พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย, ค่าปรับรายวัน, การบอกเลิกสัญญา, ความแตกต่างของข้อสัญญา, การชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ทำสัญญาซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากจำเลยรวม6รายการในราคา965,000บาทซึ่งจำเลยจะต้องส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ภายในวันที่5พฤศจิกายน2532แต่จำเลยมีหนังสือแจ้งขอเลื่อนเวลาส่งมอบออกไปเป็นวันที่30พฤศจิกายน2532โดยยอมรับผิดตามสัญญาข้อ10โจทก์ยินยอมและได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบโดยสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับด้วยครั้นครบกำหนดจำเลยขอเลื่อนการส่งมอบออกไปอีกไม่เกินสิ้นเดือนธันวาคม2532โจทก์ยินยอมและได้แจ้งจำเลยว่าหากผิดนัดอีกโจทก์จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและยังคงสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับและค่าเสียหายจำเลยมีหนังสือขอส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ในวันที่29ธันวาคม2532แต่ในวันดังกล่าวคณะกรรมการตรวจรับตรวจดูแล้วปรากฏว่าจำเลยส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันไม่ถูกต้องตามคุณลักษณะเฉพาะที่กำหนดไว้ในสัญญาโจทก์จึงมีหนังสือส่งคืนอุปกรณ์การเจาะน้ำมันแก่จำเลยจำเลยมีหนังสือขอส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันที่ถูกต้องให้โจทก์ภายในวันที่31มกราคม2533โจทก์ไม่ยินยอมและเห็นว่าจำเลยไม่อาจส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้ถูกต้องตามสัญญาได้จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเมื่อวันที่18มกราคม2533ดังนี้เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ภายในวันที่5พฤศจิกายน2532และโจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแต่ยังให้โอกาสจำเลยเลื่อนเวลาส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันออกไปถึง2ครั้งโดยโจทก์คาดหวังว่าจำเลยจะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้ได้ทั้งจำเลยก็ยังมีเจตนาส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ตามสัญญาที่โจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาทันทีและยังคงสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับไว้โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลยเป็นรายวันได้ในอัตราร้อยละ0.2ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบตามที่ระบุในสัญญาซื้อขายอุปกรณ์การเจาะน้ำมันข้อ10วรรคแรกและในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวนั้นแม้จำเลยจะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์แต่ก็ไม่ถูกต้องตามสัญญาโจทก์ได้ส่งอุปกรณ์การเจาะน้ำมันคืนโดยถือว่าจำเลยไม่ได้ส่งมอบแก่โจทก์เลยโจทก์ย่อมบอกเลิกสัญญาได้ตามที่ระบุในสัญญาข้อ10วรรคสามได้ ส่วนกรณีผิดสัญญาตามสัญญาซื้อขายอุปกรณ์การเจาะน้ำมันข้อ9นั้นหมายความว่าเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันและโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีโดยไม่ให้โอกาสจำเลยในการที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์อีกซึ่งอาจเป็นเพราะโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ก็ได้ดังนี้การเลิกสัญญาในข้อ9และข้อ10ดังกล่าวจึงมีผลต่างกันกล่าวคือการเลิกสัญญาตามข้อ9จำเลยไม่ต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันและโจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาข้อ9วรรคสองคือริบหลักประกันและหากโจทก์ซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นในราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิมจำเลยต้องใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นส่วนสัญญาข้อ10วรรคแรกนั้นโจทก์ให้โอกาสจำเลยที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้โดยที่ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและในระหว่างเวลาดังกล่าวจำเลยต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ0.2ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ส่งมอบหากจำเลยส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้โจทก์ก็ไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีกรณีจำเลยต้องรับผิดในราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นเพิ่มขึ้นถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญานอกจากจำเลยจะต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยยังต้องรับผิดชดใช้ราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นแพ่งเพิ่มขึ้นกว่าเดิมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการผิดสัญญาซื้อขายและการบอกเลิกสัญญา: ค่าปรับรายวัน vs. ชดใช้ราคาต่างกัน
โจทก์ทำสัญญาซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากจำเลยรวม6 รายการ ในราคา 965,000 บาท ซึ่งจำเลยจะต้องส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ภายในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2532 แต่จำเลยมีหนังสือแจ้งขอเลื่อนเวลาส่งมอบออกไปเป็นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2532 โดยยอมรับผิดตามสัญญาข้อ 10 โจทก์ยินยอมและได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบโดยสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับด้วย ครั้นครบกำหนด จำเลยขอเลื่อนการส่งมอบออกไปอีกไม่เกินสิ้นเดือนธันวาคม 2532 โจทก์ยินยอม และได้แจ้งจำเลยว่าหากผิดนัดอีก โจทก์จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและยังคงสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับและค่าเสียหาย จำเลยมีหนังสือขอส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ในวันที่ 29 ธันวาคม 2532 แต่ในวันดังกล่าวคณะกรรมการตรวจรับตรวจดูแล้วปรากฏว่าจำเลยส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันไม่ถูกต้องตามคุณลักษณะเฉพาะที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์จึงมีหนังสือส่งคืนอุปกรณ์การเจาะน้ำมันแก่จำเลย จำเลยมีหนังสือขอส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันที่ถูกต้องให้โจทก์ภายในวันที่ 31 มกราคม 2533 โจทก์ไม่ยินยอมและเห็นว่าจำเลยไม่อาจส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้ถูกต้องตามสัญญาได้ จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2533 ดังนี้ เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ภายในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2532 และโจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแต่ยังให้โอกาสจำเลยเลื่อนเวลาส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันออกไปถึง 2 ครั้ง โดยโจทก์คาดหวังว่าจำเลยจะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้ได้ ทั้งจำเลยก็ยังมีเจตนาส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ตามสัญญาที่โจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาทันทีและยังคงสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับไว้ โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลยเป็นรายวันได้ในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบตามที่ระบุในสัญญาซื้อขายอุปกรณ์การเจาะน้ำมัน ข้อ 10 วรรคแรก และในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวนั้น แม้จำเลยจะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์แต่ก็ไม่ถูกต้องตามสัญญา โจทก์ได้ส่งอุปกรณ์การเจาะน้ำมันคืนโดยถือว่าจำเลยไม่ได้ส่งมอบแก่โจทก์เลย โจทก์ย่อมบอกเลิกสัญญาได้ตามที่ระบุในสัญญาข้อ 10 วรรคสาม ได้
