พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของคณะรัฐมนตรีในการจัดตั้งองค์การเพื่อลดค่าครองชีพ และการสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
การที่คณะรัฐมนตรีลงมติตั้งองค์การสรรพาหารขึ้น เพื่อดำเนินการลดค่าครองชีพของประชาชนนั้นย่อมเป็นการดำเนินการลดค่าครองชีพของประชาชน ให้ประชาชนได้มีอาหารครองชีพถูก จึงอยู่ภายในวัตถุที่ประสงค์ของการบริหารแผ่นดินคณะรัฐมนตรีจึงมีอำนาจจัดตั้งองค์การนี้ขึ้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2484-2495มาตรา 5 มีว่า สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี และราชการอื่นๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในวงอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ ฉะนั้นการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การสรรพาหารอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี จึงชอบแล้วเพราะวัตถุประสงค์ขององค์การสรรพาหาร เป็นราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ทั้งเป็นราชการอื่นซึ่งมิได้อยู่ภายในวงอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ
องค์การสรรพาหารมิใช่กระทรวง ทบวงหรือกรม การตั้งจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติและไม่ตั้งขึ้นเป็นการแบ่งส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี แต่เป็นงานที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้สำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการงานเท่านั้นจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
อนึ่งแม้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2484มาตรา 6 จะแยกราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีไว้ ไม่มีกล่าวถึงองค์การสรรพาหารแต่เมื่อกิจการขององค์การสรรพาหารอยู่ในวัตถุประสงค์ของสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว เมื่อไม่อาจขึ้นอยู่ในกรมใดในสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยังอาจขึ้นอยู่ในกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้เพราะกรมเลขาธิการเป็นกรมที่ทำหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงจึงมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมิได้แยกไปให้เป็นหน้าที่ของกรมหนึ่งกรมใดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2476มาตรา 11 ดังที่แก้ไขโดยพระราชบัญญัติ พ.ศ.2477มาตรา 4
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2484-2495มาตรา 5 มีว่า สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี และราชการอื่นๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในวงอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ ฉะนั้นการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การสรรพาหารอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี จึงชอบแล้วเพราะวัตถุประสงค์ขององค์การสรรพาหาร เป็นราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ทั้งเป็นราชการอื่นซึ่งมิได้อยู่ภายในวงอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ
องค์การสรรพาหารมิใช่กระทรวง ทบวงหรือกรม การตั้งจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติและไม่ตั้งขึ้นเป็นการแบ่งส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี แต่เป็นงานที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้สำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการงานเท่านั้นจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
อนึ่งแม้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2484มาตรา 6 จะแยกราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีไว้ ไม่มีกล่าวถึงองค์การสรรพาหารแต่เมื่อกิจการขององค์การสรรพาหารอยู่ในวัตถุประสงค์ของสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว เมื่อไม่อาจขึ้นอยู่ในกรมใดในสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยังอาจขึ้นอยู่ในกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้เพราะกรมเลขาธิการเป็นกรมที่ทำหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงจึงมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมิได้แยกไปให้เป็นหน้าที่ของกรมหนึ่งกรมใดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2476มาตรา 11 ดังที่แก้ไขโดยพระราชบัญญัติ พ.ศ.2477มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของคณะรัฐมนตรีในการจัดตั้งองค์การสรรพาหารเพื่อลดค่าครองชีพ และการสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
การที่คณะรัฐมนตรีลงมติตั้งองค์การสรรพาหารขึ้น เพื่อดำเนินการลดค่าครองชีพของประชาชนนั้น ย่อมเป็นการดำ เนินการลดค่าครองชีพของประชาชน ให้ประชาชนได้มีอาหารครองชีพถูก จึงอยู่ภายในวัตถุที่ประสงค์ของการบริ หารแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีจึงมีอำนาจจัดตั้งองค์การณ์นี้ขึ้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย.
ตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงทะบวงกรม พ.ศ. 2484 - 2495 มาตรา 5 มีว่า สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่ เกี่ยวกับราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี และราชการอื่น ๆ ซื่งมิได้อยู่ภายในวงอำนสจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่ง กระทรวงใดโดยเฉพาะ ฉะนั้นการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การสรรพาหารอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี จึงชอบแล้ว เพราะวัตถุประสงค์ขององค์การณ์สรรพาหาร เป็นราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ทั้งเป็นราชการอื่นซึ่งมิได้อยู่ภาย ในวงอำนาจและหน้าทีของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ
องค์การสรรพาหารมิใช่กระทรวง ทะบวงหรือกรม การตั้งจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชบัญญัตและไม่ตั้งขึ้นเป็นการ แบ่งส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี แต่เป็นงานที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้สำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการ งานเท่านั้นจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา,
อนึ่งแม้ พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวงทะบวงกรม พ.ศ. 2484 มาตรา 6 จะแยกราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีไว้ ไม่มี กล่าวถึงองค์การสรรพาหารแต่เมื่อกิจการขององค์การสรรพาหารอยู่ในวัตถุประสงค์ของสำนักนายกรัฐมนตรีดัง กล่าวแล้ว เมื่อไม่อาจขึ้นอยู่ในกรมใดในสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยังอาจขึ้นอยู่ในกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ เพราะกรมเลขาธิการเป็นกรมที่ทำหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวง จึงมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของสำนักนายกรัฐมน ตรี ซึ่งมิได้แยกไปให้เป็นหน้าที่ของกรมหนึ่งกรมใดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2476 มาตรา 11 ดังที่แก้ไขโดย พ.ร.บ. พ.ศ. 2477 มาตรา 4./
ตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงทะบวงกรม พ.ศ. 2484 - 2495 มาตรา 5 มีว่า สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่ เกี่ยวกับราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี และราชการอื่น ๆ ซื่งมิได้อยู่ภายในวงอำนสจและหน้าที่ของกระทรวงหนึ่ง กระทรวงใดโดยเฉพาะ ฉะนั้นการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การสรรพาหารอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรี จึงชอบแล้ว เพราะวัตถุประสงค์ขององค์การณ์สรรพาหาร เป็นราชการทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ทั้งเป็นราชการอื่นซึ่งมิได้อยู่ภาย ในวงอำนาจและหน้าทีของกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดโดยเฉพาะ
องค์การสรรพาหารมิใช่กระทรวง ทะบวงหรือกรม การตั้งจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชบัญญัตและไม่ตั้งขึ้นเป็นการ แบ่งส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี แต่เป็นงานที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้สำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการ งานเท่านั้นจึงไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา,
อนึ่งแม้ พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวงทะบวงกรม พ.ศ. 2484 มาตรา 6 จะแยกราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีไว้ ไม่มี กล่าวถึงองค์การสรรพาหารแต่เมื่อกิจการขององค์การสรรพาหารอยู่ในวัตถุประสงค์ของสำนักนายกรัฐมนตรีดัง กล่าวแล้ว เมื่อไม่อาจขึ้นอยู่ในกรมใดในสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยังอาจขึ้นอยู่ในกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ เพราะกรมเลขาธิการเป็นกรมที่ทำหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวง จึงมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของสำนักนายกรัฐมน ตรี ซึ่งมิได้แยกไปให้เป็นหน้าที่ของกรมหนึ่งกรมใดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2476 มาตรา 11 ดังที่แก้ไขโดย พ.ร.บ. พ.ศ. 2477 มาตรา 4./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องขัดทรัพย์: ผู้มีส่วนได้เสียไม่ต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน แต่มีสิทธิเมื่อทรัพย์สินได้มาจากการกระทำผิด
