พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1568/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความครอบครองปรปักษ์: ผลของการตกลงไม่สืบพยานหลักฐานเพิ่มเติม
คู่ความพิพาทกันเรื่องที่ดิน ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จและสืบพยานจำเลยได้ 3 ปาก คู่ความท้าและรับกันว่า 1. โจทก์รับว่าที่พิพาทเป็นที่มือเปล่า 2. โจทก์รับว่าจำเลยเข้าแย่งการครอบครองที่พิพาทมา 2-3 ปีแล้ว จำเลยก็รับว่าโจทก์แย่งการครอบครองที่พิพาทมา 2-3 ปีแล้ว และ 3. โจทก์จำเลยขอให้ศาลวินิจฉัยข้อเดียวว่า คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายไม่ติดในให้วินิจฉัยคำพยานที่นำสืบมาแล้ว ดังนี้ตามคำรับข้อ 1,2 ไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ และผลของคำท้าข้อ 3 ตกเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบว่าฟ้องของโจทก์ไม่ขาดอายุความ เมื่อโจทก์ตกลงกับจำเลยไม่ติดใจให้วินิจฉัยคำพยานที่นำสืบกันแล้ว ทั้งไม่สืบพยานกันต่อไป ก็เท่ากับโจทก์ไม่มีพยานนำสืบ โจทก์ต้องแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1556/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกฟ้องคดีอาญาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและการวินิจฉัยข้อเท็จจริง ไม่ใช่ข้อกฎหมาย
มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ หมายถึงการที่ศาลพิพากษายกฟ้องเพราะคดีไม่มีมูลด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1556/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มาตรา 22 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง: เหตุยกฟ้องคดีไม่มีมูล
มาตรา 22 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯลฯ หมายถึงการที่ศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะคดีไม่มีมูลด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าภาคหลวงป่าไม้: อำนาจรัฐในการออกกฎหมายกำหนดอัตราเหนือกว่าข้อตกลงในสัมปทาน
เงินตามอัตราที่เรียกเก็บตามสัมปทานนั้น คือ ภาษีส่วยสาอากรซึ่งผู้รับสัมปทานจะต้องเสียให้แก่รัฐเพื่อตอบแทนการให้อนุญาตตามสัมปทาน
การเรียกเก็บค่าภาคหลวง แม้แต่เดิมมาจะใช้วิธีกำหนดให้ผู้รับสัมปทานสัญญาไว้ในสัมปทานก็ดี แต่เมื่อมีพระราชบัญญัติป่าไม้ใช้บังคับแล้ว ก็เปลี่ยนมาเป็นการเรียกเก็บโดยอำนาจกฎหมายโดยตรง ฉะนั้น เมื่อมีกฎหมายให้เรียกเก็บในอัตราใดอย่างใดแล้ว ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น
ค่าภาคหลวงนั้น เมื่อกฎหมายให้อำนาจรัฐมนตรีกำหนดเป็นท้องที่ได้แล้ว รัฐมนตรีจะกำหนดในคราวเดียวกันให้ใช้อัตรานั้นทั่วทุกท้องที่ในราชอาณาจักรก็ย่อมทำได้ไม่เป็นการเกินอำนาจแต่อย่างใด
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33/2504)
การเรียกเก็บค่าภาคหลวง แม้แต่เดิมมาจะใช้วิธีกำหนดให้ผู้รับสัมปทานสัญญาไว้ในสัมปทานก็ดี แต่เมื่อมีพระราชบัญญัติป่าไม้ใช้บังคับแล้ว ก็เปลี่ยนมาเป็นการเรียกเก็บโดยอำนาจกฎหมายโดยตรง ฉะนั้น เมื่อมีกฎหมายให้เรียกเก็บในอัตราใดอย่างใดแล้ว ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น
ค่าภาคหลวงนั้น เมื่อกฎหมายให้อำนาจรัฐมนตรีกำหนดเป็นท้องที่ได้แล้ว รัฐมนตรีจะกำหนดในคราวเดียวกันให้ใช้อัตรานั้นทั่วทุกท้องที่ในราชอาณาจักรก็ย่อมทำได้ไม่เป็นการเกินอำนาจแต่อย่างใด
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราค่าภาคหลวงตามสัมปทานและกฎหมาย: อำนาจรัฐมนตรีในการกำหนดอัตราทั่วราชอาณาจักร
เงินตามอัตราที่เรียกเก็บตามสัมปทานนั้น คือภาษีส่วยสาอากรซึ่งผู้รับสัมปทานจะต้องเสียแก่รัฐเพื่อตอบแทนการให้อนุญาต
การเรียกเก็บค่าภาคหลวง แม้แต่เดิมมาจะใช้วิธีกำหนดให้ผู้รับสัมปทานสัญญาไว้ในสัมปทานก็ดี แต่เมื่อมีพระราชบัญญัติป่าไม้ออกใช้บังคับแล้วก็เปลี่ยนมาเป็นการเรียกเก็บโดยอำนาจกฎหมายโดยตรง ฉะนั้น เมื่อมีกฎหมายให้เรียกเก็บในอัตราใดอย่างใดแล้ว ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น
ค่าภาคหลวงนั้น เมื่อกฎหมายให้อำนาจรัฐมนตรีกำหนดเป็นท้องที่ได้แล้ว รัฐมนตรีจะกำหนดในคราวเดียวกัน ให้ใช้อัตรานั้นทั่วทุกท้องที่ในราชอาณาจักรก็ย่อมทำได้ ไม่เป็นการเกินอำนาจแต่อย่างใด