ส่วนกรณีผิดสัญญาตามสัญญาซื้อขายอุปกรณ์การเจาะน้ำมันข้อ 9นั้น หมายความว่า เป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมัน และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีโดยไม่ให้โอกาสจำเลยในการที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์อีก ซึ่งอาจเป็นเพราะโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ก็ได้ ดังนี้การเลิกสัญญาในข้อ 9 และข้อ 10 ดังกล่าวจึงมีผลต่างกัน กล่าวคือ การเลิกสัญญาตามข้อ 9 จำเลยไม่ต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันและโจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง คือริบหลักประกัน และหากโจทก์ซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นในราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม จำเลยต้องใช้ราคาที่เพิ่มขึ้น ส่วนสัญญาข้อ 10 วรรคแรกนั้น โจทก์ให้โอกาสจำเลยที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้โดยที่ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและในระหว่างเวลาดังกล่าวจำเลยต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ส่งมอบ หากจำเลยส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้ โจทก์ก็ไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีกรณีจำเลยต้องรับผิดในราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นเพิ่มขึ้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา นอกจากจำเลยจะต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยยังต้องรับผิดชดใช้ราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นแพงเพิ่มขึ้นกว่าเดิมด้วย
ส่วนกรณีผิดสัญญาตามสัญญาซื้อขายอุปกรณ์การเจาะน้ำมันข้อ 9นั้น หมายความว่า เป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมัน และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีโดยไม่ให้โอกาสจำเลยในการที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์อีก ซึ่งอาจเป็นเพราะโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ก็ได้ ดังนี้การเลิกสัญญาในข้อ 9 และข้อ 10 ดังกล่าวจึงมีผลต่างกัน กล่าวคือ การเลิกสัญญาตามข้อ 9 จำเลยไม่ต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันและโจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง คือริบหลักประกัน และหากโจทก์ซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นในราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม จำเลยต้องใช้ราคาที่เพิ่มขึ้น ส่วนสัญญาข้อ 10 วรรคแรกนั้น โจทก์ให้โอกาสจำเลยที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้โดยที่ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและในระหว่างเวลาดังกล่าวจำเลยต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ส่งมอบ หากจำเลยส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้ โจทก์ก็ไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีกรณีจำเลยต้องรับผิดในราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นเพิ่มขึ้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา นอกจากจำเลยจะต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยยังต้องรับผิดชดใช้ราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นแพงเพิ่มขึ้นกว่าเดิมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: โมฆะหรือไม่, เลิกสัญญาโดยปริยาย, และดอกเบี้ย
จำเลยฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่ายังไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินขณะทำ สัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์โดยโจทก์ทั้งสี่มิได้ร่วมรู้ด้วยวัตถุประสงค์ของสัญญาหาได้ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่จึงไม่เป็นโมฆะแต่เมื่อโจทก์ทั้งสี่รู้ว่าจำเลยจัดสรรที่ดินโดยมิได้รับใบอนุญาตซึ่งขณะนั้นจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อจะขายให้ได้ถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่โจทก์ทั้งสี่ไม่ต้องรับผิดชอบการที่โจทก์ทั้งสี่ไม่ยอมชำระเงินงวดต่อๆมาอีกจึงหาเป็นผู้ผิดนัดไม่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาโดยเหตุดังกล่าวไม่ได้แต่เมื่อต่อมาโจทก์ทั้งสี่ได้ บอกเลิกสัญญาและทวงเงินที่ได้ชำระไว้แล้วคืนจำเลยก็มิได้โต้แย้งกลับบอกปัดว่าได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ทั้งสี่แล้วถือว่าคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายและต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้วพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและการเลิกสัญญาโดยปริยาย
ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท จำเลยผู้จะขายแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่ายังไม่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการฝ่าฝืนหรือต้องห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 เรื่องควบคุมการจัดสรรที่ดินข้อ 10 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดิน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการโดยโจทก์ผู้จะซื้อมิได้ร่วมรู้ในวัตถุประสงค์ซึ่งเป็นประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ ดังนี้ วัตถุประสงค์ของสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้องจึงหาได้ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทย่อมไม่เป็นโมฆะ
เมื่อโจทก์รู้ถึงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยจัดสรรที่ดินโดยมิได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายซึ่งในขณะนั้นจำเลยอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ได้ย่อมถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นโดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ยอมชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายงวดต่อ ๆ มา จึงหาได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดตามป.พ.พ.มาตรา 205 ไม่ จำเลยจะบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุดังกล่าวหาได้ไม่แต่ต่อมาการที่โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและทวงเงินที่ได้ชำระไว้แล้วคืน จำเลยก็มิได้โต้แย้งแสดงความประสงค์ให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป กลับบอกปัดชัดแจ้งว่าได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้ว พร้อมดอกเบี้ย เมื่อเป็นกรณีที่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง จึงให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา391 วรรคสอง และมาตรา 7
