พบผลลัพธ์ทั้งหมด 165 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8203/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมอิสระจากคำชี้ขาด กกต. ในคดีเลือกตั้ง – ค่าเสียหายการเลือกตั้งใหม่
การใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นไปตามบริบทเฉพาะในส่วนของการจัดการการเลือกตั้งตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรฐานของดุลพินิจก็เป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้ง ดังเช่นกรณีมาตรา 97 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 บัญญัติว่า เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว หากภายหลังมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดกระทำการใดๆ โดยไม่สุจริตเพื่อให้ตนเองได้รับเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้นั้น และผลของการพิจารณาชี้ขาดก็เป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้ง แต่เมื่อมีการนำคดีมาฟ้องที่ศาลยุติธรรม ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในบริบทของกระบวนพิจารณาคดีของศาลยุติธรรม ไม่มีกฎหมายใดกำหนดบังคับให้ศาลยุติธรรมจะต้องผูกพันตามคำชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา มาตรฐานในการวินิจฉัยคดีของศาลยุติธรรมก็แตกต่างจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ฉะนั้นศาลยุติธรรมย่อมมีคำวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8150/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการคัดค้านทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินจำกัดเฉพาะเจ้าของทรัพย์สินส่วนตน และความเกี่ยวข้องกับความผิดมูลฐาน
ผู้มีอำนาจยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องที่ขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงเท่านั้น เมื่อรถยนต์ตามคำร้องเป็นสินสมรสระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับ ร. ซึ่งผู้คัดค้านที่ 1 กับ ร. มีส่วนเป็นเจ้าของรวมกันคนละครึ่ง แม้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของ ร. ก็ยื่นคำร้องคัดค้านได้เฉพาะทรัพย์สินในส่วนของตน ไม่อาจยื่นคำร้องคัดค้านเกี่ยวกับทรัพย์สินในส่วนของ ร. และไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ทรัพย์สินในส่วนของ ร. ตกเป็นของแผ่นดิน
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้บัญชาการเรือนจำอำเภอสีคิ้ว ไม่มีอำนาจหน้าที่ในเรือนจำกลางคลองไผ่ การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ไปพบและพูดคุยกับนักโทษชาย ม. ซึ่งเป็นนักโทษในคดียาเสพติดที่เรือนจำกลางคลองไผ่โดยผิดระเบียบ จึงไม่มีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมและแม้ส่อว่าอาจมีข้อพิรุธ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 ได้กระทำการอื่นใดที่จะถือว่าเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับนักโทษชาย ม. มาก่อนหน้านั้นอย่างไร ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน
ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนักโทษชาย ม. ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ลักลอบส่งโทรศัพท์มือถือไปให้นักโทษชาย ม. เป็นการผิดระเบียบของเรือนจำ และนักโทษชาย ม. นำโทรศัพท์มือถือไปให้นักโทษชาย อ. ซึ่งรู้จักกันมาก่อนและสนิทสนมกัน ใช้ติดต่อจำหน่ายยาเสพติดจากภายในเรือนจำ ผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันเป็นความผิดมูลฐาน
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้บัญชาการเรือนจำอำเภอสีคิ้ว ไม่มีอำนาจหน้าที่ในเรือนจำกลางคลองไผ่ การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ไปพบและพูดคุยกับนักโทษชาย ม. ซึ่งเป็นนักโทษในคดียาเสพติดที่เรือนจำกลางคลองไผ่โดยผิดระเบียบ จึงไม่มีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมและแม้ส่อว่าอาจมีข้อพิรุธ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 ได้กระทำการอื่นใดที่จะถือว่าเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับนักโทษชาย ม. มาก่อนหน้านั้นอย่างไร ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน
ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนักโทษชาย ม. ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ลักลอบส่งโทรศัพท์มือถือไปให้นักโทษชาย ม. เป็นการผิดระเบียบของเรือนจำ และนักโทษชาย ม. นำโทรศัพท์มือถือไปให้นักโทษชาย อ. ซึ่งรู้จักกันมาก่อนและสนิทสนมกัน ใช้ติดต่อจำหน่ายยาเสพติดจากภายในเรือนจำ ผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันเป็นความผิดมูลฐาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เสียหายในคดีอาญา: ผู้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน แม้ผู้ตายมีส่วนประมาท
ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 บัญญัติว่า "ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุที่ได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจหรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้" เป็นบทบัญญัติที่มีเจตนารมณ์จะช่วยให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายในทางแพ่งได้รับความสะดวกรวดเร็วในการได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่งเป็นอีกคดีหนึ่ง ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาจะได้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน โดยให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญาทุกประเภทที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ต่อเนื่องไปได้เพื่อให้การพิจารณาคดีส่วนแพ่งเป็นไปโดยรวดเร็วดังที่ปรากฏในหมายเหตุท้าย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 24) พ.ศ.2548 นั้น แม้ตาม ป.วิ.อ. ได้มีคำอธิบายคำว่าผู้เสียหายไว้ในมาตรา 2 (4) ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้เสียหาย หมายถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6" แต่ข้อความตามมาตรา 44/1 ที่บัญญัติให้ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้นั้น ย่อมมีความหมายในตัวว่า หมายถึง ผู้ที่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน จึงมีความหมายที่แตกต่างขัดกับความหมายของผู้เสียหาย ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 2 (4) การตีความคำว่าผู้เสียหายตามมาตรา 44/1 จึงไม่ต้องถือตามความหมายเช่นเดียวกับมาตรา 2 (4) ทั้งนี้เป็นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 1 ที่บัญญัติว่า "ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าคำใดมีคำอธิบายไว้แล้วให้ถือตามความหมายดังได้อธิบายไว้ เว้นแต่ข้อความในตัวบทจะขัดกับคำอธิบายนั้น" ดังนั้น การพิจารณาว่าผู้ใดจะมีสิทธิยื่นคำร้องต้องพิจารณาจากสิทธิในทางแพ่ง ไม่ใช่กรณีที่จะนำความหมายของคำว่า ผู้เสียหายในทางอาญา เช่น เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) มาบังคับใช้ สำหรับคดีนี้ผู้ร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนมา 2 ส่วน คือ ค่าเสียหายของรถยนต์ของ ผ. และค่าขาดไร้อุปการะ สำหรับค่าเสียหายของรถยนต์ ผ. เป็นผู้เสียหายในฐานะเจ้าของรถ เมื่อ ผ. ถึงแก่ความตายไปแล้ว สิทธิในการเรียกค่าเสียหายเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ผ. จึงใช้สิทธิในฐานะทายาทเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้ และค่าขาดไร้อุปการะนั้น ผู้ร้องในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ผ. เป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตัวของผู้ร้องเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม และมาตรา 1461 วรรคสอง ผู้ร้องจึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้เช่นกัน ส่วนความประมาทของ ผ. นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่จะนำมาใช้ประกอบดุลพินิจในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเท่านั้น ไม่ทำให้สิทธิของผู้ร้องที่จะขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหมดไป
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2560)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2560)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท: ปลอมเอกสารขอหนังสือเดินทางเพื่อออกหนังสือเดินทางปลอม
การที่จำเลยปลอมคำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) เพื่อขอออกหนังสือเดินทางหมายเลข H 759XXX แล้วนำคำร้องดังกล่าวไปใช้แสดงเป็นพยานหลักฐานในการขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) ต่อเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เพื่อดำเนินการออกหนังสือเดินทางหมายเลขดังกล่าวให้แก่จำเลย โดยใช้หนังสือเดินทางปลอมหมายเลข J 336XXX แสดงประกอบคำร้องขอด้วย ต่อจากนั้นจำเลยปลอมหนังสือเดินทางหมายเลข H 759XXX อันเป็นเอกสารราชการโดยแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทยหลงเชื่อนำข้อมูลตามคำร้องขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ (ทั่วไป) ซึ่งเป็นเอกสารปลอมเข้าฐานข้อมูลการจัดทำหนังสือเดินทางของกรมการกงสุล แล้วประมวลผลเป็นรูปเล่มหนังสือเดินทางหมายเลข H 759XXX ต่อมาจำเลยมีหนังสือเดินทางปลอมหมายเลข H 759XXX ดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อใช้ซึ่งหนังสือเดินทางปลอมดังกล่าวเป็นหลักฐานแสดงต่อเจ้าพนักงานหรือบุคคลอื่นว่าจำเลยเป็นผู้มีหรือผู้ถือหนังสือเดินทางฉบับดังกล่าวฉบับที่ถูกต้องแท้จริง เป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงกันโดยมีเจตนาให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ออกหนังสือเดินทางให้แก่จำเลยเป็นหลัก แม้เอกสารที่จำเลยปลอมและใช้จะเป็นเอกสารคนละประเภทกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3459/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานต้องเป็นไปตามกฎหมาย และการพิจารณาความเสียหายต่อนายจ้างจากลูกจ้าง
การที่ศาลแรงงานภาค 2 กำหนดประเด็นพิพาทข้อแรกว่า คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่ปรากฏว่าศาลแรงงานภาค 2 ไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยถึงประเด็นนี้พร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย ทั้งที่มีประเด็นตามคำฟ้องว่าจำเลยที่ 4 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานใช้เวลาสอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งเกินกำหนด 42 วัน ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงงาน เรื่อง การกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน พ.ศ.2551 จะมีผลทำให้การทำสอบข้อเท็จจริงและทำคำสั่งชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และการที่ศาลแรงงานภาค 2 วินิจฉัยข้อเท็จจริงต่อมาว่า ส. ลูกจ้างของโจทก์ไม่ได้เบียดบังเอาทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไป กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือไม่จึงพิพากษายกฟ้องนั้น ก็ยังไม่ได้ตอบประเด็นข้อพิพาทข้อที่ 2 ที่ว่า ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือไม่ พร้อมทั้งยังไม่ได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยถึงประเด็นข้อนี้ไว้ด้วย ดังนี้ คำพิพากษาศาลแรงงานภาค 2 จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง อย่างไรก็ตามเมื่อมีข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษาใหม่
กำหนดระยะเวลาสอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้พนักงานตรวจแรงงานต้องทำคำสั่งภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันรับคำร้อง และวรรคสอง ที่กำหนดว่าในกรณีที่มีความจำเป็นไม่อาจมีคำสั่งได้ภายในกำหนด ก็ให้พนักงานตรวจแรงงานขอขยายเวลาต่ออธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายพร้อมด้วยเหตุผล หากมิได้สอบสวนข้อเท็จจริงหรือทำคำสั่งเสร็จภายในกำหนด 60 วัน หรือภายในเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ขยาย ย่อมเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 4 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานใช้เวลาทำการสอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งรวม 57 วันนับแต่วันที่รับคำร้องจาก ส. ลูกจ้างของโจทก์ จึงชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคหนึ่ง
