คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 7

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้สัญญากู้ยืม โจทก์มีสิทธิบอกกล่าวบังคับจำนองและคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามสัญญากู้ยืมจำเลยที่1มีหน้าที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของเงินกู้ที่เบิกไปจากโจทก์ทุกวันทำการสิ้นเดือนของทุกเดือนหากผิดนัดชำระเงินงวดหนึ่งงวดใดถือว่าจำเลยที่1ผิดนัดในจำนวนหนี้ทั้งหมดโดยหนี้ทั้งหมดตามสัญญาเป็นอันถึงกำหนดชำระทันทีโดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อนปรากฏว่าจำเลยที่1ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดในสัญญากู้ยืมแต่โจทก์ยอมรับชำระดอกเบี้ยของจำเลยที่1โดยไม่ได้ทักท้วงว่าจำเลยที่1ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดสัญญาพฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่1ปฏิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเป็นสาระสำคัญจึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่1ต่างระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยล่าช้าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาแล้ว แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่1ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองโดยจำเลยที่1ในฐานะผู้กู้และผู้จำนองจำเลยที่2และที่3ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน30วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าวจึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้วเมื่อจำเลยที่1ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่1ชำระหนี้ดังกล่าวครบกำหนดแล้วจำเลยที่1เพิกเฉยต้องถือว่าจำเลยที่1ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ตามสัญญากู้จำเลยที่1ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ13ต่อปีและอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ1ต่อปีและหากจำเลยที่1ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจำเลยที่1ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ21ต่อปีดังนี้เมื่อจำเลยที่1เป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่1ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ21ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม และการบอกกล่าวบังคับจำนอง การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ตามสัญญากู้ยืม จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของเงินกู้ที่เบิกไปจากโจทก์ทุกวันทำการสิ้นเดือนของทุกเดือน หากผิดนัดชำระเงินงวดหนึ่งงวดใด ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดในจำนวนหนี้ทั้งหมดโดยหนี้ทั้งหมดตามสัญญาเป็นอันถึงกำหนดชำระทันที โดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดในสัญญากู้ยืม แต่โจทก์ยอมรับชำระดอกเบี้ยของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ทักท้วงว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดสัญญา พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเป็นสาระสำคัญจึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยล่าช้าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาแล้ว แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองโดยจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้และผู้จำนอง จำเลยที่ 2 และที่ 3ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้วเมื่อจำเลยที่ 1 ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ดังกล่าว ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ 13 ต่อปี และอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ 1 ต่อปีและหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3708/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยและการปรับขึ้นดอกเบี้ยตามประกาศ ธปท. โดยต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีต่อธนาคารโจทก์และตามสัญญาดังกล่าวข้อ 2 มีข้อความว่า "ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้...ในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี... ในระหว่างอายุสัญญากู้ ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ได้และหากภายหลังจากวันทำสัญญานี้ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่ผู้กู้ยังค้างชำระหนี้อยู่ตามสัญญานี้ในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์พึงเรียกเก็บนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับได้ตลอดไปจนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้เสร็จสิ้นโดยเพียงแต่ผู้ให้กู้แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้น ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ตามที่แจ้งไปนั้นทุกประการโดยไม่โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใดทั้งสิ้น" เห็นได้ว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารให้กู้เป็นเพียงให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่ทำให้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ระบุให้โจทก์แจ้งอัตราดอกเบี้ยให้จำเลยที่ 1 ทราบเปลี่ยนแปลงไป แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้แจ้งการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยให้จำเลยที่ 1 ทราบ ดังนี้ การที่โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยโดยพลการมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบจึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3671/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน: อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศธนาคารออมสินเมื่อตกลงราคามิได้