เมื่อโจทก์รู้ถึงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยจัดสรรที่ดินโดยมิได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายซึ่งในขณะนั้นจำเลยอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ได้ย่อมถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นโดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ยอมชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายงวดต่อ ๆ มา จึงหาได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดตามป.พ.พ.มาตรา 205 ไม่ จำเลยจะบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุดังกล่าวหาได้ไม่แต่ต่อมาการที่โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและทวงเงินที่ได้ชำระไว้แล้วคืน จำเลยก็มิได้โต้แย้งแสดงความประสงค์ให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป กลับบอกปัดชัดแจ้งว่าได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย โจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้ว พร้อมดอกเบี้ย เมื่อเป็นกรณีที่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง จึงให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา391 วรรคสอง และมาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินที่เป็นโมฆะเนื่องจากผู้ขายทราบว่ายังไม่ได้รับอนุญาตจัดสรร และการเลิกสัญญโดยปริยาย
ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจำเลยผู้จะขายแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่ายังไม่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการฝ่าฝืนหรือต้องห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286เรื่องควบคุมการจัดสรรที่ดินข้อ10ที่ห้ามมิให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการโดยโจทก์ผู้จะซื้อมิได้ร่วมรู้ในวัตถุประสงค์ซึ่งเป็นประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการดังนี้วัตถุประสงค์ของสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้องจึงหาได้ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทย่อมไม่เป็นโมฆะ เมื่อโจทก์รู้ถึงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยจัดสรรที่ดินโดยมิได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายซึ่งในขณะนั้นจำเลยอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ได้ย่อมถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นโดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบดังนั้นการที่โจทก์ไม่ยอมชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายงวดต่อๆมาจึงหาได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา205ไม่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุดังกล่าวหาได้ไม่แต่ต่อมาการที่โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและทวงเงินที่ได้ชำระไว้แล้วคืนจำเลยก็มิได้โต้แย้งแสดงความประสงค์ให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไปกลับบอกปัดชัดแจ้งว่าได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้วพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายโจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391วรรคหนึ่งโจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้วพร้อมดอกเบี้ยเมื่อเป็นกรณีที่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้งจึงให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391วรรคสองและมาตรา7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: กฎหมายอนุญาโตตุลาการอังกฤษใช้บังคับ, คำชี้ขาดผูกพันจำเลย, ดอกเบี้ย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระค่าระวางเรือค่าเรือเสียเวลา ค่านายหน้า และค่าป่วยการต่าง ๆ ตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าเรือทั้งสิ้นเท่าไร จำเลยได้ชำระให้โจทก์แล้วเป็นเงินเท่าไร และยังคงต้องชำระแก่โจทก์เป็นค่าระวางและค่าเรือเสียเวลารวม 12,635.73 เหรียญสหรัฐแต่จำเลยไม่ยอมชำระให้โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอที่จำเลยเข้าใจและต่อสู้คดีได้แล้ว ซึ่งจำเลยก็โต้แย้งเพียงว่าจำนวนค่าเช่าเรือและค่าเรือเสียเวลาไม่ตรงกับการคำนวณของจำเลยเท่านั้น แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์เป็นอย่างดี ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาเช่าเรือได้ระบุรายละเอียดต่าง ๆ ของคู่สัญญาโดยได้ระบุสถานที่และวันทำสัญญาว่าเป็นกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2522แม้จำเลยผู้เช่าเรือได้ลงชื่อในสัญญาดังกล่าวที่กรุงเทพมหานคร แต่ข้อสัญญาเพิ่มเติมได้ระบุข้อตกลงเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการในข้อ 38 ว่า หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นตามสัญญาเช่าเรือนี้ ให้ชำระสะสางโดยอนุญาโตตุลาการ ณกรุงลอนดอน ดังนี้ เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้ตกลงกันให้แจ้งชัดเป็นอย่างอื่นว่าจะใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศใดบังคับ แต่ข้อตกลงดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์และจำเลยได้ว่า อนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีตั้งขึ้น และการดำเนินการเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษ เพราะตามข้อตกลงดังกล่าวโจทก์และจำเลยแสดงความประสงค์อย่างชัดแจ้งว่าให้ระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษและตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 มาตรา 13บัญญัติว่า "ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสำหรับสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญหรือผลแห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี..." ซึ่งย่อมมีความหมายว่ากฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับแก่สาระสำคัญของข้อสัญญาเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการนั้น เมื่อคู่สัญญาได้แสดงเจตนาไว้ว่าจะให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ ก็ให้เป็นไปตามทื่คู่สัญญาแสดงเจตนาไว้นั้น ดังนั้น การระงับข้อพิพาทตามสัญญาเช่าเรือซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยอนุญาโตตุลาการจึงต้องใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษมาบังคับ แม้โจทก์หรือจำเลยมิได้เป็นนิติบุคคลตามสัญชาติอังกฤษก็ตาม
จำเลยได้ให้การถึงปัญหาตามที่จำเลยฎีกาไว้ชัดแจ้งและอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหานั้นแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยให้ จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วย
คำพิพากษาและคำสั่ง หากศาลฎีกาเห็นสมควรก็ชอบที่จะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
การวินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยมีหนี้สินค้างชำระต่อกันเป็นเงินที่โจทก์ต้องให้รางวัลแก่จำเลย (despatch) หรือเป็นเงินค่าเรือเสียเวลา (demurrage) ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญาเช่าเรือหรือไม่ ก็ต้องวินิจฉัยจากข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทตามสัญญาแล้ว แม้ว่าอนุญาโตตุลาการ ณกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จะมิใช่รัฐที่คู่สัญญาสังกัดอยู่ แต่เมื่อเจตนาของโจทก์และจำเลยประสงค์จะระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยอนุญาโต-ตุลาการ ณ กรุงลอนดอน เจตนาดังกล่าวย่อมบังคับกันได้ อนุญาโตตุลาการณ กรุงลอนดอน จึงมีอำนาจชี้ขาดข้อพิพาทคดีนี้
