอบ โจทก์ในฐานะผู้รับมรดกของเด็กหญิง ส.ก็ชอบที่ใช้สิทธิในฐานะการเป็นทายาทของเด็กหญิง ส.ที่มีอยู่ต่อกองมรดกฟ้องบังคับให้เพิกถอนการโอนที่มรดกดังกล่าวเสียได้
จ.ครอบครองที่พิพาทแทนทายาททุกคน จึงถือได้ว่าได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ผู้รับมรดกเด็กหญิง ส.ด้วย เมื่อโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกพิพาทที่ยังมิได้แบ่งกัน โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาห้ามฟ้องคดีมรดก 1 ปี และ 10 ปี นับแต่วันที่เจ้ามรดกตายตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1754 บัญญัติไว้ ทั้งนี้เป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1748เมื่อ จ.ได้โอนที่ดินมรดกพิพาททั้ง 6 แปลง ไปให้แก่ตนเองทั้งหมดและโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่ชอบ โจทก์ในฐานะผู้รับมรดกของเด็กหญิง ส.ก็ชอบที่ใช้สิทธิในฐานะการเป็นทายาทของเด็กหญิง ส.ที่มีอยู่ต่อกองมรดกฟ้องบังคับให้เพิกถอนการโอนที่มรดกดังกล่าวเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7104/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกเกินอำนาจ ทายาทมีสิทธิฟ้องเพิกถอนได้ แม้จะพ้นอายุความมรดก
เดิมป. เจ้ามรดกเป็นเจ้าของที่ดินรวม6แปลงเมื่อป.ถึงแก่กรรมศาลได้มีคำสั่งตั้งจ.เป็นผู้จัดการมรดกของป. และจ.ได้ไปจดทะเบียนโอนที่ดินทรัพย์มรดกทั้ง6แปลงดังกล่าวมาเป็นกรรมสิทธิ์ของจ.ในฐานะผู้จัดการมรดกจ.จึงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้นในฐานะผู้จัดการมรดกแทนทายาทอื่นทุกคนรวมถึงเด็กหญิงส. บุตรของป.ซึ่งเกิดกับโจทก์ด้วยแม้ภายหลังจากที่จ. ได้โอนที่พิพาททั้ง6แปลงมาเป็นของจ.ในฐานะผู้จัดการมรดกแล้วจ. ในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนที่พิพาททั้ง6แปลงไปให้แก่จ.เองในฐานะส่วนตัวนั้นก็จะถือว่าจ. ในฐานะส่วนตัวได้เปลี่ยนเจตนาการครอบครองที่พิพาทจากการครอบครองแทนทายาททุกคนมาเป็นการครอบครองในฐานะส่วนตัวเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวยังมิได้เพราะจ.ยังมิได้บอกกล่าวไปยังทายาททุกคนว่าไม่มีเจตนายึดถือทรัพย์มรดกแทนทายาททุกคนต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1381ดังนั้นการที่จ. ในฐานะผู้จัดการมรดกโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่จะต้องนำมาแบ่งให้ทายาทไปให้แก่ตนเองทั้งหมดในฐานะเป็นทายาทคนหนึ่งแล้วนำไปโอนให้แก่จำเลยที่2ทั้งหมดก็เป็นการกระทำของในฐานะผู้จัดการมรดกที่กระทำไปโดยปราศจากอำนาจจึงหามีผลผูกพันโจทก์และทายาทอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1720,823เมื่อจ. ยังมิได้ดำเนินการจัดแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามสิทธิของทายาทที่กฎหมายกำหนดไว้หรือตามที่ทายาทตกลงกันก็ต้องถือว่าการจัดการทรัพย์มรดกยังไม่เสร็จสิ้นจึงจะนำอายุความ5ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733วรรคสองมาใช้บังคับไม่ได้ จ.ครอบครองที่พิพาทแทนทายาททุกคนจึงถือได้ว่าได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ผู้รับมรดกเด็กหญิงส. ด้วยเมื่อโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกพิพาทที่ยังมิได้แบ่งกันโจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาห้ามฟ้องคดีมรดก1ปีและ10ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตายตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754บัญญัติไว้ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1748เมื่อจ.ได้โอนที่ดินมรดกพิพาททั้ง6แปลงไปให้แก่ตนเองทั้งหมดและโอนให้แก่จำเลยที่2ไปโดยไม่ชอบโจทก์ในฐานะผู้รับมรดกของเด็กหญิงส.ก็ชอบที่ใช้สิทธิในฐานะการเป็นทายาทของเด็กหญิงส.ที่มีอยู่ต่อกองมรดกฟ้องบังคับให้เพิกถอนการโอนที่มรดกดังกล่าวเสียได้