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อขายตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2535 นับแต่วันดังกล่าวไปอีก 120 วัน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ คือวันที่ 24 ตุลาคม 2535อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา 26 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับในอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 9 ต่อปี เพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากที่ศาลชั้นต้นกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุไว้ชัดแจ้งว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้สำหรับจำนวนเงินที่ได้เบิกไปในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และในสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันกับสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง ก็ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตราดังกล่าว สำหรับหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้ง 4 ฉบับนั้น ฉบับแรกไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ อัตราดอกเบี้ยจึงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิม ฉบับที่สองและฉบับที่สามกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 17.5 ต่อปี เป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ 19 ต่อปีเป็นร้อยละ 17.5 ต่อปี และฉบับที่สี่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ อัตราดอกเบี้ยจึงเป็นไปตามอัตราที่ระบุไว้ในหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สามคือร้อยละ 17.5 ต่อปี ดังนี้เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้งแล้ว และศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยไม่เกินกว่าอัตราตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงเป็นการพิพากษาที่ชอบแล้ว
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินไม่เกิน 600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีโดยกำหนดค่าทนายความให้ 5,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าธรรมเนียมศาลแทนโจทก์เกินกว่าทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่สำหรับค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ใช้แทนโจทก์นั้นเป็นจำนวนน้อยและต่ำกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดมากจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดลงหรือแยกให้จำเลยที่ 2 รับผิด ศาลฎีกาจึงให้จำเลยที่ 2 ร่วมชำระค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและหนังสือต่ออายุ การกำหนดความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุไว้ชัดแจ้งว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้สำหรับจำนวนเงินที่ได้เบิกไปในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และในสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันกับสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง ก็ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตรา ดังกล่าว สำหรับหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้ง 4 ฉบับนั้น ฉบับแรกไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ อัตราดอกเบี้ยจึงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเดิม ฉบับที่สองและฉบับที่สามกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 17.5 ต่อปีเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ 19 ต่อปีเป็นร้อยละ 17.5 ต่อปี และฉบับที่สี่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ อัตราดอกเบี้ยจึงเป็นไปตามอัตราที่ระบุไว้ในหนังสือต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สามคือร้อยละ 17.5 ต่อปีดังนี้เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้กำหนดอัตราดอกเบี้ย ไว้โดยชัดแจ้งแล้ว และศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสอง ชำระดอกเบี้ยไม่เกินกว่าอัตราตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงเป็นการพิพากษาที่ชอบแล้ว จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินไม่เกิน 600,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีโดยกำหนดค่าทนายความให้ 5,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าธรรมเนียมศาลแทนโจทก์เกินกว่าทุนทรัพย์ที่จำเลยที่2 ต้องรับผิด เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่สำหรับค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ใช้แทนโจทก์นั้นเป็นจำนวนน้อยและต่ำกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดมากจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดลงหรือแยกให้จำเลยที่ 2 รับผิด ศาลฎีกาจึงให้จำเลยที่ 2ร่วมชำระค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5078/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญากู้-ค้ำประกัน, การตีความดอกเบี้ย, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, เงินกู้จากกลุ่มสวัสดิการ
