พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7945/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาเงินกู้: การคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา, ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกัน
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีตราสำคัญของโจทก์ประทับเป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็น ซึ่งจำเลยทั้งสี่เพิ่งยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง อุทธรณ์ข้อนี้จึงมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
โจทก์จำเลยทำสัญญาตกลงอัตราดอกเบี้ยไว้ชัดเจนและไม่ต้องห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินอัตรา ซึ่งโจทก์เป็นสถาบันการเงินได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีที่พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ และตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดแล้ว ก็ต้องผูกพันตามนั้น
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่ากำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดใดยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาทบเป็นต้นเงินได้ และสัญญาไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดจนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญา หรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันระบุว่าจำเลยที่ 1 ใช้เช็คถอนเงินสดครั้งสุดท้ายวันที่ 6 มีนาคม 2535 จำนวน850,000 บาท แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่หักทอนบัญชีคิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระในแต่ละเดือน โดยมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31มีนาคม 2535 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สูงกว่าวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีมาก ทั้งตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันก็ระบุว่า ห้ามผ่านเช็ค ซึ่งแสดงว่าโจทก์ระงับการจ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่าย แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะเลิกการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดหักทอนบัญชีทุกวันสิ้นเดือน สัญญาจึงเลิกกันในวันที่ 31 มีนาคม 2535
โจทก์จำเลยทำสัญญาตกลงอัตราดอกเบี้ยไว้ชัดเจนและไม่ต้องห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินอัตรา ซึ่งโจทก์เป็นสถาบันการเงินได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีที่พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ และตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดแล้ว ก็ต้องผูกพันตามนั้น
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่ากำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดใดยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาทบเป็นต้นเงินได้ และสัญญาไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดจนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญา หรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันระบุว่าจำเลยที่ 1 ใช้เช็คถอนเงินสดครั้งสุดท้ายวันที่ 6 มีนาคม 2535 จำนวน850,000 บาท แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่หักทอนบัญชีคิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระในแต่ละเดือน โดยมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31มีนาคม 2535 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สูงกว่าวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีมาก ทั้งตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันก็ระบุว่า ห้ามผ่านเช็ค ซึ่งแสดงว่าโจทก์ระงับการจ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่าย แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะเลิกการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดหักทอนบัญชีทุกวันสิ้นเดือน สัญญาจึงเลิกกันในวันที่ 31 มีนาคม 2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตามสัญญา กู้ยืมเงิน หากสัญญากำหนดตามกฎหมาย ต้องคิดดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15 ต่อปี แต่สัญญากู้ยืมเงินกำหนดให้คิดดอกเบี้ยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด มิได้กำหนดอัตราว่าเท่าใด จึงต้องคิดดอกเบี้ยกันร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญา กู้ยืมเงิน: ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยอัตราดอกเบี้ย แม้คู่ความมิได้ฎีกา หากเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15 ต่อปี แต่สัญญากู้ยืมเงินกำหนดให้คิดดอกเบี้ยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด มิได้กำหนดอัตราว่าเท่าใด จึงต้องคิดดอกเบี้ยกันร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตามสัญญา กู้ยืมเงิน หากสัญญากำหนดตามกฎหมายแต่ไม่ระบุอัตรา ให้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยรับผิดชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามคำขอท้ายฟ้อง แต่สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องกำหนดให้คิดดอกเบี้ยตามอัตราที่กฎหมายกำหนดแต่ไม่ได้กำหนดอัตราว่าเท่าใด จึงต้องคิดดอกเบี้ยกันร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความไม่ฎีกาศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5655-5751/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวเลิกจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบจริง จึงมีผลตามกฎหมาย การบอกกล่าวล่วงหน้ามีความสำคัญ