ส่วนการที่จำเลยที่ 4 สอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งภายใน 60 วัน นับแต่วันที่รับคำร้อง แต่เกินกำหนด 42 วัน ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน พ.ศ.2551 ข้อ 4 ที่กำหนดว่า ระยะเวลาการดำเนินการแล้วเสร็จของงานให้เป็นไปตามรายละเอียดที่ปรากฏแนบท้ายประกาศนี้ โดยเอกสารแนบท้ายกำหนดว่า การรับและพิจารณาวินิจฉัยคำร้องรวมทั้งแจ้งคำสั่งกฎหมายคุ้มครองแรงงานกรณีแสวงหาพยานหลักฐานได้ ไม่ซับซ้อนหรือคู่กรณีมาชี้แจงตามกำหนดและให้การครบถ้วน ให้ใช้เวลา 42 วันนั้น ไม่มีผลทำให้คำสั่งของจำเลยที่ 4 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะประกาศดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 37 และ 38 เพื่อให้การบริหารราชการอำนวยความสะดวกและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ซึ่งจะใช้เป็นข้อพิจารณาส่วนหนึ่งในเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงานของราชการและจัดสรรเงินเพิ่มเป็นบำเหน็จความชอบแก่ส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นเงินรางวัลแก่ข้าราชการเท่านั้น
การที่ ส. ลูกจ้างของโจทก์มีหน้าที่ควบคุมดูแลการจัดเก็บขยะของพนักงานเก็บขยะจากองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางแล้วปล่อยให้พนักงานเก็บขยะดังกล่าวเก็บเอาสิ่งของที่มีสภาพไร้ประโยชน์ไม่มีมูลค่าหรือราคาของโจทก์ที่วางอยู่บริเวณจุดทิ้งขยะออกไปจากโรงงานของโจทก์ และนำไปทิ้งบริเวณหลุมขยะหลังวัดห้วยยางตามปกติ โดยโจทก์ไม่มีส่วนเบียดบังเอาสิ่งของดังกล่าว แสดงว่า ส. ลูกจ้างของโจทก์ไม่ได้ประสงค์หรือตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงไม่เป็นการจงใจทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหาย และไม่เป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต กรณีไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ ส. ลูกจ้างของโจทก์
กำหนดระยะเวลาสอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้พนักงานตรวจแรงงานต้องทำคำสั่งภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันรับคำร้อง และวรรคสอง ที่กำหนดว่าในกรณีที่มีความจำเป็นไม่อาจมีคำสั่งได้ภายในกำหนด ก็ให้พนักงานตรวจแรงงานขอขยายเวลาต่ออธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายพร้อมด้วยเหตุผล หากมิได้สอบสวนข้อเท็จจริงหรือทำคำสั่งเสร็จภายในกำหนด 60 วัน หรือภายในเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ขยาย ย่อมเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 4 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานใช้เวลาทำการสอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งรวม 57 วันนับแต่วันที่รับคำร้องจาก ส. ลูกจ้างของโจทก์ จึงชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคหนึ่ง
ส่วนการที่จำเลยที่ 4 สอบสวนข้อเท็จจริงและทำคำสั่งภายใน 60 วัน นับแต่วันที่รับคำร้อง แต่เกินกำหนด 42 วัน ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน พ.ศ.2551 ข้อ 4 ที่กำหนดว่า ระยะเวลาการดำเนินการแล้วเสร็จของงานให้เป็นไปตามรายละเอียดที่ปรากฏแนบท้ายประกาศนี้ โดยเอกสารแนบท้ายกำหนดว่า การรับและพิจารณาวินิจฉัยคำร้องรวมทั้งแจ้งคำสั่งกฎหมายคุ้มครองแรงงานกรณีแสวงหาพยานหลักฐานได้ ไม่ซับซ้อนหรือคู่กรณีมาชี้แจงตามกำหนดและให้การครบถ้วน ให้ใช้เวลา 42 วันนั้น ไม่มีผลทำให้คำสั่งของจำเลยที่ 4 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะประกาศดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 37 และ 38 เพื่อให้การบริหารราชการอำนวยความสะดวกและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ซึ่งจะใช้เป็นข้อพิจารณาส่วนหนึ่งในเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงานของราชการและจัดสรรเงินเพิ่มเป็นบำเหน็จความชอบแก่ส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นเงินรางวัลแก่ข้าราชการเท่านั้น