จำเลยที่1ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์โดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้ในฐานะส่วนตัวของโจทก์เองส่วนปัญหาที่ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินของสมาชิกกลุ่มสวัสดิการซึ่งสมาชิกของกลุ่มต่างเป็นเจ้าของร่วมกันนั้นแม้จะรับฟังว่าเป็นความจริงก็เป็นกรณีที่สมาชิกของกลุ่มดังกล่าวจะว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่งเมื่อเกิดกรณีพิพาทกันเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ปัญหาที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าการดำเนินการของกลุ่มสวัสดิการเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์พ.ศ.2505นั้นจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่มีประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาในชั้นนี้เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีในฐานะเป็นตัวแทนของกลุ่มสวัสดิการแต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ที่จำเลยที่1กู้ยืมไปจากโจทก์โดยมีจำเลยที่2ค้ำประกันไม่เกี่ยวกับการดำเนินการของกลุ่มแต่อย่างใดศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้ สำหรับจำเลยที่1นั้นปรากฏตามสัญญากู้เอกสารหมายจ.17.2และจ.3ว่าจำเลยที่1กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้จำนวนแน่นอนเฉพาะสัญญากู้เอกสารหมายจ.1เท่านั้นคืออัตราชั่งละ1บาทต่อเดือนหรือร้อยละ15ต่อปีส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมายจ.2และจ.3ระบุเพียงว่ายอมให้ดอกเบี้ยทุกเดือนจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จไม่ชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็นดอกเบี้ยอัตราเท่าใดต้องตีความในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยได้เพียงอัตราร้อยละ7.5ต่อปีสำหรับเงินกู้ตามเอกสารหมายจ.2และจ.3ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา7เท่านั้น ส่วนจำเลยที่2ได้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ของจำเลยที่1เฉพาะตามสัญญากู้เอกสารหมายจ.1และจ.2เท่านั้นส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมายจ.3จำเลยที่2ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใดการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่2รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารหมายจ.3ด้วยจึงไม่ถูกต้องทั้งปรากฏด้วยว่าสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมายจ.4และจ.5มีข้อความเพียงว่าถ้าจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้จำเลยที่2จะเป็นผู้ชำระแทนจำเลยที่2ไม่ได้ยอมรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่2ร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วยจึงไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4871/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาก่อสร้าง: การชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด, ยอมรับชำระช้า, และเจตนาเลิกสัญญาโดยความตกลง
โจทก์มิได้ชำระเงินค่างวดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้แม้โจทก์ชำระค่างวดล่วงเลยเวลาที่กำหนดจำเลยก็ยอมรับเงินนั้นตลอดมาไม่ได้มีการทักท้วงหรือให้จ่ายเบี้ยปรับตามสัญญาแต่อย่างใดแสดงว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาถือเอากำหนดเวลาการชำระค่างวดเป็นสาระสำคัญดังนั้นแม้โจทก์จะผิดสัญญาในข้อนี้จำเลยก็จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญายังมิได้แต่จะต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387เสียก่อนการที่จำเลยได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ตามหนังสือแจ้งริบเงินมัดจำและบอกเลิกสัญญานั้นเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่โจทก์เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยเพื่อขอให้ยืนยันว่าจะปฏิบัติตามสัญญาหรือจะเลิกสัญญาแก่โจทก์หากจำเลยไม่ตอบแจ้งมาภายใน10วันจะถือว่าจำเลยประสงค์เลิกสัญญาและจำเลยไม่ตอบไปให้โจทก์ทราบแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาจะเลิกสัญญาอยู่การที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยวาเมื่อจำเลยไม่ประสงค์ที่จะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปจำเลยจึงต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยรวมทั้งค่าเสียหายตามหนังสือชดใช้ค่าเสียหายคืนสู่สภาพเดิมเอกสารหมายจ.9นั้นถือได้ว่าโจทก์แสดงเจตนาสนองตอบตกลงเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วสัญญาว่าจ้างงานสถาปัตยกรรมห้องชุดและควบคุมงานและสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดอาคารชุดระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันโดยความตกลงของคู่สัญญาผลของการเลิกสัญญาโดยความตกลงของคู่สัญญาเช่นนี้เมื่อไม่ปรากฏว่าคู่สัญญาได้มีการตกลงกันไว้ประการใดก็ต้องให้คู่สัญญาได