พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งจ่ายสินบนกรณีความผิดศุลกากรตาม พ.ร.บ.บำเหน็จฯ มาตรา 9
มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 ให้ใช้บังคับแก่ความผิดซึ่ง เกิดตาม กฎหมายว่าด้วยการศุลกากรด้วย และมาตรา 9 บัญญัติให้พนักงานอัยการร้องขอต่อ ศาลให้จ่ายสินบนหรือรางวัล ดังนี้ เมื่อพนักงานอัยการโจทก์ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร และมีคำขอท้ายฟ้อง ขอให้ศาลจ่ายสินบนแก่ผู้นำจับ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งจ่ายสินบนได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งจ่ายสินบนในคดีศุลกากรตาม พ.ร.บ.บำเหน็จฯ และการใช้บังคับกับความผิดตามกฎหมายศุลกากร
มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 ให้ใช้บังคับแก่ความผิดซึ่งเกิดตามกฎหมายว่าด้วยการศุลกากรด้วย และมาตรา 9 บัญญัติให้พนักงานอัยการร้องขอต่อ ศาลให้จ่ายสินบนหรือรางวัล ดังนี้ เมื่อพนักงานอัยการโจทก์ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร และมีคำขอท้ายฟ้อง ขอให้ศาลจ่ายสินบนแก่ผู้นำจับ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งจ่ายสินบนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้นำจับได้รับสินบน แม้โจทก์มิได้สืบพยาน ยึดตามคำรับสารภาพจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่ามีผู้ประสงค์เงินสินบนนำเจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยทองคำแท่งเป็นของกลาง จำเลยให้การรับสารภาพและมิได้โต้แย้งเรื่องผู้นำจับเท่ากับยอมรับว่ามีผู้นำจับจริง แม้คำให้การจำเลยจะมีข้อความว่า ส่วนข้อหานอกนั้นขอให้การปฏิเสธ ก็เป็นการ ปฏิเสธข้อหาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิด มิใช่ปฏิเสธว่าไม่มี ผู้นำจับ ดังนั้นแม้โจทก์ไม่สืบพยานก็ฟังได้ว่าคดีนี้มีผู้นำจับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคำสารภาพของจำเลยถือเป็นการยอมรับการมีผู้นำจับ แม้โจทก์มิได้สืบพยานก็ฟังได้ว่ามีผู้นำจับ
โจทก์บรรยายฟ้องว่ามีผู้ประสงค์เงินสินบนนำเจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยทองคำแท่งเป็นของกลาง จำเลยให้การรับสารภาพและมิได้โต้แย้งเรื่องผู้นำจับเท่ากับยอมรับว่ามีผู้นำจับจริง แม้คำให้การจำเลยจะมีข้อความว่า ส่วนข้อหานอกนั้นขอให้การปฏิเสธ ก็เป็นการ ปฏิเสธข้อหาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิด มิใช่ปฏิเสธว่าไม่มีผู้นำจับ ดังนั้นแม้โจทก์ไม่สืบพยาน ก็ฟังได้ว่าคดีนี้มีผู้นำจับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับสินบนและรางวัลของผู้นำจับและเจ้าพนักงานผู้จับกุมในคดีอาญา
ตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิดฯผู้นำจับและพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมผู้กระทำผิดมีสิทธิได้รับสินบนและรางวัลโดยพนักงานอัยการเป็นผู้ร้องขอต่อศาลให้จ่ายสินบนหรือรางวัลดังกล่าว การจ่ายสินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ในกรณีที่ศาลมิได้สั่งริบของกลาง หรือของกลางที่ศาลสั่งริบนั้น มิอาจขายได้ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ไม่มีบทมาตราใดที่บัญญัติให้จำเลยเป็นผู้จ่ายสินบนและรางวัล
ฟ้องโจทก์บรรยายแยกเป็นข้อ (ก) จำเลยตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงโดยมิได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ฯ ข้อ (ข) จำเลยนำหรือพาเครื่องวิทยุกระจายเสียงซึ่งผลิตในต่างประเทศโดยมิได้ผ่านด่านศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ข้อ (ค) จำเลยมีเครื่องวิทยุไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติวิทยุและโทรคมนาคมฯ และบรรยายในตอนท้ายว่ามีสายลับต้องการสินบนนำจับนำเจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยเครื่องวิทยุกระจายเสียงจำนวน 1 เครื่องดังกล่าวในข้อ(ก)และ (ข) จำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพตามฟ้องข้อ(ก)และ(ค) ส่วนฟ้องข้อ (ข) นั้นรับสารภาพว่าได้รับเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงไว้จริง