การที่ ส. ลูกจ้างของโจทก์มีหน้าที่ควบคุมดูแลการจัดเก็บขยะของพนักงานเก็บขยะจากองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางแล้วปล่อยให้พนักงานเก็บขยะดังกล่าวเก็บเอาสิ่งของที่มีสภาพไร้ประโยชน์ไม่มีมูลค่าหรือราคาของโจทก์ที่วางอยู่บริเวณจุดทิ้งขยะออกไปจากโรงงานของโจทก์ และนำไปทิ้งบริเวณหลุมขยะหลังวัดห้วยยางตามปกติ โดยโจทก์ไม่มีส่วนเบียดบังเอาสิ่งของดังกล่าว แสดงว่า ส. ลูกจ้างของโจทก์ไม่ได้ประสงค์หรือตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงไม่เป็นการจงใจทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหาย และไม่เป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต กรณีไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ ส. ลูกจ้างของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3209/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเสพยาเสพติด: การดำเนินการตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และข้อยกเว้น
คดีเดิมจำเลยต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และคดีนี้จำเลยก็ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงมิใช่กรณีที่จำเลยอยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้อง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างการรับโทษจำคุกตามคำพิพากษา และไม่ปรากฏว่ามีเหตุอื่นที่ต้องห้ามมิให้จำเลยเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กรณีจึงต้องดำเนินการตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 เมื่อคดีนี้ยังไม่ได้มีการดำเนินการตามมาตรา 19 ให้แล้วเสร็จก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการทำงานเป็นโมฆะ หากวงเงินค้ำประกันเกิน 60 เท่าของค่าจ้างรายวัน
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง พ.ศ.2551 ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามประกาศข้อ 10 กำหนดว่าวงเงินค้ำประกันที่นายจ้างเรียกให้ผู้ค้ำประกันรับผิดต้องไม่เกิน 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับจากประกาศดังกล่าว เห็นได้ว่าเป็นเรื่องกำหนดให้การทำสัญญาค้ำประกันการทำงานต้องกำหนดวงเงินค้ำประกันที่นายจ้างเรียกให้ผู้ค้ำประกันรับผิดไม่เกิน 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ ไม่ได้ให้นายจ้างทำสัญญากำหนดวงเงินให้ผู้ค้ำประกันรับผิดเพียงใดก็ได้ แต่จะเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดเกินกว่า 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยไม่ได้ดังที่โจทก์อุทธรณ์ เพราะหากทำเช่นนั้นได้ นายจ้างก็สามารถฉวยโอกาสทวงถามเรียกร้องค้ำประกันให้ชำระค่าเสียหายเป็นจำนวนตามสัญญาค้ำประกันซึ่งเกินกว่า 60 เท่าดังกล่าว โดยคาดหวังว่าจะได้รับชำระค่าเสียหายเต็มตามสัญญาหรือเกินกว่า 60 เท่า ตามกฎหมายจากผู้ค้ำประกันซึ่งอาจไม่รู้ถึงสิทธิตามกฎหมายดังกล่าว เหมือนที่โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหายเต็มจำนวนซึ่งเกินกว่า 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยก่อนที่จะฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ อันแสดงให้เห็นว่าโจทก์มิได้สนใจที่จะปฏิบัติต่อผู้ค้ำประกันด้วยความเคารพต่อประกาศกระทรวงแรงงานฉบับดังกล่าว ที่ศาลแรงงานภาค 3 วินิจฉัยว่า สัญญาค้ำประกันตามฟ้องตกเป็นโมฆะ และพิพากษายกฟ้องชอบด้วยเหตุและผลแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9050/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับโครงการสวัสดิการลูกจ้างที่ให้ลูกจ้างสละสิทธิเงินโบนัสหากลาออก เป็นการได้เปรียบเกินควร ศาลสั่งให้ใช้บังคับตามสมควร