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391โดยที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมจำเลยจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้พร้อมด้วยดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดอาคารชุดนั้นใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการผิดสัญญาและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิเลิกสัญญาแต่การเลิกสัญญาโดยความตกลงของคู่สัญญาโดยไม่ได้มีการผิดสัญญาและคู่สัญญามิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยประการใดเงินที่ได้ชำระกันตามสัญญาผู้รับเงินจึงต้องคืนเงินนั้นพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่เวลาที่ได้รับไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4871/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาซื้อขาย/จ้างงานโดยความตกลง: การคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย
โจทก์มิได้ชำระเงินค่างวดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แม้โจทก์ชำระค่างวดล่วงเลยเวลาที่กำหนด จำเลยก็ยอมรับเงินนั้นตลอดมา ไม่ได้มีการทักท้วงหรือให้จ่ายเบี้ยปรับตามสัญญาแต่อย่างใด แสดงว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาถือเอากำหนดเวลาการชำระค่างวดเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น แม้โจทก์จะผิดสัญญาในข้อนี้จำเลยก็จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญายังมิได้ แต่จะต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้ปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 387 เสียก่อน การที่จำเลยได้บอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ตามหนังสือแจ้งริบเงินมัดจำและบอกเลิกสัญญานั้น เป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่โจทก์ เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยเพื่อขอให้ยืนยันว่าจะปฏิบัติตามสัญญาหรือจะเลิกสัญญาแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ตอบแจ้งมาภายใน 10 วัน จะถือว่าจำเลยประสงค์เลิกสัญญา และจำเลยไม่ตอบไปให้โจทก์ทราบ แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาจะเลิกสัญญาอยู่ การที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยว่า เมื่อจำเลยไม่ประสงค์ที่จะปฏิบัติตามสัญญาต่อไป จำเลยจึงต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยรวมทั้งค่าเสียหายตามหนังสือชดใช้ค่าเสียหาย คืนสู่สภาพเดิมเอกสารหมาย จ.9 นั้น ถือได้ว่าโจทก์แสดงเจตนาสนองตอบตกลงเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว สัญญาว่าจ้างงานสถาปัตยกรรมห้องชุดและควบคุมงาน และสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดอาคารชุดระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันโดยความตกลงของคู่สัญญา ผลของการเลิกสัญญาโดยความตกลงของคู่สัญญาเช่นนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าคู่สัญญาได้มีการตกลงกันไว้ประการใดก็ต้องให้คู่สัญญาได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยอนุโลม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 โดยที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยจึงต้องคืนเงินที่ได้รับไว้พร้อมด้วยดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดอาคารชุดนั้นใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการผิดสัญญาและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิเลิกสัญญา แต่การเลิกสัญญาโดยความตกลงของคู่สัญญาโดยไม่ได้มีการผิดสัญญา และคู่สัญญามิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยประการใด เงินที่ได้ชำระกันตามสัญญาผู้รับเงินจึงต้องคืนเงินนั้นพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้และผ่อนชำระ: เบี้ยปรับเมื่อผิดนัดชำระหนี้, ศาลยืนตามสัญญา
ที่หนังสือรับสภาพหนี้และขอผ่อนชำระหนี้มีข้อความระบุว่าถ้าจำเลยที่1สามารถชำระหนี้ได้ถูกต้องครบถ้วนตามระยะเวลาที่กำหนดโจทก์จะไม่คิดดอกเบี้ยในหนี้ที่ค้างชำระนั้นแสดงว่าหากจำเลยผ่อนชำระหนี้ตามจำนวนและเวลาที่กำหนดไว้โจทก์ย่อมไม่เสียหายโจทก์จึงไม่คิดดอกเบี้ยแต่ที่ระบุไว้ว่าถ้าจำเลยที่1ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามจำนวนและในเวลาที่กำหนดไม่ว่าในงวดใดให้ถือว่าจำเลยที่1ผิดนัดทุกงวดโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่1ชำระหนี้ที่ค้างพร้อมดอกเบี้ยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแสดงว่าในกรณีที่จำเลยที่1ประพฤติผิดเงื่อนไขและโจทก์เสียหายโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่1ในหนี้ที่ค้างชำระได้ดอกเบี้ยที่กำหนดตามหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวจึงถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้ามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยที่1ผิดนัดไม่ผ่อนชำระหนี้ตามจำนวนเงินและในเวลาที่กำหนดไว้จึงถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่1ได้โจทก์คิดดอกเบี้ยซึ่งเป็นเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีของต้นเงินที่จำเลยที่1ยังค้างชำระเบี้ยปรับจึงไม่สูงเกินส่วน จำเลยไม่ได้ยกปัญหาอายุความดอกเบี้ยค้างส่งขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
of 28