พบผลลัพธ์ทั้งหมด 290 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5293/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสัตยาบันการกระทำของตัวแทน แม้ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งชัดแจ้ง
แม้ว่าจำเลยร่วมจะไม่ระบุให้ชัดแจ้งในหนังสือมอบอำนาจว่าได้มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องแย้งได้ แต่หลังจากที่ผู้รับมอบอำนาจได้ฟ้องแย้งไว้แล้ว จำเลยร่วมก็ได้มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องแย้งได้ ถือได้ว่าจำเลยร่วมตัวการได้ให้สัตยาบันการกระทำของผู้รับมอบอำนาจตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 จำเลยร่วมจึงมีอำนาจฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนกันและการให้สัตยาบันสัญญา การฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลง
บันทึกข้อตกลงซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างบริษัท ล. โดย น.และ อ.กรรมการคนหนึ่งของโจทก์และจำเลย โดย อ.ลงชื่อเพียงผู้เดียวและไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ตามข้อบังคับ แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าบริษัท ล.เป็นหนี้โจทก์ จำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล. ข้อความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า อ.ทำบันทึกข้อตกลงในนามของโจทก์นั่นเอง หาได้กระทำเป็นการส่วนตัวไม่ เมื่อโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามข้อตกลงนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ อ.กรรมการแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 และ 350 แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัท ล.อยู่ ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไป บันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลย แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัท ล.ให้แก่โจทก์ และบริษัท ล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ได้ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้ กรณีต้องด้วยมาตรา 314 ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัท ล.และบริษัท ล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์
บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 4 เดือน นับแต่วันทำสัญญา เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน ปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลง มิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 และ 350 แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัท ล.อยู่ ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไป บันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลย แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัท ล.ให้แก่โจทก์ และบริษัท ล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ได้ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้ กรณีต้องด้วยมาตรา 314 ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัท ล.และบริษัท ล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์
บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 4 เดือน นับแต่วันทำสัญญา เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน ปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลง มิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1954/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายแม้ไม่ได้เป็นผู้ลงนามโดยตรง หากมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการและลงนามแทน
จำเลยได้มอบหมายให้ จ. เป็นผู้ดำเนินการทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ โดยจำเลยลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญา ฉะนั้นจำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาจะซื้อขายไม่ผูกพันจำเลย เพราะไม่มีกรณีตั้งตัวแทนหรือยินยอมให้ผู้ได้เชิดตนเองกระทำการเป็นตัวแทนจำเลย และที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องตัวแทนเชิดเป็นเรื่องนอกฟ้องนั้น คดีนี้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจากพฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยได้มอบหมายให้ จ. และ ป. ภริยาเป็นผู้ติดต่อขายที่ดินของจำเลยแทนจำเลยและจำเลยเป็นผู้ลงชื่อในสัญญาด้วยตนเอง ดังนี้ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเรื่องตัวแทนเชิดดังที่จำเลยฎีกาแต่อย่างใด โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์และโจทก์ได้ว่าจ้างบริษัท ม. ปลูกสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก3 ชั้น ลงบนที่ดินดังกล่าวขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ หากไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทให้ได้ให้ใช้ราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยโอนสิ่งปลูกสร้างด้วย จึงไม่เกินคำขอ และโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ว่าจ้างบริษัท ม. ปลูกสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก3 ชั้น บนที่ดินพิพาท การก่อสร้างดังกล่าวย่อมทำให้ที่ดินพิพาทราคาสูงขึ้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนที่เกี่ยวกับราคาที่ดินที่สูงขึ้นเพราะการก่อสร้างด้วยและราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ขอให้ชดใช้ย่อมหมายถึงราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในขณะฟ้อง ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยต้องรับผิดสำหรับค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่สูงขึ้นในขณะฟ้องตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง จึงไม่เป็นการนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7203/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ต่ออายุสัญญาโดยปริยาย การบอกเลิกสัญญาและสิทธิคิดดอกเบี้ย
คำฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ 3 ครั้ง แต่ละครั้งกำหนดวงเงิน อัตราดอกเบี้ย วิธีคิดดอกเบี้ยจากเงินที่ค้างชำระ ซึ่งมีการเดินสะพัดทางบัญชีตลอดมาจนพ้นกำหนดเวลาถึงวันฟ้อง มียอดหนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ คำฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม ส่วนยอดเงินมีความเป็นมาอย่างไร ดอกเบี้ยอัตราเท่าไร และคิดดอกเบี้ยแบบไหนเป็นรายละเอียดซึ่งนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่า โจทก์ไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยที่ 1 เดินสะพัดทางบัญชีอีกต่อไป จึงได้ให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนอง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองตามหนังสือบอกกล่าวของทนายความเป็นการบอกกล่าวในนามของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้ว
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด จำเลยที่ 1 ยังคงเบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าฝากหักทอนบัญชี จึงถือว่ามีการต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 1 จะบอกเลิกสัญญา โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันเลิกสัญญา
ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่า โจทก์ไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยที่ 1 เดินสะพัดทางบัญชีอีกต่อไป จึงได้ให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนอง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองตามหนังสือบอกกล่าวของทนายความเป็นการบอกกล่าวในนามของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้ว
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด จำเลยที่ 1 ยังคงเบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าฝากหักทอนบัญชี จึงถือว่ามีการต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 1 จะบอกเลิกสัญญา โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7203/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ต่ออายุสัญญา การบอกกล่าวบังคับจำนอง ดอกเบี้ยทบต้น และฟ้องไม่เคลือบคลุม
คำฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ 3 ครั้ง แต่ละครั้งกำหนดวงเงิน อัตราดอกเบี้ย วิธีคิดดอกเบี้ยจากเงินที่ค้างชำระ ซึ่งมีการเดินสะพัดทางบัญชีตลอดมาจนพ้นกำหนดเวลาถึงวันฟ้อง มียอดหนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์คำฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม ส่วนยอดเงินมีความเป็นมาอย่างไรดอกเบี้ยอัตราเท่าไร และคิดดอกเบี้ยแบบไหนเป็นรายละเอียดซึ่งนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่า โจทก์ไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยที่ 1 เดินสะพัดทางบัญชีอีกต่อไป จึงได้ให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนอง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองตามหนังสือบอกกล่าวของทนายความเป็นการบอกกล่าวในนามของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้ว เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด จำเลยที่ 1 ยังคงเบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าฝากหักทอนบัญชี จึงถือว่ามีการต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 1จะบอกเลิกสัญญา โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5470/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญาจ้าง, การไม่รับสิ่งของ, การให้สัตยาบัน, ขอบเขตวัตถุประสงค์สัญญา
ตามสัญญาจ้าง โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับรายวันในกรณีที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานล่าช้า โดยโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะเคยส่งมอบสิ่งของตามสัญญาจ้างให้โจทก์ แต่ใช้งานไม่ได้โจทก์จึงไม่รับสิ่งของ มีผลเท่ากับจำเลยที่ 1 ไม่เคยส่งมอบสิ่งของให้โจทก์เลยโจทก์จึงเรียกค่าปรับรายวันไม่ได้
การว่าจ้างทำแบบพิมพ์เครื่องอัดเปลือกหม้อและฝาหม้อแบตเตอรี่อยู่นอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 แต่ก่อนทำสัญญาจ้างฝ่ายจำเลยได้เสนอหนังสือรับรองที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แล้ว โจทก์จึงทราบก่อนทำสัญญาจ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมรับปฏิบัติตามสัญญาจ้างต่อโจทก์ จึงเป็นการให้สัตยาบันในการทำสัญญานั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งทำสัญญาดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวอีก
การว่าจ้างทำแบบพิมพ์เครื่องอัดเปลือกหม้อและฝาหม้อแบตเตอรี่อยู่นอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 แต่ก่อนทำสัญญาจ้างฝ่ายจำเลยได้เสนอหนังสือรับรองที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แล้ว โจทก์จึงทราบก่อนทำสัญญาจ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมรับปฏิบัติตามสัญญาจ้างต่อโจทก์ จึงเป็นการให้สัตยาบันในการทำสัญญานั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งทำสัญญาดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5470/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าปรับและค่าเสียหายจากสัญญาจ้างที่สิ้นสุดลงจากการบอกเลิกสัญญาและการส่งมอบงานที่ใช้งานไม่ได้
ตามสัญญาจ้าง โจทก์มีสิทธิ์เรียกค่่าปรับรายวันในกรณีที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานล่าช้า โดยโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะเคยส่งมอบสิ่งของตามสัญญาจ้างให้โจทก์ แต่ใช้งานไม่ได้โจทก์จึงไม่รับสิ่งของมีผลเท่ากับจำเลยที่่ 1 ไม่เคยส่งมอบสิ่งของให้โจทก์เลยโจทก์จึงเรียกค่าปรับรายวันไม่ได้ การว่าจ้างทำแบบพิมพ์เครื่องอัดเปลือกหม้อและฝ่าหม้อแบตเตอรี่อยู่่นอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่่ 1 แต่ก่อนทำสัญญาจ้างฝ่ายจำเลยได้เสนอหนังสือรับรองที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แล้ว โจทก์จึงทราบก่อนทำสัญญาจ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมรับปฏิบัติตามสัญญาจ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมรับปฏิบัติตามสัญญาจ้างต่อโจทก์ จึงเป็นการให้สัตยาบันในการทำสัญญานั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งทำสัญญาดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการลาออก, ตัวแทน, ผลการเปลี่ยนแปลงกรรมการต่อบุคคลภายนอก
ตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์กำหนดให้กรรมการคือ ส. ช. และจ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยกรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์ แต่การที่ ส.ซึ่งได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้วยังมาร่วมลงลายมือชื่อกับ ช.ในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826, 827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826, 827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนที่ลาออก: การกระทำของกรรมการที่พ้นสภาพแล้วย่อมไม่มีผลผูกพันบริษัท
ตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์กำหนดให้กรรมการคือ ส.ช.และจ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยกรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์แต่การที่ ส.ซึ่งได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้วยังมาร่วมลงลายมือชื่อกับ ช. ในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827,386หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2876/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยที่ 4 (ผู้รับเหมาช่วง) ที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องได้ตามกฎหมาย และการคำนวณค่าเสียหายที่ถูกต้อง
จำเลยทั้งสามไม่ได้ให้การยกเรื่องฟ้องของโจทก์ขาดอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก การที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 4 เข้าทำสัญญาจ้างและรับเงิน แต่จำเลยที่ 1 ได้ออกใบรับเงินให้โจทก์โดยจำเลยที่ 3ที่ 4 ลงชื่อในใบรับเงิน และจำเลยที่ 1 ยื่นรายการภาษีเงินได้ประจำปีระบุรายได้ว่าจากการรับเหมาก่อสร้างเป็นเงินที่ขาดทุนสุทธิตรงกับงบดุลของจำเลยที่ 1 และตามงบกำไรขาดทุนของจำเลยที่ 1ก็ระบุรายได้ไว้ในรายการแรกว่าได้จากการรับเหมาก่อสร้างจำนวนเงินตรงกับใบเสร็จรับเงินของจำเลยที่ 1 ที่รับเงินงวดที่ 1 ซึ่งออกให้แก่โจทก์ ตามพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว เป็นการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการได้ยอมเข้ารับเอาผลงานที่จำเลยที่ 4ได้กระทำไปเกินขอบอำนาจของตัวแทนถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 เมื่อมีการกระทำผิดสัญญาจำเลยที่ 1 ตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นตัวแทนไม่ต้องร่วมรับผิด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 ไม่ได้อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 โจทก์ว่าจ้าง จ. ทำงานส่วนที่เหลือต่อจากจำเลยที่ 1ซึ่งทิ้งงาน โจทก์จึงต้องจ่ายเงินค่าจ้างงานทั้งหมดเป็นเงินเท่ากับเงินที่จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว 1 งวด จำนวน 149,800 บาทบวกด้วยเงินที่ต้องจ่ายให้แก่ จ. เป็นค่าจ้างในการทำงานส่วนที่เหลืออีก 782,965 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 932,765 บาทเพราะฉะนั้นโจทก์ต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้นเป็นเงินเท่ากับเงินจำนวนดังกล่าวลบด้วยค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 หากทำงานแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างจำนวน 749,000 บาท ซึ่งคิดเป็นเงิน 183,765บาท จำนวนเงินดังกล่าวคือค่าเสียหายจริงที่โจทก์ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น หลักประกันเป็นเงินสดที่ผู้รับจ้างมอบไว้แก่ผู้ว่าจ้างตามสัญญาจ้างเป็นเงินประกันความเสียหาย ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย เมื่อโจทก์รับไปแล้วต้องนำไปหักออกจากค่าเสียหายในจำนวนทั้งหมดด้วย