พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามคำสั่งศาล ต้องเป็นไปตามระเบียบกฎกระทรวง ไม่ขัดต่อคำสั่งศาล
การขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งได้มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้นจะต้องผ่านศาลทุกเรื่องและเมื่อศาลมีคำสั่งให้ได้กรรมสิทธิ์ที่ตามนั้นแล้ว ก็มีกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความใน พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน(ฉบับที่ 7) พ.ศ.2486 วางวิธีปฏิบัติไว้ในอันที่จะให้เกิดผลตามคำสั่งนั้นโดยรอบคอบ
ศาลมีคำสั่งให้หอทะเบียนออกใบแทนโฉนดให้ใหม่ แล้วแก้ทะเบียนใส่ชื่อผู้ร้องเป็นผู้รับมรดกนาโฉนดนั้น ถ้าผู้ร้องไม่ได้นำหนังสือสำหรับที่ดินไปแสดงก็จำต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงมหาดไทยที่กล่าวแล้วตามหมวด1ข้อ1(2)คือจะต้องทำการรังวัดใหม่ แล้วออกโฉนดให้ใหม่ ผู้ร้องจะขอให้ศาลบังคับเจ้าพนักงานที่ดินให้ออกใบแทนโฉนดไปทีเดียวไม่ได้ และการที่เจ้าพนักงานจะต้องปฏิบัติไปตามกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว ก็หาเป็นการขัดแย้งต่อคำสั่งศาลที่จะให้ผู้ร้องได้รับกรรมสิทธิ์ในนาแปลงนั้นแต่ประการใดไม่ศาลจึงไม่ควรบังคับเจ้าพนักงานที่ดินให้ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบตามกฎกระทรวง
ศาลมีคำสั่งให้หอทะเบียนออกใบแทนโฉนดให้ใหม่ แล้วแก้ทะเบียนใส่ชื่อผู้ร้องเป็นผู้รับมรดกนาโฉนดนั้น ถ้าผู้ร้องไม่ได้นำหนังสือสำหรับที่ดินไปแสดงก็จำต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงมหาดไทยที่กล่าวแล้วตามหมวด1ข้อ1(2)คือจะต้องทำการรังวัดใหม่ แล้วออกโฉนดให้ใหม่ ผู้ร้องจะขอให้ศาลบังคับเจ้าพนักงานที่ดินให้ออกใบแทนโฉนดไปทีเดียวไม่ได้ และการที่เจ้าพนักงานจะต้องปฏิบัติไปตามกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว ก็หาเป็นการขัดแย้งต่อคำสั่งศาลที่จะให้ผู้ร้องได้รับกรรมสิทธิ์ในนาแปลงนั้นแต่ประการใดไม่ศาลจึงไม่ควรบังคับเจ้าพนักงานที่ดินให้ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบตามกฎกระทรวง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนกรรมสิทธิที่ดินตามมาตรา 1382 ป.พ.พ. และการปฏิบัติตามกฎกระทรวงออกโฉนดที่ดิน
การขอจดทะเบียนกรรมสิทธิที่ดิน ซึ่งได้มาตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1382 นั้นจะต้องผ่านศาลทุกเรื่องและเมื่อศาลมีคำสั่งให้ได้กรรมสิทธิที่ดินนั้นแล้ว ก็มีกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน(ฉะบับที่ 7) พ.ศ. 2486 วางวิธีปฏิบัติไว้ในอันที่จะให้เกิดผลตามคำสั่งนั้นโดยรอบคอบ
ศาลมีคำสั่งให้หอทะเบียนออกใบแทนโฉนดให้ใหม่ แล้วแก้ทะเบียนใส่ชื่อผู้ร้องเป็นผู้รับมรดกนาโฉนดนั้นถ้าผู้ร้องไม่ได้นำหนังสือสำหรับที่ดินไปแสดง ก็จำต้องปฎิบัติตามหมวดข้อ 1 (2) คือจะต้องทำการรังวัดใหม่ แล้วออกโฉนดให้ใหม่ ผู้ร้องจะขอให้ศาลบังคับเจ้าพนักงานที่ดินที่ออกใบแทนโฉนดไปทีเดียวไม่ได้ และการที่เจ้าพนักงานจะต้องปฏิบัติไปตามกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว ก็หาเป็นการขัดแย้งต่อคำสั่งศาลที่จะให้ผู้ร้องได้รับกรรมสิทธิในนาแปลงนั้นแต่ประใดไม่ ศาลจึงไม่ควรบังคับเจ้าพนักงานที่ดินให้ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบตามกฎกระทรวง
ศาลมีคำสั่งให้หอทะเบียนออกใบแทนโฉนดให้ใหม่ แล้วแก้ทะเบียนใส่ชื่อผู้ร้องเป็นผู้รับมรดกนาโฉนดนั้นถ้าผู้ร้องไม่ได้นำหนังสือสำหรับที่ดินไปแสดง ก็จำต้องปฎิบัติตามหมวดข้อ 1 (2) คือจะต้องทำการรังวัดใหม่ แล้วออกโฉนดให้ใหม่ ผู้ร้องจะขอให้ศาลบังคับเจ้าพนักงานที่ดินที่ออกใบแทนโฉนดไปทีเดียวไม่ได้ และการที่เจ้าพนักงานจะต้องปฏิบัติไปตามกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว ก็หาเป็นการขัดแย้งต่อคำสั่งศาลที่จะให้ผู้ร้องได้รับกรรมสิทธิในนาแปลงนั้นแต่ประใดไม่ ศาลจึงไม่ควรบังคับเจ้าพนักงานที่ดินให้ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบตามกฎกระทรวง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินสาธารณะต้องได้มาตามกฎหมายที่ดินเท่านั้น การครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ ไม่สามารถใช้ได้
ที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน บุคคลจะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ได้ก็เฉพาะแต่การกระทำตามกฎหมายที่ดิน ดั่งที่ได้มีบทบังคับไว้ในมาตรา 1334 กฎหมายที่ดินดั่งว่านี้ได้มีปรากฏ เป็นบทบัญญัติใน พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดินเป็นลำดับมาจนถึงฉบับที่ 7 พ.ศ.2486