ศาลได้สอบถามจำเลยแล้วจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยรับสารภาพตามฟ้องดังนี้ ถือว่าจำเลยรับในข้อมีผู้นำจับด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายสินบนแก่ผู้นำจับและจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิดฯ ศาลชั้นต้นให้จำเลยจ่ายสินบนแก่ผู้นำจับร้อยละ 30 และจ่ายรางวัลแก่เจ้าพนักงานผู้จับอีกร้อยละสิบห้า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำขอส่วนนี้ โจทก์ฎีกาขอให้จ่ายสินบนและรางวัลตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาให้จ่ายสินบนนำจับร้อยละสามสิบและรางวัลร้อยละสิบห้าของราคาของกลางเท่าจำนวนที่โจทก์ขอมาในฎีกา โดยจ่ายจากค่าขายของกลาง ของกลางขายไม่ได้ให้จ่ายจากเงินค่าปรับ
ฟ้องโจทก์บรรยายแยกเป็นข้อ (ก) จำเลยตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงโดยมิได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ฯ ข้อ (ข) จำเลยนำหรือพาเครื่องวิทยุกระจายเสียงซึ่งผลิตในต่างประเทศโดยมิได้ผ่านด่านศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ข้อ (ค) จำเลยมีเครื่องวิทยุไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติวิทยุและโทรคมนาคมฯ และบรรยายในตอนท้ายว่ามีสายลับต้องการสินบนนำจับนำเจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยเครื่องวิทยุกระจายเสียงจำนวน 1 เครื่องดังกล่าวในข้อ(ก)และ (ข) จำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพตามฟ้องข้อ(ก)และ(ค) ส่วนฟ้องข้อ (ข) นั้นรับสารภาพว่าได้รับเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงไว้จริง ศาลได้สอบถามจำเลยแล้วจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยรับสารภาพตามฟ้องดังนี้ ถือว่าจำเลยรับในข้อมีผู้นำจับด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายสินบนแก่ผู้นำจับและจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิดฯ ศาลชั้นต้นให้จำเลยจ่ายสินบนแก่ผู้นำจับร้อยละ 30 และจ่ายรางวัลแก่เจ้าพนักงานผู้จับอีกร้อยละสิบห้า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำขอส่วนนี้ โจทก์ฎีกาขอให้จ่ายสินบนและรางวัลตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาให้จ่ายสินบนนำจับร้อยละสามสิบและรางวัลร้อยละสิบห้าของราคาของกลางเท่าจำนวนที่โจทก์ขอมาในฎีกา โดยจ่ายจากค่าขายของกลาง ของกลางขายไม่ได้ให้จ่ายจากเงินค่าปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราโทษความผิดพ.ร.บ.ศุลกากรและพ.ร.บ.ควบคุมการส่งออกฯ: ศาลเลือกใช้กฎหมายที่มีโทษหนักกว่าตามประมวลกฎหมายอาญา ม.90
การคำนวณค่าปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 นั้น ต้องถือเอาราคาของในท้องตลาดอันเป็นราคาที่แท้จริงและรวมค่าอากรเข้าด้วย เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ
การลักลอบนำข้าวออกนอกประเทศเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 กับตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี เท่ากัน แต่การกระทำฐานพยายามนั้นพระราชบัญญัติศุลกากรถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 27 เสมือนกับเป็นความผิดสำเร็จลงโทษจำคุกได้ถึง 10 ปี แต่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกฯ ลงโทษได้เพียง 2 ใน 3 จำคุกได้อย่างสูง 6 ปี 8 เดือนจึงต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร อันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90(อ้างฎีกาที่ 1027/2504)
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ศาลต้องนำพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ.2489 มาใช้บังคับในการสั่งจ่ายเงินรางวัลแก่ผู้จับ
จำเลยทั้ง 3 พยายามนำข้าวออกนอกประเทศ ข้าวสารเป็นของจำเลยที่ 2 จำนวน 6 กระสอบ เป็นของจำเลยที่ 3 จำนวน 6 กระสอบจำเลยที่ 2,3 ไม่ได้สมคบกันส่วนจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2,3ดังนี้ เมื่อค่าปรับทั้งหมด 8,002.56 บาท จึงปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4,001.28 บาท จำเลยที่ 2,3 คนละ 2,000.64บาท จำเลยที่ 2,3 รับสารภาพลดกึ่ง คงปรับคนละ1,000.32 บาท
