คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 7

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197-199/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อค้างชำระ: ใช้อัตราตามกฎหมายหากสัญญาระบุอัตราสูงสุดแต่ไม่มีกฎหมายกำหนด
ในกรณีผู้เช่าซื้อค้างชำระค่าเช่าซื้อ แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุว่าให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดเท่าที่กฎหมายอนุญาต แต่ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงว่าให้คิดดอกเบี้ยได้สูงสุดในอัตราเท่าใด จึงต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี จะนำอัตราดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปีสำหรับเงินกู้ยืมมาอนุโลมใช้สำหรับเงินค่าเช่าซื้อค้างชำระ โดยมิได้กำหนดกันไว้ในสัญญาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะริบเงินวางได้เฉพาะกรณีผิดแบบแปลน การเลิกสัญญากลับสู่สภาพเดิมต้องคืนเงิน
สัญญาที่โจทก์จำเลยทำกันไว้ให้โจทก์ก่อสร้างอาคารในที่ดินของจำเลยมีข้อความว่า " ข้อ 6 ผู้รับสร้างรับรองจะดำเนินการก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนท้ายสัญญาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญาฯลฯ" และ " ข้อ 9 หากการก่อสร้างได้ผิดแผกแตกต่างไปจากแบบแปลนท้ายสัญญานี้ และเมื่อผู้ให้สร้างได้บอกกล่าวให้แก้ไขเปลี่ยนแปลง ผู้รับสร้างจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามสัญญาภายในกำหนดเวลาอันสมควร หากผู้รับสร้างมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญานี้ ให้ถือได้ว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ให้สร้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้วัสดุภัณฑ์บรรดาที่มีอยู่และสร้างทำลงในที่ดินให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ให้สร้าง และผู้รับสร้างจะเรียกร้องขอคืนเงินส่วนใด ๆ บรรดาที่ได้วางชำระไว้แล้วตามสัญญานี้ไม่ ได้" ความในสัญญาดังนี้ จำเลยผู้ให้สร้างจะริบเงินของโจทก์ที่วางไว้ได้ก็เฉพาะแต่กรณีที่การก่อสร้างได้ผิดแผกแตกต่างไปจากแบบแปลนท้ายสัญญา เมื่อผู้ให้สร้างบอกให้แก้ไขแล้ว ผู้รับสร้างไม่ปฏิบัติเท่านั้น ส่วนกรณีที่ผู้รับสร้างก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญาข้อ 6 ผู้ให้สร้างจะรับเงินที่วางไว้หาได้ไม่ เพราะนอกเหนือข้อตกลงในสัญญาข้อ 9ทั้งสัญญาข้อ 6 ก็มิได้ตกลงให้ริบได้
จำเลยเป็นฝ่ายใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์ก็ไม่ขัดข้องสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ย่อมเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายย่อมกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมเสมือนดังว่ามิได้มีสัญญาต่อกันเลยและสิ่งใดที่ส่งมอบให้แก่กันไปแล้วก็ต้องคืนให้แก่กัน แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหาย ในเรื่องผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว จำเลยก็ต้องคืนเงินที่รับไว้จากโจทก์ให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับเงินไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อสร้างและการริบเงินวางหน้าสัญญา ต้องเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาเท่านั้น
สัญญาที่โจทก์จำเลยทำกันไว้ให้โจทก์ก่อสร้างอาคารในที่ดินของจำเลยมีข้อความว่า " ข้อ 6 ผู้รับสร้างรับรองจะดำเนินการก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนท้ายสัญญาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญาฯลฯ" และ " ข้อ 9 หากการก่อสร้างได้ผิดแผกแตกต่างไปจากแบบแปลนท้ายสัญญานี้ และเมื่อผู้ให้สร้างได้บอกกล่าวให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้รับสร้างจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามสัญญาภายในกำหนดเวลาอันสมควร หากผู้รับสร้างมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญานี้ ให้ถือได้ว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ให้สร้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้วัสดุภัณฑ์บรรดาที่มีอยู่และสร้างทำลงในที่ดินให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ให้สร้าง และผู้รับสร้างจะเรียกร้องขอคืนเงินส่วนใด ๆ บรรดาที่ได้วางชำระไว้แล้วตามสัญญานี้ไม่ได้" ความในสัญญาดังนี้ จำเลยผู้ให้สร้างจะริบเงินของโจทก์ที่วางไว้ได้ก็เฉพาะแต่กรณีที่การก่อสร้างได้ผิดแผกแตกต่างไปจากแบบแปลนท้ายสัญญา เมื่อผู้ให้สร้างบอกให้แก้ไขแล้ว ผู้รับสร้างไม่ปฏิบัติเท่านั้น ส่วนกรณีที่ผู้รับสร้างก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญาข้อ 6 ผู้ให้สร้างจะรับเงินที่วางไว้หาได้ไม่ เพราะนอกเหนือข้อตกลงในสัญญาข้อ 9 ทั้งสัญญาข้อ 6 ก็มิได้ตกลงให้ริบได้
จำเลยเป็นฝ่ายใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์ก็ไม่ขัดข้องสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ย่อมเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายย่อมกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมเสมือนดังว่ามิได้มีสัญญาต่อกันเลยและสิ่งใดที่ส่งมอบให้แก่กันไปแล้วก็ต้องคืนให้แก่กัน แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายในเรื่องผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว จำเลยก็ต้องคืนเงินที่รับไว้จากโจทก์ให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับเงินไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระดอกเบี้ยด้วยการให้ทำนาและการรับสภาพหนี้ ทำให้ขาดอายุความ
