คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 7

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเบิกเกินบัญชีธนาคาร: การผูกพันตามเงื่อนไขการเปิดบัญชีและดอกเบี้ย
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยยื่นไว้ต่อธนาคารโจทก์และเงื่อนไขการรับเปิดบัญชีกระแสรายวันระบุว่า ถ้าหากธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้เกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของผู้ฝากไปผู้ฝากยอมใช้เงินส่วนที่จ่ายเกินบัญชีนั้นให้ธนาคารพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามกฎหมายนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินนั้นเป็นต้นไป ถือว่าได้มีข้อตกลงกันไว้ล่วงหน้าแล้วว่าเมื่อจำเลยออกเช็คเบิกเงินเกินจำนวนในบัญชีและโจทก์ยอมจ่ายเงินตามนั้น จำเลยตกลงจ่ายเงินส่วนที่เกินจากเงินในบัญชีคืนแก่โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราสูงสุดตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินเกินจำนวนในบัญชีของจำเลยและโจทก์จ่ายเงินตามเช็คนั้นไป จำเลยจึงต้องจ่ายเงินที่เกินบัญชีแก่โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเพราะไม่ได้ตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยกันไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันเป็นเพียงหนังสือขอเปิดบัญชีกระแสรายวัน จึงเป็นเพียงคำเสนอฝ่ายเดียวของจำเลยในการขอเปิดบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์ ไม่ใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยกู้เบิกเงินเกินบัญชีต้องเป็นไปตามสัญญาประธาน สัญญาจำนองเป็นอุปกรณ์ไม่อาจเพิ่มดอกเบี้ยได้
สัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ จำนวนหนี้และอัตราดอกเบี้ยย่อมเป็นไปตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธาน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่มีข้อตกลงให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้จึงเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ไม่ได้
มูลหนี้ประธานเกิดจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งมีรวม 5 ฉบับแต่ละฉบับกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ต่างกัน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่ละฉบับ ฉบับที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ต่ำที่สุดร้อยละ 15 ต่อปี สูงที่สุดร้อยละ 18.5 ต่อปี แต่โจทก์ฟ้องรวมกันมาโดยไม่แยกให้แน่ชัดว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับใด จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เท่าใด นอกจากนี้โจทก์ก็มิได้นำสืบถึงประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปีด้วยโจทก์จึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 15 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยสัญญาเบิกเกินบัญชีและจำนอง: อัตราดอกเบี้ยต้องเป็นไปตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีประธาน, โจทก์ต้องแสดงรายละเอียดของหนี้
สัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ จำนวนหนี้และอัตราดอกเบี้ยย่อมเป็นไปตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธานสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่มีข้อตกลงให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้จึงเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ไม่ได้ มูลหนี้ประธานเกิดจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งมีรวม5 ฉบับแต่ละฉบับกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ต่างกัน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่ละฉบับ ฉบับที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ต่ำที่สุดร้อยละ 15 ต่อปี สูงที่สุดร้อยละ 18.5 ต่อปีแต่โจทก์ฟ้องรวมกันมาโดยไม่แยกให้แน่ชัดว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับใด จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เท่าใดนอกจากนี้โจทก์มิได้นำสืบถึงประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปีด้วยโจทก์จึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 15 ต่อปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2982/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีและการคิดดอกเบี้ยหลังบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุด ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยให้การว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไม่มีตราสำคัญของโจทก์ประทับและผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เท่านั้น มิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์มิใช่นิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศมาเลเซีย จึงมีผลเท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศมาเลเซียตามฟ้องจริง โจทก์ไม่จำต้องนำสืบถึงการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ส่วนปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไม่สมบูรณ์เพราะเหตุอื่นและขัดต่อกฎหมายไทยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การว่า ได้ตกลงกับโจทก์คิดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 14 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 14 ต่อปี ตามที่ตกลงไว้ จึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยฎีกาว่าควรเสียดอกเบี้ยหลังจากบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงแล้วในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 จึงเป็นเรื่องนอกคำให้การและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2982/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจและอัตราดอกเบี้ย: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม โดยไม่รับวินิจฉัยประเด็นนอกคำให้การ
จำเลยให้การว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไม่มีตราสำคัญของโจทก์ประทับและผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เท่านั้น มิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์มิใช่นิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศมาเลเซีย จึงมีผลเท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศมาเลเซียตามฟ้องจริง โจทก์ไม่จำต้องนำสืบถึงการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ ส่วนปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไม่สมบูรณ์เพราะเหตุอื่นและขัดต่อกฎหมายไทยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยให้การว่า ได้ตกลงกับโจทก์คิดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ14 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 14 ต่อปี ตามที่ตกลงไว้จึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยฎีกาว่าควรเสียดอกเบี้ยหลังจากบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงแล้วในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 7 จึงเป็นเรื่องนอกคำให้การและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน, อาวัล, เช็คไม่ใช้เงิน, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, อัตราดอกเบี้ย
บริษัทจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ โดยจำเลยที่ 2ที่ 3 ร่วมกันลงชื่อเป็นผู้ออกตั๋วแล้วประทับตราของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 ที่ 3 ยังลงชื่อไว้ในฐานะส่วนตัวภายใต้ข้อความว่าใช้ได้เป็นอาวัล ด้วยเมื่อโจทก์ทวงถามจำเลยที่ 1โดย ท.และส. ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนได้สั่งจ่ายเช็คและประทับตราของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คและ ท.กับส. ชำระเงินให้โจทก์เพียงบางส่วน หนี้ที่ยังค้างอยู่ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงยังไม่ระงับไปเพราะหนี้ที่ชำระด้วยเช็คจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อเช็คนั้นได้มีการใช้เงินครบถ้วนแล้ว ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม กรณีนี้ไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินยังไม่ระงับจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันด้วยอาวัลจึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตั๋วสัญญาใช้เงินระบุไว้แต่เพียงว่า ดอกเบี้ยร้อยละ 14จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า ตามประเพณีการคิดดอกเบี้ยก็ต้องคิดเป็นอัตราร้อยละต่อปี โจทก์นำสืบว่าเป็นอัตราที่กำหนดไว้ต่อปี โดยจำเลยมิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ยังบัญญัติห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี ฉะนั้นที่ตั๋วสัญญาใช้เงินระบุดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 14 จึงมีความหมายที่เข้าใจได้ว่าร้อยละ 14 ต่อปีไม่ใช่เป็นการไม่กำหนดอัตราที่จะต้องเสียดอกเบี้ยไว้ให้ชัดแจ้งอันจะต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน, อาวัล, การชำระหนี้ด้วยเช็คไม่สมบูรณ์, ดอกเบี้ยต่อปี, ผู้ค้ำประกันต้องรับผิด
บริษัทจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันลงชื่อเป็นผู้ออกตั๋วแล้วประทับตราของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ที่ 3 ยังลงชื่อไว้ในฐานะส่วนตัวภายใต้ข้อความว่าใช้ได้เป็นอาวัล ด้วย เมื่อโจทก์ทวงถามจำเลยที่ 1 โดย ท. และ ส. ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทน ได้สั่งจ่ายเช็คและประทับตราของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเช็คและ ท. กับ ส. ชำระเงินให้โจทก์เพียงบางส่วน หนี้ที่ยังค้างอยู่ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงยังไม่ระงับไปเพราะหนี้ที่ชำระด้วยเช็คจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อเช็คนั้นได้มีการใช้เงินครบถ้วนแล้วดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม กรณีนี้ไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินยังไม่ระงับ จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันด้วยอาวัลจึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย
ตั๋วสัญญาใช้เงินระบุไว้แต่เพียงว่า ดอกเบี้ยร้อยละ 14 จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า ตามประเพณีการคิดดอกเบี้ยก็ต้องคิดเป็นอัตราร้อยละต่อปี โจทก์นำสืบว่าเป็นอัตราที่กำหนดไว้ต่อปี โดยจำเลยมิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ยังบัญญัติห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี ฉะนั้นที่ตั๋วสัญญาใช้เงินระบุดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 14 จึงมีความหมายที่เข้าใจได้ว่าร้อยละ 14 ต่อปี ไม่ใช่เป็นการไม่กำหนดอัตราที่จะต้องเสียดอกเบี้ยไว้ให้ชัดแจ้งอันจะต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้า ศาลมีอำนาจลดหย่อนได้ และดอกเบี้ยตามสัญญาต่างจากดอกเบี้ยเมื่อใช้ราคาทรัพย์
สัญญาเช่าซื้อที่กำหนดว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันผู้เช่าซื้อไม่สามารถคืนทรัพย์สินได้ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี ผู้เช่าซื้อยินยอมรับผิดชอบใช้ราคาค่าแห่งทรัพย์สินจนเต็มจำนวนเงินที่ค้างชำระทั้งสิ้นนั้น เป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้า หากกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลก็ชอบที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 และข้อสัญญานี้มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งกำหนดไว้ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อหรือเงินอื่นใดที่ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องชำระตามสัญญา โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การกำหนดค่าเสียหายและการคิดดอกเบี้ยเมื่อสัญญาเลิกกัน
สัญญาเช่าซื้อที่กำหนดว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันผู้เช่าซื้อไม่สามารถคืนทรัพย์สินได้ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี ผู้เช่าซื้อยินยอมรับผิดชอบใช้ราคาค่าแห่งทรัพย์สินจนเต็มจำนวนเงินที่ค้างชำระทั้งสิ้นนั้น เป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้า หากกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลก็ชอบที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 และข้อสัญญานี้มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งกำหนดไว้ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อหรือเงินอื่นใดที่ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องชำระตามสัญญา โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเปิดบัญชีกระแสรายวัน: ข้อจำกัดดอกเบี้ยทบต้น และอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาเปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคารเจ้าหนี้โดยมีข้อตกลงว่า ถ้าหากธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้เกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของจำเลยที่ 3 ไป จำเลยที่ 3ยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีให้ธนาคารพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย แต่ไม่มีข้อตกลงให้มีการตัดทอนบัญชีหนี้สินระหว่างกันอันมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด และถือไม่ได้ว่าเป็นการค้าขายอย่างอื่นในทำนองเช่นว่านั้นอันจะคิดดอกเบี้ยทบต้นกันได้ ธนาคารเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น
คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันระบุว่า ผู้ฝากยอมให้ดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย มิได้กำหนดอัตราที่แน่นอนไว้โดยนิติกรรม และไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงว่าให้คิดดอกเบี้ยได้ในอัตราเท่าใด กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 7ที่ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 28