พบผลลัพธ์ทั้งหมด 165 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15310/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตบุริมสิทธิเงินสมทบประกันสังคม/เงินทดแทน: ครอบคลุมหนี้ทั้งหมด ไม่จำกัดปี
ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 51 และ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 9 บัญญัติให้ เงินสมทบที่ค้างชำระและเงินเพิ่ม เงินทดแทนที่ค้างชำระและเงินเพิ่ม มีบุริมสิทธิในระดับเดียวกับบุริมสิทธิในค่าภาษีอากรตาม ป.พ.พ. โดยมิได้บัญญัติให้เรียกได้ในวงเงินที่ค้างในปีปัจจุบันและปีก่อนหน้านั้นหนึ่งปี แม้ ป.พ.พ. มาตรา 256 จะบัญญัติให้ บุริมสิทธิค่าภาษีอากรใช้สำหรับของบรรดาค่าภาษีอากรที่ยังค้างอยู่ในปีปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่ง ก็เป็นเรื่องที่บัญญัติเอาไว้ในเฉพาะเรื่องบุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15084/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีข้ามกำหนดเวลา 10 ปี ศาลฎีกายืนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ไม่รับคำขอให้ยึดทรัพย์เพิ่มเติม
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2546 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ หากไม่ชำระให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 57197 พร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยทั้งสองจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ ถ้าได้เงินไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสองบังคับชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ต่อมาในชั้นบังคับคดี โจทก์ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินจำนองออกขายทอดตลาดแต่ยังขายไม่ได้ โจทก์จึงยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 20483 และ 20484 กับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่1920 โดยโจทก์เพิ่งยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2556 อันเป็นการร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาชั้นที่สุดสำหรับคดีนี้แล้ว ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าศาลชั้นต้นได้ขยายระยะเวลาการบังคับคดีให้โจทก์ ดังนี้ คำขอของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยระยะเวลาในการร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดียึดโฉนดที่ดินเลขที่ 20483 และ 20484 กับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่1920
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14961/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้นับโทษต่อเมื่อจำเลยยอมรับว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาอื่น ศาลต้องรับคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 3 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1144/2555 ของศาลชั้นต้น กับขอให้นับโทษจำเลยที่ 2 ต่อจากโทษของจำเลยที่ 3 ในคดีอาญาดังกล่าว ถือว่าฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1144/2555 ของศาลชั้นต้นแล้ว โดยไม่จำต้องระบุรายละเอียดว่าคดีดังกล่าวศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 หรือไม่ อย่างไร เพราะการขอให้นับโทษต่อหาได้มีกฎหมายบัญญัติว่าต้องกล่าวรายละเอียดมาในคำฟ้องหรือเป็นหน้าที่โจทก์ที่ต้องแถลงผลคดีให้ศาลทราบไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 ยอมรับข้อเท็จจริงในข้อที่ว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 3 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1144/2555 ของศาลชั้นต้น ที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อตามคำให้การฉบับลงวันที่ 25 เมษายน 2557 โดยไม่ได้คัดค้านว่าไม่อาจนับโทษจำเลยที่ 2 ต่อจากโทษในคดีอาญาดังกล่าวได้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่นับโทษจำเลยที่ 2 ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1144/2555 ของศาลชั้นต้น จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14953/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลา แม้ศาลอนุญาต ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2556 ครบกำหนดที่คู่ความต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2556 แต่เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2556 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนด การนับเวลาที่ขยายออกไปต้องเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2556 อันเป็นวันที่ต่อจากวันสุดท้ายของระยะเวลาเดิม แม้วันดังกล่าวจะเป็นวันหยุดราชการ ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/7 จึงครบกำหนดที่จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 26 สิงหาคม 2556 การที่จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีกในวันที่ 27 สิงหาคม 2556 จึงเป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว และเมื่อตามคำร้องดังกล่าวไม่ปรากฏว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อีก 2 ครั้ง จนกระทั่งจำเลยยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 25 ตุลาคม 2556 ก็ตาม ก็ถือได้ว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนดระยะเวลา คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลยก็เป็นการไม่ชอบเช่นกัน เป็นเหตุให้จำเลยย่อมไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14823/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดเดิม แม้คำฟ้องต่างกัน เป็นการละเมิดอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36
โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาแล้วอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ย. ที่โจทก์และทายาทของ ย. เป็นเจ้าของรวมอยู่ โดยขอให้ลงโทษฐานโกงเจ้าหนี้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไปแล้ว โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในการกระทำเดียวกันอีก แม้คำฟ้องทั้งสองคดีจะบรรยายไม่ตรงกันทุกตอน และบทมาตราที่ขอให้ลงโทษแตกต่างกันบางมาตรา แต่ก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำอันเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีแรก มิใช่ถือเอาคำบรรยายฟ้องหรือฐานความผิดที่โจทก์ตั้งเอาแก่จำเลยเป็นเกณฑ์ มิฉะนั้นแล้วจำเลยกระทำผิดครั้งเดียว โจทก์มีสิทธิดำเนินคดีแก่จำเลยได้หลายครั้งโดยไม่จบสิ้น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36 ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14823/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีอาญา – โกงเจ้าหนี้ – ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 – ห้ามฟ้องซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาครั้งหนึ่งแล้วอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ย. ที่โจทก์และทายาทของ ย. เป็นเจ้าของรวมอยู่โดยขอให้ลงโทษฐานโกงเจ้าหนี้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไปแล้ว โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในการกระทำเดียวกันอีก แม้คำฟ้องทั้งสองคดีจะบรรยายไม่ตรงกันทุกตอน และบทมาตราที่ขอให้ลงโทษแตกต่างกันบางมาตรา แต่ก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำอันเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องในคดีแรก มิใช่ถือเอาคำบรรยายฟ้องหรือฐานความผิดที่โจทก์ตั้งเอาแก่จำเลยเป็นเกณฑ์มิฉะนั้นแล้วจำเลยกระทำผิดเพียงครั้งเดียว โจทก์มีสิทธิดำเนินคดีแก่จำเลยได้หลายครั้งโดยไม่รู้จักจบสิ้น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36 ซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14712/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อเมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในคดีอาญาหลายคดีพร้อมกัน
โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 12 ธันวาคม 2557 ซึ่งคำฟ้องระบุว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้น โดยศาลชั้นต้นเบิกจำเลยมาสอบคำให้การทั้งสองคดีในวันที่ 15 ธันวาคม 2557 และมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยในวันดังกล่าว โดยศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้นก่อนคดีนี้ ดังนี้ ศาลชั้นต้นได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้นกับคดีนี้ติดต่อกันไป เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมไม่อาจแถลงต่อศาลชั้นต้นได้ว่าคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้นนั้นมีหมายเลขคดีแดงที่เท่าใด ถือได้ว่าความปรากฏต่อศาลและคู่ความชัดแจ้งแล้วว่าคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้นนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้วโดยไม่จำต้องให้โจทก์แถลงต่อศาลซ้ำอีก จึงนับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14679/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความล่าช้าในการบังคับคดีเกิดจากเจ้าหนี้ไม่ดำเนินการ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องรับผิด
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดโดยกำหนดวันนัดขายทอดตลาดไว้ถึง 2 นัด และยังมีหนังสือแจ้งโจทก์ให้วางเงินค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดอีกด้วย แต่โจทก์เองไม่วางเงินกลับยื่นคำร้องขอให้เลื่อนการขายทอดตลาดออกไป 3 เดือน แสดงว่าโจทก์ยังไม่ประสงค์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทรัพย์พิพาท ดังนั้นวันนัดที่กำหนดไว้จึงเป็นการเลื่อนออกไปไม่มีกำหนดและการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งว่า งดการขายทอดตลาดไว้ 3 เดือน รอโจทก์แถลงความประสงค์ จึงเป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้แจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานบังคับคดีว่าตนตกลงงดการบังคับคดีไว้ชั่วระยะเวลาที่กำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (3) เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว หากโจทก์ประสงค์จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีต่อไป โจทก์ก็ชอบที่จะยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไปเนื่องจากระยะเวลาที่ให้งดการบังคับคดีนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้วตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 294 วรรคหนึ่ง โจทก์จะอ้างว่าเป็นความผิดหรือความบกพร่องของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่เมื่อครบกำหนด 3 เดือน ตามที่โจทก์ขอให้งดการบังคับคดีไว้แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการขายทอดตลาดต่อไปทันทีโดยโจทก์ไม่จำต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีใหม่ให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไปอีกหาได้ไม่เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์โดยตรงที่จะแถลงขอให้ดำเนินการขายทอดตลาดต่อไป จะถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ โจทก์มิได้แถลงขอให้ดำเนินการขายทอดตลาดจนกระทั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งให้โจทก์แถลงความประสงค์ในการบังคับคดีและวางค่าใช้จ่ายเพิ่ม โจทก์จึงวางเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มและแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดต่อไป การที่โจทก์ปล่อยระยะเวลาล่วงเลยมาถึง 11 ปีเศษ เช่นนี้ ความล่าช้าในการบังคับคดีจึงเป็นความผิดหรือบกพร่องของโจทก์เอง หาใช่เป็นความผิดหรือบกพร่องของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14570/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อกล่าวหาและการทำแผนประกอบคำรับสารภาพ ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากจำเลยเข้าใจข้อกล่าวหา
แม้บันทึกแจ้งข้อกล่าวหาระบุแต่เพียงข้อหามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต พาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควร แต่จำเลยก็แสดงท่าทางและนำชี้จุดที่มีการติดตามไล่ยิงผู้เสียหายทั้งสอง โดยมีคำอธิบายใต้ภาพอธิบายเหตุการณ์และจำเลยลงลายมือชื่อรับรองไว้ แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อกล่าวหาในคดีนี้เป็นอย่างดี และหลังจากนั้นก็มีการแจ้งข้อกล่าวหาพยายามฆ่าผู้อื่นแก่จำเลย จึงถือได้ว่ามีการแจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าจำเลยได้กระทำผิดพอที่จำเลยจะเข้าใจได้ดี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 วรรคหนึ่ง ดังนี้ การที่พนักงานสอบสวนนำตัวจำเลยไปยังสถานที่เกิดเหตุและทำแผนประกอบคำรับสารภาพซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของการสอบสวนก่อน แล้วจึงแจ้งข้อกล่าวหาให้จำเลยทราบก็ไม่ทำให้การสอบสวนในคดีนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14499/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาแพ่งจากทุนทรัพย์พิพาท และการหักเงินค่าสินไหมทดแทนที่ชำระแล้ว
สิทธิในการฎีกาในคดีส่วนแพ่งนั้น ต้องพิจารณาจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ร่วมเป็นเงิน 70,000 บาท จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาในคดีส่วนแพ่งจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ฎีกาของจำเลยโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว