คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 7

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4936/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ยืมสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ แม้มิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น
ปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยขัดต่อกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็มีอำนาจยกข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246
สัญญากู้ยืมระบุว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารโจทก์ แต่ตามประกาศกำหนดดอกเบี้ยของโจทก์ในขณะทำสัญญากู้ยืมกำหนดอัตราดอกเบี้ยเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลาร้อยละ14.50 ต่อปี ไม่มีข้อความตอนใดในประกาศดังกล่าวที่กำหนดให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยได้ถึงร้อยละ 19 ต่อปี ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญากู้ยืมจึงสูงกว่าที่โจทก์มีสิทธิจะเรียกเก็บได้ตามกฎหมาย และขัดต่อ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯมาตรา 3(ก) ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ในสัญญากู้ยืมจึงตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาเงินกู้, อัตราดอกเบี้ย, การแปลงค่าเงิน, และขอบเขตการพิจารณาของศาล
เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 7 ถือได้ว่าไม่มีปัญหาดังกล่าวในชั้นนี้ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่จำต้องส่งเรื่องไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 9
การที่คู่กรณีมีข้อสัญญากันไว้ว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นให้เสนอข้อพิพาทต่อนุญาโตตุลาการนั้น ก็มิได้หมายความว่าจะตัดสิทธิมิให้คู่กรณีนำคดีฟ้องต่อศาลเสียทีเดียว เพราะอาจมีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะ หรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติสัญญานั้นก็เป็นได้ หากคู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาในการที่จะต้องเสนอข้อพิพาทต่อนุญาโตตุลาการ ก็ชอบที่จะให้การโต้แย้งหรือยื่นคำร้องต่อศาลตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 แต่จำเลยที่ 1มิได้ให้การโต้แย้งหรือยื่นคำร้องดังกล่าวแต่อย่างใด กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้สละสิทธิเกี่ยวกับข้อสัญญาเรื่องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดระหว่างกันแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยที่ 2 เป็นภริยาจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของบริษัท ส . ต่อโจทก์ แม้บริษัท ส. เป็นผู้รับเงินไปใช้ในกิจการของบริษัท ส. โดยจำเลยที่ 1 มิได้มีส่วนรับเงินไปใช้เป็นการส่วนตัวหรือกิจการของครอบครัวก็ตาม แต่หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 สามีก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว ที่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นภริยาได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงเป็นหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4)
อัตราดอกเบี้ย SIBOR (Singapore Inter - bank Offered Rate หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ให้กู้ยืมเงินกันระหว่างธนาคารด้วยกันในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์) นั้นเป็นเพียงตัวตั้งเบื้องต้นของสูตรคำนวณอัตราดอกเบี้ย แม้โจทก์จะมิได้นำสืบถึงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวก็ตาม ก็จะถือว่าการกู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้วให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ไม่ได้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10.0847 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอนั้นชอบแล้ว
ในการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศนั้น ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าหนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ ท่านว่าจะใช้เป็นเงินไทยก็ได้" อันเป็นการให้สิทธิแก่จำเลยทั้งสองผู้เป็นลูกหนี้ที่จะเลือกชำระเงินให้โจทก์ด้วยเงินตราต่างประเทศตามที่โจทก์ขอหรือจะชำระด้วยเงินไทยก็ได้ตามแต่จำเลยทั้งสองจะสมัครใจ หากจำเลยทั้งสองเลือกจะชำระเป็นเงินไทย จำเลยทั้งสองก็ต้องชำระเงินไทยให้โจทก์ตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในสถานที่และเวลาใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "การเปลี่ยนเงินนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลา ที่ใช้เงิน" ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้พิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดใน เงินจำนวนดังกล่าวแล้ว ยังพิพากษาต่อไปอีกว่า "ในกรณีที่จำเลยทั้งสองจะชำระเป็นเงินบาทให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยน ถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ที่ขายให้ลูกค้าในวันที่ใช้เงินจริง?" ก็เป็นการแสดงให้จำเลยทั้งสองทราบถึงสิทธิของ จำเลยทั้งสองที่จะชำระหนี้ด้วยเงินไทยก็ได้ โดยถืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตามสถานที่และวันที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง นั้นเอง มิได้ก่อให้ฝ่ายใดได้เปรียบในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่อกันแต่อย่างใด คำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดังกล่าวนั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์หรือขัดต่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดทำให้หนี้บางส่วนเป็นโมฆะ ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
เช็คพิพาทที่จำเลยออกให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมมีมูลหนี้ที่มีอยู่จริงเพียง 200,000 บาท ส่วนอีก 100,000 บาท เป็นหนี้ที่โจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อเดือน อันเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดรวมอยู่ด้วย ทั้งคำฟ้องโจทก์ก็มิได้บรรยายว่าจำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเท่าใด จำนวนเงินกู้ดังกล่าวจึงไม่อาจแยกเงินต้นและดอกเบี้ยออกจากกันได้ เมื่อจำนวนดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะฟ้องบังคับมิได้ ดังนั้น การที่จำเลยออกเช็คพิพาทระบุจำนวนเงิน 300,000 บาท เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่เพียง 200,000 บาท จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในสัญญากู้ยืมเงินกรณีคณะกรรมการไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล และการคิดดอกเบี้ยเมื่อไม่ได้กำหนดเวลาชำระ
หนังสือ สัญญากู้ยืม เงิน ระบุ คณะกรรมการ กองทุน ผู้บริหาร สำนักงาน การ ประถม ศึกษา อำเภอ เป็น ผู้กู้ โดย มี จำเลย เป็น ผู้ลงนาม ใน ฐานะ ประธาน คณะกรรมการ แต่เมื่อ คณะกรรมการ ไม่มี ฐานะ เป็น นิติบุคคล ที่ จะ สามารถ รับผิด ต่อ โจทก์ ใน ฐานะ บุคคลภายนอก สำหรับ กิจการ ที่ จำเลย กระทำ ไป ดัง ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 จึง ถือไม่ได้ว่า จำเลย เข้า ทำ สัญญา แทน ตัวการ ที่ มี ตัว อยู่ จริง ดังนั้น จำเลย จึง ต้อง รับผิด ตาม สัญญากู้ยืม เงิน ตาม ลำพัง สัญญากู้ยืม เงิน ไม่ได้ กำหนด อัตรา ดอกเบี้ย ไว้ เพียงแต่ กำหนด ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย ทุกวัน สิ้นเดือน โจทก์ จึง มีสิทธิ คิด ดอกเบี้ย ใน ระหว่าง ผิดนัด อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 แม้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ อัตรา ร้อยละ 2 บาท ต่อ เดือน ก็ เป็น การ ชำระ ดอกเบี้ย ตาม อำเภอ ใจ โดย รู้ อยู่ ว่า ตน ไม่มี ความผูกพัน ที่ จะ ต้อง ชำระ จำเลย หา มีสิทธิ จะ ได้รับ ดอกเบี้ย ที่ ชำระ ไป แล้ว คืน ไม่ อย่างไร ก็ ตาม เนื่องจาก สัญญากู้ยืม เงิน มิได้ กำหนด เวลา ให้ จำเลย ใช้ คืนเงิน ที่ กู้ยืม และ ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ ได้ บอกกล่าว แก่ จำเลย ให้ คืนเงิน ดังกล่าว ภายใน เวลา อันควร ตาม มาตรา 652 จึง ไม่อาจ ถือว่า วันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่ง เป็น วัน หลังจาก วันที่ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย สำหรับ เดือน สุดท้าย ให้ แก่ โจทก์ เป็น วันที่ จำเลย ผิดนัด ต้อง ถือว่า จำเลย ผิดนัด และ ต้อง เสีย ดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1759/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในสัญญากู้ยืมเงินเมื่อผู้ลงนามไม่ใช่ตัวการ และการคิดดอกเบี้ยเมื่อไม่ได้กำหนดเวลาชำระ
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินระบุคณะกรรมการกองทุนผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเป็นผู้กู้โดยมีจำเลยเป็นผู้ลงนามในฐานะประธานคณะกรรมการ แต่เมื่อคณะกรรมการไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่จะสามารถรับผิดต่อโจทก์ในฐานะบุคคลภายนอกสำหรับกิจการที่จำเลยกระทำไปดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 820 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเข้าทำสัญญาแทนตัวการที่มีตัวอยู่จริง ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินตามลำพัง
สัญญากู้ยืมเงินไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงแต่กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 แม้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์อัตราร้อยละ 2 บาทต่อเดือน ก็เป็นการชำระดอกเบี้ยตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยหามีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วคืนไม่ อย่างไรก็ตามเนื่องจากสัญญากู้ยืมเงินมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยใช้คืนเงินที่กู้ยืมและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้คืนเงินดังกล่าวภายในเวลาอันควรตามมาตรา 652จึงไม่อาจถือว่าวันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเดือนสุดท้ายให้แก่โจทก์ เป็นวันที่จำเลยผิดนัด ต้องถือว่าจำเลยผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับและดอกเบี้ยต้องมีข้อตกลงชัดเจน, ดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยเป็นโมฆะ, สถานะลูกหนี้มีผลต่อการใช้เช็ค
การที่คู่สัญญาจะมีสิทธิคิดเบี้ยปรับจากคู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญาได้นั้น ต้องมีการตกลงไว้ในสัญญาโดยชัดแจ้งว่า มีเงื่อนไขในการกำหนดเบี้ยปรับกันอย่างไรผิดสัญญาข้อใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 หาใช่เป็นการคิดเอาตามอำเภอใจแต่ฝ่ายเดียวไม่
จำเลยทั้งสองเป็นหนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. แม้หนี้เดิมจะเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้ามิใช่หนี้กู้ยืมก็ตาม แต่ก็เป็นหนี้เงินที่ต้องชำระต่อกันจึงต้องอยู่ภายใต้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7และมาตรา 224 ซึ่งคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปีและห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอีกด้วย การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในต้นเงิน 2 ล้านบาทมาเป็นจำนวน 6 ล้านบาทเศษ ในเวลาประมาณ 2 ปี นับว่าเป็นจำนวนดอกเบี้ยสูงมากคิดแล้วเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละร้อยต่อปีทั้งการเปลี่ยนเช็คแต่ละฉบับโดยนำดอกเบี้ยมารวมเป็นต้นเงินตามเช็คฉบับใหม่มีลักษณะเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยอันต้องห้ามตามกฎหมาย ประกอบกับตลอดเวลาที่ค้าขายติดต่อกัน จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เพื่อชำระหนี้มีจำนวนประมาณ 30 ฉบับ และทุกฉบับขึ้นเงินไม่ได้ทั้งโจทก์ผู้รับโอนเช็คพิพาทจาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ยังรับว่าเช็คที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. นำไปเปลี่ยนจากจำเลยทุกครั้งเป็นเช็คที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. นำไปแลกเงินสดจากโจทก์ และเมื่อถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จะส่งเช็คฉบับนั้นนำไปขอเปลี่ยนเช็คฉบับใหม่จากจำเลยทุกคราวไป แสดงให้เห็นว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. และโจทก์ต่างรู้ถึงฐานะทางการเงินของจำเลยทั้งสองเป็นอย่างดีว่ามีความขัดสนรุนแรงเพียงใดดังนั้น การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท4 ฉบับ แต่ละฉบับมีจำนวนเงินสูงลงวันที่ล่วงหน้าเป็นวันเดียวกันโดยให้เวลาเพียง 2 เดือนเศษ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ย่อมทราบดีว่าขณะที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คนั้น จำเลยไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ตามเช็คได้ จำเลยทั้งสองอยู่ในภาวะที่ถูก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. บีบบังคับให้ต้องสั่งจ่ายเช็คที่มีดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยรวมอยู่ด้วย การสั่งจ่ายเช็คของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แม้ว่าโจทก์จะไม่ทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9866/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมที่ไม่ได้ระบุดอกเบี้ย การนำสืบพยานบุคคลขัดมาตรา 94(ข) ป.วิ.พ. ศาลจำกัดดอกเบี้ย
การกู้ยืมเงินเกินกว่า 50 บาท ขึ้นไป กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อสัญญากู้ไม่ได้ระบุข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงต้องฟังว่าสัญญากู้ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ย ดังนั้น การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาเบิกความว่าสัญญากู้เงินมีข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสาร คำพยานของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามมาตรา 94 (ข) แห่ง ป.วิ.พ. โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