การร้องขอให้ศาลแสดงว่าที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ ซึ่งผู้ร้องได้ครอบครองมา 20 ปีเศษเป็นของผู้ร้องนั้น ได้มีมาตรา 13,15 แห่ง พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 7)2486บังคับไว้แล้ว ส่วนการได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 1382 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น ต้องเป็นทรัพย์ที่บุคคลมีกรรมสิทธิ์อยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช่ที่รกร้างว่างเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญ
หมายเหตุได้ซ้อมความเข้าใจกับเจ้าของแล้วว่าท่านไม่ได้หมายความว่าการได้กรรมสิทธิ์ที่ดินแต่ก่อนๆ นั้นมีได้เฉพาะตามพ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน 2486
การร้องขอให้ศาลแสดงว่าที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ ซึ่งผู้ร้องได้ครอบครองมา 20 ปีเศษเป็นของผู้ร้องนั้น ได้มีมาตรา 13,15 แห่ง พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 7)2486บังคับไว้แล้ว ส่วนการได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 1382 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น ต้องเป็นทรัพย์ที่บุคคลมีกรรมสิทธิ์อยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช่ที่รกร้างว่างเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญ
หมายเหตุได้ซ้อมความเข้าใจกับเจ้าของแล้วว่าท่านไม่ได้หมายความว่าการได้กรรมสิทธิ์ที่ดินแต่ก่อนๆ นั้นมีได้เฉพาะตามพ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน 2486
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิในที่ดินสาธารณะต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ดินเท่านั้น การครอบครองไม่เพียงพอ
ที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน บุคคลจะได้มาซึ่งกรรมสิทธิได้ก็ฉะเพาะแต่การกระทำตามกฎหมายที่ดิน ดั่งที่ได้มีบทบังคับไว้ในมาตรา 1334 กฎหมายที่ดินดั่งว่านี้ได้มีปรากฎ เป็นบทบัญญัติใน พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดินเป็นลำดับมา จนถึงฉะบับที่ 7 พ.ศ. 2486
การร้องขอให้ศาลแสดงว่าที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ ซึ่งผู้ร้องได้ครอบครองมา 20 ปีเศษเป็นของผู้ร้องนั้น ได้มีมาตรา 13,15 แห่ง พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉะบับที่ 7) 2486 บังคับไว้แล้ว ส่วนการได้กรรมสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 1382 ป.ม.แพ่งฯ นั้น ต้องเป็นทรัพย์ที่บุคคลมีกรรมสิทธิอยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช่ที่รกร้างว่างเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญ.
การร้องขอให้ศาลแสดงว่าที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ ซึ่งผู้ร้องได้ครอบครองมา 20 ปีเศษเป็นของผู้ร้องนั้น ได้มีมาตรา 13,15 แห่ง พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉะบับที่ 7) 2486 บังคับไว้แล้ว ส่วนการได้กรรมสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 1382 ป.ม.แพ่งฯ นั้น ต้องเป็นทรัพย์ที่บุคคลมีกรรมสิทธิอยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช่ที่รกร้างว่างเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรื้อถอนโรงเรือนและการพิพาทกรรมสิทธิที่ดิน การบรรยายฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ไม่ได้อ้าง พ.ร.บ.ออกโฉนด
โจทก์ฟ้องว่า บิดามารดาจำเลยอาศัยที่พิพาทปลูกโรงเรือนมาตั้งแต่ครั้งที่ยังเป็นของตายายโจทก์ แล้วต่อมาเมื่อที่ตกเป็นของโจท์โดยทางมฤดก จำเลยก็ยังอาศัยสืบต่อมา ดังนี้ ไม่จำต้องระบุวัน เดือน ปีที่ว่าบิดามารดาจำเลยและตัวจำเลยอาศัย ก็ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุอาศัยจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ ศาลต้องพิจารณาว่าจำเลยอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของหรือผู้อาศัย หาได้พิพาทกันในเรื่องสิทธิอาศัยตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉะบับที่ 2) พ.ศ. 2459 ไม่.
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุอาศัยจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ ศาลต้องพิจารณาว่าจำเลยอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของหรือผู้อาศัย หาได้พิพาทกันในเรื่องสิทธิอาศัยตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉะบับที่ 2) พ.ศ. 2459 ไม่.