คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 823

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 290 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนกันและการสัตยาบันข้อตกลง แม้ไม่มีตราสำคัญก็มีผลผูกพันได้
บันทึกข้อตกลงซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างบริษัท ล. โดย น.และ อ.กรรมการคนหนึ่งของโจทก์และจำเลย โดย อ.ลงชื่อเพียงผู้เดียวและไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ตามข้อบังคับ แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าบริษัท ล.เป็นหนี้โจทก์ จำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล. ข้อความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า อ.ทำบันทึกข้อตกลงในนามของโจทก์นั่นเอง หาได้กระทำเป็นการส่วนตัวไม่ เมื่อโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามข้อตกลงนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ อ.กรรมการแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 และ 350 แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัท ล.อยู่ ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไป บันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลย แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัท ล.ให้แก่โจทก์ และบริษัท ล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ได้ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้ กรณีต้องด้วยมาตรา 314 ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัท ล.และบริษัท ล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์
บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 4 เดือน นับแต่วันทำสัญญา เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน ปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลง มิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนกัน และอำนาจฟ้องตามสัญญา การแปลงหนี้ การผิดนัดชำระหนี้
บันทึกข้อตกลงซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างบริษัทล.โดยน.กรรมการบริษัทกับอ.กรรมการคนหนึ่งของโจทก์และจำเลยโดยอ.ลงชื่อเพียงผู้เดียวและไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ตามข้อบังคับแต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าบริษัทล.เป็นหนี้โจทก์จำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัทล.ข้อความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าอ.ทำบันทึกข้อตกลงในนามของโจทก์นั่นเองหาได้กระทำเป็นการส่วนตัวไม่เมื่อโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามข้อตกลงนั้นย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของอ.กรรมการแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา823วรรคสองโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา349และ350แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัทล.อยู่ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใดๆที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไปบันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลยแต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่าจำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัทล.ให้แก่โจทก์และบริษัทล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้กรณีต้องด้วยมาตรา314ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัทล.และบริษัทล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้วจำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์ บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัทล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด4เดือนนับแต่วันทำสัญญาเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อนปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลงมิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเชิดตัวแทน การให้สัตยาบัน และผลผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่ดิน
จำเลยที่1เป็นมารดาของจำเลยที่2จำเลยที่1ได้เคยขายบ้านซึ่งจำเลยที่2มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ด้วยแม้จำเลยที่2จะเบิกความว่าไม่ได้รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่1ขายบ้านดังกล่าวแต่เมื่อจำเลยที่2ทราบเรื่องขายบ้านแล้วก็มิได้ดำเนินการใดๆถือเป็นการยอมรับการจัดการของจำเลยที่1และในการจัดการดูแลรวมทั้งการขายที่ดินพิพาทจำเลยที่2ก็ปล่อยให้เป็นภาระการจัดการของจำเลยที่1โดยลำพังพฤติการณ์ของจำเลยที่2เช่นนี้เป็นการแสดงออกที่มีผลให้ผู้อื่นที่เกี่ยวข้องเข้าใจและรับรู้ถึงอำนาจการจัดการของจำเลยที่1เป็นการเชิดจำเลยที่1ให้กระทำการแทนจำเลยที่2โดยออกหน้าเสมือนเป็นตัวการแม้ในสัญญาซื้อขายที่ดินจะมิได้ระบุว่าจำเลยที่1ได้กระทำไปในฐานะตัวแทนจำเลยที่2ก็ตามแต่จากพฤติการณ์ที่จำเลยที่1และที่2ปฏิบัติแสดงออกดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความเข้าใจว่าจำเลยที่1ทำการแทนจำเลยที่2โดยออกหน้าเป็นตัวการตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา806นอกจากนี้ยังได้ความว่าจำเลยที่2ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทที่ได้รับจากโจทก์และมอบให้จำเลยที่1รับเงินตามเช็คไปแสดงชัดว่าเป็นการยอมรับผลแห่งสัญญาซื้อขายที่ดินที่จำเลยที่1เป็นผู้กระทำการแทนโดยออกหน้าเป็นตัวการถือได้ว่าจำเลยที่2เป็นตัวการที่มิได้เปิดเผยชื่อนั้นได้กลับแสดงตนให้ปรากฎและเข้ารับเอาสัญญาที่ตัวแทนได้ทำแทนตนนั้นแล้วทั้งยังมีผลเป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่1อีกด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา823จำเลยที่2จึงต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการและการผูกพันของห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อเช็ค
