คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธีระ เบญจรัศมีโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 165 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4604/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกทรัพย์คืนในคดีเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43
ป.วิ.อ. มาตรา 43 ที่ให้พนักงานอัยการเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนในคดียักยอกทรัพย์นั้น หมายรวมทั้งคดีเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 147 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4061/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นส่วนควบของสิ่งปลูกสร้างกับที่ดิน และผลกระทบต่อการบังคับคดี
แม้ผู้ร้องเป็นผู้ปลูกสร้างตึกแถวเลขที่ 7/170 บนที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 ก็ตาม แต่ปรากฏว่าผู้ร้องได้ทำหนังสือยกที่ดินเฉพาะส่วนของผู้ร้องทั้งหมดตามโฉนดที่ดินเลขที่ 21664 พร้อมตึกแถวสามชั้นเลขที่ 7/170 ให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังนี้เมื่อตึกแถว 3 ชั้น เลขที่ 7/170 ยังปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 ตึกแถวเลขที่ 7/170 ย่อมเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 การที่ผู้ร้องจะก่อตั้งกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่ 7/170 แยกออกต่างหากจากที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 จะทำได้ก็โดยการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1410 เมื่อผู้ร้องไม่เคยจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้สมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมาย จึงไม่มีผลทำให้ตึกแถวเลขที่ 7/170 นั้นมิใช่เป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ตึกแถวเลขที่ 7/170 แยกต่างหากจากที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 ต้องถือว่าเป็นทรัพย์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์จึงนำยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 21664 พร้อมตึกแถวเลขที่ 7/170 ออกขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3818/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเปิดทางเข้าออกที่ดิน: การชำระเงิน การมีผลผูกพัน และการคืนเงินเมื่อสัญญาเป็นโมฆะ
ข้อตกลงของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ข้อ 8 ระบุว่า นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีคณะกรรมการจัดสรรหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้ดำเนินกิจการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามกฎหมายและข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิก คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้แทนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก และข้อ 19 ระบุว่า "การลงลายมือชื่อเพื่อให้มีผลผูกพันนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ให้ปฏิบัติดังนี้ (2) การทำนิติกรรมสัญญาต่าง ๆ ให้ลงลายมือชื่อของประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีกสองนาย และประทับตรานิติบุคคล" และข้อ 20 ระบุว่า "คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ดำเนินกิจการของนิติบุคคลตามกฎหมายและข้อบังคับของนิติบุคคลภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่ (2) เป็นผู้แทนของนิติบุคคลในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก" และตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "สาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต เช่น ถนน สวน สนามเด็กเล่น ให้ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร และให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะบำรุงรักษาสาธารณูปโภคดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นนั้นต่อไป และจะกระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้" และมาตรา 44 บัญญัติว่า "ผู้จัดสรรที่ดินจะพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา 43 เมื่อได้มีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินรับผิดชอบการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา 23 (5) แล้วตามลำดับ ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามพระราชบัญญัตินี้หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นเพื่อรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปจัดการและดูแลบำรุงรักษา ภายในเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินกำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้จัดสรรที่ดิน" จำเลยที่ 1 ถูกจัดตั้งเพื่อจัดการและดูแลบำรุงรักษาสาธารณูปโภคต่อจากผู้จัดสรรที่ดิน จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับตามบทบัญญัติมาตรา 43 ดังกล่าว คือ จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ที่จะบำรุงรักษาสาธารณูปโภคดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นนั้นต่อไป และจะกระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ การที่จำเลยที่ 2 ประธานกรรมการของจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงกับโจทก์ โดยยินยอมเปิดรั้วคอนกรีตที่ซอย 9 หน้าที่ดินโฉนดเลขที่ 108391 และ 5200 เพื่อประโยชน์ของบุคคลที่อาศัยอยู่ในที่ดินสองแปลงดังกล่าวใช้ถนนตามภาระจำยอมของที่ดินจัดสรรเป็นทางเข้าออก แม้ข้อตกลงดังกล่าวจะมิใช่เป็นการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะทั้งหมดหรือบางส่วนให้เป็นสาธารณประโยชน์ หรือให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือบุคคลอื่นซึ่งจะต้องมีมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้ดำเนินการได้โดยมติดังกล่าวต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของเจ้าของสิทธิในที่ดิน และต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครตามกฎกระทรวงว่าด้วยการขอจดทะเบียนจัดตั้ง การบริหาร การควบ และการยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร พ.