พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การกระทำผิดหลายกรรมในเหตุการณ์เดียวกัน ศาลพิจารณาแยกดำเนินคดีได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยนี้ฝ่ายหนึ่ง กับ ม. พ.ฮ.ฝ่ายหนึ่ง ได้ทำร้ายซึ่งกันและกัน โดยจำเลยชกต่อยพ. ไม่ถึงกับเกิดอันตรายแก่กาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 แล้วโจทก์แถลงว่า เหตุในคดีนี้กับอีกคดีหนึ่งของศาลทหารเกิดในเวลาเดียวกันเป็นการกระทำครั้งเดียวกัน เป็นแต่ว่าข้อหาในคดีนี้จะยื่นฟ้องต่อศาลทหารไม่ได้ โจทก์จึงแยกฟ้องเป็นคดีนี้ ดังนี้ จะแปลเอาทีเดียวว่าเป็นการกระทำผิดอันเป็นกรรมเดียวกันและศาลได้มีคำพิพากษาในความผิดของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วยังไม่ได้ ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาลงโทษอาญาตามกฎหมายเก่าหรือใหม่ และอำนาจศาลสั่งทำลายต้นยางพร้อมเรียกค่าใช้จ่าย
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรค 1 วางหลังให้พิจารณาควาาผิดของจำเลยและลงโทษตามกฎหมายในขณะที่จำเลยกระทำการอันถูกล่าวหานั้น และแม้ว่าได้มีการยกเลิกกฎหมายนั้นเสียแล้วมาตรา 2 วรรค 2 และมาตรา 3 ก็ให้พิจารณาใช้กฎหมายใหม่เฉพาะแต่เมื่อเป็นคุณแก่จำเลยเท่านั้นถ้ากฎหมายใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย ก็ยังใช้กฎหมายเก่าบังคับคดี
อัยการมีอำจาจขอให้ศาลสั่งทำลายต้นยางพาราซึ่งปลูกใหม่ โดยมิได้รับอนุญาต และขอให้จำเลยเสียค่าใช้จ่ายในการทำลายนั้นได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2481 มาตรา 15 คำขอเช่นว่านี้เป็น คำขอทางอาญา หาใช่คำขอทางแพ่งไม่.
อัยการมีอำจาจขอให้ศาลสั่งทำลายต้นยางพาราซึ่งปลูกใหม่ โดยมิได้รับอนุญาต และขอให้จำเลยเสียค่าใช้จ่ายในการทำลายนั้นได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2481 มาตรา 15 คำขอเช่นว่านี้เป็น คำขอทางอาญา หาใช่คำขอทางแพ่งไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายเก่าบังคับคดีเมื่อกฎหมายใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย และคำขอให้ทำลายต้นยางเป็นคำขอทางอาญา
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรค 1 วางหลักให้พิจารณาความผิดของจำเลยและลงโทษตามกฎหมายในขณะที่จำเลยกระทำการอันถูกกล่าวหานั้นและแม้ว่าได้มีการยกเลิกกฎหมายนั้นเสียแล้วมาตรา 2 วรรค 2 และมาตรา 3 ก็ให้พิจารณาใช้กฎหมายใหม่เฉพาะแต่เมื่อเป็นคุณแก่จำเลยเท่านั้น ถ้ากฎหมายใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย ก็ยังใช้กฎหมายเก่าบังคับคดี
อัยการมีอำนาจขอให้ศาลสั่งทำลายต้นยางพาราซึ่งปลูกใหม่โดยมิได้รับอนุญาตและขอให้จำเลยเสียค่าใช้จ่ายในการทำลายนั้นได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2481 มาตรา 15 คำขอเช่นว่านี้เป็นคำขอทางอาญา หาใช่คำขอทางแพ่งไม่
อัยการมีอำนาจขอให้ศาลสั่งทำลายต้นยางพาราซึ่งปลูกใหม่โดยมิได้รับอนุญาตและขอให้จำเลยเสียค่าใช้จ่ายในการทำลายนั้นได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2481 มาตรา 15 คำขอเช่นว่านี้เป็นคำขอทางอาญา หาใช่คำขอทางแพ่งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707-708/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดไถ่สัญญาขายฝาก, สิทธิไถ่ถอน, หนังสือไม่เป็นสัญญาประนีประนอม, ราคาไถ่รวมดอกเบี้ย