เมื่อโจทก์และจำเลยเจตนาจะระงับข้อพิพาทตามสัญญาเช่าเรือโดยอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ย่อมถือได้ว่าโจทก์และจำเลยมีเจตนาโดยปริยายที่จะให้ใช้กฎหมายของประเทศอังกฤษบังคับใช้กับข้อพิพาทตามสัญญาดังกล่าวด้วย จำเลยจึงไม่อาจอ้างเอาบทบัญญัติมาตรา165 (6) เดิม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายของประเทศไทยมาบังคับใช้โดยถือว่าอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ชี้ขาดสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความแล้วหาได้ไม่
ปรากฏตามสัญญาเช่าเรือว่า หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นตามสัญญาเช่าเรือนี้ ให้ชำระสะสางโดยอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน โดยให้เจ้าของเรือและผู้เช่าเรือตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายละ 1 คน ซึ่งโจทก์ก็ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายของโจทก์แล้ว แต่จำเลยมิได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายจำเลยเป็นการที่จำเลยมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อสัญญา การตั้งอนุญาโตตุลาการของโจทก์หาจำต้องกระทำด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายไม่
แม้ว่าปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้
อนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2501 (ค.ศ.1958) ประเทศอังกฤษและประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ส่วนประเทศ-สาธารณรัฐไลบีเรียไม่ได้เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าว แต่ข้อ 1 วรรคหนึ่งแห่งอนุสัญญานี้ที่กำหนดว่า "อนุสัญญานี้จะใช้แก่การยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ได้ทำขึ้นในอาณาเขตของรัฐใดรัฐหนึ่งนอกจากรัฐที่ถูกแสวงการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดเช่นว่านั้น และซึ่งเกิดจากข้อแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่ว่าบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล อนุสัญญานี้จะใช้แก่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการซึ่งในรัฐที่ถูกแสวงการยอมรับนับถือและการใช้บังคับนั้นไม่ถือว่าเป็นคำชี้ขาดภายในด้วย" นั้น ไม่ได้นำหลักสัญชาติหรือภูมิลำเนาของคู่กรณีมาเป็นเงื่อนไขในการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ได้ทำขึ้นในประเทศอังกฤษอันเป็นอาณาเขตของรัฐอื่นที่มิใช่อาณาเขตของประเทศไทยอันเป็นรัฐที่มีการขอให้ยอมรับและบังคับตามคำชี้ขาดนั้นเช่นในคดีนี้ เมื่อโจทก์ซึ่งมีสัญชาติไลบีเรียพิพาทกับจำเลยซึ่งมีสัญชาติไทยและมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด แม้โจทก์จะมีสัญชาติไลบีเรียซึ่งประเทศสาธารณรัฐไลบีเรียไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าวก็ตาม แต่โดยที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยและได้ประกาศเรื่องประเทศไทยเข้าเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าว โดยให้อนุสัญญานี้เป็นอันใช้ระหว่างประเทศไทยกับบรรดาประเทศภาคีแห่งอนุสัญญานี้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2503 ประเทศไทยจึงมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาดังกล่าว ดังนั้น คำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการซึ่งทำขึ้น ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศภาคีในอนุสัญญาฉบับนี้ คู่กรณีจึงอาจขอให้บังคับในศาลไทยได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
โจทก์ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการตามสัญญาอนุญาโตตุลาการถูกต้องแล้ว ส่วนการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการ โจทก์ได้ส่งข้อพิพาท รายละเอียดเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามสัญญาเช่าเรือ และจำนวนเงินที่เรียกร้องให้จำเลยตามสำเนาบันทึกข้อเรียกร้อง และได้แจ้งให้จำเลยทำคำให้การหรือฟ้องแย้งภายในกำหนด 28 วัน มิฉะนั้นโจทก์จะยื่นคำร้องขอคำสั่งอนุญาโตตุลาการต่อไป แต่จำเลยเพิกเฉยและไม่ยอมให้ความร่วมมือในการพิจารณาระงับข้อพิพาทโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร และกฎหมายของประเทศอังกฤษ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ค.ศ.1950 มาตรา 7 (บี)ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นมานั้นไม่ว่าจะไม่ได้ตั้งแต่แรกหรือไม่ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการแทนที่ภายใน 7 วันหลังจากที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายตนแล้ว และได้แจ้งให้คู่สัญญาฝ่ายแรกที่ยังไม่ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการให้ตั้งอนุญาโตตุลาการของตนเสียในกรณีเช่นนี้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการไว้แล้ว อาจตั้งอนุญาโตตุลาการนั้นให้ดำเนินการในฐานะที่เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายเดียวในเรื่องดังกล่าวนั้นได้ และคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการฝ่ายเดียวนั้นย่อมจะผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเสมือนหนึ่งว่าเขาได้รับการแต่งตั้งโดยความยินยอมและมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.เดียวกันบัญญัติว่า ถ้ามิได้มีการแสดงเจตนากันไว้โดยชัดแจ้งเป็นอย่างอื่นในสัญญาเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการทุกสัญญาให้ถือว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดเป็นที่สุดและผูกพันคู่สัญญากับผู้เกี่ยวข้องที่เรียกร้องภายใต้สัญญาดังกล่าว ดังนี้ เมื่อคดีนี้ต้องใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษบังคับ กรณีจึงต้องวินิจฉัยตามมาตรา 7 (บี)และ 16 ดังกล่าว เมื่อโจทก์ตั้งอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ตามสัญญาอนุญาโตตุลาการและได้ขอให้จำเลยแจ้งชื่ออนุญาโตตุลาการฝ่ายจำเลยโดยเร็วที่สุดแล้ว แต่จำเลยไม่ตั้งอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงมีสิทธิตั้งอนุญาโตตุลาการณ กรุงลอนดอน ดังกล่าวให้ดำเนินการในฐานะที่เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายเดียวในการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ตามมาตรา 7 (บี) ดังกล่าวและเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้ทราบถึงข้อพิพาทข้อเรียกร้องตามสัญญาเช่าเรือ จำนวนเงินที่เรียกร้อง กับให้จำเลยทำคำให้การหรือฟ้องแย้งภายในกำหนด 28 วัน แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยและไม่ยอมให้ความร่วมมือในการพิจารณาระงับข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร อนุญาโตุลาการที่โจทก์แต่งตั้งดังกล่าวจึงสามารถดำเนินการพิจารณาระงับข้อพิพาทไปฝ่ายเดียวโดยที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดนัดได้โดยไม่ต้องขออำนาจจากศาลก่อน และสัญญาอนุญาโตตุลาการในสัญญาเช่าเรือ ข้อ 38 ก็ไม่ได้ระบุไว้ว่าอนุญาโตตุลาการจะพิจารณาระงับข้อพิพาทไปฝ่ายเดียวโดยที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดนัดไม่ได้ อำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยขาดนัดจึงเป็นเรื่องที่อนุญาโตตุลาการ ณ กรุง-ลอนดอน สามารถทำได้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษในกรณีที่จำเลยขาดนัดย่อมผูกพันจำเลยตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ค.ศ. 1950มาตรา 16 ของประเทศอังกฤษ
