คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 173 วรรคสอง (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำและอำนาจฟ้อง: การเปลี่ยนตัวโจทก์ในคดีที่เกี่ยวข้องกับมรดก ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนจำเลยเป็นผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ผ.โดยโจทก์คดีนี้เป็นผู้ร้องคัดค้าน ส่วนคดีนี้ผู้ร้องคัดค้านในคดีก่อนกลับเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องขอเป็นจำเลยโจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนจำนองที่ดินหลังการเสียชีวิตของผู้กู้ และผลของการไม่แสดงเจตนาจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการที่โจทก์ดำเนินการจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อใดอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ไม่จำเป็นต้องบรรยายถึงเหตุผลว่าทำไมถึงต้องไปจดทะเบียนจำนองตามวันที่ปรากฏในคำฟ้อง ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม แม้คดีนี้กับคดีอื่นของศาลชั้นต้นจะมีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองหรือไม่ แต่คดีดังกล่าวจำเลยที่ 1 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยคดีสองสำนวนดังกล่าวโจทก์จึงไม่ใช่บุคคลคนเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้อนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างรายงานการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญที่มีความเห็นว่าลายมือชื่อที่ลงในช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 เพราะมีคุณสมบัติการเขียน รูปลักษณะของตัวอักษรแตกต่างกับลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 ตามตัวอย่างที่ส่งมาก็ตามแต่สัญญากู้เงินตามเอกสารหมาย จ.2 ทำก่อนที่จะมีการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นเวลาเกือบ 3 ปี ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลา ทั้งผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อบุคคลก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้นและลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ที่ลงในใบแต่งทนายความกับในเอกสารที่ร้องเรียนให้นายอำเภอเมืองลำพูนสอบสวนเรื่องจำนองที่ดินในคดีนี้ก็แตกต่างกัน แสดงว่าคุณสมบัติในการเขียนและลักษณะตัวอักษรที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ไม่คงที่แน่นอนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 ที่ว่าไม่ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญากู้เงินตามเอกสารหมาย จ.2 จึงฟังไม่ขึ้น การจดทะเบียนจำนองที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก่อนจะจดทะเบียนต้องประกาศ 30 วัน เมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้านทางสำนักงานที่ดินจึงจะจดทะเบียนให้ การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาจำนองซึ่งยังไม่ได้ลงวันที่ตอนไปยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนทำนิติกรรมครั้งแรกนั้น สัญญาจำนองยังไม่สมบูรณ์ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้แสดงเจตนาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้จดทะเบียนจำนองให้ โจทก์นำสัญญาจำนองดังกล่าวไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เองฝ่ายเดียวโดยจำเลยที่ 1 มิได้มอบอำนาจให้ทำเช่นนั้น สัญญาจำนองและการจดทะเบียนจำนองจึงไม่มีผลตามกฎหมายที่จะผูกพันจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตาม สัญญากู้เงินตามเอกสารหมาย จ.2 และสัญญาค้ำประกันเป็นแบบพิมพ์ในกระดาษแผ่นเดียวกันโดยด้านหน้าเป็นสัญญากู้เงินด้านหลังเป็นสัญญาค้ำประกันการกู้เงินรายพิพาทไม่มีการค้ำประกัน การที่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ด้านสัญญากู้เงินแล้วจึงปิด ต่อมาทางด้านหลังแสดงให้เห็นว่าเป็นการปิดเพิ่มเติมต่อจากด้านหน้า ไม่เป็นการฝ่าฝืนประมวลรัษฎากรแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายหลายคน และการไม่เป็นฟ้องซ้อน แม้มีการฟ้องคดีไปก่อนหน้านี้
ในคดีอาญาที่มีผู้เสียหายหลายคน ผู้เสียหายแต่ละคนย่อมมีสิทธิฟ้องผู้กระทำผิดได้ การที่ผู้เสียหายคนหนึ่งฟ้องผู้กระทำผิดก่อนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็ไม่มีบทบัญญัติห้ามผู้เสียหายคนอื่นฟ้องผู้กระทำผิดอีก ส่วน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) ซึ่งได้บัญญัติห้ามโจทก์เมื่อได้ยื่นฟ้องต่อศาลแล้วและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณายื่นฟ้องจำเลยเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่นอีก ก็เป็นการห้ามเฉพาะโจทก์ในคดีเดิมเท่านั้นมิให้ฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกัน แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 จะให้นำมาใช้บังคับในคดีอาญาได้แต่โจทก์ก็ไม่ได้ฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันกับที่ฟ้องคดีนี้มาก่อนการที่ ม. ภรรยาโจทก์เคยฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันกับคดีนี้ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการฟ้องแทนโจทก์ด้วย ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีที่ ม. เคยฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3210/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ/ฟ้องซ้อน: การฟ้องรังวัดที่ดินแปลงเดียวกันซ้ำในขณะที่คดีเดิมยังอยู่ระหว่างการพิจารณา
