คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรรถไพศาลศรุดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายภารจำยอมในชั้นบังคับคดี: จำเลยมิอาจยกข้ออ้างใหม่ได้หากก่อให้เกิดประเด็นต้องสืบพยานเพิ่มเติม
จำเลยจะยกสิทธิขอให้ย้ายภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 3192 ขึ้นอ้างในชั้นบังคับคดีไม่ได้ เพราะเป็นการก่อให้เกิดประเด็นขึ้นใหม่ว่า การย้ายต้องไม่ทำให้ความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์ลดน้อยลง ซึ่งศาลจะต้องพิจารณาสืบพยานหลักฐานชี้ขาด ถ้าโจทก์ไม่ตกลงยินยอมในการย้าย จำเลยก็ต้องไปฟ้องเป็นคดีต่างหาก
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้ออ้างการย้ายภารจำยอมในชั้นบังคับคดีเป็นประเด็นใหม่ ต้องฟ้องเป็นคดีต่างหาก
เมื่อศาลพิพากษาให้ที่ดินของจำเลยตกอยู่ในภารจำยอมแล้วจำเลยจะยกสิทธิขอให้ย้ายภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 ขึ้นอ้างในชั้นบังคับคดีไม่ได้ เพราะเป็นการก่อให้เกิดประเด็นขึ้นใหม่ว่า การย้ายต้องไม่ทำให้ความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์น้อยลง ซึ่งศาลจะต้องพิจารณาสืบพยานหลักฐานชี้ขาด ฉะนั้นถ้าโจทก์ไม่ตกลงยินยอมในการย้าย จำเลยก็ต้องไปฟ้องเป็นคดีต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มาตรา 90 ป.วิ.อ. คุ้มครองสิทธิบุคคลจากการถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมาย ไม่จำกัดเฉพาะเจ้าพนักงาน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 เป็นบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล หาใช่บทบัญญัติลงโทษการกระทำผิดไม่ ฉะนั้น เมื่อคำร้องของผู้ร้องบรรยายข้อความเข้าดังบัญญัติไว้ในมาตรา 90 แล้ว ศาลก็ชอบที่จะยกมาตรานี้ขึ้นพิจารณาและปรับกับกรณีได้
คำว่า "ควบคุม" หรือ "ขัง" ในมาตรา 90 นี้ เป็นถ้อยคำที่ใช้ตามความหมายธรรมดา หาใช่จำกัดดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(21) และ (22) อธิบายไว้ไม่ ฉะนั้น มาตรา 90 จึงเป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่บุคคลต้องถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมหรือขังโดยเจ้าพนักงานหรือคนธรรมดาก็ตาม
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มาตรา 90 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความอาญา: การคุ้มครองสิทธิบุคคลที่ถูกควบคุมหรือขังโดยมิชอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 เป็นบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล หาใช่บทบัญญัติลงโทษการกระทำผิดไม่ ฉะนั้น เมื่อคำร้องของผู้ร้องบรรยายข้อความมา เข้าดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 90 แล้ว ศาลก็ชอบที่จะยกมาตรานี้ขึ้นพิจารณาและปรับกับกรณีได้
คำว่า "ควบคุม" หรือ "ขัง" ในมาตรา 90 นี้ เป็นถ้อยคำที่ใช้ตามความหมายธรรมดา หาใช่จำกัดดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(21)(22) อธิบายไว้ไม่ฉะนั้นมาตรา 90 จึงเป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่บุคคลต้องถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมหรือขังโดยเจ้าพนักงานหรือคนธรรมดาก็ตาม
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลว่า ภรรยาผู้ร้องถูกคนร้ายสมคบกันฉุดคร่าไปเพื่อการอนาจารและข่มขืนชำเราต่อมาผู้ร้องสืบทราบว่าคนร้ายได้นำภรรยาผู้ร้องไปหน่วงเหนี่ยวกักขังอยู่ที่บ้านผู้มีชื่อ จึงขอให้ศาลออกหมายค้นบ้านผู้มีชื่อนั้นเพื่อพบและช่วยภรรยาผู้ร้องซึ่งถูกกักขังไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา58(3),69(3) นั้น ถือได้ว่าผู้ร้องได้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาต่อลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน, การใช้ดุลยพินิจเรื่องเบี้ยปรับ
โจทก์ฟ้องลูกหนี้กับผู้ค้ำประกันให้รับผิดตามสัญญาผู้ค้ำประกันผู้เดียวฎีกา เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้เป็นคุณแก่ผู้ค้ำประกัน คำพิพากษานั้นย่อมมีผลเป็นคุณแก่ลูกหนี้ด้วย
ข้อกำหนดเบี้ยปรับตามสัญญา อยู่ในอำนาจศาลจะพิจารณาให้ตามสัญญาหรือตามที่ศาลเห็นสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการลดค่าปรับตามสัญญา แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ และผลกระทบต่อลูกหนี้ผู้ไม่ฎีกา
ข้อกำหนดเบี้ยปรับตามสัญญา อยู่ในอำนาจศาลจะพิจารณาให้ตามสัญญาหรือตามที่ศาลเห็นสมควรได้ ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ เมื่อจำเลยอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งมา ศาลฎีการับพิจารณาให้ได้
โจทก์ฟ้องลูกหนี้กับผู้ค้ำประกันให้รับผิดตามสัญญา ผู้ค้ำประกันผู้เดียวฎีกาเมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้เป็นคุณแก่ผู้ค้ำประกัน คำพิพากษานั้นย่อมมีผลเป็นคุณแก่ลูกหนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสัญชาติและการเนรเทศ: คำสั่งเนรเทศชอบด้วยกฎหมายแม้ภายหลังมีการแก้ไขกฎหมายสัญชาติ
โจทก์เกิดในประเทศไทย บิดาเป็นคนต่างด้าวและโจทก์ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ต่อมาจำเลยสั่งเนรเทศโจทก์ก่อนพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2499 มาตรา 7 ใช้บังคับ คำสั่งเนรเทศดังกล่าวย่อมเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
ก่อนมีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) ให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุคคลมีสัญชาติไทย ซึ่งขณะฟ้องโจทก์ยังคงเป็นบุคคลขาดสัญชาติไทยอยู่ แม้ว่าต่อมาได้มีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2499 มาตรา 7 ใช้บังคับแล้วก็ดีปัญหาที่ว่า โจทก์จะได้สัญชาติไทยกลับคืนมาหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ซึ่งโจทก์ฟ้องเพื่อขอแสดงว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยเพื่อจะให้ยกเลิกคำสั่งเนรเทศเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสัญชาติไทยและการเนรเทศ: คำสั่งเนรเทศชอบด้วยกฎหมายแม้ภายหลังมีกฎหมายใหม่ให้สัญชาติคืน
โจทก์เกิดในประเทศไทย บิดาเป็นคนต่างด้าวและโจทก์ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ต่อมาจำเลยสั่งเนรเทศโจทก์ก่อนพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 7 ใช้บังคับ คำสั่งเนรเทศดังกล่าวย่อมเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
ก่อนมีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 7 ใช้บังคับ โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุคคลมีสัญชาติไทยซึ่งขณะฟ้องโจทก์ยังคงเป็นบุคคลขาดสัญชาติไทยอยู่ แม้ว่าต่อมาได้มีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 7 ใช้บังคับแล้วก็ดีปัญหาที่ว่า โจทก์จะได้สัญชาติไทยกลับคืนมาหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ซึ่งโจทก์ฟ้องเพื่อขอแสดงว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยเพื่อจะให้ยกเลิกคำสั่งเนรเทศเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจในการยิงผู้ต้องสงสัยกบฎ ไม่เข้าข่ายได้รับการยกเว้นโทษตาม พ.ร.บ.นิรโทษกรรม
เมื่อปรากฎว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจยิงผู้ตายซึ่งถูกสงสัยว่าจะมีส่วนร่วมกับการกบฎยึดวังหลวง (26 กุมภาพันธ์ 2492) ขณะอยู่กับบ้านตามปกติ ไม่มีพฤติการณ์แสดงว่าผู้ตายต่อสู้ขัดขวางการตรวจค้รและการเชิญไปสอบสวนแล้วก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำอันเกี่ยวเนื่องจากการป้องกัน ระงับหรือปราบปราบการกบฎ อันจะได้รับยกเว้นโทษตามพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาส 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตำรวจยิงผู้ต้องสงสัยกบฎ: ไม่ได้รับยกเว้นโทษฐานฆ่าคนตาย
เจ้าพนักงานตำรวจยิงผู้ตาย ซึ่งถูกสงสัยว่าจะมีส่วนร่วมกับการกบฎยึดวังหลวง (26 ก.พ. 2492) ขณะอยู่กับบ้านตามปกติ ไม่มีพฤติการณ์แสดงว่าผู้ตายต่อสู้ขัดขวางการตรวจค้น และการเชิญไปสอบสวนแล้ว ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำอันเกี่ยวเนื่องจากการป้องกัน ระงับหรือปราบปรามการกบฎอันจะได้รับยกเว้นโทษตาม พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาส 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499มาตรา 4 ตำรวจผู้ยิงผู้ตายตายย่อมมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
of 28