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าก่อนสมัครเข้าร่วมโครงการ โจทก์ทราบข้อตกลงหรือเงื่อนไขตามข้อบังคับโครงการที่ระบุห้ามพนักงานเข้าร่วมโครงการมีสิทธิได้รับคืนเงินโบนัสที่เตรียมไว้ชำระค่าจองซื้อหุ้นนั้น เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังเป็นยุติว่า ข้อบังคับโครงการเพิ่งจัดทำขึ้นหลังจากโจทก์สมัครเข้าร่วมโครงการในครั้งแรก จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
สัญญาระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างกับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างสมัครใจผูกพันกันตามโครงการจ่ายเงินโบนัสในรูปแบบหุ้นสามัญ ซึ่งจำเลยจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการส่งเสริมและจูงใจให้ลูกจ้างจงรักภักดีต่อองค์กร แสดงว่าเป็นสัญญาที่อยู่บนพื้นฐานนิติสัมพันธ์จ้างแรงงาน จึงเป็นสัญญาที่เกี่ยวเนื่องหรือเกิดขึ้นเนื่องจากการจ้างแรงงานที่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 14/1 เมื่อสัญญาดังกล่าวมีข้อตกลงหรือเงื่อนไขตามข้อบังคับโครงการข้อ 6.3 ระบุว่า "...ในกรณีที่การจ้างแรงงานของพนักงานสิ้นสุดลง พนักงานที่เข้าร่วมโครงการจะไม่มีสิทธิจองซื้อหุ้นที่ยังไม่มีการจัดสรรอีกต่อไป โดยถือเสมือนว่าธนาคาร (จำเลย) ได้ยกเลิกหุ้นที่ยังไม่มีการจัดสรรดังกล่าวแล้ว" ไม่ได้กำหนดถึงกรณีพนักงานหรือลูกจ้างลาออกจากงาน และข้อ 6.5 ที่ระบุว่า "หากมิได้มีการระบุไว้เป็นอย่างอื่นในข้อบังคับฉบับนี้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ซึ่งรวมถึงการไม่ได้มีการจองซื้อหรือการยกเลิกสิทธิในการจองซื้อหุ้นที่ยังไม่มีการจัดสรร ห้ามมิให้พนักงานที่เข้าร่วมโครงการมีสิทธิที่จะได้รับชำระเงินในส่วนที่เป็นค่าตอบแทนตามผลปฏิบัติงาน (เงินโบนัส) หรือค่าตอบแทนกรณีพิเศษสำหรับส่วนที่เตรียมไว้สำหรับชำระค่าจองซื้อหุ้น นอกจากการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้ในการชำระค่าจองหุ้นที่ถูกจัดสรร" เป็นการกำหนดเงื่อนไขลอย ๆ ไม่ชัดแจ้งว่าสาเหตุที่ไม่ได้จองซื้อหุ้นหรือยกเลิกสิทธิการจองซื้อหุ้นเกิดจากการกระทำหรือความผิดของฝ่ายใด ทั้งไม่มีข้อกำหนดอัตราค่าปรับหรือริบเงินโบนัสตามพฤติการณ์การกระทำที่เป็นเหตุให้ไม่ได้จองซื้อหุ้น เมื่อพิจารณาสภาพการทำงาน ภาวะค่าครองชีพ ความเดือดร้อนของโจทก์ ระดับค่าจ้างหรือสิทธิประโยชน์อื่นของโจทก์ ฐานะแห่งกิจการของจำเลย สภาพเศรษฐกิจและสังคมทั่วไป และสภาพข้อบังคับโครงการประกอบกันแล้ว ข้อบังคับโครงการที่กำหนดเงื่อนไขตัดสิทธิขอรับคืนเงินโบนัสซึ่งเป็นเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับมาตั้งแต่จำเลยอนุมัติจ่ายให้ในแต่ละปีย่อมทำให้จำเลยในฐานะนายจ้างได้เปรียบโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างเกินสมควร ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจสั่งให้ข้อตกลงตามสัญญาจ้างแรงงานอันได้แก่ข้อบังคับโครงการในส่วนนี้มีผลใช้บังคับเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 14/1 โดยให้จำเลยจ่ายคืนเงินโบนัสส่วนที่ยังไม่ได้นำไปซื้อหุ้นพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ลาออกตามฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ลาออกมีผลเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 แต่ในส่วนพิพากษาศาลแรงงานกลางกลับให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 อันเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
สัญญาระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างกับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างสมัครใจผูกพันกันตามโครงการจ่ายเงินโบนัสในรูปแบบหุ้นสามัญ ซึ่งจำเลยจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการส่งเสริมและจูงใจให้ลูกจ้างจงรักภักดีต่อองค์กร แสดงว่าเป็นสัญญาที่อยู่บนพื้นฐานนิติสัมพันธ์จ้างแรงงาน จึงเป็นสัญญาที่เกี่ยวเนื่องหรือเกิดขึ้นเนื่องจากการจ้างแรงงานที่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 14/1 เมื่อสัญญาดังกล่าวมีข้อตกลงหรือเงื่อนไขตามข้อบังคับโครงการข้อ 6.3 ระบุว่า "...