พฤติการณ์ที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับมรดกของ ด. ผู้กู้ ให้โจทก์ผู้ให้กู้ทำนาถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ด้วยการให้โจทก์ได้ทำนาจึงเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยการส่งดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยยอมให้โจทก์ได้ทำนาต่างดอกเบี้ย หรือมิฉะนั้นให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีดังนี้ โจทก์จะมีสิทธิทำนาได้ก็แต่โดยจำเลยยินยอม เมื่อจำเลยไม่ยินยอมให้โจทก์ทำนาและเอาที่นาคืนไปทำเองแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิติดตามเอาคืนด. เจ้ามรดกกู้เงินโจทก์ตกลงจะให้ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยที่ตกลงให้ก็คือให้โจทก์ทำนาต่างดอกเบี้ย เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระดอกเบี้ยโดยไม่ยอมให้โจทก์ทำนาต่างดอกเบี้ย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินนับแต่วันผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดวันใดก่อนโจทก์ฟ้องศาลคิดคำนวณให้จากวันฟ้อง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1,3/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุดด้วยการชำระดอกเบี้ยด้วยการให้ทำนา การคิดดอกเบี้ยนับจากวันฟ้อง
พฤติการณ์ที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับมรดกของ ด.ผู้กู้ ให้โจทก์ผู้ให้กู้ทำนา ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติการชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ด้วยการให้โจทก์ได้ทำนา จึงเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยการส่งดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยยอมให้โจทก์ได้ทำนาต่างดอกเบี้ย หรือมิฉะนั้นให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนี้ โจทก์จะมีสิทธิทำนาได้ก็แต่โดยจำเลยยินยอม เมื่อจำเลยไม่ยินยอมให้โจทก์ทำนา และเอาที่นาคืนไปทำเองแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิติดตามเอาคืน ด. เจ้ามรดกกู้เงินโจทก์ตกลงจะให้ดอกเบี้ย ดอกเบี้ยที่ตกลงให้ก็คือให้โจทก์ทำนาต่างดอกเบี้ย เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระดอกเบี้ย โดยไม่ยอมให้โจทก์ทำนาต่างดอกเบี้ย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินนับแต่วันผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดวันใดก่อนโจทก์ฟ้องศาลคิดคำนวณให้จากวันฟ้อง (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1,3/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกเก็บได้เสมอ การค้ำประกันไม่หลุดพ้นแม้มีการผ่อนเวลา
สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้ย่อมมีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ และการที่ผู้กู้นำพยานบุคคลมาสืบว่า การกู้รายนี้มีข้อตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้คืน 3 เดือน ตามเช็คล่วงหน้าที่ผู้กู้ได้ออกให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้นั้น เป็นการนำสืบเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญากู้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
เอกสารหมาย ล.6 ที่โจทก์ผู้ให้กู้มีถึงจำเลยแจ้งกำหนดเวลาชำระหนี้ให้จำเลยทราบถือได้แต่เพียงเป็นหลักฐานที่โจทก์เรียกให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดไว้เท่านั้น จะถือเป็นหลักฐานว่าโจทก์จำเลยตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนแล้วหาได้ไม่
เมื่อหนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ การค้ำประกันก็มิใช่การค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลามีกำหนดแน่นอน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 แม้ผู้ให้กู้จะผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นความรับผิดไม่
โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเอาดอกเบี้ย แต่เมื่อฟังได้ว่าการกู้มีดอกเบี้ย ผู้กู้จึงต้องชำระดอกเบี้ยอยู่ และก่อนฟ้องโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยด้วยสิ่งของเป็นเงิน 8,725 บาท โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเฉพาะต้นเงินกู้ ดังนี้ การที่ศาลจัดใช้เงิน 8,725 บาท ที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ก่อนฟ้องเป็นใช้ดอกเบี้ยเสียก่อน ส่วนเหลือใช้เป็นการชำระต้นเงินกู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 แล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระต้นเงินกู้ที่ยังค้างให้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ขอนั้น ดังนี้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
สัญญากู้มีข้อความว่า จำเลยยอมให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์แต่อัตราดอกเบี้ยมิได้กำหนดลงไว้จึงต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกหนี้เมื่อใดก็ได้ การค้ำประกันจึงไม่ผูกพันเมื่อไม่มีกำหนดเวลา
สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้. ผู้ให้กู้ย่อมมีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้เมื่อใดก็ได้. และการที่ผู้กู้นำพยานบุคคลมาสืบว่า การกู้รายนี้มีข้อตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้คืน 3 เดือน ตามเช็คล่วงหน้าที่ผู้กู้ได้ออกให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้นั้น. เป็นการนำสืบเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญากู้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94.
เอกสารหมาย ล.6 ที่โจทก์ผู้ให้กู้มีถึงจำเลยแจ้งกำหนดเวลาชำระหนี้ให้จำเลยทราบถือได้แต่เพียงเป็นหลักฐานที่โจทก์เรียกให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดไว้เท่านั้น. จะถือเป็นหลักฐานว่าโจทก์จำเลยตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนแล้วหาได้ไม่.
เมื่อหนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้. การค้ำประกันก็มิใช่การค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลามีกำหนดแน่นอน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700. แม้ผู้ให้กู้จะผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นความรับผิดไม่.
โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเอาดอกเบี้ย. แต่เมื่อฟังได้ว่าการกู้มีดอกเบี้ย ผู้กู้จึงต้องชำระดอกเบี้ยอยู่.และก่อนฟ้องโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยด้วยสิ่งของเป็นเงิน 8,725 บาท. โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเฉพาะต้นเงินกู้. ดังนี้ การที่ศาลจัดใช้เงิน 8,725 บาทที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ก่อนฟ้องเป็นใช้ดอกเบี้ยเสียก่อน. ส่วนเหลือใช้เป็นการชำระต้นเงินกู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329. แล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระต้นเงินกู้ที่ยังค้างให้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ขอนั้น. ดังนี้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่.
สัญญากู้มีข้อความว่า จำเลยยอมให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์.แต่อัตราดอกเบี้ยมิได้กำหนดลงไว้จึงต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกได้เสมอ การนำสืบเพิ่มเติมข้อความในสัญญาเป็นไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญากู้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ผู้ให้กู้ย่อมมีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ และการที่ผู้กู้นำพยานบุคคลมาสืบว่า การกู้รายนี้มีข้อตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้คืน 3 เดือน ตามเช็คล่วงหน้าที่ผู้กู้ได้ออกให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้นั้น เป็นการนำสืบเพิ่มเติมข้อความในเอกสารสัญญากู้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
เอกสารหมาย ล.6 ที่โจทก์ผู้ให้กู้มีถึงจำเลยแจ้งกำหนดเวลาชำระหนี้ให้จำเลยทราบถือได้แต่เพียงเป็นหลักฐานที่โจทก์เรียกให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนดไว้เท่านั้นจะถือเป็นหลักฐานว่าโจทก์จำเลยตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนแล้วหาได้ไม่
เมื่อหนี้ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ การค้ำประกันก็มิใช่การค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลามีกำหนดแน่นอน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 แม้ผู้ให้กู้จะผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นความรับผิดไม่
โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเอาดอกเบี้ย แต่เมื่อฟังได้ว่าการกู้มีดอกเบี้ย ผู้กู้จึงต้องชำระดอกเบี้ยอยู่ และก่อนฟ้องโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยด้วยสิ่งของเป็นเงิน 8,725 บาท โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเฉพาะต้นเงินกู้ ดังนี้ การที่ศาลจัดใช้เงิน 8,725 บาท ที่โจทก์ได้รับชำระหนี้ก่อนฟ้องเป็นใช้ดอกเบี้ยเสียก่อน ส่วนเหลือใช้เป็นการชำระต้นเงินกู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 329 แล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระต้นเงินกู้ที่ยังค้างให้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ขอนั้น ดังนี้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
สัญญากู้มีข้อความว่า จำเลยยอมให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ แต่อัตราดอกเบี้ยมิได้กำหนดลงไว้จึงต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยตามกฎหมายในสัญญากู้ยืม หากไม่ได้ระบุอัตรา ต้องคิดร้อยละ 7.5 ต่อปี และห้ามเปลี่ยนแปลงใจความเอกสาร
สัญญากู้ยืมเงินที่ระบุว่าให้คิดดอกเบี้ยกันตามกฎหมาย แต่ไม่ได้กำหนดอัตราว่าเท่าใดนั้น ต้องคิดดอกเบี้ยกันร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีและถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้ ซึ่งผู้ให้กู้จะนำสืบเป็นว่าได้ตกลงดอกเบี้ยกันในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีไม่ได้
เอกสารซึ่งมีข้อความระบุว่าเป็นการชำระค่าดอกเบี้ยอย่างเดียวชัดแจ้งแล้ว ย่อมจะนำสืบตีความว่าเป็นการชำระต้นเงินด้วยไม่ได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยตามกฎหมายในสัญญากู้ยืม: อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 7.5% ต่อปี และการตีความหลักฐานการชำระหนี้
สัญญากู้ยืมเงินที่ระบุว่าให้คิดดอกเบี้ยกันตามกฎหมาย แต่ไม่ได้กำหนดอัตราว่าเท่าใดนั้น ต้องคิดดอกเบี้ยกันร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีและถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้ ซึ่งผู้ให้กู้จะนำสืบเป็นว่าได้ตกลงดอกเบี้ยกันในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีไม่ได้
เอกสารซึ่งมีข้อความระบุว่าเป็นการชำระค่าดอกเบี้ยอย่างเดียวชัดแจ้งแล้ว ย่อมจะนำสืบตีความว่า เป็นการชำระต้นเงินด้วยไม่ได้เช่นกัน
of 28