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2541 จำเลยได้ส่งสำเนาประกาศเลิกจ้างโจทก์ จากสำนักงานกลางกรุงเทพมหานคร ทางโทรสารไปปิดประกาศเพื่อแจ้งให้โจทก์ทราบที่โรงงานน้ำตาลลำปางที่โจทก์สังกัดอยู่ แม้จะมีการปิดประกาศในวันนั้น แต่จะมีผลเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างต่อเมื่อโจทก์ได้ทราบประกาศดังกล่าวแล้ว โจทก์ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างของจำเลยวันที่ 3 กรกฎาคม 2541 ต้องถือว่าจำเลยบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2541 และมีผลเป็นการเลิกจ้างกันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าคือวันที่ 30 สิงหาคม 2541 เมื่อการบอกกล่าวเลิกจ้างของจำเลยที่ประสงค์ให้เป็นผลเลิกจ้างกันในวันที่ 1 สิงหาคม 2541 ไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 582 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนสิงหาคม 2541 จำนวน 30 วันตามฟ้อง และจำลเยต้องชำระดอกเบี้ยของสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ประกอบด้วยมาตรา 224 นับแต่วันฟ้องซึ่งถือเป็นวันผิดนัดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ต้องไม่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไป แม้มีสัญญาให้คิดดอกเบี้ยสูงสุดได้
การที่โจทก์มิได้หักเงินฝากในบัญชีเงินฝากประจำตามสัญญาชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 นอกจากจะเป็นการไม่ใช้สิทธิของโจทก์ตามข้อตกลงในสัญญาแล้ว ยังเป็นการกระทำที่แสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์ซึ่งประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ไม่คำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้า แต่กลับมุ่งหวังประโยชน์ในดอกเบี้ยจากลูกค้าอันเป็นการเอาเปรียบลูกค้าโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ถือได้ว่าการที่โจทก์ไม่หักชำระหนี้ต้นเงินบางส่วนดังกล่าวแต่กลับมาฟ้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินที่ควรได้รับการชำระหนี้แล้วจำนวน 1,500,000 บาท นั้น เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนี้ แม้โจทก์จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในส่วนต้นเงิน 1,500,000 บาท อยู่ แต่ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดในส่วนเฉพาะดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวนดังกล่าว เนื่องจากการคิดดอกเบี้ยส่วนนี้เป็นเหตุที่สืบเนื่องมาจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี) นับแต่วันที่ธนาคารได้ชำระเงินค่าสินค้าแทน แสดงว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวได้แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ ส่วนในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้มีข้อตกลงกันตามสัญญา ข้อ 7 ว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4. นับแต่วันที่ผิดนัดจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น และยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากทุกประเภทที่มีอยู่กับธนาคารเพื่อชำระหนี้ได้ทันที และเมื่อหักแล้วปรากฏยังเหลือหนี้ค้างชำระอยู่อีกเป็นจำนวนเท่าใด ยอมให้ธนาคารนำหนี้ที่เหลือค้างชำระดังกล่าวลงจ่ายในบัญชีเดินสะพัด และเป็นหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ธนาคารพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวตามประเพณีการคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดของธนาคาร และหรือยินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน นับแต่วันที่เป็นหนี้ตามบัญชีเดินสะพัด สัญญาข้อนี้แสดงว่าในกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้โจทก์เรียกเก็บได้ ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดในกรณีที่มิได้ผิดนัดตามสัญญา ข้อ 4. และหากอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปก็ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยตามอัตราสูงสุดที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ก่อนเท่านั้น เมื่อข้อสัญญาดังกล่าวให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดอัตราเดียวกับกรณีที่ไม่ผิดนัด ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่โจทก์คิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยก่อนผิดนัด ดังนี้ ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราเดียวกัน สัญญาข้อ 7 ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสัญญากำหนดค่าเสียหายเพื่อการผิดนัดชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า อันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลจะมีอำนาจลดลงตามสมควรได้ตามมาตรา 383
