พบผลลัพธ์ทั้งหมด 165 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13678/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยสิ่งอื่นแทนเงิน การยอมรับของเจ้าหนี้ และผลของการตกลงเพิ่มเติมที่ขัดแย้งกับกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง อันเป็นหลักทั่วไปในเรื่องหนี้ที่มีบทบัญญัติว่า "ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป" ก็ดี และตาม ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสอง อันเป็นบทบัญญัติเฉพาะในเรื่องเอกเทศสัญญา ลักษณะยืม ที่มีบทบัญญัติว่า "ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมไซร้ หนี้อันระงับไปเพราะการชำระเช่นนั้น ท่านให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ" ก็ดี ล้วนมีองค์ประกอบสำคัญว่าต้องเป็นกรณีที่เจ้าหนี้หรือผู้ให้กู้ยืมยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ทั้งสิ้น ซึ่งตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสาม มีบทบัญญัติว่า "ความตกลงกันอย่างใด ๆ ขัดกับข้อความดังกล่าวมานี้ ท่านว่าเป็นโมฆะ" นั้น มีความหมายว่า เมื่อผู้ให้กู้ยืมยินยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมแล้ว หากมีข้อตกลงให้คิดมูลค่าสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นที่ชำระนอกเหนือไปจากจำนวนราคาตามท้องตลาดในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ ก็ถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นโมฆะ ดังนี้ การยินยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมจึงเป็นสิทธิของผู้ให้กู้ยืมฝ่ายเดียวที่จะยินยอมหรือไม่ก็ได้ สัญญากู้ยืมเงิน ข้อ 6 ที่มีข้อความว่า "คู่สัญญาตกลงกันว่า ผู้กู้จะชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระเงินไม่ได้เป็นอันขาด" มิได้ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด จึงหาเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13492/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมในที่ดินจัดสรรสิ้นสุดลงได้หากสิ่งปลูกสร้างถูกทิ้งร้างและไม่ได้ใช้ประโยชน์เกิน 10 ปี
แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 เป็นบทกฎหมายเฉพาะกำหนดให้สาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร และเป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต่อไปที่จะบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไปก็ตาม แต่ก็หามีข้อกำหนดระบุเหตุของการสิ้นไปแห่งภาระจำยอมในกรณีการจัดสรรที่ดินไว้โดยเฉพาะไม่ จึงชอบที่จะต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 4 ลักษณะ 4 ภาระจำยอม ซึ่งใช้กรณีมีข้อพิพาทโต้แย้งสิทธิต่อกันในทางแพ่งโดยทั่วไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพแห่งภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร เมื่อก่อนที่โจทก์และจำเลยซื้อที่ดินในโครงการจอมเทียน แกรนด์วิว ตามฟ้อง สิ่งปลูกสร้างและสภาพแวดล้อมภายในโครงการมีลักษณะถูกปล่อยร้างมิได้ใช้ประโยชน์มาเป็นเวลาเกินกว่าสิบปี จนเห็นได้ว่า การจัดสรรที่ดินล้มเลิกไปแล้วตามสภาพโดยปริยาย การซื้อที่ดินดังกล่าวของโจทก์จำเลยจึงมิใช่การซื้อในลักษณะธุรกรรมจัดสรรที่ดินซึ่งต้องอยู่ในบังคับแห่งกฎหมาย อีกทั้งที่ดินของจำเลยได้สิ้นสภาพจากการเป็นสาธารณูปโภคอันพึงต้องตกอยู่ในภาระจำยอมตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 กำหนดไว้ไปก่อนแล้ว อันเป็นกรณีสิ้นไปแห่งภาระจำยอมเพราะมิได้ใช้สิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1399
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13421/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายร้ายแรง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้ศาลแรงงานภาค 2 จะไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงหรือไม่ แต่เมื่อคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีเหตุเลิกจ้างรวมถึงเหตุที่โจทก์ประมาทเลินเล่อในหน้าที่อย่างร้ายแรงด้วยซึ่งไม่เป็นความจริง ขอให้บังคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ และคำให้การของจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์เป็นหัวหน้าชุดขนเงินแต่ไม่ได้ตรวจสอบความเรียบร้อยของถุงใส่เงิน ปล่อยให้บุคคลภายนอกโดยสารมาด้วยและมีพฤติการณ์ส่อว่าร่วมมือกับลูกจ้างอื่นเอาเงินสดในถุงใส่เงินของจำเลยไป จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) (2) และ (3) โดยไม่ต้องจ่ายเงินตามฟ้องแก่โจทก์ดังนี้เมื่อพิจารณาตามคำฟ้องและคำให้การแล้วคดียังต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (3) หรือไม่ การที่ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษาคดีโดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ จึงเป็นการพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานภาค 2 ฟังมาเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวได้ จึงวินิจฉัยประเด็นนี้ให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานภาค 2 วินิจฉัยอีก