ประเด็นในเรื่องร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดนั้นมีว่า ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกยึดนั้นหรือไม่ และตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 55 นั้นผู้ที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลในกรณีขอให้ปล่อยทรัพย์นั้น ก็หาจำต้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์หรือทรัพยสิทธิในทรัพย์นั้นไม่ ผู้มีส่วนได้เสียในกรณีย่อมมาใช้สิทธิทางศาลได้ด้วยการร้องขัดทรัพย์
มีผู้ลอบตัดฟันไม้สัก อันเป็นไม้หวงห้ามแล้วแปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต ภายหลังถูกเจ้าหนี้ยึดไม้เหล่านี้ไว้เพื่อบังคับคดี กรมป่าไม้ซึ่งรัฐหรือแผ่นดินมอบหน้าที่ให้เป็นผู้ดูแลรักษาไม้หวงห้ามย่อมมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ขอให้ปล่อยไม้นั้นได้
ไม้ที่หวงห้ามเป็นส่วนควบของป่าไม้ แม้จะถูกลอบลักตัดโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นสังหาริมทรัพย์แล้ว ก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณะสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม
มีผู้ลอบตัดฟันไม้สัก อันเป็นไม้หวงห้ามแล้วแปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต ภายหลังถูกเจ้าหนี้ยึดไม้เหล่านี้ไว้เพื่อบังคับคดี กรมป่าไม้ซึ่งรัฐหรือแผ่นดินมอบหน้าที่ให้เป็นผู้ดูแลรักษาไม้หวงห้ามย่อมมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ขอให้ปล่อยไม้นั้นได้
ไม้ที่หวงห้ามเป็นส่วนควบของป่าไม้ แม้จะถูกลอบลักตัดโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นสังหาริมทรัพย์แล้ว ก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณะสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องขัดทรัพย์ของผู้มีส่วนได้เสีย ไม่จำกัดเฉพาะเจ้าของทรัพย์ หากทรัพย์สินถูกยึดโดยไม่ชอบ
ประเด็นในเรื่องร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดนั้นมีว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกยึดนั้นหรือ ไม่ และตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 55 นั้น ผู้ที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลในกรณีขอให้ปล่อยทรัพย์นั้น ก็หาจำต้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิในทรัพย์นั้นไม่ ผู้มีส่วนได้เสียในกรณีย่อมมาใช้สิทธิทางศาลได้ด้วยการร้องขัดทรัพย์
มีผู้ลอบตัดฟันไม้สักอันเป็นไม้หวงห้ามแล้วแปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาตภายหลังถูกเจ้าหนี้ยึดไม้เหล่านี้ไว้เพื่อ บังคับคดีกรมป่าไม้ซึ่งรัฐหรือแผ่นดินมอบหน้าที่ให้เป็นผู้ดูแลรักษาไม้หวงห้ามย่อมมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ขอให้ปล่อย ไม้นั้นได้
ไม้ที่หวงห้ามเป็นส่วนควบของป่าไม้แม้จะถูกลอบลักตัดโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นสังหาริมทรัพย์แล้วก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณะสมบัติของแผ่นดินอยู่+
มีผู้ลอบตัดฟันไม้สักอันเป็นไม้หวงห้ามแล้วแปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาตภายหลังถูกเจ้าหนี้ยึดไม้เหล่านี้ไว้เพื่อ บังคับคดีกรมป่าไม้ซึ่งรัฐหรือแผ่นดินมอบหน้าที่ให้เป็นผู้ดูแลรักษาไม้หวงห้ามย่อมมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ขอให้ปล่อย ไม้นั้นได้
ไม้ที่หวงห้ามเป็นส่วนควบของป่าไม้แม้จะถูกลอบลักตัดโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นสังหาริมทรัพย์แล้วก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณะสมบัติของแผ่นดินอยู่+
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030-1033/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกระทรวงพาณิชย์: กรณีหนี้จากลูกจ้าง vs. สัญญาการค้ากับบุคคลภายนอก
อำนาจหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วในคำพิพากษาฎีกาที่ 950/2491 ว่า เป็นหน่วยอยู่ในราชการบริหาร ไม่มีกรมหรือส่วนราชการใดจัดไว้สำหรับทำการค้า หรือหากำไร ฉะนั้นจึงมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องเรียกหนี้สิน ที่อยู่ในขอบเขตอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น