ปรากฏว่าฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินสำหรับเงินรางวัลที่จำเลยขนถ่ายสินค้าเร็วกว่ากำหนดและข้อต่อสู้เรื่องสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้วเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ทำคำให้การต่อสู้ไว้ในชั้นอนุญาโตตุลาการเมื่อคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีผลผูกพันจำเลย จำเลยมิได้มีคำอ้างแสดงว่าอนุญาโตตุลาการมิได้กระทำการโดยสุจริตหรือคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้กลฉ้อฉลข้อต่อสู้ของจำเลยจึงมิอาจลบล้างคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้
เมื่อต้องใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศ-อังกฤษบังคับแก่คดีนี้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ผูกพันจำเลย โจทก์ขอให้ศาลไทยบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำชี้ขาดดังกล่าวได้และไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวขัดต่อกฎหมาย หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามขั้นตอน หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงต้องรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ให้จำเลยรับผิดในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15 ต่อปี กรณีไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 7 ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ7.5 ต่อปี ซึ่งเป็นกฎหมายของประเทศไทยมาบังคับใช้แก่คดีนี้ได้ อย่างไรก็ตามโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15 ต่อปีได้ คงให้จำเลยรับผิดในดอกเบี้ยได้เพียงในอัตราร้อยละ 12 ต่อปีตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาเท่านั้น
เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการในประเทศอังกฤษไม่ปรากฏมีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการแห่งประเทศอังกฤษจึงผูกพันจำเลย โจทก์ย่อมขอให้ศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยอยู่ในเขตอำนาจบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้
แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งจะไม่เกิน200,000 บาท และฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม แต่ปรากฏว่าข้อฎีกาดังกล่าวจำเลยได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้ด้วย และศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว อันเป็นการที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ดังนี้ ศาลฎีกาชอบที่จะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
เมื่อไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศ-อังกฤษขัดต่อกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษ หรือไม่ถูกต้องตามขั้นตอน หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยอาศัยเหตุดังกล่าว คำชี้ขาดนั้นย่อมผูกพันจำเลย ซึ่งอนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์แสดงว่าอนุญาโตตุลาการเห็นว่าจำเลยต้องชำระค่าเรือเสียเวลาให้โจทก์และจำเลยไม่สามารถทุ่นเวลาในการบรรทุกสินค้าขึ้นเรือได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิได้เงินรางวัลจากโจทก์ตามฟ้องแย้ง
สัญญาเช่าเรือได้ระบุรายละเอียดต่าง ๆ ของคู่สัญญาโดยได้ระบุสถานที่และวันทำสัญญาว่าเป็นกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2522แม้จำเลยผู้เช่าเรือได้ลงชื่อในสัญญาดังกล่าวที่กรุงเทพมหานคร แต่ข้อสัญญาเพิ่มเติมได้ระบุข้อตกลงเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการในข้อ 38 ว่า หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นตามสัญญาเช่าเรือนี้ ให้ชำระสะสางโดยอนุญาโตตุลาการ ณกรุงลอนดอน ดังนี้ เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้ตกลงกันให้แจ้งชัดเป็นอย่างอื่นว่าจะใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศใดบังคับ แต่ข้อตกลงดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์และจำเลยได้ว่า อนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีตั้งขึ้น และการดำเนินการเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษ เพราะตามข้อตกลงดังกล่าวโจทก์และจำเลยแสดงความประสงค์อย่างชัดแจ้งว่าให้ระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษและตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 มาตรา 13บัญญัติว่า "ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสำหรับสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญหรือผลแห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี..." ซึ่งย่อมมีความหมายว่ากฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับแก่สาระสำคัญของข้อสัญญาเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการนั้น เมื่อคู่สัญญาได้แสดงเจตนาไว้ว่าจะให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ ก็ให้เป็นไปตามทื่คู่สัญญาแสดงเจตนาไว้นั้น ดังนั้น การระงับข้อพิพาทตามสัญญาเช่าเรือซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยอนุญาโตตุลาการจึงต้องใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษมาบังคับ แม้โจทก์หรือจำเลยมิได้เป็นนิติบุคคลตามสัญชาติอังกฤษก็ตาม
จำเลยได้ให้การถึงปัญหาตามที่จำเลยฎีกาไว้ชัดแจ้งและอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหานั้นแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยให้ จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วย
คำพิพากษาและคำสั่ง หากศาลฎีกาเห็นสมควรก็ชอบที่จะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
การวินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยมีหนี้สินค้างชำระต่อกันเป็นเงินที่โจทก์ต้องให้รางวัลแก่จำเลย (despatch) หรือเป็นเงินค่าเรือเสียเวลา (demurrage) ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญาเช่าเรือหรือไม่ ก็ต้องวินิจฉัยจากข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทตามสัญญาแล้ว แม้ว่าอนุญาโตตุลาการ ณกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จะมิใช่รัฐที่คู่สัญญาสังกัดอยู่ แต่เมื่อเจตนาของโจทก์และจำเลยประสงค์จะระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยอนุญาโต-ตุลาการ ณ กรุงลอนดอน เจตนาดังกล่าวย่อมบังคับกันได้ อนุญาโตตุลาการณ กรุงลอนดอน จึงมีอำนาจชี้ขาดข้อพิพาทคดีนี้
เมื่อโจทก์และจำเลยเจตนาจะระงับข้อพิพาทตามสัญญาเช่าเรือโดยอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ย่อมถือได้ว่าโจทก์และจำเลยมีเจตนาโดยปริยายที่จะให้ใช้กฎหมายของประเทศอังกฤษบังคับใช้กับข้อพิพาทตามสัญญาดังกล่าวด้วย จำเลยจึงไม่อาจอ้างเอาบทบัญญัติมาตรา165 (6) เดิม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายของประเทศไทยมาบังคับใช้โดยถือว่าอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ชี้ขาดสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความแล้วหาได้ไม่
ปรากฏตามสัญญาเช่าเรือว่า หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นตามสัญญาเช่าเรือนี้ ให้ชำระสะสางโดยอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน โดยให้เจ้าของเรือและผู้เช่าเรือตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายละ 1 คน ซึ่งโจทก์ก็ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายของโจทก์แล้ว แต่จำเลยมิได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายจำเลยเป็นการที่จำเลยมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อสัญญา การตั้งอนุญาโตตุลาการของโจทก์หาจำต้องกระทำด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายไม่