สัญญาขายฝากทำเมื่อ 30 กันยายน 2498 กำหนดไถ่ใน 15 เดือนวันสุดท้ายที่จะไถ่ คือ วันที่ 31 ธันวาคม 2499 แต่วันนั้นและวันที่ 1-2 มกราคม 2500 เป็นวันหยุดราชการ ผู้ขายฝากจึงมีสิทธิขอไถ่ได้ในวันที่ 3มกราคม 2500 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161
ผู้ขายฝากพร้อมที่จะไถ่ได้ในกำหนดแล้วผู้ซื้อฝากบิดพลิ้วและข่มขู่ให้ผู้ขายฝากทำหนังสือขึ้นว่าสัญญาขายฝากหมดกำหนดไถ่ถอนแล้วและทรัพย์หลุดเป็นสิทธิแล้ว ซึ่งไม่ตรงกับความจริง ดังนี้ หนังสือนั้นไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ว่า ผู้ขายสละสิทธิไถ่ถอนและไม่ทำให้ผู้ขายฝากหมดสิทธิไถ่ถอน
ขายฝากกัน 7 แสนบาท. แต่ระบุในสัญญาเป็น 868,000 บาท โดยผู้ซื้อฝากคิดเอาผลประโยชน์อีกร้อยละ 2 ต่อเดือน ใน 1 ปีนั้นย่อมทำได้และเป็นสินไถ่ตาม มาตรา499 ผู้ขายฝากต้องไถ่ในราคานี้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
ผู้ขายฝากพร้อมที่จะไถ่ได้ในกำหนดแล้วผู้ซื้อฝากบิดพลิ้วและข่มขู่ให้ผู้ขายฝากทำหนังสือขึ้นว่าสัญญาขายฝากหมดกำหนดไถ่ถอนแล้วและทรัพย์หลุดเป็นสิทธิแล้ว ซึ่งไม่ตรงกับความจริง ดังนี้ หนังสือนั้นไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ว่า ผู้ขายสละสิทธิไถ่ถอนและไม่ทำให้ผู้ขายฝากหมดสิทธิไถ่ถอน
ขายฝากกัน 7 แสนบาท. แต่ระบุในสัญญาเป็น 868,000 บาท โดยผู้ซื้อฝากคิดเอาผลประโยชน์อีกร้อยละ 2 ต่อเดือน ใน 1 ปีนั้นย่อมทำได้และเป็นสินไถ่ตาม มาตรา499 ผู้ขายฝากต้องไถ่ในราคานี้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707-708/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ฝากหลังกำหนด-ข่มขู่-ดอกเบี้ยสัญญาขายฝาก: ศาลฎีกาชี้ขาดสิทธิไถ่แม้หลังกำหนด, การข่มขู่ไม่ทำให้สิทธิสูญ, ดอกเบี้ยสัญญาขายฝากชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาขายฝากทำเมื่อ 30 กันยายน 2498 กำหนดไถ่ใน 15 เดือน วันสุดท้ายที่จะไถ่ได้คือวันที่ 31 ธันวาคม 2499 แต่วันนั้นและวันที่ 1 - 2 มกราคม 2500 เป็นวันหยุดราชการ ผู้ขายฝากจึงมีสิทธิขอไถ่ได้ในวันที่ 3 มกราคม 2500 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161
ผู้ขายฝากพร้อมที่จะไถ่ได้ในกำหนดแล้ว ผู้ซื้อฝากบิดพลิ้วและข่มขู่ให้ผู้ขายฝากทำหนังสือขึ้นว่าสัญญาขายฝากหมดกำหนดไถ่ถอนแล้ว และทรัพย์หลุดเป็นสิทธิแล้ว ซึ่งไม่ตรงกับความจริง นั้น หนังสือนั้นไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความว่าผู้ขายฝากสละสิทธิไถ่ถอน และไม่ทำให้ผู้ขายฝากหมดสิทธิไถ่ถอน
ขายฝากกัน 7 แสนบาท แต่ระบุในสัญญาเป็น 868,000 บาท โดยผู้ซื้อฝากคิดเอาผลประโยชน์อีกร้อยละ 2 ต่อเดือน ใน 1 ปี นั้น ย่อมทำได้ และเป็นสินไถ่ตามมาตรา 499 ที่ผู้ขายฝากต้องไถ่ในราคานี้ ไม่ฝ่าฝืนความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
