พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนทรัพย์ที่ได้จากการปล้นทรัพย์ ศาลพิจารณาจากคำขอท้ายฟ้องที่รวมราคาทรัพย์ทั้งหมด แม้จำเลยบางส่วนได้รับการยกฟ้อง
โจรปล้นทรัพย์เงิน 11,962 บาท อาวุธปืนและทรัพย์อย่างอื่นรวมราคา 32,582 บาท จับคนร้ายได้ 2 คน ได้เงิน 5,233 บาทจากจำเลยที่ 1 และได้อาวุธปืน 1 กระบอกจากจำเลยที่ 2 โจทก์ขอให้ศาลสั่งคืนเงิน 5,233 บาท และอาวุธปืนที่จับได้จากจำเลยทั้งสองแก่เจ้าทรัพย์ และให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืน 24,849 บาท แก่เจ้าทรัพย์ ศาลยกฟ้องจำเลยที่ 1 คืนเงิน 5,233 บาทแก่จำเลยที่ 1 ไป เมื่อเงินจำนวน 5,233 บาทที่จับได้จากจำเลยที่ 1 จะเอามาคืนหรือใช้ให้แก่เจ้าทรัพย์ไม่ได้เพราะศาลยกฟ้องจำเลยที่ 1 และคืนเงินจำนวนนี้ให้จำเลยที่ 1 ไป ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยังต้องคืนหรือใช้เงินจำนวน 5,233 บาทแก่เจ้าทรัพย์ตามความหมายในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ทั้งหมดนั้นด้วย.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2509)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: สิทธิและกระบวนการทางกฎหมาย
เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าสั่งไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพราะเหตุว่าเครื่องหมายนั้นคล้ายกับเครื่องหมายซึ่งผู้อื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน เป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 16 ดังนั้น ถ้าผู้ขอจดทะเบียนไม่พอใจคำสั่งต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายใน 90 วัน ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 16 วรรค 2 จะมาฟ้องนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อศาลไม่ได้
หมายเหตุ เดินตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 470/2509 ซึ่งตัดสินโดยมติที่ประชุมใหญ่.
หมายเหตุ เดินตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 470/2509 ซึ่งตัดสินโดยมติที่ประชุมใหญ่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญา: พิจารณาความผิดเดิมและปัจจุบันเพื่อเลือกโทษที่เหมาะสมตามกฎหมาย
จำเลยเคยต้องโทษจำคุกฐานปล้นทรัพย์ แม้จะเป็นกรณีมีการใช้กำลังประทุษร้ายต่อร่างกายรวมอยู่ด้วย อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์ก็ตาม หากในคดีหลังแม้ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามมาตรา 339 และผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามมาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 อันเป็นความผิดต่อชีวิตก็ตาม ดังนี้ จะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 93 ไม่ได้ ต้องเพิ่มโทษตามมาตรา 92 แม้โจทก์จะขอเพิ่มโทษตามมาตรา 93 ซึ่งเป็นบทหนักมาก็ตาม ศาลก็มีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทเบากว่าได้ ไม่เกินคำขอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยในคดีชิงทรัพย์และพยายามฆ่า โดยพิจารณาจากประวัติเคยต้องโทษปล้นทรัพย์และบทบัญญัติมาตรา 92-93
จำเลยเคยต้องโทษจำคุกฐานปล้นทรัพย์ แม้จะเป็นกรณีมีการใช้กำลังประทุษร้ายต่อร่างกายรวมอยู่ด้วย อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์ก็ตาม หากในคดีหลังแม้ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามมาตรา 339 และผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามมาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 อันเป็นความผิดต่อชีวิตก็ตาม ดังนี้ จะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 93 ไม่ได้ต้องเพิ่มโทษตามมาตรา 92 แม้โจทก์จะขอเพิ่มโทษตามมาตรา 93 ซึ่งเป็นบทหนักมาก็ตาม ศาลก็มีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทเบากว่าได้ ไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยาหลังหย่า: การบังคับคดียึดทรัพย์สินที่แบ่งแล้วเป็นโมฆะ
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาได้มีบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าต้องเป็นหนี้ที่ก่อขึ้นต้องตามที่บัญญัติไว้ 4 ประการ จึงให้ถือว่าเป็นหนี้ร่วมกัน ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในระหว่างที่จำเลยกับผู้ร้องขัดทรัพย์เป็นสามีภริยากันต้องสันนิษฐานว่าจำเลยกู้เงินโจทก์มาเพื่อใช้จ่ายในครอบครัวและเป็นหนี้ร่วมกันอันผู้ร้องขัดทรัพย์จะต้องชำระหนี้ด้วยเลย ดังนั้น เมื่อจำเลยกับผู้ร้องขัดทรัพย์ได้หย่าขาดจากสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย และแบ่งทรัพย์สินกันเสร็จเรียบร้อย โจทก์ก็ไม่มีอำนาจจะยึดห้องแถวอันตกเป็นของผู้ร้องขัดทรัพย์ได้
จำเลยกับผู้ร้องขัดทรัพย์ได้หย่าขาดจากสามีภริยากันโดยจดทะเบียนการหย่าโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมมีผลใช้ยันบุคคลภายนอกได้ด้วย.