บันทึกข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ตามเอกสารแนบท้ายฎีกานั้น โจทก์มิได้นำสืบแสดงพยานหลักฐานดังกล่าวในชั้นพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น และเป็นเอกสารที่อยู่ใน ความครอบครองรู้เห็นของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว การที่โจทก์นำเสนอเอกสารดังกล่าวในชั้นนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7080/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาเงินกู้: ข้อตกลงปรับขึ้นดอกเบี้ยไม่ใช่เบี้ยปรับ, คิดดอกเบี้ยตามสัญญาก่อนบอกเลิก
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินบัญชีได้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ว่า จำเลยยอมเสีย ดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีให้โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือนในจำนวนเงินที่เป็นหนี้แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (FLOATING RATE) ในอัตราร้อยละ 19 และ 18 ต่อปี โดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร และจำเลยยอมให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงเพราะการบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์จะคิดอัตรา ดอกเบี้ยสูงสุดที่พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของธนาคารโจทก์ซึ่งปรับเปลี่ยนได้อีกต่อไปไม่ได้คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาอันเป็นสิทธิตามสัญญาที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.6 และสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.8 กำหนดอัตรา ดอกเบี้ยไว้ไม่เท่ากัน กล่าวคือ ร้อยละ 19 และ 18 ตามลำดับ แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ความชัดแจ้งว่ายอดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ณ วันถัดจากวันที่เลิกสัญญาถึงวันฟ้องที่ขอมานั้นแบ่งเป็นยอดดอกเบี้ยตามสัญญา เอกสารหมาย จ.6 เท่าใด และสัญญาเอกสารหมาย จ.8 เท่าใด จึงต้องคิดในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ตามที่โจทก์ประสงค์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัด: การคำนวณค่าเสียหาย, ค่าเสื่อมราคา, และดอกเบี้ยที่เหมาะสม
ข้อสัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่า ถ้าเจ้าของได้ขายทรัพย์สินที่เช่าซื้อไปแล้วยังไม่คุ้มราคาเช่าซื้อที่ต้องชำระทั้งหมดตามสัญญากับค่าเสียหายอื่น ๆ ผู้เช่าซื้อจะชดใช้เงินให้เจ้าของจนครบถ้วน เป็นวิธีการคำนวณค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อมีการผิดสัญญาเช่าซื้อ มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ผู้ให้เช่าซื้อกับผู้เช่าซื้อมีข้อตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าซื้อว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้องชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันผิดนัด เงินที่ผิดนัดค้างชำระหมายถึงหนี้เงินที่ผู้เช่าซื้อต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา แต่ค่าเสียหายในกรณีที่ผู้เช่าซื้อชำระหนี้ไม่ตรงตามเวลาไม่ใช่หนี้เงินตามที่สัญญาเช่าซื้อระบุไว้ ศาลจึงบังคับให้ผู้เช่าซื้อชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในค่าเสียหายดังกล่าวไม่ได้ ผู้ให้เช่าซื้อคงมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เช่าซื้อใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2732/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินโบนัสตามผลดำเนินงาน สัญญาจ้างกำหนดสิทธิขั้นต่ำ และผลของการผิดนัดชำระหนี้
สัญญาจ้างกำหนดสิทธิที่โจทก์จะได้รับเงินโบนัสจากจำเลยว่า "เงินโบนัสตามผลดำเนินงานของบริษัท โดยบริษัทจะจ่ายเงินโบนัสให้อย่างน้อยปีละ 1 เท่าของเงินเดือน ในวันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี" ย่อมหมายความว่า บริษัทจำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์จำนวนมากน้อยตามผลการดำเนินงานของบริษัท แต่อย่างน้อยต้องจ่ายปีละ 1 เท่าของเงินเดือน โดยจ่ายให้แก่โจทก์ในวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินโบนัสของปี 2541 ให้แก่โจทก์ จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป ต้องรับผิดจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง มาตรา 7 และ 224
of 28