คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 7

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา แม้ไม่ระบุชัดเจน หากผู้กู้เข้าใจและชำระเกิน ก็ไม่สามารถเรียกคืนได้
สัญญากู้มีข้อสัญญาว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้ให้แก่ผู้ให้กู้ตามกฎหมาย ย่อมถือว่ามีอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี เพราะกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 และจะรับฟังพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงอัตราดังกล่าวนี้ไม่ได้ แม้ใบรับเงินที่ผู้ให้กู้ออกให้แก่ผู้กู้จะปรากฏอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 15 ต่อปี หรือเกินกว่านั้น ก็ไม่เป็นหลักฐานที่หักล้างว่าไม่ใช่ร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี เพราะมิได้มีลายมือชื่อของผู้กู้ซึ่งเป็นฝ่ายต้องรับผิดในหนี้
เมื่อตามข้อสัญญาต้องถือว่าดอกเบี้ยมีอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี และผู้กู้ก็เข้าใจเช่นนั้น ถ้าผู้กู้ชำระดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้เกินกว่าอัตราดังกล่าว โดยไม่มีความเข้าใจผิดและไม่ปรากฏว่าผู้ให้กู้บังคับเรียกร้องเอา ก็ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จะเรียกส่วนที่ชำระเกินไปนั้นคืนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การชำระเกินและผลทางกฎหมาย
สัญญากู้มีข้อสัญญาว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ตามกฎหมายย่อมถือว่ามีอัตราร้อยละ7 ครึ่งต่อปี เพราะกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 และจะรับฟังพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงอัตราดังกล่าวนี้ไม่ได้แม้ใบรับเงินที่ผู้ให้กู้ออกให้แก่ผู้กู้จะปรากฏอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 15 ต่อปี หรือเกินกว่านั้น ก็ไม่เป็นหลักฐานที่หักล้างว่าไม่ใช่ร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี เพราะมิได้มีลายมือชื่อของผู้กู้ซึ่งเป็นฝ่ายต้องรับผิดในหนี้
เมื่อตามข้อสัญญาต้องถือว่าดอกเบี้ยมีอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีและผู้กู้ก็เข้าใจเช่นนั้นถ้าผู้กู้ชำระดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้เกินกว่าอัตราดังกล่าวโดยไม่มีความเข้าใจผิดและไม่ปรากฏว่าผู้ให้กู้บังคับเรียกร้องเอา ก็ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จะเรียกส่วนที่ชำระเกินไปนั้นคืนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทดอกเบี้ยกู้ สัญญาไม่ชัดเจน ศาลต้องให้คู่ความสืบพยานเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยและเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยให้การต่อสู้ว่า ในสัญญากู้คิดดอกเบี้ยตามกฎหมายแต่โจทก์กลับคิดร้อยละ 15 ต่อไป สำเนาสัญญากู้ไม่ถูกต้อง ย่อมเห็นได้ชัดว่า จำเลยให้การปฏิเสธว่าสัญญากู้ไม่มีข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ดังที่โจทก์ฟ้องอ้างสำเนาสัญญากู้มีข้อความว่า คิดดอกเบี้ยตามกฎหมายร้อยละ 15 ต่อปี ติดมาท้ายคำฟ้อง ทั้งต้นฉบับสัญญากู้ก็ยังไม่มีปรากฏในสำนวน ดังนี้ถือว่า ข้อเท็จจริงเรื่องดอกเบี้ยยังไม่ยุติ คู่ความต้องนำสืบความข้อนี้กันต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทอัตราดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้: จำเป็นต้องมีการนำสืบหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อยืนยันข้อตกลงที่แท้จริง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยและเรียกดอกเบี้ยร้อยละ15 ต่อปีจำเลยให้การต่อสู้ว่า ในสัญญากู้คิดดอกเบี้ยตามกฎหมายแต่โจทก์กลับคิดร้อยละ 15 ต่อปีสำเนาสัญญากู้ไม่ถูกต้องย่อมเห็นได้ชัดว่า จำเลยให้การปฏิเสธว่าสัญญากู้ไม่มีข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีดังที่โจทก์ฟ้องอ้างสำเนาสัญญากู้มีข้อความว่าคิดดอกเบี้ยตามกฎหมายร้อยละ 15 ต่อปี ติดมาท้ายคำฟ้องทั้งต้นฉบับสัญญากู้ก็ยังไม่มีปรากฏในสำนวนดังนี้ถือว่า ข้อเท็จจริงเรื่องดอกเบี้ยยังไม่ยุติ คู่ความต้องนำสืบความข้อนี้กันต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราในสัญญากู้: ศาลแยกจำนวนดอกเบี้ยออกจากต้นเงินได้ และคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
ผู้กู้ย่อมนำสืบได้ว่า ผู้ให้กู้เอาจำนวนดอกเบี้ยเกินอัตรามารวมเป็นต้นเงินในสัญญากู้ล่วงหน้าเป็นการผิดกฎหมายได้
ดอกเบี้ยตามสัญญากู้เป็นโมฆะเพราะเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญากู้ และไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องได้มีการผิดนัด ลูกหนี้จึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินหลังเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย และอายุความในกรณีผู้จัดการมรดกสมยอม
