คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1361.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน เจ้าของร่วมต้องยินยอม การโอนสิทธิเฉพาะส่วน
เจ้าของร่วมเพียงคนเดียวไปทำสัญยาจะขายที่ดินให้แก่เขาหมดทั้งแปลงโดยมิได้รับความยินยอมจากเจ้าของร่วม คนอื่น ๆนั้น สัญญาจะซื้อขายนั้นย่อมผูกพันเฉพาะส่วนของเจ้าของร่วมผู้ทำสัญญาจะขายเท่านั้น ไม่ผูกพันส่วนของ เจ้าของร่วมคนอื่นด้วย.
ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินให้ทั้งแปลงตามสัญญา เมื่อปรากฎว่าที่ดินนั้นมีผู้อื่นเป็นเจ้าของร่วมด้วยอีกหลายคน จะให้ โอนทั้งแปลงไม่ได้ ได้แต่โอนเฉพาะส่วนของจำเลยเท่านั้น ดังนี้ เมื่อคดีไม่ปรากฎว่าส่วนของจำเลยมีอยู่เท่าใด ศาล ก็จะพิพากษาให้แบ่งไป ไม่ได้ ได้แต่พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์เสียเท่านั้นแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องร้องว่า กล่าวเป็นเรื่องใหม่./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิรวมในอสังหาริมทรัพย์ ห้างหุ้นส่วนสามัญ การซื้อขายสิทธิ และการร้องสอด
การรวมทุนกันประกอบกิจการมี และสวนยาง อีกนัยหนึ่ง ก็คือ การร่วมกันมีที่ดินสวนยางหรือทำเป็นสวนยาง เพื่อแสวงหาดอกผลธรรมดาจากสวนยางนั้น แม้จะเรียกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ (โดยมิได้จดทะเบียน) ก็ตาม ความสัมพันธ์เช่นนี้ จะต้องบังคับตามกฎหมายอันว่าด้วยกรรมสิทธิรวมในอสังหาริมททรัพย์นั้น จะบังคับตามกฎหมายเรื่องหุ้นส่วนแต่อย่างเดียวไม่ได้ เพราะทรัพย์สินอันเป็นประธานที่ผู้เป็นหุ้นส่วนมีอยู่ร่วมกัน คือที่ดินสวนยาง
และส่วนของหุ้นส่วนในเรื่องนี้ก็คือส่วนหนึ่งในสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของรวมในสวนยาง อันเป็นอสังหาริมทรัพย์ จะมีตราจองหรือไม่ ก็ย่อมเป็นสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ เช่นเดียวกัน แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งจะมีสิทธิทำนิติกรรมจำหน่ายส่วนของตนได้ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1361 ก็ตาม แต่ก็ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงจะสมบูรณ์
ถ้าผู้ได้รับซื้อสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนไว้โดยเพียงแต่ทำสัญญากันเป็นหนังสือเท่านั้น แล้วภายหลังผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นได้ขายสิทธินั้นไป แก่ผู้รับซื้อคนใหม่โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกันโดยสุจริตแล้ว ดังนี้ ผู้รับซื้อคนแรกก็ย่อมจะฟ้องบังคับให้ผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งขายสิทธินั้นแก่ตน โอนสิทธิที่ขายให้แก่ตนไม่ได้
เป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้เข้าสู้คดีในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยแล้ว ภายหลังตนเองได้ร้องสอดเข้ามาในคดีในฐานนะตัวเอง ดังนี้ ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อให้มีผลยกฟ้องแล้ว ศาลก็พอบังคับได้ แต่ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อที่จะให้ศาลบังคับตัวเองในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยนั้น ศาลจะบังคับให้ หาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องที่ประโยชน์ของตัวแทนขัดกับประโยชน์ของตัวการ อันเป็นกรณีที่ตัวแทนไม่อาจทำแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของร่วม vs. เจ้าของทรัพย์สินที่มีส่วนแบ่งชัดเจน, สิทธิในการบังคับขายตามสัญญา, และเบี้ยปรับ
เจ้าของรวมตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1357 นั้น ต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สสินอันรวมกันไม่ทราบว่าส่วนของใครเท่าไร ตรงไหนในทรัพย์นั้น ๆ กฎหมายจึงสันนิษฐษนไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากัน
โฉนดที่ดินมีชื่อบุคคล 2 คนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ แต่ได้จดทะเบียนบรรยายส่วนของใครไว้ในโฉนดแล้วว่า ของใครไว้ในโฉนดแล้วว่า ของใครอยู่ตอนไหน เป็นจำนวนเนื้อที่เท่าไร ชัดแจ้งแล้ว เช่นนี้ หาใช่ เป็นเจ้าของรวมไม่
เงื่อนไขแห่งนิติกรรมานั้นหมายถึงเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน
สัญญาจะซื้อขายมีข้อตกลงกันว่าผู้ซื้อขายกันในวันมาทำการจะทะเบียนแบ่งแยกที่ดินนั้น หาใช่เป็นเงื่อนไขไม่
แม้สัญญาจะซื้อขายที่ดินได้กำหนดเบี้ยปรับกันไว้ ในเมื่อผู้ขายผิดสัญญาก็ดี ตามป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 380 บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้เลือกเรียกเอาเบี้ยแรับชำระหนี้แต่อย่างหนึ่งอย่างใดได้ ฉะนั้นถ้าผู้ขายทำผิดสัญญาโดยไม่ยอมขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ซื้อก็ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องผู้ขายขอให้ศาลบังคับให้โอนขายตามสัญญาได้
(อ้างฎีกาที่ 131 / 1449)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1032/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมือเปล่าโดยตัวแทนและการครอบครองปรปักษ์
จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินมือเปล่าร่วมกับ อ. จำเลยได้เชิด อ.เป็นตัวแทนให้ฟ้องคดีและขายนารายนี้ให้แก่โจทก์ และจำเลยปล่อยให้โจทก์ครอบครองโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 1 ปี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิในที่ดินนั้น.