แม้ว่าปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้
อนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2501 (ค.ศ.1958) ประเทศอังกฤษและประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ส่วนประเทศ-สาธารณรัฐไลบีเรียไม่ได้เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าว แต่ข้อ 1 วรรคหนึ่งแห่งอนุสัญญานี้ที่กำหนดว่า "อนุสัญญานี้จะใช้แก่การยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ได้ทำขึ้นในอาณาเขตของรัฐใดรัฐหนึ่งนอกจากรัฐที่ถูกแสวงการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดเช่นว่านั้น และซึ่งเกิดจากข้อแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่ว่าบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล อนุสัญญานี้จะใช้แก่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการซึ่งในรัฐที่ถูกแสวงการยอมรับนับถือและการใช้บังคับนั้นไม่ถือว่าเป็นคำชี้ขาดภายในด้วย" นั้น ไม่ได้นำหลักสัญชาติหรือภูมิลำเนาของคู่กรณีมาเป็นเงื่อนไขในการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ได้ทำขึ้นในประเทศอังกฤษอันเป็นอาณาเขตของรัฐอื่นที่มิใช่อาณาเขตของประเทศไทยอันเป็นรัฐที่มีการขอให้ยอมรับและบังคับตามคำชี้ขาดนั้นเช่นในคดีนี้ เมื่อโจทก์ซึ่งมีสัญชาติไลบีเรียพิพาทกับจำเลยซึ่งมีสัญชาติไทยและมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด แม้โจทก์จะมีสัญชาติไลบีเรียซึ่งประเทศสาธารณรัฐไลบีเรียไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าวก็ตาม แต่โดยที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยและได้ประกาศเรื่องประเทศไทยเข้าเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาดังกล่าว โดยให้อนุสัญญานี้เป็นอันใช้ระหว่างประเทศไทยกับบรรดาประเทศภาคีแห่งอนุสัญญานี้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2503 ประเทศไทยจึงมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาดังกล่าว ดังนั้น คำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการซึ่งทำขึ้น ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศภาคีในอนุสัญญาฉบับนี้ คู่กรณีจึงอาจขอให้บังคับในศาลไทยได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
โจทก์ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการตามสัญญาอนุญาโตตุลาการถูกต้องแล้ว ส่วนการพิจารณาข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการ โจทก์ได้ส่งข้อพิพาท รายละเอียดเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามสัญญาเช่าเรือ และจำนวนเงินที่เรียกร้องให้จำเลยตามสำเนาบันทึกข้อเรียกร้อง และได้แจ้งให้จำเลยทำคำให้การหรือฟ้องแย้งภายในกำหนด 28 วัน มิฉะนั้นโจทก์จะยื่นคำร้องขอคำสั่งอนุญาโตตุลาการต่อไป แต่จำเลยเพิกเฉยและไม่ยอมให้ความร่วมมือในการพิจารณาระงับข้อพิพาทโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร และกฎหมายของประเทศอังกฤษ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ค.ศ.1950 มาตรา 7 (บี)ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นมานั้นไม่ว่าจะไม่ได้ตั้งแต่แรกหรือไม่ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการแทนที่ภายใน 7 วันหลังจากที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายตนแล้ว และได้แจ้งให้คู่สัญญาฝ่ายแรกที่ยังไม่ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการให้ตั้งอนุญาโตตุลาการของตนเสียในกรณีเช่นนี้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งที่ได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการไว้แล้ว อาจตั้งอนุญาโตตุลาการนั้นให้ดำเนินการในฐานะที่เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายเดียวในเรื่องดังกล่าวนั้นได้ และคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการฝ่ายเดียวนั้นย่อมจะผูกพันคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเสมือนหนึ่งว่าเขาได้รับการแต่งตั้งโดยความยินยอมและมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.เดียวกันบัญญัติว่า ถ้ามิได้มีการแสดงเจตนากันไว้โดยชัดแจ้งเป็นอย่างอื่นในสัญญาเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการทุกสัญญาให้ถือว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดเป็นที่สุดและผูกพันคู่สัญญากับผู้เกี่ยวข้องที่เรียกร้องภายใต้สัญญาดังกล่าว ดังนี้ เมื่อคดีนี้ต้องใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษบังคับ กรณีจึงต้องวินิจฉัยตามมาตรา 7 (บี)และ 16 ดังกล่าว เมื่อโจทก์ตั้งอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ตามสัญญาอนุญาโตตุลาการและได้ขอให้จำเลยแจ้งชื่ออนุญาโตตุลาการฝ่ายจำเลยโดยเร็วที่สุดแล้ว แต่จำเลยไม่ตั้งอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงมีสิทธิตั้งอนุญาโตตุลาการณ กรุงลอนดอน ดังกล่าวให้ดำเนินการในฐานะที่เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายเดียวในการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ตามมาตรา 7 (บี) ดังกล่าวและเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้ทราบถึงข้อพิพาทข้อเรียกร้องตามสัญญาเช่าเรือ จำนวนเงินที่เรียกร้อง กับให้จำเลยทำคำให้การหรือฟ้องแย้งภายในกำหนด 28 วัน แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยและไม่ยอมให้ความร่วมมือในการพิจารณาระงับข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร อนุญาโตุลาการที่โจทก์แต่งตั้งดังกล่าวจึงสามารถดำเนินการพิจารณาระงับข้อพิพาทไปฝ่ายเดียวโดยที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดนัดได้โดยไม่ต้องขออำนาจจากศาลก่อน และสัญญาอนุญาโตตุลาการในสัญญาเช่าเรือ ข้อ 38 ก็ไม่ได้ระบุไว้ว่าอนุญาโตตุลาการจะพิจารณาระงับข้อพิพาทไปฝ่ายเดียวโดยที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดนัดไม่ได้ อำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยขาดนัดจึงเป็นเรื่องที่อนุญาโตตุลาการ ณ กรุง-ลอนดอน สามารถทำได้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษในกรณีที่จำเลยขาดนัดย่อมผูกพันจำเลยตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ค.ศ. 1950มาตรา 16 ของประเทศอังกฤษ
ปรากฏว่าฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินสำหรับเงินรางวัลที่จำเลยขนถ่ายสินค้าเร็วกว่ากำหนดและข้อต่อสู้เรื่องสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้วเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ทำคำให้การต่อสู้ไว้ในชั้นอนุญาโตตุลาการเมื่อคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีผลผูกพันจำเลย จำเลยมิได้มีคำอ้างแสดงว่าอนุญาโตตุลาการมิได้กระทำการโดยสุจริตหรือคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้กลฉ้อฉลข้อต่อสู้ของจำเลยจึงมิอาจลบล้างคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้