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 32 บัญญัติว่าเรือ...รถ...หากใช้ในการย้าย ถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียภาษี...ให้ริบเสียสิ้น นั้น หากเจ้าของมิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำผิดแล้ว ศาลไม่ริบ(อ้างฎีกาที่ 193/2491) ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ไต่สวนข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถยนต์ของกลางรู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำหรือไม่อัยการโจทก์ก็ค้านอยู่ว่ารู้เห็นเป็นใจ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินการไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
การลักลอบนำข้าวออกนอกประเทศเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 กับตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี เท่ากัน แต่การกระทำฐานพยายามนั้นพระราชบัญญัติศุลกากรถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 27 เสมือนกับเป็นความผิดสำเร็จลงโทษจำคุกได้ถึง 10 ปี แต่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกฯ ลงโทษได้เพียง 2 ใน 3 จำคุกได้อย่างสูง 6 ปี 8 เดือนจึงต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร อันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90(อ้างฎีกาที่ 1027/2504)
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ศาลต้องนำพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ.2489 มาใช้บังคับในการสั่งจ่ายเงินรางวัลแก่ผู้จับ
จำเลยทั้ง 3 พยายามนำข้าวออกนอกประเทศ ข้าวสารเป็นของจำเลยที่ 2 จำนวน 6 กระสอบ เป็นของจำเลยที่ 3 จำนวน 6 กระสอบจำเลยที่ 2,3 ไม่ได้สมคบกันส่วนจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2,3ดังนี้ เมื่อค่าปรับทั้งหมด 8,002.56 บาท จึงปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4,001.28 บาท จำเลยที่ 2,3 คนละ 2,000.64บาท จำเลยที่ 2,3 รับสารภาพลดกึ่ง คงปรับคนละ1,000.32 บาท
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 32 บัญญัติว่าเรือ...รถ...หากใช้ในการย้าย ถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียภาษี...ให้ริบเสียสิ้น นั้น หากเจ้าของมิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำผิดแล้ว ศาลไม่ริบ(อ้างฎีกาที่ 193/2491) ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ไต่สวนข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถยนต์ของกลางรู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำหรือไม่อัยการโจทก์ก็ค้านอยู่ว่ารู้เห็นเป็นใจ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินการไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดพิกัดศุลกากร: พิจารณาโทษหนักเบาตามกฎหมายเฉพาะ และการจ่ายเงินรางวัลแก่เจ้าหน้าที่
การคำนวณค่าปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ตามพระราชบัญญัติศุลกากร ฯ มาตรา 27 นั้น ต้องถือเอาราคาของในท้องตลาดอันเป็นราคาที่แท้จริง และรวมค่าอากรเข้าด้วย เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ
การลักลอบนำข้าวออกนอกประเทศเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2490 มาตรา 3 กับตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีเท่ากัน แต่การกระทำฐานพยายามนั้น พระราชบัญญัติศุลกากรถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 27 เสมือนกับเป็นความผิดสำเร็จลงโทษจำคุกได้ถึง 10 ปี แต่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอก ฯ ลงโทษได้เพียง 2 ใน 3 จำคุกได้อย่างสูง 6 ปี 8 เดือน จึงต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร อันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 (อ้างฎีกาที่ 1027/2504)
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ศาลต้องนำพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาใช้บังคับในการสั่งจ่ายเงินรางวัลแก่ผู้จับ
จำเลยทั้ง 3 พยายามนำข้าวออกนอกประเทศ ข้าวสารเป็นของจำเลยที่ 2 จำนวน 6 กระสอบ เป็นของจำเลยที่ 3 จำนวน 6 กระสอบ จำเลยที่ 2,3 ไม่ได้สมคบกัน ส่วนจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2,3 ดังนี้ เมื่อค่าปรับทั้งหมด 8002.56 บาท จึงปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4001.28 บาท จำเลยที่ 2,3 คนละ 2000.64 บาท จำเลยที่ 2,3 รับสารภาพลดกึ่ง คงปรับคนละ 1000.32 บาท
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 บัญญัติว่า เรือ...รถ...หากใช้ในการย้าย ถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียภาษี... ให้ริบเสียสิ้น นั้น หากเจ้าของมิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำผิดแล้ว ศาลไม่ริบ (อ้างฎีกาที่ 193/2491) ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ไต่สวน ข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถยนต์ของกลางรู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำหรือไม่ อัยการโจทก์ก็ค้านอยู่ว่ารู้เห็นเป็นใจ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินการไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
การลักลอบนำข้าวออกนอกประเทศเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2490 มาตรา 3 กับตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีเท่ากัน แต่การกระทำฐานพยายามนั้น พระราชบัญญัติศุลกากรถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 27 เสมือนกับเป็นความผิดสำเร็จลงโทษจำคุกได้ถึง 10 ปี แต่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอก ฯ ลงโทษได้เพียง 2 ใน 3 จำคุกได้อย่างสูง 6 ปี 8 เดือน จึงต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร อันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 (อ้างฎีกาที่ 1027/2504)
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ศาลต้องนำพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาใช้บังคับในการสั่งจ่ายเงินรางวัลแก่ผู้จับ
จำเลยทั้ง 3 พยายามนำข้าวออกนอกประเทศ ข้าวสารเป็นของจำเลยที่ 2 จำนวน 6 กระสอบ เป็นของจำเลยที่ 3 จำนวน 6 กระสอบ จำเลยที่ 2,3 ไม่ได้สมคบกัน ส่วนจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2,3 ดังนี้ เมื่อค่าปรับทั้งหมด 8002.56 บาท จึงปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4001.28 บาท จำเลยที่ 2,3 คนละ 2000.64 บาท จำเลยที่ 2,3 รับสารภาพลดกึ่ง คงปรับคนละ 1000.32 บาท
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 บัญญัติว่า เรือ...รถ...หากใช้ในการย้าย ถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียภาษี... ให้ริบเสียสิ้น นั้น หากเจ้าของมิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำผิดแล้ว ศาลไม่ริบ (อ้างฎีกาที่ 193/2491) ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ไต่สวน ข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถยนต์ของกลางรู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำหรือไม่ อัยการโจทก์ก็ค้านอยู่ว่ารู้เห็นเป็นใจ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินการไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการขอจ่ายสินบนนำจับในคดีป้องกันการค้ากำไรเกินควร: ความแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ. 2489 และ พ.ร.บ. 2490
พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 มาตรา 30 ได้บัญญัติถึงการบังคับให้ใช้สินบนนำจับไว้เป็นพิเศษแตกต่างไปจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489
คำขอให้จ่ายค่าสินบนนำจับตาม พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 พนักงานอัยการไม่มีอำนาจจะขอแทนได้ เพราะ พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 ไม่ได้ระบุอำนาจไว้
คำขอให้จ่ายค่าสินบนนำจับตาม พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 พนักงานอัยการไม่มีอำนาจจะขอแทนได้ เพราะ พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 ไม่ได้ระบุอำนาจไว้