กระทรวงพาณิชย์เป็นโจทก์ฟ้องเรียกหนี้จากจำเลยโดยอ้างว่าสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นองค์การค้าส่วนหนึ่งของกระทรวงพาณิชย์ จำเลยเป็นลูกจ้างของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดตำแหน่งหัวหน้ากองการค้าได้รับเงินไปจากสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นเงินทดรองค่าใช้จ่ายในการขนน้ำตาลจากต่างจังหวัดมากรุงเทพฯ อันเป็นธุรกิจของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดและอยู่ในหน้าที่ของจำเลย เมื่อมีเงินเหลือจำเลยต้องส่งคืน จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งเงินที่ขาดอยู่อีกเป็นเงินจำนวนหนึ่งแต่เพิกเฉยเสีย จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยใช้เงินนั้นพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกเงินที่ได้จ่ายทดรองแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างคืนมิใช่เป็นเรื่องของการค้าหรือหากำไรกับบุคคลภายนอก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้ ส่วนเรื่องฟ้องบุคคลภายนอกตามสัญญาการค้า หรือหากำไรแล้วก็ไม่อยู่ในขอบเขตอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
กระทรวงพาณิชย์เป็นโจทก์ฟ้องเรียกหนี้จากจำเลยโดยอ้างว่าสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นองค์การค้าส่วนหนึ่งของกระทรวงพาณิชย์ จำเลยเป็นลูกจ้างของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดตำแหน่งหัวหน้ากองการค้าได้รับเงินไปจากสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นเงินทดรองค่าใช้จ่ายในการขนน้ำตาลจากต่างจังหวัดมากรุงเทพฯ อันเป็นธุรกิจของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดและอยู่ในหน้าที่ของจำเลย เมื่อมีเงินเหลือจำเลยต้องส่งคืน จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งเงินที่ขาดอยู่อีกเป็นเงินจำนวนหนึ่งแต่เพิกเฉยเสีย จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยใช้เงินนั้นพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกเงินที่ได้จ่ายทดรองแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างคืนมิใช่เป็นเรื่องของการค้าหรือหากำไรกับบุคคลภายนอก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้ ส่วนเรื่องฟ้องบุคคลภายนอกตามสัญญาการค้า หรือหากำไรแล้วก็ไม่อยู่ในขอบเขตอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030-1033/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกระทรวงพาณิชย์: พิจารณาจากขอบเขตหน้าที่ ไม่ใช่การค้าหรือหากำไร
อำนาจหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วในคำพิพากษาฎีกาที่ 950/2491 ว่าเป็นหน่วยอยู่ในราชการบริหาร ไม่มีกรมหรือส่วนราชการใดจัดไว้สำหรับทำการค้า หรือหากำไร ฉะนั้นจึงมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินที่อยู่ในขอบเขตต์อำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น
กระทรวงพาณิชย์เป็นโจทก์ฟ้องเรียกหนี้จากจำเลยโดยอ้างว่าสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นองค์การค้าส่วนหนึ่ง ของกระทรวงพาณิชย์จำเลยเป็นลูกจ้างของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดตำแหน่งหัวหน้ากองการค้าได้รับเงินไปจากสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นเงินทดรองค่าใช้จ่ายในการขนน้ำตาลจากต่างจังหวัดมากรุงเทพฯอันเป็นธุระกิจ ของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดและอยู่ในหน้าที่ของจำเลยเมื่อมีเงินเหลือจำเลยต้องส่งคืนจำเลยมีหน้าที่ต้องส่งเงินที่ขาดอยู่อีกเป็นเงินจำนวนหนึ่งแต่เพิกเฉยเสียจึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยใช้เงินนั้นพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกเงินที่ได้จ่ายทดรองแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างคืนมิใช่เป็นเรื่องของการค้าหรือหากำไรกับบุคคลภายนอกโจกท์จึงมีอำนาจฟ้องได้ ส่วนเรื่องฟ้องบุคคลภายนอกตามสัญญาการค้าหรือหากำไรแล้วก็ไม่อยู่ในขอบเขตต์อำนาจและหน้าที่ของกระทรวง พาณิชย์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