เมื่อโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยทำหน้าที่ควบคุมการขนส่งเงินจากศูนย์บ้านบึงไปยังศูนย์โรงโป๊ะ โดยโจทก์มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าชุดและมีพนักงานอื่นในทีมอีก 2 คน คือ พนักงานขับรถและพนักงานคุ้มกัน สภาพการทำงานพนักงานในชุดจะต้องดำเนินการตรวจเช็คถุงใส่เงินให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย และตรวจสอบหมายเลขที่ซีลปิดถุงใส่เงินให้ถูกต้อง แล้วลำเลียงขนถุงใส่เงินขึ้นรถเพื่อขนส่งไปยังศูนย์โรงโป๊ะ โจทก์มีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของพนักงานในชุดให้เป็นไปโดยถูกต้องเพื่อคุ้มครองดูแลเงินในครอบครองให้ถึงที่หมายปลายทางด้วยความปลอดภัย โจทก์ปล่อยให้พนักงานขับรถตรวจสอบถุงเงินเอง ส่วนโจทก์ให้พนักงานคุ้มกันอ่านหมายเลขซีลปิดถุงให้ฟังเท่านั้น และโจทก์ปล่อยให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่พนักงานในชุดขนเงินร่วมเดินทางไปด้วย ในที่สุดตรวจสอบจากกล้องวงจรปิดพบว่าบุคคลอื่นที่ร่วมเดินทางมาด้วยขณะทำหน้าที่เป็นพนักงานปิดซีลปากถุงใส่เงินได้เปิดช่องโหว่ปากถุงไว้ 1 ช่อง ขนาดใหญ่พอที่จะสามารถล้วงเอาเงินในถุงออกไปได้โดยไม่ได้ใช้เหล็กร้อยปิดปากถุงไปทั้งหมด การที่เงินในถุงใส่เงินที่อยู่ในความควบคุมดูแลของโจทก์ได้หายไปจึงเกิดจากโจทก์ไม่ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่และไม่ควบคุมดูแลการทำงานของพนักงานในชุดอย่างเคร่งครัดเพื่อรักษาความปลอดภัยในทรัพย์ที่อยู่ภายใต้ความดูแลตามหน้าที่ ถือว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13160/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานบัญชี: ความไว้วางใจและความรับผิดชอบต่อหน้าที่
โจทก์เป็นพนักงานบัญชีและการเงินมีหน้าที่จ่ายและรับคืนเงิน การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ต้องอาศัยความละเอียด รอบคอบ ซื่อสัตย์ และได้รับความไว้วางใจจากนายจ้าง แม้จะได้ความว่าการที่โจทก์นำเงินไปเก็บรักษาไว้ที่บ้านจะไม่เป็นการผิดระเบียบของจำเลย แต่การนำเงินของจำเลยไปเก็บรักษาไว้ที่บ้านของโจทก์โดยไม่ได้นำมาคืนจนกระทั่งเวลาผ่านไปเกือบ 5 เดือน และโจทก์นำมาคืนให้เมื่อจำเลยตรวจพบและทวงถาม ทั้งยังอ้างเหตุความหลงลืม อันแสดงถึงความไม่รอบคอบและไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ จำเลยผู้เป็นนายจ้างย่อมมีเหตุผลที่จะหวาดระแวงและไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานต่อไป ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13146/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงาน: เหตุสุดวิสัยต้องแจ้งก่อนสิ้นกำหนด & ความบกพร่องทนายจำเลย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 บัญญัติเรื่องการขยายระยะเวลาไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 23 มาอนุโลมใช้ตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ได้ ซึ่งมาตรา 26 บัญญัติว่า ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่ศาลแรงงานได้กำหนด ศาลแรงงานมีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หาได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าคู่ความต้องยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้และจะต้องมีพฤติการณ์พิเศษหรือจะต้องมีเหตุสุดวิสัยอันไม่อาจก้าวล่วงได้เช่นที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ไม่
จำเลยอ้างว่าเสมียนทนายจำเลยบกพร่อง ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่ได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานภาค 8 ซึ่งเหตุดังกล่าวทนายจำเลยสามารถตรวจสอบและแก้ไขด้วยการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดได้แต่หาทำไม่ แสดงให้เห็นว่าทนายจำเลยไม่เอาใจใส่ในคดี ถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเองกรณีจึงไม่มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะต้องขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26
จำเลยอ้างว่าเสมียนทนายจำเลยบกพร่อง ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่ได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานภาค 8 ซึ่งเหตุดังกล่าวทนายจำเลยสามารถตรวจสอบและแก้ไขด้วยการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดได้แต่หาทำไม่ แสดงให้เห็นว่าทนายจำเลยไม่เอาใจใส่ในคดี ถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเองกรณีจึงไม่มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะต้องขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13146/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีแรงงาน: พิจารณาความรับผิดของทนายจำเลยและเหตุผลทางกฎหมายตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 บัญญัติเรื่องการขยายระยะเวลาไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 23 มาอนุโลมใช้ตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ได้ ซึ่งมาตรา 26 บัญญัติว่า ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่ศาลแรงงานได้กำหนด ศาลแรงงานมีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หาได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าคู่ความต้องยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้และจะต้องมีพฤติการณ์พิเศษหรือจะต้องมีเหตุสุดวิสัยอันไม่อาจก้าวล่วงได้เช่นที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ไม่ ที่ศาลแรงงานภาค 8 มีคำสั่งว่า พฤติการณ์ตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์มิใช่พฤติการณ์พิเศษ จำเลยไม่ได้ยื่นก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์และไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัย จึงไม่ถูกต้อง แต่เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลย ฉบับลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 เสียเองโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานภาค 8 มีคำสั่งใหม่ เมื่อเหตุในการขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยอ้างว่าเสมียนทนายจำเลยบกพร่อง ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่ได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานภาค 8 ซึ่งเหตุดังกล่าวทนายจำเลยสามารถตรวจสอบและแก้ไขด้วยการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดได้ แต่หาทำไม่ แสดงให้เห็นว่าทนายจำเลยไม่เอาใจใส่ในคดี ถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง กรณีจึงไม่มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะต้องขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12906/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย, การคำนวณสารบริสุทธิ์, และการลงโทษปรับตามกฎหมายยาเสพติด
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีน 44 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายว่าเมทแอมเฟตามีน 44 เม็ด มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เท่าใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องมาแล้วว่า เมทแอมเฟตามีนของกลาง 169 เม็ด จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีน้ำหนัก 15.192 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 3.166 กรัม และเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 44 เม็ด ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีน 169 เม็ด ดังนั้น จึงย่อมสามารถคำนวณหาสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีน 44 เม็ด โดยคำนวณเทียบกับปริมาณสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีน 169 เม็ด ซึ่งคำนวณแล้วปรากฏว่ามีสารบริสุทธิ์ 0.824 กรัม ซึ่งเกินกว่าสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมแต่ไม่ถึงยี่สิบกรัม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง ซึ่งตามมาตรา 100/1 บัญญัติว่า ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษจำคุกและปรับ ให้ศาลลงโทษปรับด้วยเสมอโดยคำนึงถึงการลงโทษในทางทรัพย์สินเพื่อป้องปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ปรับด้วยนั้นจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์มิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษปรับได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 และ 225 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12754/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายทรัพย์สินด้อยคุณภาพตาม พ.ร.ก. บสท. ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การประกาศขายทอดตลาดที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นการรับโอนไม่มีผล
พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 76 บัญญัติว่า "ในการจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ให้ บสท. ดำเนินการโดยวิธีการขายทอดตลาด แต่ถ้า บสท. เห็นว่าการจำหน่ายโดยวิธีอื่นจะเป็นประโยชน์แก่ บสท. และลูกหนี้มากกว่า ก็ให้จำหน่ายโดยวิธีอื่นได้ หรือจะรับโอนทรัพย์สินนั้นไว้ในราคาไม่น้อยกว่าราคาที่จะพึงได้รับจากการขายทอดตลาดแทนการจำหน่ายก็ได้" และมาตรา 77 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การจำหน่ายทรัพย์สินตามมาตรา 76 ให้ บสท. ประกาศล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันจำหน่าย โดยลงโฆษณาในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อยหนึ่งฉบับเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามวัน" โจทก์ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับวันที่ 16 ถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 รวมสามวันติดต่อกัน และลงโฆษณาทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 โดยกำหนดวันขายทอดตลาดเป็นวันที่ 3 สิงหาคม 2550 ซึ่งตามมาตรา 77 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ลงโฆษณาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันจำหน่าย ดังนี้ สำหรับการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์เมื่อนับจากวันที่สามคือวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 