ผู้ขายฝากพร้อมที่จะไถ่ได้ในกำหนดแล้ว ผู้ซื้อฝากบิดพลิ้วและข่มขู่ให้ผู้ขายฝากทำหนังสือขึ้นว่าสัญญาขายฝากหมดกำหนดไถ่ถอนแล้ว และทรัพย์หลุดเป็นสิทธิแล้ว ซึ่งไม่ตรงกับความจริง นั้น หนังสือนั้นไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความว่าผู้ขายฝากสละสิทธิไถ่ถอน และไม่ทำให้ผู้ขายฝากหมดสิทธิไถ่ถอน
ขายฝากกัน 7 แสนบาท แต่ระบุในสัญญาเป็น 868,000 บาท โดยผู้ซื้อฝากคิดเอาผลประโยชน์อีกร้อยละ 2 ต่อเดือน ใน 1 ปี นั้น ย่อมทำได้ และเป็นสินไถ่ตามมาตรา 499 ที่ผู้ขายฝากต้องไถ่ในราคานี้ ไม่ฝ่าฝืนความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงาน: การใส่ความต่อบุคคลที่ 3 และการดูหมิ่นผู้พิพากษา
หนังสือใส่ความผู้อื่นนั้น แม้จะส่งไปถึงนายกรัฐมนตรี เพียงคนเดียว ก็ถือว่าใส่ความต่อบุคคลที่ 3 ตามมาตรา 326 แห่ง ประมวลกฎหมายอาญา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา และได้ร่วมเป็นองค์คณะตัดสินคดีที่ทำให้จำเลยแพ้และจำเลยได้กล่าวข้อความซึ่งเป็นการดูหมิ่น โจทก์ในฐานะที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา ย่อมเป็นความผิดต่อมาตรา 198ประมวลกฎหมายอาญา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา และได้ร่วมเป็นองค์คณะตัดสินคดีที่ทำให้จำเลยแพ้และจำเลยได้กล่าวข้อความซึ่งเป็นการดูหมิ่น โจทก์ในฐานะที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา ย่อมเป็นความผิดต่อมาตรา 198ประมวลกฎหมายอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใส่ความหมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงานในหน้าที่ แม้ส่งถึงบุคคลที่สามก็มีความผิดตามกฎหมาย
หนังสือใส่ความผู้อื่นนั้นแม้จะส่งไปถึงนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวก็ถือว่าใส่ความต่อบุคคลที่ 3 ตามมาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาและได้ร่วมเป็นองค์คณะตัดสินคดีที่ทำให้จำเลยแพ้ และจำเลยได้กล่าวข้อความซึ่งเป็นการดูหมิ่นโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาย่อมเป็นความผิดต่อมาตรา 198ประมวลกฎหมายอาญา
เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาและได้ร่วมเป็นองค์คณะตัดสินคดีที่ทำให้จำเลยแพ้ และจำเลยได้กล่าวข้อความซึ่งเป็นการดูหมิ่นโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาย่อมเป็นความผิดต่อมาตรา 198ประมวลกฎหมายอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการชำระหนี้จากการกู้ยืมเงิน ไม่จำเป็นต้องเป็นใบรับเงินโดยเฉพาะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรค 2 มิได้บังคับว่าจะต้องมีใบรับเงินมาแสดง
เอกสารมีความว่า เรียนครูที่เคารพนับถืออันสูง กระผมได้ฝากนมมาให้ 1 โหล ราคา 44 บาท โปรดทราบเงินฝากไป 9,400 บาท กระผมได้รับและลงบัญชีไว้เรียบร้อยแล้ว ท้ายข้อความเป็นคำลงท้ายของหนังสือ วันเดือนปี และเซ็นชื่อโจทก์ ดังนี้เห็นได้ว่า เป็นจดหมายธุรกิจ เลยกล่าวถึงเงินที่จำเลยฝากไปให้โจทก์แล้วด้วย ไม่มีลักษณะเป็นใบรับเงินโดยเฉพาะ และตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 105 การรับเงินเช่นนี้ (ลูกหนี้ฝากเงินมาชำระหนี้เงินกู้) ก็มิได้บังคับว่าจะต้องออกใบรับเงินประการใดหนังสือฉบับนี้เป็นหลักฐานตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา653 บังคับไว้เท่านั้น แม้จะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็ฟังเป็นหลักฐานประกอบข้อเท็จจริงได้ว่า จำเลยได้ชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว
เอกสารมีความว่า เรียนครูที่เคารพนับถืออันสูง กระผมได้ฝากนมมาให้ 1 โหล ราคา 44 บาท โปรดทราบเงินฝากไป 9,400 บาท กระผมได้รับและลงบัญชีไว้เรียบร้อยแล้ว ท้ายข้อความเป็นคำลงท้ายของหนังสือ วันเดือนปี และเซ็นชื่อโจทก์ ดังนี้เห็นได้ว่า เป็นจดหมายธุรกิจ เลยกล่าวถึงเงินที่จำเลยฝากไปให้โจทก์แล้วด้วย ไม่มีลักษณะเป็นใบรับเงินโดยเฉพาะ และตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 105 การรับเงินเช่นนี้ (ลูกหนี้ฝากเงินมาชำระหนี้เงินกู้) ก็มิได้บังคับว่าจะต้องออกใบรับเงินประการใดหนังสือฉบับนี้เป็นหลักฐานตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา653 บังคับไว้เท่านั้น แม้จะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็ฟังเป็นหลักฐานประกอบข้อเท็จจริงได้ว่า จำเลยได้ชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการชำระหนี้: จดหมายยืนยันการรับเงินใช้ได้ แม้ไม่ใช่ใบรับเงินโดยเฉพาะ
เอกสารมีความว่า'เรียนครูที่เคารพนับถืออันสูง กระผมได้ฝากนมมาให้ 1 โหล ราคา 44 บาทโปรดทราบเงินฝากไป 9,400 บาท กระผมได้รับและลงบัญชีไว้เรียบร้อยแล้ว' ท้ายข้อความเป็นคำลงท้ายของหนังสือ วัน เดือน ปี และเซ็นชื่อโจทก์ ดังนี้ เห็นได้ว่าเป็นจดหมายธุรกิจกล่าวถึงเงินที่จำเลยฝากไปให้โจทก์แล้วด้วยไม่มีลักษณะเป็นใบรับเงินโดยเฉพาะซึ่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา 105 การรับเงินเช่นนี้ก็มิได้บังคับว่าจะต้องออกใบรับเงินประการใด หนังสือฉบับนี้เป็นหลักฐานตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 บังคับไว้เท่านั้น แม้จะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ ก็ฟังเป็นหลักฐานประกอบข้อเท็จจริงได้ว่า จำเลยได้ชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรมเป็นโมฆะ การฟ้องแบ่งมรดกมีผลเพิกถอนการจดทะเบียนรับมรดก
การสละมรดกก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรมย่อมเสียไปและไม่มีทางแสดงเจตนาให้สัญญานั้นกลับมีผลขึ้นได้อีกอย่างไรฉะนั้น ถ้าเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว ทายาทยังมีความตั้งใจสละมรดกอยู่เช่นเดิม ก็ต้องมีการแสดงเจตนาใหม่ให้ถูกต้องอีกชั้นหนึ่ง
โจทก์และจำเลยต่างเป็นทายาท เมื่อจำเลยไม่ยอมแบ่งที่พิพาทให้ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกให้แบ่งได้และมีผลเท่ากับขอเพิกถอนการจดทะเบียนรับมรดกของจำเลยอยู่ในตัว โดยโจทก์ไม่จำต้องขอให้เพิกถอนทะเบียนอย่างใด
โจทก์และจำเลยต่างเป็นทายาท เมื่อจำเลยไม่ยอมแบ่งที่พิพาทให้ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกให้แบ่งได้และมีผลเท่ากับขอเพิกถอนการจดทะเบียนรับมรดกของจำเลยอยู่ในตัว โดยโจทก์ไม่จำต้องขอให้เพิกถอนทะเบียนอย่างใด