คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1440

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีผิดสัญญาหมั้น: ผู้ให้สินสอดมีสิทธิเรียกร้องคืนได้แม้ไม่ใช่คู่หมั้นโดยตรง
การหมั้นเป็นสัญญาซึ่งฝ่ายชายทำกับฝ่ายหญิงโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อชายกับหญิงจะทำการสมรสกัน
สินสอดเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส
โจทก์และ ง. เป็นฝ่ายชายตกลงทำสัญญาหมั้นกับจำเลยทั้งสามฝ่ายหญิงและมอบสินสอดให้ เพื่อให้ ง. กับจำเลยที่ 3 ทำการสมรสกัน เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามฐานผิดสัญญาหมั้นและเรียกสินสอดคืนได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439 บัญญัติถึงผู้มีสิทธิเรียกร้องให้รับผิดชดใช้ค่าทดแทนและคืนของหมั้นในกรณีผิดสัญญาหมั้นไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณีมิได้บัญญัติแต่เฉพาะชายหรือหญิงคู่หมั้นเท่านั้นที่มีสิทธิเรียกร้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาหมั้น ค่าทดแทนความเสียหายต่อชื่อเสียงและอาชีพ พิจารณาจากฐานะครอบครัวและประเพณี
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยรับผิดใช้ค่าทดแทนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1439,1440
การกำหนดค่าทดแทนความเสียหายต่อกายและชื่อเสียงของโจทก์นั้นต้องพิเคราะห์ถึงการศึกษาอาชีพและรายได้ของโจทก์ฐานะของครอบครัวของโจทก์และการที่โจทก์เป็นหญิงมาอยู่กินกับจำเลยจน มีบุตรแต่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสทำให้โจทก์ได้รับความอับอายเสียชื่อเสียงทั้งเป็นการยากที่จะทำการสมรสใหม่
ก่อนรับหมั้นจำเลย โจทก์ทำงานอยู่บริษัทฯ เมื่อแต่งงานแล้วโจทก์ได้ลาออกจากงานเพื่อมาช่วยงานบ้านจำเลยถือได้ว่าโจทก์ได้จัดการเกี่ยวกับอาชีพโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรสเมื่อจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้ได้แต่ต่อมาโจทก์ได้เข้าทำงานใหม่แม้จะลาออกจากงานอีกครั้งหนึ่งก็มิใช่ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรสเพราะในระยะนั้นทั้งสองฝ่ายขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่อาจจะจดทะเบียนสมรสกันได้แน่นอน โจทก์จึงเรียกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางสัญญาหมั้น การผิดสัญญาและค่าทดแทนความเสียหาย
ชายผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายชายคือตัวชาย บิดาและมารดาซึ่งไปหมั้นหญิงต้องร่วมกันใช้ค่าทดแทนความเสียหายต่อกาย โดยที่หญิงตกเป็นภริยาชายแม้ด้วยความสมัครใจ ความเสียหายต่อชื่อเสียงและที่ได้เตรียมการสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของหมั้นต้องเป็นทรัพย์สินที่มอบให้แล้ว สัญญาหมั้นเลิกด้วยความตาย ไม่เกิดสิทธิเรียกร้อง
การที่จะเกิดเป็นสัญญาหมั้นได้นั้น จำต้องมีของหมั้นเป็นหลักฐาน(อ้างฎีกา 676/2487)
ของหมั้นนั้น ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436วรรคแรกจะต้องเป็นทรัพย์สิน ซึ่งฝ่ายชายให้ไว้แก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานและประกันว่า จะสมรสกับหญิงนั้น จึงจำต้องมีการมอบกัน
ฝ่ายหญิงได้ตกลงเรียกทองหมั้นหนัก 12 บาท ฝ่ายชายได้มอบทองหนัก 6 บาทไว้ก่อน ส่วนอีก 6 บาทได้มอบโฉนดซึ่งมีเนื้อที่ 108 ไร่ ให้ยึดไว้แทน โดยตีราคาเนื้อที่นาในโฉนดนี้เพียง 50 ไร่ เท่ากับทอง 6 บาทเมื่อชายตายโดยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส หญิงก็ได้แต่เก็บเอาทองหมั้น 6 บาทที่ได้มอบไว้แล้วนั้น (มาตรา 1440)ส่วนทองอีก 6 บาทที่ยังไม่ได้มอบหาใช่ของหมั้นไม่หญิงจึงจะเก็บเอาไว้ก็ไม่ได้ เพราะไม่ได้อยู่ที่หญิงจะเรียกเอาก็ไม่ได้เพราะสัญญาหมั้นเลิกกันเพราะความตายของชายแล้ว ไม่มีบทกฎหมายใด ให้หญิงเรียกได้ เมื่อไม่มีมูลหนี้ที่หญิงจะเรียกร้องต่อไปโฉนดที่ฝ่ายชายวางไว้เป็นประกัน จึงไม่มีหนี้จะประกัน หญิงก็ยึดโฉนดไว้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของหมั้นต้องมีการมอบเพื่อให้เกิดสัญญาหมั้น หากชายตายก่อนสมรส หญิงได้แต่เก็บของหมั้นที่มอบไว้แล้ว
การที่จะเกิดเป็นสัญญาหมั้นได้นั้น จำต้องมีของหมั้นเป็นหลักฐาน.
(อ้างฎีกา 676/2487)
ของหมั้นนั้น ตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1436 วรรคแรก จะต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้ไว้แก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานและประกันว่า จะสมรสกับหญิงนั้น จึงจำต้องมีการมอบกัน.
ฝ่ายหญิงได้ตกลงเรียกทองหมั้นหนัก 12 บาท ฝ่ายชายได้มอบทองหนัก 6 บาทไว้ก่อน ส่วนอีก 6 บาทได้มอบโฉนดซึ่งมีเนื้อที่ 108 ไร่ ให้ยึดไว้แทน โดยตีราคาเนื้อที่นาในโฉนดนี้เพียง 50 ไร่ เท่ากับทอง 6 บาท เมื่อชายตายโดยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส หญิงก็ได้แต่เก็บเอาทองหมั้น 6 บาทที่ได้มอบไว้แล้วนั้น (มาตรา 1440) ส่วนทองอีก 6 บาทที่ยังไม่ได้มอบหาใช่ของหมั้นไม่ หญิงจึงจะเก็บเอาไว้ก็ไม่ได้ เพราะไม่ได้อยู่ที่หญิง จะเรียกเอาก็ไม่ได้เพราะสัญญาหมั้นเลิกกันเพราะความตายของชายแล้ว ไม่มีบทกฎหมายใด ให้หญิงเรียกได้ เมื่อไม่มีมูลหนี้ที่หญิงจะเรียกร้องต่อไป โฉนดที่ฝ่ายชายวางไว้เป็นประกัน จึงไม่มีหนี้จะประกัน หญิงก็ยึดโฉนดไว้ไม่ได้.
of 2