จำเลยกับผู้ร้องขัดทรัพย์ได้หย่าขาดจากสามีภริยากันโดยจดทะเบียนการหย่าโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมมีผลใช้ยันบุคคลภายนอกได้ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยาหลังหย่า: การบังคับชำระหนี้ต่อทรัพย์สินส่วนตัว
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาได้มีบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าต้องเป็นหนี้ที่ก่อขึ้นต้องตามที่บัญญัติไว้ 4 ประการ จึงให้ถือว่าเป็นหนี้ร่วมกัน ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในระหว่างที่จำเลยกับผู้ร้องขัดทรัพย์เป็นสามีภริยากัน ต้องสันนิษฐานว่าจำเลยกู้เงินโจทก์มาเพื่อใช้จ่ายในครอบครัวและเป็นหนี้ร่วมกันอันผู้ร้องขัดทรัพย์จะต้องชำระหนี้ด้วยเลย ดังนั้น เมื่อจำเลยกับผู้ร้องขัดทรัพย์ได้หย่าขาดจากสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายและแบ่งทรัพย์สินกันเสร็จเรียบร้อย โจทก์ก็ไม่มีอำนาจจะยึดห้องแถวอันตกเป็นของผู้ร้องขัดทรัพย์ได้
จำเลยกับผู้ร้องขัดทรัพย์ได้หย่าขาดจากสามีภริยากันโดยจดทะเบียนการหย่าโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมมีผลใช้ยันบุคคลภายนอกได้ด้วย
จำเลยกับผู้ร้องขัดทรัพย์ได้หย่าขาดจากสามีภริยากันโดยจดทะเบียนการหย่าโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมมีผลใช้ยันบุคคลภายนอกได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกใบรับเงินตามประมวลรัษฎากรเมื่อชำระด้วย L/C การซื้อขายในประเทศ
การรถไฟแห่งประเทศไทยซื้อสินค้าจากโจทก์ผู้ขาย ซึ่งอยู่ในประเทศไทย การทำสัญญาซื้อขายตลอดจนการชำระราคาก็ทำในประเทศไทย ตามวิธีการที่ให้การรถไฟชำระเงินโดยเปิดเลตเตอร์อ๊อฟเครดิตต่อธนาคารในประเทศไทยตามข้อตกลงที่ได้กำหนดกันไว้ในสัญญาซื้อขาย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องออกใบรับเงินตามความในมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร หลักฐานการรับเงินเลตเตอร์อ๊อฟเครดิตตามวิธีการและประเพณีของธนาคารที่บริษัทในต่างประเทศตัวแทนโจทก์ทำให้ไว้แก่ธนาคารในต่างประเทศผู้จ่ายเงินไม่ถือว่าเป็นใบรับตามความในมาตรา 105 นั้น และไม่ได้รับความยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามประมวลรัษฎากร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบรับเงินตามประมวลรัษฎากร: การซื้อขายในประเทศและเลตเตอร์ออฟเครดิต
การรถไฟแห่งประเทศไทยซื้อสินค้าจากโจทก์ผู้ขายซึ่งอยู่ในประเทศไทยการทำสัญญาซื้อขายตลอดจนการชำระราคาก็ทำในประเทศไทย ตามวิธีการที่ให้การรถไฟชำระเงินโดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตต่อธนาคารในประเทศไทยตามข้อตกลงที่ได้กำหนดกันไว้ในสัญญาซื้อขายโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องออกใบรับเงินตามความในมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร หลักฐานการรับเงินเลตเตอร์ออฟเครดิตตามวิธีการและประเพณีของธนาคารที่บริษัทในต่างประเทศตัวแทนโจทก์ทำให้ไว้แก่ธนาคารในต่างประเทศผู้จ่ายเงินไม่ถือว่าเป็นใบรับตามความในมาตรา 105 นั้น
และไม่ได้รับความยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามประมวลรัษฎากร
และไม่ได้รับความยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ข้อเท็จจริงการร่วมประกอบการค้าและการวินิจฉัยเกินคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบการค้า โจทก์ย่อมนำสืบพฤติการณ์ต่าง ๆ อันจะแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันประกอบการค้า เช่นว่า จำเลยที่ 1 ได้แสดงตนเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 2 ด้วยกิริยาดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1054 ได้ และศาลย่อมยกเหตุนี้ไปประกอบพยานพฤติเหตุอื่น ๆ แล้วชี้ขาดว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันประกอบการค้าได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยเกินคำฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมประกอบการค้าและการแสดงตนเป็นหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1054
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบการค้า โจทก์ย่อมนำสืบพฤติการณ์ต่างๆ อันจะแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันประกอบการค้าเช่นว่า จำเลยที่ 1 ได้แสดงตนเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 2 ด้วยกิริยาดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1054 ได้และศาลย่อมยกเหตุนี้ไปประกอบพยานพฤติเหตุอื่นๆ แล้วชี้ขาดว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันประกอบการค้าได้ไม่เป็นการวินิจฉัยเกินคำฟ้อง