แม้จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2535 โดยธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดได้และโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยมาในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้วก็ตาม แต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทก่อนที่จะมีหลักเกณฑ์ใหม่ออกมาใช้บังคับ และตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7. กำหนดให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดในอัตราสูงสุดได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่คิดก่อนผิดนัด ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราที่สูงไปกว่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกก่อนจำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างผิดนัดชำระหนี้ได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่คิดได้จากลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งได้แก่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดเป็นกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 14 (2) ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนจะเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาตามมาตรา 44 ดังนี้ ปัญหาว่าธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกค้าถูกต้องตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ ย่อมเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องไม่มีคู่ความอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ตามคำให้การจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการที่โจทก์นำเงินไปหักชำระหนี้ล่าช้า เป็นเหตุให้จำเลยเสียหายที่จะต้องนำค่าเสียหายมาหักหนี้แต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัย นอกจากนี้ แม้โจทก์จะนำเงินนั้นไปหักชำระหนี้ทันทีก็หักชำระหนี้ได้เฉพาะดอกเบี้ย การหักชำระหนี้ล่าช้าไม่ใช่กรณีที่ทำให้ต้นเงินที่โจทก์ใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การเอาเปรียบจำเลยทั้งสาม อันจะถือว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตที่จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวและพิพากษาให้หักค่าเสียหายออกจากหนี้ 150,000 บาท จึงไม่ชอบเพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น แม้โจทก์จะอ้างว่า ส. และจำเลยที่ 3 นำสิทธิในเงินฝากประจำมาประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และทำสัญญายอมให้โจทก์หักหรือถอนเงินฝากเข้าชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ทันทีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ใช้สิทธิหักชำระหนี้ แล้วกลับมาขอให้พิพากษาให้โจทก์มีสิทธิหักชำระหนี้จากเงินฝากดังกล่าว ซึ่งจะมีผลถึง ส. ที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องมาในคดีนี้ด้วย จึงบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 ระบุว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ระบุไว้ตามรายละเอียดแนบท้ายในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี) นับแต่วันที่ธนาคารได้ชำระเงินค่าสินค้าแทน แสดงว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวได้แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ ส่วนในกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้มีข้อตกลงกันตามสัญญา ข้อ 7 ว่า ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราตามที่กำหนดในข้อ 4. นับแต่วันที่ผิดนัดจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น และยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากทุกประเภทที่มีอยู่กับธนาคารเพื่อชำระหนี้ได้ทันที และเมื่อหักแล้วปรากฏยังเหลือหนี้ค้างชำระอยู่อีกเป็นจำนวนเท่าใด ยอมให้ธนาคารนำหนี้ที่เหลือค้างชำระดังกล่าวลงจ่ายในบัญชีเดินสะพัด และเป็นหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ธนาคารพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดดังกล่าวตามประเพณีการคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดของธนาคาร และหรือยินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน นับแต่วันที่เป็นหนี้ตามบัญชีเดินสะพัด สัญญาข้อนี้แสดงว่าในกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้โจทก์เรียกเก็บได้ ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดในกรณีที่มิได้ผิดนัดตามสัญญา ข้อ 4. และหากอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปก็ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยตามอัตราสูงสุดที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ก่อนเท่านั้น เมื่อข้อสัญญาดังกล่าวให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดอัตราเดียวกับกรณีที่ไม่ผิดนัด ไม่ใช่ข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่โจทก์คิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยก่อนผิดนัด ดังนี้ ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะผิดนัดหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราเดียวกัน สัญญาข้อ 7 ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสัญญากำหนดค่าเสียหายเพื่อการผิดนัดชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า อันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลจะมีอำนาจลดลงตามสมควรได้ตามมาตรา 383
