พบผลลัพธ์ทั้งหมด 165 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6018/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีแพ่ง: การคำนวณทุนทรัพย์และผลของการไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามกฎหมาย
การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดต่อโจทก์ในความผิดที่จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์ และขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 5,000,000 บาท นั้น เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่โจทก์อ้างว่าเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองและโจทก์กำหนดจำนวนค่าเสียหายมาแน่นอนแล้วในขณะยื่นฟ้อง แม้โจทก์จะขอให้จำเลยทั้งสองชำระนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป แต่ก็ไม่ใช่ค่าเสียหายที่ให้จ่ายมีกำหนดเป็นระยะเวลาในอนาคตนอกจากที่ศาลมีอำนาจพิพากษาหรือสั่งตามมาตรา 142 อยู่แล้ว ตามตาราง 1 (4) ท้าย ป.วิ.พ. ดังนั้น จึงต้องถือว่าคำฟ้องของโจทก์เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 (1) (ก) คดีโจทก์จึงมีทุนทรัพย์ 5,000,000 บาท ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามทุนทรัพย์จึงชอบแล้ว เมื่อโจทก์เพิกเฉยไม่ยอมชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลชั้นต้นจึงชอบที่มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ก็มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั่นเอง ซึ่งโจทก์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคท้าย คำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น อย่างไรก็ดี เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์แล้ว ก็ชอบที่มีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นที่โจทก์ได้ชำระไว้แล้วทั้งหมดแก่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5215/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างและการร่วมกระทำความผิด จำเลยแม้ไม่ใช่ลูกจ้างก็อาจมีความผิดได้หากร่วมกระทำความผิดกับลูกจ้าง
จำเลยมิได้เป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย แม้จำเลยร่วมกับ น. ซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายลักทรัพย์ของผู้เสียหายก็ตาม จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างตาม ป.อ. มาตรา 335 (11) ทั้งนี้เพราะความเป็นลูกจ้างเป็นเหตุเฉพาะตัวของ น. จึงไม่มีผลไปถึงจำเลยด้วย ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225