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายระหว่างหลวงสกลฯผู้ขายกับจำเลยผู้ซื้อในระหว่างพิจารณาคดีก่อนจำเลยโอนขายที่ดินแก่คนอื่นๆ ไปหลายทอด จนคดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลไม่อาจพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินดังกล่าวได้โจทก์จึงมาฟ้องคดีใหม่ขอเรียกเงินราคาที่ดินแทน ไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีเดิม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 เป็นเรื่องอายุความในกรณีเพิกถอนการฉ้อฉลอันลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมลงโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ส่วนเรื่องผู้จัดการมรดกคนก่อนสมยอมขายที่ดินอันเป็นมรดกให้แก่ภรรยาของตนนั้นจะใช้อายุความตาม มาตรา240 มายันแก่ผู้จัดการมรดกคนใหม่ไม่ได้
เมื่อจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นจนไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทกลับคืนสู่ฐานะเดิมได้เช่นนี้ จึงเกิดเป็นหนี้ผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดใช้เงินราคาที่ดินแก่โจทก์รวมทั้งดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เป็นราคาที่ดินนั้นอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนกรณีผู้จัดการมรดกสมยอมขายทรัพย์สินมรดกให้ภรรยาตนเอง และการกำหนดดอกเบี้ยจากเหตุการณ์ที่จำเลยทำให้ไม่สามารถโอนโฉนดกลับได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายระหว่างหลวงสกลฯ ผู้ขายกับจำเลยผู้ซื้อ ในระหว่างพิจารณาคดีก่อนจำเลยโอนขายที่ดินแก่คนอื่น ๆ ไปหลายทอด จนคดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลไม่อาจพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ โจทก์จึงมาฟ้องคดีใหม่ขอเรียกเงินราคาที่ดินแทน ไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีเดิม
ป.พ.พ.มาตรา 240 เป็นเรื่องอายุความในกรณีเพิกถอนการฉ้อฉลอันลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมลงโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ส่วนเรื่องผู้จัดการมรดกคนก่อนสมยอมขายที่ดินอันเป็นมรดกให้แก่ภรรยาของต้นนั้น จะใช้อายุความตาม ม.240 มายันแก่ผู้จัดการมรดกคนใหม่ไม่ได้
เมื่อจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นจนไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทกลับคึนสู่ฐานะเดิมได้เช่นนี้ จึงเกิดเป็นหนี้ผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดใช้เงินราคาที่ดินแก่โจทก์รวมทั้งดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เป็นราคาที่ดินนั้นอีกด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้จากเงินปันผลของบริษัทต่างชาติ: การคำนวณสัดส่วนรายได้และดอกเบี้ย
บริษัทจำกัดซึ่งตึ้งขึ้นตาม ก.ม.ต่างประเทศและได้กระทำกิจการในประเทศไทยด้วย จะต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินปันผล โดยคิดเทียบส่วนยอดเงินได้ก่อนหักรายจ่ายที่ได้จากกิจการในประเทศไทยกับยอดเงินได้ก่อนหักรายจ่ายทั้งหมดเป็นเกณฑ์คำนวนว่าจะต้องแบ่งเงินปันผลทั้งหมดออกเป็นอัตราส่วนเท่าใดต่อเท่าใดแล้วใช้อัตราส่วนนี้แบ่งเงินปันผลออกเป็นเงินปันผลภายนอก และภายในประเทศเงินปันผลในประเทศที่คิดคำนวนได้นี้เท่านั้น เป็นเงินได้อันต้องประเมินเสียภาษีตาม ม.65
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้เรียกเก็บภาษีจากผู้เสียภาษีเงินได้เกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติให้เรียกเก็บ ศาลพิพากษาให้เจ้าพนักงานนั้นคืนค่าภาษีที่เรียกเก็บไว้เกินไปศาลก็อาจพิพากษาให้เจ้าพนักงานประเมินนั้น เสียดอกเบี้ยในจำนวนภาษีที่เรียกเกินไปตามที่ผู้เสียภาษีได้ฟ้องขอให้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้จากเงินปันผลของบริษัทต่างประเทศที่ทำกิจการในไทย: การเทียบสัดส่วนรายได้เพื่อคำนวณภาษี
บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามก.ม.ต่างประเทศและได้กระทำกิจการในประเทศไทยด้วย จะต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินปันผล โดยคิดเทียบส่วนยอดเงินได้ก่อนหักรายจ่ายที่ได้จากกิจการในประเทศไทยกับยอดเงินได้ก่อนหักรายจ่ายทั้งหมดเป็นเกณฑ์คำนวณว่าจะต้องแบ่งเงินปันผลทั้งหมดออกเป็นอัตราส่วนเท่าใดต่อเท่าใด แล้วใช้อัตราส่วนนี้แบ่งเงินปันผลออกเป็นเงินปันผลภายนอก และภายในประเทศ เงินปันผลในประเทศที่คิดคำนวณได้นี้เท่านั้น เป็นเงินได้อันต้องประเมินเสียภาษีตาม มาตรา 65
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้เรียกเก็บภาษีจากผู้เสียภาษีเงินได้เกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติให้เรียกเก็บ ศาลพิพากษาให้เจ้าพนักงานนั้นคืนค่าภาษีที่เรียกเก็บไว้เกินไป ศาลก็อาจพิพากษาให้เจ้าพนักงานประเมินนั้น เสียดอกเบี้ยในจำนวนภาษีที่เรียกเกินไปตามที่ผู้เสียภาษีได้ฟ้องขอให้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินประกันการปฏิบัติสัญญาต่างจากเงินมัดจำ ดอกเบี้ยคิดจากวันที่ผิดสัญญา
อย่างไรเรียกว่าเงินมัดจำ เงินประกันเรียกดอกเบี้ยได้แต่วันที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา
of 28