ในกรณีที่การจ้างแรงงานของพนักงานสิ้นสุดลง พนักงานที่เข้าร่วมโครงการจะไม่มีสิทธิจองซื้อหุ้นที่ยังไม่มีการจัดสรรอีกต่อไป โดยถือเสมือนว่าธนาคาร (จำเลย) ได้ยกเลิกหุ้นที่ยังไม่มีการจัดสรรดังกล่าวแล้ว" ไม่ได้กำหนดถึงกรณีพนักงานหรือลูกจ้างลาออกจากงาน และข้อ 6.5 ที่ระบุว่า "หากมิได้มีการระบุไว้เป็นอย่างอื่นในข้อบังคับฉบับนี้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ซึ่งรวมถึงการไม่ได้มีการจองซื้อหรือการยกเลิกสิทธิในการจองซื้อหุ้นที่ยังไม่มีการจัดสรร ห้ามมิให้พนักงานที่เข้าร่วมโครงการมีสิทธิที่จะได้รับชำระเงินในส่วนที่เป็นค่าตอบแทนตามผลปฏิบัติงาน (เงินโบนัส) หรือค่าตอบแทนกรณีพิเศษสำหรับส่วนที่เตรียมไว้สำหรับชำระค่าจองซื้อหุ้น นอกจากการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้ในการชำระค่าจองหุ้นที่ถูกจัดสรร" เป็นการกำหนดเงื่อนไขลอย ๆ ไม่ชัดแจ้งว่าสาเหตุที่ไม่ได้จองซื้อหุ้นหรือยกเลิกสิทธิการจองซื้อหุ้นเกิดจากการกระทำหรือความผิดของฝ่ายใด ทั้งไม่มีข้อกำหนดอัตราค่าปรับหรือริบเงินโบนัสตามพฤติการณ์การกระทำที่เป็นเหตุให้ไม่ได้จองซื้อหุ้น เมื่อพิจารณาสภาพการทำงาน ภาวะค่าครองชีพ ความเดือดร้อนของโจทก์ ระดับค่าจ้างหรือสิทธิประโยชน์อื่นของโจทก์ ฐานะแห่งกิจการของจำเลย สภาพเศรษฐกิจและสังคมทั่วไป และสภาพข้อบังคับโครงการประกอบกันแล้ว ข้อบังคับโครงการที่กำหนดเงื่อนไขตัดสิทธิขอรับคืนเงินโบนัสซึ่งเป็นเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับมาตั้งแต่จำเลยอนุมัติจ่ายให้ในแต่ละปีย่อมทำให้จำเลยในฐานะนายจ้างได้เปรียบโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างเกินสมควร ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจสั่งให้ข้อตกลงตามสัญญาจ้างแรงงานอันได้แก่ข้อบังคับโครงการในส่วนนี้มีผลใช้บังคับเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 14/1 โดยให้จำเลยจ่ายคืนเงินโบนัสส่วนที่ยังไม่ได้นำไปซื้อหุ้นพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ลาออกตามฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ลาออกมีผลเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 แต่ในส่วนพิพากษาศาลแรงงานกลางกลับให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 อันเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8627/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และการใช้ข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง
อายุความฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งมาตรา 51 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้มีกำหนดเวลาดังที่บัญญัติไว้ในเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญาตาม ป.อ. มาตรา 95 (1) ถึง (5) แล้วแต่กรณีนั้นเป็นอันสะดุดหยุดลงเมื่อมีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล และได้ตัวผู้ถูกฟ้องมายังศาลด้วยแล้ว ระยะเวลาที่ล้วงพ้นไปก่อนนั้นไม่คิดนับเข้าในอายุความตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 193/15 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้ และเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดแล้ว จึงให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ตามมาตรา 193/15 วรรคสอง โดยอายุความจะเริ่มนับใหม่เมื่อศาลในคดีอาญามีคำพิพากษาอย่างใดอย่างหนึ่งและคดีเด็ดขาดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8484-8485/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างใช้กลยุทธ์หลีกเลี่ยงกฎหมายโดยการจัดทำเอกสารให้เป็นลาออก แต่มีพฤติการณ์บังคับขู่เข็ญ
พฤติการณ์ของจำเลยที่มิได้มีการประกาศโครงการและผลตอบแทนเชิญชวนหาผู้สมัครใจลาออกให้ลูกจ้างทั้งระบบทราบ แต่ใช้วิธีกำหนดตัวบุคคลลูกจ้างเป้าหมาย คือ โจทก์ทั้งสอง ซึ่งมีเงินค่าตอบแทนการจ้างสูงให้ออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยไว้ล่วงหน้า มีการจัดเตรียมเอกสารใบลาออก เงินค่าตอบแทนการลาออกของโจทก์ทั้งสองไว้ก่อนจะเชิญโจทก์ทั้งสองมาเจรจาขอให้ลาออก หลังให้โจทก์ทั้งสองลงชื่อในใบลาออกแล้วยังแจ้งการสิ้นสุดเป็นผู้ประกันตนของโจทก์ทั้งสองในครั้งแรกว่าเป็นการเลิกจ้าง พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง โดยพยายามหลีกเลี่ยงเบี่ยงเบนจัดทำหลักฐานทางเอกสารให้เป็นเรื่องของการลาออกโดยอาศัยอำนาจต่อรองของนายจ้างที่เหนือกว่า
การบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นกรณีนายจ้างแสดงเจตนาเลิกจ้างหรือลูกจ้างแสดงเจตนาลาออก ไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้แสดงเจตนาจะต้องทำตามแบบหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่อยู่ภายใต้บังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 94 แม้โจทก์ทั้งสองจะรับว่าได้ลงชื่อในใบลาออกแล้วก็ตาม แต่ก็ยังสามารถนำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าที่โจทก์ทั้งสองยอมลงชื่อในใบลาออกนั้นเพราะถูกจำเลยบังคับขู่เข็ญ ที่ศาลแรงงานกลางใช้ดุลพินิจพิเคราะห์พยานบุคคลประกอบเหตุผลแวดล้อมต่าง ๆ แล้วฟังว่าโจทก์ทั้งสองไม่สมัครใจลงชื่อในใบลาออก เป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ชอบแล้ว
แม้จำเลยจะอ้างว่าจำเลยประสบภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี มีความจำเป็นต้องลดรายจ่าย จึงมีโครงการปรับโครงสร้างองค์กรลดจำนวนลูกจ้างลง ซึ่งหากเป็นจริงก็เป็นปัญหาทางธุรกิจโดยรวมที่มีเหตุผลความจำเป็นสามารถอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม หากมีการแจ้งเหตุผลความจำเป็น กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเลิกจ้าง การคัดเลือกลูกจ้างที่จะให้ออกไว้แน่นอนและเป็นธรรม ประกาศให้ลูกจ้างทราบทั่วกัน และดำเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการดังกล่าวโดยไม่เลือกปฏิบัติ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ประกาศแจ้งเหตุผลความจำเป็น หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกลูกจ้างให้ทราบโดยทั่วกัน ใช้หลักเกณฑ์ใดในการคัดเลือกโจทก์ทั้งสองเป็นเป้าหมายในการให้ออกจากงาน นอกเหนือไปจากการที่โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างที่ได้รับค่าตอบแทนการจ้างสูง ที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นกรณีนายจ้างแสดงเจตนาเลิกจ้างหรือลูกจ้างแสดงเจตนาลาออก ไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้แสดงเจตนาจะต้องทำตามแบบหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่อยู่ภายใต้บังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 94 แม้โจทก์ทั้งสองจะรับว่าได้ลงชื่อในใบลาออกแล้วก็ตาม แต่ก็ยังสามารถนำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าที่โจทก์ทั้งสองยอมลงชื่อในใบลาออกนั้นเพราะถูกจำเลยบังคับขู่เข็ญ ที่ศาลแรงงานกลางใช้ดุลพินิจพิเคราะห์พยานบุคคลประกอบเหตุผลแวดล้อมต่าง ๆ แล้วฟังว่าโจทก์ทั้งสองไม่สมัครใจลงชื่อในใบลาออก เป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ชอบแล้ว
แม้จำเลยจะอ้างว่าจำเลยประสบภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี มีความจำเป็นต้องลดรายจ่าย จึงมีโครงการปรับโครงสร้างองค์กรลดจำนวนลูกจ้างลง ซึ่งหากเป็นจริงก็เป็นปัญหาทางธุรกิจโดยรวมที่มีเหตุผลความจำเป็นสามารถอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม หากมีการแจ้งเหตุผลความจำเป็น กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเลิกจ้าง การคัดเลือกลูกจ้างที่จะให้ออกไว้แน่นอนและเป็นธรรม ประกาศให้ลูกจ้างทราบทั่วกัน และดำเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการดังกล่าวโดยไม่เลือกปฏิบัติ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ประกาศแจ้งเหตุผลความจำเป็น หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกลูกจ้างให้ทราบโดยทั่วกัน ใช้หลักเกณฑ์ใดในการคัดเลือกโจทก์ทั้งสองเป็นเป้าหมายในการให้ออกจากงาน นอกเหนือไปจากการที่โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างที่ได้รับค่าตอบแทนการจ้างสูง ที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม