คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรรถไพศาลศรุดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินรวม: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทั้งแปลง หากเจ้าของร่วมไม่ตกลงแบ่งแยกก่อน
การยึดที่ดินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษากับผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์รวมโดยยังมิได้แบ่งกันเป็นส่วนสัดนั้น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิยึดได้ทั้งแปลง และศาลย่อมจะให้ขายได้ทั้งแปลง เว้นแต่จะตกลงยินยอมกันให้ขายเฉพาะส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ เพราะแม้แต่ในระหว่างเจ้าของรวมด้วยกันเอง เมื่อไม่ตกลงแบ่งกันเองได้ ก็ต้องขายทั้งแปลงเช่นเดียวกัน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364) ฉะนั้น เจ้าของรวมจะยื่นคำร้องขอให้งดการขายเพื่อไปแบ่งแยกกันเองเสียก่อน หรือขอให้ขายเฉพาะส่วนของลูกหนี้ไม่ได้ ในเมื่อโจทก์ยืนยันขอให้ขายทั้งแปลง
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดที่ดินกรรมสิทธิ์รวม: ศาลมีสิทธิขายทั้งแปลงหากไม่ตกลงแบ่ง
การยึดที่ดินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษากับผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์รวม โดยยังมิได้แบ่งกันเป็นส่วนสัดนั้น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิยึดได้ทั้งแปลงและศาลย่อมจะขายได้ทั้งแปลง เว้นแต่จะตกลงยินยอมกันให้ขายเฉพาะส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ เพราะแม้แต่ในระหว่างเจ้าของรวมด้วยกันเองเมื่อไม่ตกลงแบ่งกันเองได้ ก็ต้องขายทั้งแปลงเช่นเดียวกัน (ป.พ.พ. มาตรา 1364)
ฉะนั้นเจ้าของรวมจะยื่นคำร้องขอให้งดการขาย เพื่อไปแบ่งแยกกันเองเสียก่อน หรือขอให้ขายเฉพาะส่วนของลูกหนี้ไม่ได้ ในเมื่อโจทก์ยืนยันขอให้ขายทั้งแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ของผู้ไม่เป็นคู่ความ: การยกประเด็นใหม่ในชั้นอุทธรณ์ขัดต่อหลักวิธีพิจารณา
โจทก์จำเลยทำสัญญายอมความต่อศาลว่า จำเลยยอมไปทำนิติกรรมโอนที่นาให้โจทก์ ศาลพิพากษาให้เป็นไปตามยอมแล้ว ผู้เป็นเจ้าของร่วมในที่นาที่จำเลยทำยอมโอนให้โจทก์ จะร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ในอายุความอุทธรณ์ เพื่อขอทำลายสัญญายอมความระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวไม่ได้ เพราะเหตุที่ผู้ร้องสอดยกขึ้นอุทธรณ์เป็นการตั้งประเด็นใหม่ ไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้นจึงขัดกับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดในชั้นอุทธรณ์ฎีกาต้องเป็นประเด็นที่เคยยกขึ้นในศาลชั้นต้น การตั้งประเด็นใหม่ทำไม่ได้
มีส่วนได้เสียเพราะเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์ที่จำเลยทำยอมความโอนให้โจทก์ไปและศาลได้พิพากษาตามยอมแล้ว ดังนี้ จะร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์และฎีกาในอายุความอุทธรณ์ฎีกาเพื่อทำลายสัญญายอมความไม่ได้ เพราะเหตุที่ผู้ร้องยกขึ้นอุทธรณ์เป็นการตั้งประเด็นใหม่ ไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้น จึงขัดกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักวันต้องขังจากกรณีควบคุมตัวตามประกาศคณะปฏิวัติไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีปัจจุบัน
การที่จำเลยถูกควบคุมในข้อหาประพฤติตนเป็นคนอันธพาลตามประกาศหัวหน้าคณะปฏิวัติ แต่ไม่ถูกควบคุมในคดีที่ศาลพิจารณาพิพากษานั้น จะเอาวันต้องถูกควบคุมฐานเป็นอันธพาลมาหักไม่ได้ เพราะกรณีไม่เข้าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักวันต้องขังจากกรณีถูกควบคุมตัวในข้อหาอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีที่ศาลพิจารณา
การที่จำเลยถูกควบคุมในข้อหาประพฤติตนเป็นคนอันธพาลตามประกาศหัวหน้าคณะปฏิวัติ แต่ไม่ถูกควบคุมในคดีที่ศาลพิจารณาพิพากษานั้น จะเอาวันต้องถูกควบคุมฐานเป็นอันธพาลมาหักไม่ได้ เพราะกรณีไม่เข้าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดใหม่ แม้มีคำพิพากษาบังคับคดีเดิม ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอให้เปิดเหมืองและใช้ค่าเสียหาย ศาลพิพากษาให้จำเลยเปิดเหมือง ส่วนค่าเสียหายให้ยก และศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว จำเลยเปิดเหมืองพอเป็นพิธีได้เดือนเศษก็ปิดเหมืองอีก เป็นเหตุให้น้ำท่วมนาโจทก์เสียหาย ดังนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 แม้รูปคดีเช่นนี้ได้มีคำพิพากษาฎีกาที่ 921/2503 ตัดสินว่าโจทก์ร้องขอให้บังคับจำเลยในคดีเดิมได้ ก็หมายความเพียงว่า เมื่อเห็นได้ว่าจำเลยหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงร้องขอให้บังคับในคดีเดิมได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า เมื่อจำเลยกระทำละเมิดใหม่แล้ว โจทก์จะฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดเหมืองไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษา ศาลอนุญาตให้ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอให้เปิดเหมืองและใช้ค่าเสียหาย ศาลพิพากษาให้จำเลยเปิดเหมือง ส่วนค่าเสียหายให้ยกและศาลได้ออกหมายบังคับคดีไปแล้ว จำเลยเปิดเหมืองพอเป็นพิธีได้เดือนเศษก็ปิดเหมืองอีก ดังนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยึดของเจ้าพนักงานและสิทธิเรียกร้องคืนทรัพย์สินที่ถูกยึดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 24 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2497 มาตรา 3 นั้น ประสงค์แต่เพียงแก้ไขเพื่อกำหนดว่าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยทั่วไปก็มีอำนาจทำการยึดได้เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่วิเคราะห์ศัพท์ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเกินกรอบข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในกรณีที่ศาลแขวงวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้กระทำการเรี่ยไรตามฟ้อง จึงพิพากษายกฟ้องและสั่งไม่ริบเงินของกลางโดยไม่ฟังว่าได้มาจากการทำผิดนั้น โจทก์อุทธรณืเฉพาะให้ริบเงินของกลาง ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ให้ริบเงินของกลางโดยถือว่าเป็นของได้มาจากการทำผิดไม่ได้เพราะเท่ากับเป็นการฟังข้อเท็จจริงใหม่ ผิดจากที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194
of 28