เมื่อต้องใช้กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศ-อังกฤษบังคับแก่คดีนี้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ผูกพันจำเลย โจทก์ขอให้ศาลไทยบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำชี้ขาดดังกล่าวได้และไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวขัดต่อกฎหมาย หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามขั้นตอน หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงต้องรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ให้จำเลยรับผิดในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15 ต่อปี กรณีไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 7 ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ7.5 ต่อปี ซึ่งเป็นกฎหมายของประเทศไทยมาบังคับใช้แก่คดีนี้ได้ อย่างไรก็ตามโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15 ต่อปีได้ คงให้จำเลยรับผิดในดอกเบี้ยได้เพียงในอัตราร้อยละ 12 ต่อปีตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาเท่านั้น
เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการในประเทศอังกฤษไม่ปรากฏมีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการแห่งประเทศอังกฤษจึงผูกพันจำเลย โจทก์ย่อมขอให้ศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยอยู่ในเขตอำนาจบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้
แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งจะไม่เกิน200,000 บาท และฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม แต่ปรากฏว่าข้อฎีกาดังกล่าวจำเลยได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้ด้วย และศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว อันเป็นการที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ดังนี้ ศาลฎีกาชอบที่จะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
เมื่อไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศ-อังกฤษขัดต่อกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการของประเทศอังกฤษ หรือไม่ถูกต้องตามขั้นตอน หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยอาศัยเหตุดังกล่าว คำชี้ขาดนั้นย่อมผูกพันจำเลย ซึ่งอนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์แสดงว่าอนุญาโตตุลาการเห็นว่าจำเลยต้องชำระค่าเรือเสียเวลาให้โจทก์และจำเลยไม่สามารถทุ่นเวลาในการบรรทุกสินค้าขึ้นเรือได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิได้เงินรางวัลจากโจทก์ตามฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือขอออก L/C ไม่ใช่การค้ำประกัน แต่เป็นการยอมชำระหนี้โดยตรง จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
จำเลยที่1ขอให้โจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อไม้ซุงท่อนจากต่างประเทศจำเลยที่3มีหนังสือถึงโจทก์ขอให้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตแก่จำเลยที่1โดยจำเลยที่3ยินยอมรับรองตั๋วแลกเงินทุกฉบับที่ส่งมาและจะชำระเงินพร้อมค่าธรรมเนียมเมื่อถึงวันกำหนดตามเงื่อนไขที่แจ้งไว้หนังสือของจำเลยที่3ดังกล่าวมีลักษณะแห่งความผูกพันที่จำเลยที่3ยอมชำระหนี้เองไม่มีความหมายในทางว่าจะชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้นั้นจึงมิใช่สัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา680วรรคแรก เมื่อจำเลยที่3มีหนังสือขอให้โจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อจำเลยที่1และโจทก์ดำเนินการตามคำขอของจำเลยที่3ทั้งได้ชำระเงินแทนจำเลยที่1จนจำเลยที่1ได้รับสินค้าไปแล้วเป็นการสมประโยชน์ของจำเลยที่1และอยู่ในขอบข่ายหนังสือรับรองของจำเลยที่3จำเลยที่3ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1จำเลยที่3จะยกเหตุว่าผู้รับมอบสินค้าไม่ใช่กรรมการของจำเลยที่1และมิได้ลงชื่อรับมอบสินค้าให้ครบ2คนตามเงื่อนไขที่แจ้งไว้เพื่อบอกปัดการชำระหนี้หาได้ไม่ จำเลยที่3มีหน้าที่ต้องร่วมชำระหนี้แก่โจทก์แต่ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้จำเลยที่3จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดซึ่งโจทก์เรียกมาตามฟ้องในอัตราร้อยละ12ต่อปีจำเลยที่3มิได้ให้การโต้แย้งอัตราดอกเบี้ยเป็นอย่างอื่นต้องถือว่าจำเลยที่3ยอมรับอัตราดอกเบี้ยตามฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองออกเลตเตอร์ออฟเครดิต: ความรับผิดร่วมกันของผู้รับรองเมื่อมีการชำระหนี้แทน
จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อไม้ซุงท่อนจากต่างประเทศ จำเลยที่ 3 มีหนังสือถึงโจทก์ขอให้ออกเลตเตอร์-ออฟเครดิตแก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ยินยอมรับรองตั๋วแลกเงินทุกฉบับที่ส่งมาและจะชำระเงินพร้อมค่าธรรมเนียมเมื่อถึงวันกำหนดตามเงื่อนไขที่แจ้งไว้ หนังสือของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวมีลักษณะแห่งความผูกพันที่จำเลยที่ 3 ยอมชำระหนี้เองไม่มีความหมายในทางว่าจะชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้นั้น จึงมิใช่สัญญาค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคแรก
เมื่อจำเลยที่ 3 มีหนังสือขอให้โจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อจำเลยที่ 1 และโจทก์ดำเนินการตามคำขอของจำเลยที่ 3 ทั้งได้ชำระเงินแทนจำเลยที่ 1 จนจำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าไปแล้ว เป็นการสมประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และอยู่ในขอบข่ายหนังสือรับรองของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จะยกเหตุว่า ผู้รับมอบสินค้าไม่ใช่กรรมการของจำเลยที่ 1 และมิได้ลงชื่อรับมอบสินค้าให้ครบ 2 คน ตามเงื่อนไขที่แจ้งไว้ เพื่อบอกปัดการชำระหนี้หาได้ไม่
จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ต้องร่วมชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ซึ่งโจทก์เรียกมาตามฟ้องในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี จำเลยที่ 3 มิได้ให้การโต้แย้งอัตราดอกเบี้ยเป็นอย่างอื่น ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับอัตราดอกเบี้ยตามฟ้องโจทก์
เมื่อจำเลยที่ 3 มีหนังสือขอให้โจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อจำเลยที่ 1 และโจทก์ดำเนินการตามคำขอของจำเลยที่ 3 ทั้งได้ชำระเงินแทนจำเลยที่ 1 จนจำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าไปแล้ว เป็นการสมประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และอยู่ในขอบข่ายหนังสือรับรองของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จะยกเหตุว่า ผู้รับมอบสินค้าไม่ใช่กรรมการของจำเลยที่ 1 และมิได้ลงชื่อรับมอบสินค้าให้ครบ 2 คน ตามเงื่อนไขที่แจ้งไว้ เพื่อบอกปัดการชำระหนี้หาได้ไม่
จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ต้องร่วมชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ซึ่งโจทก์เรียกมาตามฟ้องในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี จำเลยที่ 3 มิได้ให้การโต้แย้งอัตราดอกเบี้ยเป็นอย่างอื่น ต้องถือว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับอัตราดอกเบี้ยตามฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6594/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ย, ความรับผิดของตัวแทน, เบี้ยปรับ, และดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย ระบุชื่อสัญญาว่า "สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ย" เรียกโจทก์ว่าตัวการ เรียกจำเลยว่าตัวแทน ข้อความในสัญญาข้อหนึ่งใจความว่า "ตัวแทนสัญญาว่าจะจำหน่ายปุ๋ยให้แก่เกษตรกรในนามของตนเองในราคาและเงื่อนไข ดังนี้..." สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาตัวแทนค้าต่างตาม ป.พ.พ. มาตรา 833 การชำระราคาปุ๋ยจึงต้องปรับตามมาตรา 838 วรรคหนึ่ง ซึ่งเมื่อมีข้อสัญญากำหนดว่าตัวแทนค้าต่างจะต้องรับผิดในหนี้หรือราคาปุ๋ยต่อตัวการ ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะได้รับชำระหนี้ค่าปุ๋ยจากผู้ซื้อคือเกษตรกรแล้วหรือไม่ จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินค่าปุ๋ยที่ค้างแก่โจทก์ มิใช่รับผิดเฉพาะกรณีที่ได้รับเงินค่าปุ๋ยมาแล้วเท่านั้น
เมื่อคดีฟังได้ว่า มีคนนำเอาสัญญาค้ำประกันของธนาคารไปจากการครอบครองของโจทก์ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมแล้วเอาสัญญาค้ำประกันปลอมไว้แทนและจำเลยเอาสัญญาค้ำประกันฉบับแท้จริงไปมอบคืนแก่ธนาคาร กรณีจึงมิใช่เรื่องโจทก์เวนคืนหรือมอบหมายให้ผู้ใดเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งสิทธิแก่ธนาคารตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 327 วรรคสาม เมื่อไม่ปรากฎว่าหนี้ตามสัญญาค้ำประกันได้ระงับลงแล้ว ธนาคารผู้ค้ำประกันจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น
สัญญาระบุว่า "ในกรณีตัวแทนผิดนัดไม่ส่งเงินค้างชำระภายในกำหนด ตัวแทนยินยอมให้ตัวการคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท บวกดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินเสร็จสิ้น" นั้น การคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท และเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีดังกล่าว ย่อมเป็นการกำหนดเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยของเบี้ยปรับ หรือค่าเสียหายซ้อนค่าเสียหาย ข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
ดอกเบี้ยซึ่งตัวแทนต้องเสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 811 นั้นกฎหมายมิได้กำหนดไว้ว่าเป็นอัตราร้อยละเท่าใด ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้เพียงในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ไม่ถึงร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อสัญญากำหนดให้ใช้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการกำหนดเบี้ยปรับอย่างหนึ่งซึ่งศาลชอบที่จะกำหนดให้โจทก์ใช้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี อันเป็นอัตราที่เหมาะสมได้
เมื่อคดีฟังได้ว่า มีคนนำเอาสัญญาค้ำประกันของธนาคารไปจากการครอบครองของโจทก์ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมแล้วเอาสัญญาค้ำประกันปลอมไว้แทนและจำเลยเอาสัญญาค้ำประกันฉบับแท้จริงไปมอบคืนแก่ธนาคาร กรณีจึงมิใช่เรื่องโจทก์เวนคืนหรือมอบหมายให้ผู้ใดเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งสิทธิแก่ธนาคารตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 327 วรรคสาม เมื่อไม่ปรากฎว่าหนี้ตามสัญญาค้ำประกันได้ระงับลงแล้ว ธนาคารผู้ค้ำประกันจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น
สัญญาระบุว่า "ในกรณีตัวแทนผิดนัดไม่ส่งเงินค้างชำระภายในกำหนด ตัวแทนยินยอมให้ตัวการคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท บวกดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินเสร็จสิ้น" นั้น การคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท และเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีดังกล่าว ย่อมเป็นการกำหนดเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยของเบี้ยปรับ หรือค่าเสียหายซ้อนค่าเสียหาย ข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
ดอกเบี้ยซึ่งตัวแทนต้องเสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 811 นั้นกฎหมายมิได้กำหนดไว้ว่าเป็นอัตราร้อยละเท่าใด ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้เพียงในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ไม่ถึงร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อสัญญากำหนดให้ใช้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการกำหนดเบี้ยปรับอย่างหนึ่งซึ่งศาลชอบที่จะกำหนดให้โจทก์ใช้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี อันเป็นอัตราที่เหมาะสมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6594/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนค้าต่าง, ความรับผิดของตัวแทนและผู้ค้ำประกัน, เบี้ยปรับ, ดอกเบี้ย, การระงับหนี้
ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย ระบุชื่อสัญญาว่า "สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ย" เรียกโจทก์ว่าตัวการ เรียกจำเลยว่าตัวแทนข้อความในสัญญาข้อหนึ่งใจความว่า "ตัวแทนสัญญาว่าจะจำหน่ายปุ๋ยให้แก่เกษตรกรในนามของตนเองในราคาและเงื่อนไข ดังนี้" สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาตัวแทนค้าต่างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 833 การชำระราคาปุ๋ยจึงต้องปรับตามมาตรา 838 วรรคหนึ่ง ซึ่งเมื่อข้อสัญญากำหนดว่าตัวแทนค้าต่างจะต้องรับผิดในหนี้หรือราคาปุ๋ยต่อตัวการ ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะได้รับชำระหนี้ค่าปุ๋ยจากผู้ซื้อคือเกษตรกรแล้วหรือไม่จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินค่าปุ๋ยที่ค้างแก่โจทก์ มิใช่รับผิดเฉพาะกรณีที่ได้รับเงินค่าปุ๋ยมาแล้วเท่านั้น เมื่อคดีฟังได้ว่า มีคนนำเอาสัญญาค้ำประกันของธนาคารไปจากการครอบครองของโจทก์ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมแล้วเอาสัญญาค้ำประกันปลอมไว้แทนและจำเลยเอาสัญญาค้ำประกันภัยฉบับแท้จริงไปมอบคืนแก่ธนาคาร กรณีจึงมิใช่เรื่องโจทก์เวนคืนหรือมอบหมายให้ผู้ใดเวนคืนหรือมอบหมายให้ผู้ใดเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งสิทธิแก่ธนาคารตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคสาม เมื่อไม่ปรากฏว่าหนี้ตามสัญญาค้ำประกันได้ระงับลงแล้ว ธนาคารผู้ค้ำประกันจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น สัญญาระบุว่า "ในกรณีตัวแทนผิดนัดไม่ส่งเงินค้างชำระภายในกำหนด ตัวแทนยินยอมให้ตัวการคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาทบวกดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินเสร็จสิ้น" นั้น การคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท และเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีดังกล่าว ย่อมเป็นการกำหนดเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยของเบี้ยปรับ หรือค่าเสียหายซ้อนค่าเสียหายข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ ดอกเบี้ยซึ่งตัวแทนต้องเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 811 นั้น กฎหมายมิได้กำหนดไว้ว่าเป็นอัตราร้อยละเท่าใดซึ่งโจทก์มีสิทธิได้เพียงในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ไม่ถึงร้อยละ 15 ต่อปีเมื่อสัญญากำหนดให้ใช้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการกำหนดเบี้ยปรับอย่างหนึ่งซึ่งศาลชอบที่จะกำหนดให้โจทก์ใช้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี อันเป็นอัตราที่เหมาะสมได้