การเรียกเก็บค่าภาคหลวง แม้แต่เดิมมาจะใช้วิธีกำหนดให้ผู้รับสัมปทานสัญญาไว้ในสัมปทานก็ดี แต่เมื่อมีพระราชบัญญัติป่าไม้ออกใช้บังคับแล้วก็เปลี่ยนมาเป็นการเรียกเก็บโดยอำนาจกฎหมายโดยตรง ฉะนั้น เมื่อมีกฎหมายให้เรียกเก็บในอัตราใดอย่างใดแล้ว ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น
ค่าภาคหลวงนั้น เมื่อกฎหมายให้อำนาจรัฐมนตรีกำหนดเป็นท้องที่ได้แล้ว รัฐมนตรีจะกำหนดในคราวเดียวกัน ให้ใช้อัตรานั้นทั่วทุกท้องที่ในราชอาณาจักรก็ย่อมทำได้ ไม่เป็นการเกินอำนาจแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้เช่า: ผู้เช่ามีสิทธิร้องทุกข์ได้
ตามบทบัญญัติมาตรา 362 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยความผิดฐานบุกรุกนั้น มีความหมายเป็นสองตอน ตอนแรกรบกวนกรรมสิทธิ์ ตอนที่สองรบกวนสิทธิครอบครอง ฉะนั้นจึงหมายรวมถึงการกระทำอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เช่าโดยปกติสุขด้วย เพราะผู้เช่าก็เป็นผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่เช่า จึงเป็นผู้เสียหายที่จะร้องทุกข์ให้นำคดีขึ้นว่ากล่าวเอาโทษแก่ผู้บุกรุกได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานบุกรุกตาม ม.362 อาญา ครอบคลุมการรบกวนการครอบครองของผู้เช่าได้ ผู้เช่ามีสิทธิร้องทุกข์
ตามบทบัญญัติมาตรา 362 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยความผิดฐานบุกรุก นั้น มีความหมายเป็นสองตอน ตอนแรกรบกวนกรรมสิทธิ์ ตอนที่สองรบกวนสิทธิครอบครอง ฉะนั้น จึงหมายรวมถึงการกระทำอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เช่าโดยปกติสุขด้วย เพราะผู้เช่าก็เป็นผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่เช่า จึงเป็นผู้เสียหายที่จะร้องทุกข์ให้นำคดีขึ้นว่ากล่าว เอาโทษแก่ผู้บุกรุกได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2504)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินที่มีผู้เช่า การโอนสิทธิและหน้าที่ไม่ต้องแจ้งผู้เช่า
การโอนทรัพย์สินที่มีคนเช่าไปยังบุคคลอื่นนั้น ไม่ใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 หากเป็นกรณีที่ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 ซึ่งผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ ผู้รับโอนจึงไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบการโอนเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306
(นัยฎีกา 516 ถึง 520/2498)
หากข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัยนั้นผิดพลาด เป็นเหตุให้ฟังข้อเท็จจริงผิด ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้นได้
(นัยฎีกา 516 ถึง 520/2498)
หากข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัยนั้นผิดพลาด เป็นเหตุให้ฟังข้อเท็จจริงผิด ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินมีผู้เช่า: ไม่เป็นการโอนหนี้ตาม ม.306 แต่เป็นไปตาม ม.569 ผู้รับโอนไม่ต้องแจ้งผู้เช่า
การโอนทรัพย์สินที่มีคนเช่าไปยังบุคคลอื่นนั้น ไม่ใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 306 หากเป็นกรณีที่ต้องบังคับตามมาตรา 569 ซึ่งผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ ผู้รับโอนจึงไม่จำต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบการโอนเป็นหนังสือตามมาตรา 306
หากข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัยผิดพลาดเป็นเหตุให้ฟังข้อเท็จจริงผิดไป ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีไปตามนั้นได้
หากข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัยผิดพลาดเป็นเหตุให้ฟังข้อเท็จจริงผิดไป ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีไปตามนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน แม้โจทก์ถึงแก่กรรม ก็ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีได้
คดีความผิดอาญาแผ่นดินที่ราษฎรเป็นโจทก์ จำเลยฎีกา ส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ไม่ได้ เพราะโจทก์ถึงแก่กรรม นั้นก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินคดีต่อไป ถือได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องร้องแทนแผ่นดิน ฉะนั้น ศาลฎีกาจึงทำการพิจารณาพิพากษาต่อไปได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2504)