คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 7

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ชำระบัญชี และความรับผิดในสัญญาซื้อขายหุ้นหลังเพิกถอนใบอนุญาต
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ถอนใบอนุญาตของโจทก์และแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี เมื่อคณะผู้ชำระบัญชีประชุมมีมติให้ผู้ชำระบัญชี 2 คนมีอำนาจลงชื่อร่วมกันแต่งตั้งทนายความฟ้องคดีได้ ผู้ชำระบัญชี 2 คนจึงมีอำนาจแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องจำเลยได้
โจทก์เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ การที่โจทก์จัดการซื้อหุ้นตลอดจนออกเงินทดรองค่าหุ้นให้แก่จำเลยไปนั้น จำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าที่โจทก์ดำเนินกิจการดังกล่าวไปก็เพื่อประโยชน์ที่จะได้ค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ย หาได้กระทำให้เปล่าโดยไม่มีประโยชน์ตอบแทนไม่จำเลยจึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์
จำเลยสั่งซื้อหุ้นจำนวน 500 หุ้น แต่จำเลยได้สั่งขายหุ้นดังกล่าวไป 300 หุ้น จึงเหลือหุ้นที่จำเลยสั่งซื้อไว้และยังไม่ได้ขายอีก 200 หุ้นจำเลยต้องรับผิดใช้เงินค่าหุ้นที่เหลือจำนวนนี้แก่โจทก์ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายรายเดือนและดอกเบี้ย: การจ่ายค่าเสียหายรายเดือนครอบคลุมแล้ว ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยซ้ำซ้อน
ฟ้องโจทก์ที่เรียกค่าเสียหายเป็นรายเดือนนับจากเดือนที่ฟ้องเป็นต้นไปพร้อมดอกเบี้ยในแต่ละเดือนด้วยนั้นเมื่อกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นรายเดือนอันเป็นค่าเสียหายในอนาคตแล้วโจทก์ก็ไม่อาจที่จะขอให้ชำระดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวมาในคราวเดียวกันอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายรายเดือนกับดอกเบี้ย: ห้ามซ้ำซ้อน
ฟ้องโจทก์ที่เรียกค่าเสียหายเป็นรายเดือนนับจากเดือนที่ฟ้องเป็นต้นไปพร้อมดอกเบี้ยในแต่ละเดือนด้วยนั้น เมื่อกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นรายเดือน อันเป็นค่าเสียหายในอนาคตแล้ว โจทก์ก็ไม่อาจที่จะขอให้ชำระดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวมาในคราวเดียวกันอีก เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายรายเดือนกับดอกเบี้ย: ห้ามซ้ำซ้อน
ฟ้องโจทก์ที่เรียกค่าเสียหายเป็นรายเดือนนับจากเดือนที่ฟ้องเป็นต้นไปพร้อมดอกเบี้ยในแต่ละเดือนด้วยนั้นเมื่อกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นรายเดือนอันเป็นค่าเสียหายในอนาคตแล้วโจทก์ก็ไม่อาจที่จะขอให้ชำระดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวมาในคราวเดียวกันอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องสัญญากู้ และอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย กรณีสัญญามิได้ระบุอัตราดอกเบี้ย
สัญญากู้มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าจะนำดอกเบี้ยมาชำระให้ท่านตามกำหนดระยะเวลา 1 เดือนต่อครั้ง และจะนำต้นเงินมาชำระให้ภายในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2515 ถ้าข้าพเจ้าไม่นำดอกเบี้ยและต้นเงินมาชำระให้ตามกำหนดด้วยเหตุใดๆ ก็ดีข้าพเจ้ายอมให้ท่านฟ้องร้องเรียกเอาต้นเงินและดอกเบี้ยจากข้าพเจ้าได้ตามกฎหมาย"ตีความได้ว่าสิทธิฟ้องร้องเรียกเงินต้นคืนจะเกิดขึ้นเมื่อผู้กู้ผิดนัดในการนำเงินต้นมาชำระคืนด้วยเพราะข้อความในสัญญาระบุว่าจะต้องผิดนัดทั้งในการนำดอกเบี้ยและเงินต้นมาชำระให้ตามกำหนด สิทธิฟ้องร้องของโจทก์ในการเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยจึงจะเกิดขึ้นเหตุนี้อายุความฟ้องร้องเรียกเงินต้นของโจทก์จึงเริ่มนับแต่วันที่22 เมษายน 2515 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 20 เมษายน 2525คดีจึงไม่ขาดอายุความ สัญญากู้มิได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้จึงต้องบังคับตามมาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์คือคิดอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ดังนั้นการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยโจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติและสัญญากู้ดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวได้ อำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ในเมื่อเห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3708/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญาดอกเบี้ยไม่ชัดเจน ศาลตีความในทางที่เป็นคุณต่อลูกหนี้ อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