กระทรวงพาณิชย์เป็นโจทก์ฟ้องเรียกหนี้จากจำเลยโดยอ้างว่าสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นองค์การค้าส่วนหนึ่ง ของกระทรวงพาณิชย์จำเลยเป็นลูกจ้างของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดตำแหน่งหัวหน้ากองการค้าได้รับเงินไปจากสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นเงินทดรองค่าใช้จ่ายในการขนน้ำตาลจากต่างจังหวัดมากรุงเทพฯอันเป็นธุระกิจ ของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดและอยู่ในหน้าที่ของจำเลยเมื่อมีเงินเหลือจำเลยต้องส่งคืนจำเลยมีหน้าที่ต้องส่งเงินที่ขาดอยู่อีกเป็นเงินจำนวนหนึ่งแต่เพิกเฉยเสียจึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยใช้เงินนั้นพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกเงินที่ได้จ่ายทดรองแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างคืนมิใช่เป็นเรื่องของการค้าหรือหากำไรกับบุคคลภายนอกโจกท์จึงมีอำนาจฟ้องได้ ส่วนเรื่องฟ้องบุคคลภายนอกตามสัญญาการค้าหรือหากำไรแล้วก็ไม่อยู่ในขอบเขตต์อำนาจและหน้าที่ของกระทรวง พาณิชย์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกระทรวงพาณิชย์จำกัดอยู่เฉพาะการควบคุมส่งเสริมการพาณิชย์ การกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ไม่ก่อให้เกิดสิทธิ
กระทรวงพาณิชย์เป็นนิติบุคคลและตกอยู่ในกรอบของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 69 กล่าวคือมีสิทธิและหน้าที่แต่เพียงภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของ กฎหมาย ดังมีกำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม 2484 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม 2485 มาตรา17 ทวิ ซึ่งบัญญัติว่าให้กระทรวงพาณิชย์มีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการพาณิชย์
คำว่า การพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อพิเคราะห์ถึงการแบ่งส่วนราชการในกระทรวงพาณิชย์ตามมาตรา 17 ตรี และพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการในกระทรวงพาณิชย์แล้ว ไม่มีกรมหรือส่วนราชการใดจัดไว้สำหรับ ทำการค้าหรือเพื่อหากำไร จึงต้องเข้าใจคำว่า การพาณิชย์อันเป็นอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ว่ามีความหมายเพียงแต่ในทางควบคุมส่งเสริมและสนับสนุนการพาณิชย์ของประเทศ
กระทรวงพาณิชย์เป็นโจทก์ฟ้องว่าสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นองค์การค้าส่วนหนึ่งของโจทก์ ไปทำสัญญาจ้างจำเลยขนส่งช่วงน้ำตาลโจทก์ไม่ได้แสดงว่ากิจการที่สำนักงานกลางบริษัทจังหวัดกระทำตกอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของกรมกองใดในกระทรวงพาณิชย์ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดนี้ตั้งขึ้นเพียงควบคุมบริษัทจังหวัดต่างๆ ไม่ใช่เพื่อทำการรับขนแล้วมาจ้างต่อ จึงเป็นการนอกวัตถุประสงค์ของการตั้งสำนักงานกลางบริษัท แม้การกระทำจะกระทำในฐานะตัวแทนของกระทรวงพาณิชย์ แต่การนั้นอยู่นอกอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์จึงหาก่อให้เกิดสิทธิแก่กระทรวงพาณิชย์แต่ประการใดไม่ กระทรวงพาณิชย์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีดังกล่าวนี้
คำว่า การพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อพิเคราะห์ถึงการแบ่งส่วนราชการในกระทรวงพาณิชย์ตามมาตรา 17 ตรี และพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการในกระทรวงพาณิชย์แล้ว ไม่มีกรมหรือส่วนราชการใดจัดไว้สำหรับ ทำการค้าหรือเพื่อหากำไร จึงต้องเข้าใจคำว่า การพาณิชย์อันเป็นอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ว่ามีความหมายเพียงแต่ในทางควบคุมส่งเสริมและสนับสนุนการพาณิชย์ของประเทศ
กระทรวงพาณิชย์เป็นโจทก์ฟ้องว่าสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นองค์การค้าส่วนหนึ่งของโจทก์ ไปทำสัญญาจ้างจำเลยขนส่งช่วงน้ำตาลโจทก์ไม่ได้แสดงว่ากิจการที่สำนักงานกลางบริษัทจังหวัดกระทำตกอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของกรมกองใดในกระทรวงพาณิชย์ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดนี้ตั้งขึ้นเพียงควบคุมบริษัทจังหวัดต่างๆ ไม่ใช่เพื่อทำการรับขนแล้วมาจ้างต่อ จึงเป็นการนอกวัตถุประสงค์ของการตั้งสำนักงานกลางบริษัท แม้การกระทำจะกระทำในฐานะตัวแทนของกระทรวงพาณิชย์ แต่การนั้นอยู่นอกอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์จึงหาก่อให้เกิดสิทธิแก่กระทรวงพาณิชย์แต่ประการใดไม่ กระทรวงพาณิชย์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีดังกล่าวนี้