จึงเป็นการประกาศล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันจำหน่าย แต่สำหรับการลงโฆษณาในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 แม้หากจะถือว่าการลงโฆษณาดังกล่าวมีผลต่อเนื่องไป วันที่สามก็คือวันที่ 20 กรกฎาคม 2550 ซึ่งเมื่อนับจากวันดังกล่าวไปสิบห้าวัน วันที่ขายทอดตลาดได้อย่างเร็วที่สุดก็คือวันที่ 5 สิงหาคม 2550 ดังนั้น การลงโฆษณาในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับโอนที่ดินทั้งสองแปลงในคดีนี้มาเป็นของตนแทนการจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11091/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายดำเนินคดีเป็นค่าฤชาธรรมเนียม ศาลต้องมีคำสั่งชัดเจน ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำสั่งค่าฤชาธรรมเนียมมิได้
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเป็นค่าฤชาธรรมเนียมประเภทหนึ่ง ตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง กฎหมายบัญญัติบังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งไม่ว่าคู่ความจักมีคำขอหรือไม่
ค่าทนายความและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีนั้น คำสั่งศาลต้องอยู่ในบังคับตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกับตาราง 7 ซึ่งกำหนดให้ศาลมีคำสั่งให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร หากศาลมีคำสั่งให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ให้แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดี ศาลก็จะต้องระบุจำนวนเงินสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองประเภทนี้โดยชัดแจ้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมเพียงว่า "ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท คำขออื่นให้ยก" ย่อมชัดเจนแล้วว่า ศาลชั้นต้นมีดุลพินิจไม่สั่งให้จำเลยทั้งสี่ต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแก่โจทก์ และเป็นคำพิพากษาชอบด้วยบทบัญญัติที่ศาลต้องปฏิบัติในการทำคำพิพากษาตามมาตรา 141 วรรคหนึ่ง ทุกประการ หาใช่เป็นคำพิพากษาที่ไม่ครบถ้วนและไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2558)
ค่าทนายความและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีนั้น คำสั่งศาลต้องอยู่ในบังคับตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกับตาราง 7 ซึ่งกำหนดให้ศาลมีคำสั่งให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร หากศาลมีคำสั่งให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ให้แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดี ศาลก็จะต้องระบุจำนวนเงินสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองประเภทนี้โดยชัดแจ้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมเพียงว่า "ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท คำขออื่นให้ยก" ย่อมชัดเจนแล้วว่า ศาลชั้นต้นมีดุลพินิจไม่สั่งให้จำเลยทั้งสี่ต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแก่โจทก์ และเป็นคำพิพากษาชอบด้วยบทบัญญัติที่ศาลต้องปฏิบัติในการทำคำพิพากษาตามมาตรา 141 วรรคหนึ่ง ทุกประการ หาใช่เป็นคำพิพากษาที่ไม่ครบถ้วนและไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2558)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10811/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมข้อเรียกร้องและทุนทรัพย์: ศาลรับคำฟ้องได้หากยื่นก่อนกำหนด
สาระสำคัญในคำฟ้องภายหลังที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องคือ โจทก์ได้ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำกับจำเลย ให้แก่บริษัท อ. ในราคา 370,000,000 บาท โดยโจทก์รับเงินมัดจำมาแล้ว 20,000,000 บาท การที่จำเลยนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปขายให้แก่บุคคลอื่นทำให้โจทก์ขาดกำไรอีก 169,990,001 บาท รวมค่าเสียหายตามคำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ทั้งสิ้น 232,990,001 บาท คำฟ้องภายหลังนี้เป็นการเพิ่มเติมคำฟ้องเดิมที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขาย จำเลยนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปขายให้บุคคลอื่น ทำให้โจทก์เสียหาย โดยเพิ่มเติมว่าการกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ต้องผิดสัญญากับบริษัท อ. และขาดกำไรไปอีก 169,990,001 บาท จึงเป็นการเพิ่มเติมคำฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ และเพิ่มทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิม ทั้งคำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังนี้ก็เกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 (1) (2) และวรรคท้าย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้แก้ไขคำฟ้องโดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับคำฟ้องภายหลังของโจทก์ไว้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินรวมกับคำฟ้องเดิมของโจทก์