คดีแรกศาลพิพากษาตามยอมว่าที่พิพาทตามแผนที่เป็นของโจทก์โจทก์ฟ้องเป็นคดีที่สองให้จำเลยรังวัดแบ่งที่ดิน น.ส.3 ให้แก่โจทก์ตามแผนที่พิพาทดังกล่าว ศาลพิพากษายกฟ้องว่า เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์จึงฟ้องเป็นคดีที่สามขอให้จำเลยรังวัดแบ่งแยกที่ดิน น.ส.3 อีกแม้จะอ้างว่าโจทก์มีสิทธิ์ครอบครองร่วมกับจำเลย คำฟ้องในคดีที่สองและที่สามก็เป็นเรื่องเดียวกัน เมื่อคดีที่สองยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ฟ้องโจทก์คดีที่สามจึงเป็นฟ้องซ้อนตามป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิในทรัพย์สิน โดยคดีก่อนไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟ้องคดีใหม่
จำเลยฟ้อง ป. เป็นจำเลยต่อศาลว่า ป. ทำสัญญาให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทแล้วไม่จดทะเบียนการเช่าให้ ขอให้พิพากษาบังคับให้ ป. จดทะเบียนการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยซึ่งโจทก์มิใช่คู่ความในคดีดังกล่าว แม้ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่เป็นการห้ามมิให้โจทก์ซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาทจาก ป. ฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว โจทก์ฟ้องขับไล่ อ. ออกจากตึกแถวพิพาท เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อศาลว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ. ขอให้ออกหมายบังคับคดีให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านว่า จำเลยได้เช่าตึกแถวพิพาทจาก ป. และศาลพิพากษาให้ ป. จดทะเบียนสิทธิการเช่าให้แก่จำเลยแล้วจำเลยไม่ใช่บริวารของ อ. การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ. ในคดีดังกล่าว และศาลก็ยังไม่มีคำสั่งชี้ขาดว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ. หรือไม่ มิใช่เป็นการยื่นฟ้องคดีต่อศาล ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในตึกแถวดังกล่าวขอให้ขับไล่ จึงมิใช่เป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันกับคดีดังกล่าวคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตลอดเวลาที่จำเลยยังอยู่ในตึกแถวของโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายนับถึงวันฟ้องเป็นเวลา 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681-3682/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: คำขอค่าเสียหายในคดีอาญาขัดแย้งกับฟ้องคดีแรงงาน, การอุทธรณ์พยานหลักฐานต้องห้าม
พนักงานอัยการเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยในคดีก่อนว่า ได้ร่วมกับจำเลยอื่นยักยอกเงินรายอื่น ซึ่งเป็นเงินรายเดียวกับรายที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้ หาใช่เป็นเงินจำนวนที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ไม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ คดีแพ่งอันเกี่ยวเนื่อง กับคดีอาญาที่จะต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 1ได้กระทำการทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ ศาลแรงงานกลางต้องรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ว่า โจทก์นำสืบได้สมกับที่มีภาระการพิสูจน์หรือไม่ จากการนำสืบของโจทก์ไม่มีข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานใดที่จะพิสูจน์ได้สมตามประเด็นที่กล่าวอ้าง โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี แสดงว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ให้ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีซึ่งมีผลเท่ากับขอให้ศาลฎีการับฟังว่า จำเลยที่ 1มิได้ปฏิบัติผิดต่อข้อบังคับ และมิได้กระทำการทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ดังที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางอันเป็นข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 ในคดีอาญาเรื่องก่อนพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแขวงในความผิดฐานร่วมกันยักยอกและฉ้อโกง กับมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้เสียหายคือโจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์คดีนี้ด้วย เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวเป็นรายเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้อง และมีคำขอบังคับจำเลยที่ 3 ในคดีนี้โดยโจทก์ยื่นฟ้องในระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาข้างต้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)ซึ่งอนุโลมมาใช้บังคับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานและอายุความฟ้องคดีจากความเสียหายจากการขับรถของลูกจ้าง
โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดในคดีนี้รวมกับข้อหาอื่นที่ศาลแพ่ง และอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่า ข้อหาที่โจทก์ฟ้องคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 9 วรรคสองโจทก์จึงแยกข้อหาคดีนี้มาฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ ขับรถของโจทก์ด้วยความประมาทชนท้ายรถโดยสารประจำทางเป็นเหตุให้รถของโจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย เช่นนี้เป็นการบรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดทั้งตามสัญญาจ้างแรงงานและในมูลละเมิดซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทาง สำหรับสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 164 โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนครบกำหนด 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 2