ข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 กำหนดว่า การทำนิติกรรมใด ๆต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราของจำเลยที่ 1การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทแต่ผู้เดียวจึงไม่ถูกต้อง ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 900 แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ด้วยคนหนึ่งแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 2 ออกเป็นตัวแทน ทั้งมิได้มีการนำเงินที่ได้จากการสั่งจ่ายเช็คพิพาทมาใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 อันจะถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 2 และมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับห้างหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด และผลผูกพันจากการลงลายมือชื่อในเช็ค
ข้อบังคับของจำเลยที่1กำหนดว่าการทำนิติกรรมใดๆต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราของจำเลยที่1การที่จำเลยที่2ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทแต่ผู้เดียวจึงไม่ถูกต้องถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา900แม้จำเลยที่2จะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ด้วยคนหนึ่งแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่1ได้เชิดจำเลยที่2ออกเป็นตัวแทนทั้งมิได้มีการนำเงินที่ได้จากการสั่งจ่ายเช็คพิพาทมาใช้ในกิจการของจำเลยที่1อันจะถือได้ว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่2และมีผลผูกพันจำเลยที่1ดังนี้จำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาเช่าซื้อ, การให้สัตยาบัน, ดอกเบี้ยสัญญาเช่าซื้อ, ค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์มอบอำนาจให้จ. เป็นผู้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อต่างๆแทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจได้เมื่อวันที่31ธันวาคม2531จำเลยที่1ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กระบะจากโจทก์สาขาชัยนาทโดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวันดังกล่าวจำเลยที่1ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียวต่อมาวันที่2มกราคม2532ป. ผู้จัดการฝ่ายขายของโจทก์สาขาชัยนาทได้จัดส่งสัญญาดังกล่าวไปให้จ. ซึ่งประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่กรุงเทพมหานครลงชื่อเป็นคู่สัญญาแทนโจทก์เรียบร้อยแล้วแม้จ. เพิ่งลงชื่อเป็นคู่สัญญาแทนโจทก์ในสัญญาเช่าซื้อหลังจากวันที่31ธันวาคม2531ก็ตามแต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่1ซึ่งเป็นคู่สัญญามิได้ทักท้วงและในการลงชื่อของจ. ก็มีตราบริษัทโจทก์ประทับทั้งยังมีการชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์หลายงวดและโจทก์รับค่าเช่าซื้อดังกล่าวไว้ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การลงชื่อของจ. ในสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา823วรรคหนึ่งจึงมีผลเสมือนว่าจ. ได้รับมอบหมายให้ลงชื่อแทนโจทก์มาตั้งแต่ต้นดังนี้สัญญาเช่าซื้อจึงมีคู่สัญญาลงชื่อครบถ้วนไม่เป็นโมฆะโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อนั้นได้รวมค่าเช่ากับราคารถยนต์ที่เช่าซื้อเข้าไว้ด้วยกันการกำหนดราคาค่าเช่าซื้อดังกล่าวไม่มีกฎหมายห้ามไว้และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแม้ราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวโจทก์จะกำหนดโดยวิธีหักเงินชำระล่วงหน้าออกไปก่อนแล้วนำส่วนที่เหลือไปคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15ต่อปีในจำนวน48คือ4ปีคำนวณเป็นดอกเบี้ยเท่าใดบวกเข้ากับเงินที่ค้างชำระจากนั้นเอา4ปีหารเป็นรายปีออกมาเป็นค่างวดก็ตามก็เป็นวิธีการกำหนดราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์โดยชอบหาตกเป็นโมฆะไม่ โจทก์มิได้แก้อุทธรณ์แต่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้แทนโจทก์ในชั้นอุทธรณ์ด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายและการกำหนดราคาค่าเช่าซื้อ
โจทก์มอบอำนาจให้ จ.เป็นผู้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อต่าง ๆแทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจได้ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2531 จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กระบะจากโจทก์ สาขาชัยนาท โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียวต่อมาวันที่ 2 มกราคม 2532 ป.ผู้จัดการฝ่ายขายของโจทก์ สาขาชัยนาท ได้จัดส่งสัญญาดังกล่าวไปให้ จ.ซึ่งประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร ลงชื่อเป็นคู่สัญญาแทนโจทก์เรียบร้อยแล้ว แม้ จ.เพิ่งลงชื่อเป็นคู่สัญญาแทนโจทก์ในสัญญาเช่าซื้อหลังจากวันที่ 31 ธันวาคม 2531 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญามิได้ทักท้วง และในการลงชื่อของ จ.ก็มีตราบริษัทโจทก์ประทับ ทั้งยังมีการชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์หลายงวดและโจทก์รับค่าเช่าซื้อดังกล่าวไว้ ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การลงชื่อของ จ.ในสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายตาม ป.พ.พ.มาตรา 823 วรรคหนึ่ง จึงมีผลเสมือนว่า จ.ได้รับมอบหมายให้ลงชื่อแทนโจทก์มาตั้งแต่ต้น ดังนี้สัญญาเช่าซื้อจึงมีคู่สัญญาลงชื่อครบถ้วน ไม่เป็นโมฆะ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
ราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อนั้นได้รวมค่าเช่ากับราคารถยนต์ที่เช่าซื้อเข้าไว้ด้วยกัน การกำหนดราคาค่าเช่าซื้อดังกล่าวไม่มีกฎหมายห้ามไว้ และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวโจทก์จะกำหนดโดยวิธีหักเงินชำระล่วงหน้าออกไปก่อนแล้วนำส่วนที่เหลือไปคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีในจำนวน 48 งวด คือ 4 ปีคำนวณเป็นดอกเบี้ยเท่าใด บวกเข้ากับเงินที่ค้างชำระ จากนั้นเอา 4 ปีหารเป็นรายปีออกมาเป็นค่างวดก็ตาม ก็เป็นวิธีการกำหนดราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์โดยชอบ หาตกเป็นโมฆะไม่
โจทก์มิได้แก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้แทนโจทก์ในชั้นอุทธรณ์ด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9153/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันหนี้ที่ตัวแทนทำโดยปราศจากอำนาจ และผลผูกพันของผู้ค้ำประกัน
การที่ลูกหนี้ที่ 2 ในฐานะกรรมการของบริษัทลูกหนี้ที่ 1ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่เจ้าหนี้โดยมีลูกหนี้ที่ 2ลงลายมือชื่อแต่เพียงผู้เดียวและประทับตราบริษัทของลูกหนี้ที่ 1 ไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองของลูกหนี้ที่ 1ที่นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทออกให้ซึ่งต้องมีกรรมการอื่นอีกคนหนึ่งลงชื่อร่วมกัน เป็นการกระทำของตัวแทนที่กระทำโดยปราศจากอำนาจแต่หลังจากที่ลูกหนี้ที่ 2ทำหนังสือรับสภาพหนี้แล้ว ลูกหนี้ที่ 1 มิได้โต้แย้ง คัดค้านกลับนำเงินไปผ่อนชำระให้แก่เจ้าหนี้ตามหนังสือ รับสภาพหนี้นั้นบางส่วน ถือได้ว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้ให้ สัตยาบันแก่การกระทำของลูกหนี้ที่ 2 ทำให้มีผลผูกพัน ลูกหนี้ที่ 1 ในฐานะตัวการว่ายอมรับการกระทำของลูกหนี้ที่ 2 ที่ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้แก่เจ้าหนี้และต้องชำระหนี้ นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 ลูกหนี้ ที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9153/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันหนี้: แม้การทำสัญญาจะไม่มีอำนาจ แต่หากตัวการรับชำระหนี้ ย่อมผูกพันตามสัญญา
การที่ลูกหนี้ที่ 2 ในฐานะกรรมการของบริษัทลูกหนี้ที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่เจ้าหนี้โดยมีลูกหนี้ที่ 2 ลงลายมือชื่อแต่เพียงผู้เดียวและประทับตราบริษัทของลูกหนี้ที่ 1 ไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองของลูกหนี้ที่ 1ที่นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทออกให้ซึ่งต้องมีกรรมการอื่นอีกคนหนึ่งลงชื่อร่วมกัน เป็นการกระทำของตัวแทนที่กระทำโดยปราศจากอำนาจแต่หลังจากที่ลูกหนี้ที่ 2 ทำหนังสือรับสภาพหนี้แล้ว ลูกหนี้ที่ 1 มิได้โต้แย้งคัดค้านกลับนำเงินไปผ่อนชำระให้แก่เจ้าหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นบางส่วน ถือได้ว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของลูกหนี้ที่ 2 ทำให้มีผลผูกพันลูกหนี้ที่ 1ในฐานะตัวการว่ายอมรับการกระทำของลูกหนี้ที่ 2 ที่ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้แก่เจ้าหนี้และต้องชำระหนี้นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ลูกหนี้ที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6027/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างและผู้ค้ำประกันจากความเสียหายเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่นอกเหนืออำนาจ
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งพนักงานสินเชื่อ ไม่มีหน้าที่รับชำระหนี้จากสมาชิกของโจทก์ แต่ได้กระทำการนอกหน้าที่โดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจไปหลอกลวงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายต้องจ่ายเงินคืนให้แก่สมาชิก การที่โจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่ 1 นั้นแล้ว ย่อมต้องถือว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 เรียกเก็บเงินและรับเงินไว้จากสมาชิก จำเลยที่ 1จึงมีหน้าที่จะต้องนำมามอบให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย การที่จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการผิดสัญญาจ้าง
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามความในข้อ 1 แห่งสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง กำหนดให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดในความเสียหายอันเนื่องมาจากกระทำหรืองดเว้นกระทำไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ ของจำเลยที่ 1 ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1และเมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีความว่า ผู้ว่าจ้างได้ว่าจ้างผู้รับจ้างกระทำการในตำแหน่งพนักงานสินเชื่อหรือตำแหน่งหน้าที่อื่นที่ได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายจากคณะกรรมการดำเนินการ หรือผู้จัดการสหกรณ์โจทก์เช่นนี้ เมื่อความเสียหายของโจทก์เกิดจากการกระทำซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของจำเลยที่ 1แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองด้วย
of 29