ศ.2545 ข้อ 16 และข้อบังคับของนิติบุคคลของหมู่บ้านจัดสรร ข้อ 48 (2) ก็ตาม แต่เป็นที่เห็นได้ว่าข้อตกลงตามบันทึกข้อตกลง เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งถนนภาระจำยอมของที่ดินจัดสรรลดไปหรือเสื่อมความสะดวกแก่การใช้สอยของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรของหมู่บ้านดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงกระทำมิได้ ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 43 ทั้งการที่จำเลยที่ 2 ประธานกรรมการนิติบุคคลลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวกับโจทก์และประทับตรานิติบุคคล โดยมีกรรมการอื่นอีก 3 คน ลงลายมือชื่อเป็นพยานนั้น ก็ถือไม่ได้ว่ากรรมการอื่นดังกล่าวลงลายมือชื่อร่วมกับจำเลยที่ 2 ประธานกรรมการนิติบุคคลตามความหมายในข้อบังคับของนิติบุคคลของหมู่บ้านจัดสรร ข้อ 19 (2) อันทำให้มีผลผูกพันนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด นอกจากนี้คณะกรรมการยังต้องดำเนินกิจการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกอีกด้วย ตามข้อ 8 และข้อ 20 (1) แต่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมายืนยันว่าจำเลยที่ 2 ได้ดำเนินการตามมติของสมาชิกนิติบุคคลเกี่ยวกับการเปิดรั้วคอนกรีตที่ซอย 9 ด้วยเสียงข้างมากของสมาชิกผู้มีสิทธิในที่ดิน จึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ทำบันทึกข้อตกลง กับโจทก์ภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่หรือตามมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกนิติบุคคลตามข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร บันทึกข้อตกลง จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวหรือเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1
ตามบันทึกข้อตกลง ข้อ 4 ระบุว่า "...ผู้ให้ข้อตกลงยินดีมอบเงินอีกจำนวน 200,000 บาท... แก่นิติบุคคลฯ ภายในกำหนด 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ลงนามในบันทึกข้อตกลงนี้" และ ฝ่ายโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 1 รวม 2 งวด เป็นเงิน 1,200,000 บาท แต่การที่จำเลยที่ 1 นำเงิน 1,000,000 บาท มาวางศาลเพื่อคืนให้แก่โจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 วางเงินต่อศาลโดยยอมรับผิด การวางเงินเช่นว่านี้ไม่เป็นเหตุระงับการเสียดอกเบี้ยแต่อย่างใด เมื่อบันทึกข้อตกลงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3526/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยรถยนต์: เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากลูกหนี้ร่วมได้แม้ได้รับเงินจากลูกหนี้รายอื่นบางส่วน
แม้โจทก์ทั้งสองแถลงต่อศาลชั้นต้นในระหว่างพิจารณาคดีว่า ได้รับเงินจากจำเลยที่ 1 จำนวน 50,000 บาท ในคดีอาญาแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 อีก แต่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้คนใดคนหนึ่งได้ทั้งหมดหรือบางส่วนตามแต่จะเลือก ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงภายในขอบแห่งความรับผิดของลูกหนี้แต่ละคนตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ จึงต้องร่วมรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อโจทก์ทั้งสอง การที่โจทก์ทั้งสองไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 อีก จึงหาใช่โจทก์ทั้งสองสละสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนและการชำระค่าเสียหายเป็นหน้าที่แยกต่างหาก การชำระค่าเสียหายไม่เป็นอุปสรรคต่อการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาในคดีนี้นอกจากจะบังคับให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองจนกว่าจะรื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำแล้ว ยังมีหนี้ที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่ 80003 ของโจทก์ พร้อมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองด้วย อันเป็นคำพิพากษาที่ให้จำเลยกระทำการแยกต่างหากจากหนี้ในส่วนหลังที่ให้จำเลยชำระค่าเสียหายรายเดือนแก่โจทก์ทั้งสอง มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยมีสิทธิที่จะชำระค่าเสียหายรายเดือนให้แก่โจทก์ทั้งสองได้จนกว่าจำเลยจะรื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองดังที่จำเลยยกขึ้นอ้างในฎีกา ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยให้รื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองชอบแล้ว ไม่มีการพิจารณาใดที่ผิดระเบียบอันเป็นเหตุจะให้เพิกถอนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนและการชำระค่าเสียหายเป็นสิทธิแยกต่างหาก การบังคับคดีชอบแล้ว
ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกานอกจากจะบังคับให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองจนกว่าจะรื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำแล้ว ยังมีหนี้ที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ พร้อมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองด้วย อันเป็นคำพิพากษาที่ให้จำเลยกระทำการแยกต่างหากจากหนี้ในส่วนหลังที่ให้จำเลยชำระค่าเสียหายรายเดือนแก่โจทก์ทั้งสอง มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยมีสิทธิที่จะชำระค่าเสียหายรายเดือนให้แก่โจทก์ทั้งสองได้จนกว่าจำเลยจะรื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยให้รื้อถอนตึกแถวส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองชอบแล้ว ไม่มีการพิจารณาใดที่ผิดระเบียบอันเป็นเหตุจะให้เพิกถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจตัวแทนเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัย และสิทธิของเจ้าหนี้เมื่อบริษัทไม่จ่ายเงิน
จำเลยเป็นผู้ประสบภัยจากรถ เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่จำเลย บริษัท พ. ผู้รับประกันภัยรถของจำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่จำเลยเมื่อได้รับคำร้องขอจากจำเลยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 20 โดยโจทก์หามีนิติสัมพันธ์ใดต่อบริษัท พ. ไม่ เว้นแต่โจทก์จะได้รับสิทธิดังกล่าวจากจำเลย เช่น จำเลยตั้งแต่งโจทก์ให้เป็นตัวแทนไปเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัท พ. ให้แก่จำเลย หรือจำเลยแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้โดยโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่โจทก์
จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนดำเนินการเบิกและรับค่ารักษาพยาบาลจากบริษัท พ. กับมีเอกสารคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น บต.4 โดยโจทก์เป็นผู้ขอรับจากบริษัท พ. ซึ่งเป็นแบบพิมพ์ที่ทางราชการจัดทำขึ้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เพื่อใช้ประกอบการใช้สิทธิของจำเลยโดยการตั้งแต่งโจทก์ให้เป็นตัวแทนแนบด้วย นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ในการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัท พ. เป็นการใช้สิทธิในฐานะตัวแทนของจำเลย ตามข้อความที่ปรากฏในหนังสือมอบอำนาจ มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้อันจะพึงต้องใช้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303, 306 และมาตรา 349 วรรคสาม ซึ่งจะเป็นเหตุให้สิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับสิ้นไป ส่วนข้อความที่ปรากฏในเอกสาร บต.4 ว่า "เนื่องจากข้าพเจ้าเป็นหนี้ค้างชำระค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้รับมอบอำนาจ..." ก็เป็นเพียงการให้ข้อเท็จจริงเพื่อให้บริษัท พ. รับทราบประกอบการพิจารณาจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือไม่ ดังนี้ เมื่อโจทก์มิได้รับเงินจากบริษัท พ. โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่ารักษาพยาบาลแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ถอนบังคับคดีจำนองก่อน เจ้าหนี้รายอื่นไม่อาจขอให้บังคับคดีต่อได้
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคแปด บัญญัติว่า "ในกรณีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ยึดสละสิทธิในการบังคับคดีหรือเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ผู้ขอเฉลี่ยหรือผู้ยื่นคำร้องตามมาตรา 287 หรือตามมาตรา 289 มีสิทธิขอให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไป" บทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมณ์มิให้เกิดปัญหาในการที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาคนเดียวกันในคดีที่มีการบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา รวมตลอดทั้งบุคคลภายนอกผู้ทรงสิทธิตามที่มาตรา 287 และมาตรา 289 บัญญัติไว้ จะได้รับการชำระหนี้หรือการคุ้มครองสิทธิของตนล่าช้า จึงกำหนดให้มีสิทธิขอให้ดำเนินการบังคับคดีในคดีที่ได้มีการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ก่อนแล้วต่อไปได้ แต่สำหรับคดีนี้ การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 128135 เพื่อนำออกขายทอดตลาด ได้แถลงขอถอนการบังคับคดีโดยเหตุผลว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้ว ทั้งนี้เพราะหมดสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 128135 ของจำเลยที่ 1 ซึ่งตนนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ ชอบที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องถอนการยึดและรายงานต่อศาล จึงมิใช่เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ยึดสละสิทธิหรือเพิกเฉยในการบังคับคดี อันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องซึ่งใช้สิทธิขอรับชำระหนี้จำนองก่อนตามมาตรา 289 จะขอให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้ตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 290 วรรคแปด และชอบที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ตามสิทธิของตนเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2052/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองและสิทธิเสนอคดี: ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์มีสิทธิร้องขอจัดการมรดกในฐานะผู้แทน
แม้ผู้ร้องไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย แต่ขณะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายกับตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้น อำนาจปกครอง ณ. อยู่กับผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของ ณ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1569 ซึ่งการยื่นคำร้องขอดังกล่าวผู้ร้องมิได้ยื่นในฐานะส่วนตัวแต่ยื่นในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของ ณ. ในคำร้องขอนั้นนอกจากมีข้ออ้างว่ามีการยักย้ายทรัพย์มรดกของผู้ตายแล้วยังมีข้ออ้างว่าผู้ร้องได้รับคำบอกเล่าว่าแท้จริงผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ ณ. ไว้ด้วย ดังนั้นการยื่นคำร้องขอของผู้ร้องจึงเป็นไปตามหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองเพื่อระวังรักษาประโยชน์ของ ณ. ให้ได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายตามสิทธิที่แท้จริง ผู้ร้องในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองของ ณ. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ที่มีสิทธิจะร้องต่อศาลขอให้ถอนผู้จัดการมรดกหรือขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1313/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำอนาจารเด็กและการพรากผู้เยาว์ การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนถึงองค์ประกอบความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปกอด จูบ ดูดหัวนมและจูบอวัยวะเพศ อันเป็นการพาไปเพื่อการอนาจาร โดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม โดยไม่ได้บรรยายว่า มีการขู่เข็ญ หรือใช้กำลังประทุษร้ายหรือใช้อุบายหลอกลวง ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก ที่โจทก์มีคำขอให้ลงโทษ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหานี้แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 17