สัญญากู้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ว่า 'ยอมให้ดอกเบี้ยตามกฎหมายอย่างสูง' เป็นข้อความที่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยโดยชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็น อัตราสูงเท่าไรต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ ผู้ให้กู้มีสิทธิ เรียกดอกเบี้ยได้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3708/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้: การตีความข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยที่ไม่ชัดเจน ศาลใช้ประโยชน์แก่ลูกหนี้
สัญญากู้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ว่า "ยอมให้ดอกเบี้ยตามกฎหมายอย่างสูง" เป็นข้อความที่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยโดยชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็นอัตราสูงเท่าไร ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3394/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, ข้อสัญญาเช่าซื้อ, ค่าเสียหาย, และการตีราคาทรัพย์สิน
โจทก์มีหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครและหนังสือมอบอำนาจประกอบคำเบิกความของ ค. ผู้รับมอบอำนาจเป็นพยานโดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้างแต่ประการใด ย่อม เป็นการเพียงพอที่ฟังได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลและมอบอำนาจ ให้ ค.ฟ้องคดีแทนจริง โดยไม่จำเป็นต้องนำหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างโจทก์และ นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครมาสืบประกอบ
แม้โจทก์มิได้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อ แต่โจทก์มอบอำนาจให้ค. เป็นผู้มีอำนาจลงชื่อทำสัญญาเช่าซื้อแทนได้ โจทก์ จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อสัญญาเช่าซื้อรถที่กำหนดว่า ผู้เช่าซื้อไม่ชำระราคา เช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกัน สัญญาเป็นอันสิ้นสุดลง ผู้ให้เช่าซื้อชอบที่จะเอารถพร้อมอุปกรณ์คืนได้ และ ผู้เช่าซื้อยอมให้ผู้ให้เช่าซื้อตีราคารถพร้อมอุปกรณ์ได้แต่ เพียงผู้เดียวโดยถือเป็นเด็ดขาด และเมื่อคิดหักกับราคาที่ผู้เช่าซื้อได้ผ่อนชำระบางส่วนแล้วผู้เช่าซื้อยังคงเป็นหนี้อยู่ ก็ยินยอมให้ผู้เช่าซื้อฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่ผู้เช่าซื้อได้ทันทีนั้น เป็นเรื่องที่ผู้เช่าซื้อสมัครใจทำสัญญาเสียเปรียบเอง หาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับถ้าหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ และข้อสัญญานี้มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ จะใช้อัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามสัญญาซึ่งกำหนดไว้ใน กรณีที่ผู้เช่าซื้อค้างชำระเงินค่าเช่าซื้อหาได้ไม่ ต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7
โจทก์ที่ 2 แม้จะเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นผู้จัดการของห้างโจทก์ที่ 1 ก็ตาม หากกรณี เป็นเรื่องของห้างโจทก์ที่ 1 โดยเฉพาะ ไม่ใช่กิจการ ส่วนตัวของโจทก์ที่ 2.โจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3394/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, สัญญาเช่าซื้อ, ค่าเสียหาย, และดอกเบี้ยตามกฎหมาย
โจทก์มีหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครและหนังสือมอบอำนาจประกอบคำเบิกความของ ค. ผู้รับมอบอำนาจเป็นพยานโดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้างแต่ประการใด ย่อม เป็นการเพียงพอที่ฟังได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลและมอบอำนาจ ให้ ค. ฟ้องคดีแทนจริง โดยไม่จำเป็นต้องนำ หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างโจทก์และ นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครมาสืบประกอบ แม้โจทก์มิได้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อ แต่โจทก์มอบอำนาจให้ค. เป็นผู้มีอำนาจลงชื่อทำสัญญาเช่าซื้อแทนได้ โจทก์ จึงมีอำนาจฟ้อง ข้อสัญญาเช่าซื้อรถที่กำหนดว่า ผู้เช่าซื้อไม่ชำระราคา เช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกัน สัญญาเป็นอันสิ้นสุดลง ผู้ให้เช่าซื้อชอบที่จะเอารถพร้อมอุปกรณ์คืนได้ และ ผู้เช่าซื้อยอมให้ผู้ให้เช่าซื้อตีราคารถพร้อมอุปกรณ์ได้แต่ เพียงผู้เดียวโดยถือเป็นเด็ดขาด และเมื่อคิดหักกับราคา ที่ผู้เช่าซื้อได้ผ่อนชำระบางส่วนแล้วผู้เช่าซื้อยังคงเป็นหนี้อยู่ ก็ยินยอมให้ผู้เช่าซื้อฟ้องร้องบังคับคดีเอา แก่ผู้เช่าซื้อได้ทันทีนั้น เป็นเรื่องที่ผู้เช่าซื้อ สมัครใจทำสัญญาเสียเปรียบเอง หาเกี่ยวด้วยความ สงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับถ้าหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ และข้อสัญญานี้มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ จะใช้อัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามสัญญาซึ่งกำหนดไว้ใน กรณีที่ผู้เช่าซื้อค้างชำระเงินค่าเช่าซื้อหาได้ไม่ ต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 โจทก์ที่ 2 แม้จะเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นผู้จัดการของห้างโจทก์ที่ 1 ก็ตาม หากกรณี เป็นเรื่องของห้างโจทก์ที่ 1 โดยเฉพาะ ไม่ใช่กิจการ ส่วนตัวของโจทก์ที่ 2. โจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัดและเบิกเกินบัญชี: การคิดดอกเบี้ยถูกต้องตามกฎหมายและสิทธิเรียกร้อง
จำเลยทำสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์มี เงื่อนไขเพียงว่า ถ้าหากธนาคารจ่ายเงินตามเช็คให้เกิน จำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีของจำเลยไป จำเลยยอมใช้เงิน ส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยใน อัตราสูงสุดตามกฎหมายนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงิน โจทก์จำเลยหาได้มีเจตนาตกลงกันโดยตรงว่า สืบแต่นั้น ไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชี หนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหักกลบลบกันคงชำระ แต่ส่วน ที่เหลืออันเป็นลักษณะสำคัญของบัญชีเดินสะพัดไม่ และถือ ไม่ได้ว่าเป็นการค้าอย่างอื่นในทำนองเช่นว่านั้น อันจะคิดดอกเบี้ยทบต้นกันได้ จึงไม่เข้าเงื่อนไขเป็น บัญชีเดินสะพัด หรือเป็นการค้าขายอย่างอื่นทำนองเดียวกันนี้ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลย คำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันกล่าวถึงการคิดดอกเบี้ยไว้เพียงว่าคิดดอกเบี้ยกันในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย ทั้งกรณีมิใช่เรื่องกู้ยืมเงินและไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงว่าให้คิดดอกเบี้ยได้สูงสุดในอัตราเท่าใด จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 คือโจทก์มีสิทธิคิดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินจำนวนที่เกินบัญชีนั้นเป็นต้นไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1587/2523) จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันต่อธนาคารโจทก์ตั้งแต่วันที่7 พฤษภาคม 2519 ต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 จำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และนำที่ดินมาจำนอง เป็นประกันหนี้ไว้แก่โจทก์ ก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และสัญญาจำนองโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในจำนวนเงินส่วนที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีให้จำเลยไป คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในจำนวนเงินที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2520 เป็นต้นไป ยอดเงินที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลย เป็นยอดเงินที่คิดดอกเบี้ยมาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มาตั้งแต่วันที่จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันตลอดมา หาได้คิด ตามสิทธิควรได้ดังกล่าวไม่ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีมาไม่ถูกต้อง ไม่ได้คิดแยกยอดเงินที่ควรได้รับ นับจากจำเลยขอเปิดบัญชีกระแสรายวันจนถึงวันทำสัญญาขอ กู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ว่าเป็นยอดเงินเท่าใดปรากฏว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คหลายร้อยฉบับ และโจทก์จ่ายเงินเกินบัญชี ให้ไปซึ่งศาลไม่มีหน้าที่จะต้องคิดยอดเงินดังกล่าวให้โจทก์เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องคิดยอดมาให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ในฟ้องเพื่อให้โจทก์จำเลยได้ตรวจสอบโต้แย้งว่าคิดถูกต้องหรือไม่เพียงใด ดังนี้ศาลจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมด โดยให้โจทก์นำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
of 28