แม้จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2535 โดยธนาคารพาณิชย์ประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดได้และโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยมาในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้วก็ตาม แต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทก่อนที่จะมีหลักเกณฑ์ใหม่ออกมาใช้บังคับ และตามสัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7. กำหนดให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดในอัตราสูงสุดได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่คิดก่อนผิดนัด ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราที่สูงไปกว่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกก่อนจำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในระหว่างผิดนัดชำระหนี้ได้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่คิดได้จากลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งได้แก่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดเป็นกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้ตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 14 (2) ซึ่งโจทก์ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนจะเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาตามมาตรา 44 ดังนี้ ปัญหาว่าธนาคารโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกค้าถูกต้องตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ ย่อมเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องไม่มีคู่ความอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ตามคำให้การจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการที่โจทก์นำเงินไปหักชำระหนี้ล่าช้า เป็นเหตุให้จำเลยเสียหายที่จะต้องนำค่าเสียหายมาหักหนี้แต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัย นอกจากนี้ แม้โจทก์จะนำเงินนั้นไปหักชำระหนี้ทันทีก็หักชำระหนี้ได้เฉพาะดอกเบี้ย การหักชำระหนี้ล่าช้าไม่ใช่กรณีที่ทำให้ต้นเงินที่โจทก์ใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การเอาเปรียบจำเลยทั้งสาม อันจะถือว่าเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตที่จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวและพิพากษาให้หักค่าเสียหายออกจากหนี้ 150,000 บาท จึงไม่ชอบเพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น แม้โจทก์จะอ้างว่า ส. และจำเลยที่ 3 นำสิทธิในเงินฝากประจำมาประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และทำสัญญายอมให้โจทก์หักหรือถอนเงินฝากเข้าชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ทันทีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ใช้สิทธิหักชำระหนี้ แล้วกลับมาขอให้พิพากษาให้โจทก์มีสิทธิหักชำระหนี้จากเงินฝากดังกล่าว ซึ่งจะมีผลถึง ส. ที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องมาในคดีนี้ด้วย จึงบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9516/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้: การปรับขึ้นดอกเบี้ยต้องมีข้อตกลงชัดเจน แม้สัญญาอนุญาตให้ปรับขึ้นได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
แม้ตามสัญญาและต่อท้ายสัญญา จะระบุยอมให้โจทก์ขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ได้ตามความ เหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยยอมให้โจทก์ปรับขึ้นดอกเบี้ยในกรณีปกติจากอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยในวันทำสัญญา คืออัตราดอกเบี้ย MRR เท่ากับ 13.5 ต่อปี หาได้มีข้อตกลงให้โจทก์ขึ้นดอกเบี้ยในอัตราใหม่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตในกรณีที่จำเลยผิดนัด หรือผิดเงื่อนไขแต่อย่างใดไม่ แม้ตามประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อซึ่งออก โดยอาศัยอำนาจตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด จะระบุให้คิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขตามสัญญาไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ก็เป็นเรื่องให้สิทธิโจทก์ที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่าอัตราดอกเบี้ยที่คิดตามปกติเท่านั้น ส่วนโจทก์จะมีอำนาจปรับได้หรือไม่ ต้องพิจารณาจากสัญญากู้เงินว่ามีข้อตกลงยินยอมให้ปรับได้หรือไม่ก่อน ทั้งการปรับอัตราดอกเบี้ยในกรณีดังกล่าวเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่โจทก์ โดยที่จำเลยไม่อาจโต้แย้งได้ จึงต้องตีความข้อตกลงในสัญญาโดยเคร่งครัด โจทก์เองก็ยอมรับว่าในสัญญากู้เงินไม่ได้เขียนข้อตกลงนี้ไว้อย่างชัดแจ้งว่าหากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดหรือผิดเงื่อนไขจำเลยยอมชำระดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9516/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ – การปรับขึ้นดอกเบี้ย – ข้อตกลงในสัญญา – ดอกเบี้ยผิดนัด – การตีความสัญญา
ตามสัญญาและต่อท้ายสัญญาจะระบุยอมให้โจทก์ขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ได้ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ เป็นเรื่องที่จำเลยยอมให้โจทก์ปรับขึ้นดอกเบี้ยในกรณีปกติจากอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยในวันทำสัญญาแบบอัตราลอยตัว หาได้มีข้อตกลงให้โจทก์ขึ้นดอกเบี้ยในอัตราใหม่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตในกรณีที่จำเลยผิดนัดหรือผิดเงื่อนไขไม่ แม้ตามประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดจะระบุให้คิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขตามสัญญาไม่เกินร้อยละ19 ต่อปี ก็เป็นเรื่องให้สิทธิโจทก์ที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่าอัตราดอกเบี้ยที่คิดตามปกติเท่านั้น ส่วนโจทก์จะมีอำนาจปรับได้หรือไม่ต้องพิจารณาจากสัญญากู้เงินว่ามีข้อตกลงยินยอมให้ปรับได้หรือไม่ก่อนทั้งการปรับอัตราดอกเบี้ยในกรณีดังกล่าวเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่โจทก์โดยที่จำเลยไม่อาจโต้แย้งได้ จึงต้องตีความข้อตกลงในสัญญาโดยเคร่งครัดโจทก์ยอมรับว่าในสัญญากู้เงินไม่ได้เขียนข้อตกลงนี้ไว้อย่างชัดแจ้งว่าหากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดหรือผิดเงื่อนไขจำเลยยอมชำระดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปีนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเบิกเกินบัญชี, เบี้ยปรับ, จำนองค้ำประกัน, ศาลลดเบี้ยปรับได้, สัญญาจำนองใช้ได้กับหนี้ในอนาคต
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงในการชำระดอกเบี้ยไว้ว่าผู้ให้กู้ประกาศกำหนดเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ 16.25 ต่อปี และสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในอัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ 18.5 ต่อปี เห็นได้ว่า สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างธนาคารโจทก์และจำเลย ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 16.25 ต่อปีอยู่แล้ว การที่สัญญาข้อต่อมากำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณี ที่จำเลยผิดนัดไว้ว่า ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีนั้น ก็คือการที่จำเลยสัญญาให้เบี้ยปรับในฐานผิดสัญญากู้เบิกเงิน เกินบัญชีแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 2.25 ต่อปีนั่นเอง ซึ่งเบี้ยปรับ นี้ถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็น จำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 วรรคหนึ่ง สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ยินยอมให้ ผู้ให้กู้มีสิทธิใช้ดุลพินิจนำเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ได้ทดรองจ่าย ไปแทนผู้กู้ไปลงจ่ายในบัญชีเดินสะพัดที่ผู้กู้มีอยู่กับผู้ให้กู้เพื่อให้ผู้กู้เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีต่อผู้ให้กู้ต่อไป และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์จึงมี สิทธิคิดดอกเบี้ยสำหรับต้นเงินค่าเบี้ยประกันภัยในอัตราดังกล่าว แม้จำเลยผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีได้จดทะเบียนจำนองทรัพย์จำนอง ให้ไว้แก่โจทก์ก่อนเปิดบัญชีเดินสะพัดและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681 วรรคสอง บัญญัติว่า หนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขจะประกันไว้เพื่อ เหตุการณ์ซึ่งหนี้นั้นอาจเป็นผลได้จริง ก็ประกันได้ และมาตรา 707 บัญญัติว่าบทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ ใช้ได้ในการจำนอง อนุโลมตามควร ดังนั้น สัญญาจำนองซึ่ง เป็นหนี้อุทธรณ์จึงสามารถประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ ในอนาคตได้ สัญญาจำนองย่อมไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเบี้ยปรับสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และการประกันหนี้ในอนาคตด้วยจำนอง
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงในการชำระดอกเบี้ยไว้ว่าผู้ให้กู้ประกาศกำหนดเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ 16.25 ต่อปีและสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในอัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ 18.5 ต่อปี เห็นได้ว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างธนาคารโจทก์และจำเลยได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 16.25 ต่อปีอยู่แล้ว การที่สัญญาข้อต่อมากำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยผิดนัดไว้ว่า ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีนั้น ก็คือการที่จำเลยสัญญาให้เบี้ยปรับในฐานผิดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ2.25 ต่อปีนั่นเอง ซึ่งเบี้ยปรับนี้ถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิใช้ดุลพินิจนำเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ได้ทดรองจ่ายไปแทนผู้กู้ไปลงจ่ายในบัญชีเดินสะพัดที่ผู้กู้มีอยู่กับผู้ให้กู้เพื่อให้ผู้กู้เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีต่อผู้ให้กู้ต่อไป และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยสำหรับต้นเงินค่าเบี้ยประกันภัยในอัตราดังกล่าว
แม้จำเลยผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีได้จดทะเบียนจำนองทรัพย์จำนองให้ไว้แก่โจทก์ก่อนเปิดบัญชีเดินสะพัดและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีก็ตาม แต่ ป.พ.พ.มาตรา 681 วรรคสอง บัญญัติว่า หนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขจะประกันไว้เพื่อเหตุการณ์ซึ่งหนี้นั้นอาจเป็นผลได้จริง ก็ประกันได้ และมาตรา 707 บัญญัติว่าบทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนอง อนุโลมตามควรดังนั้น สัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์จึงสามารถประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ในอนาคตได้ สัญญาจำนองย่อมไม่ตกเป็นโมฆะ
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิใช้ดุลพินิจนำเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ได้ทดรองจ่ายไปแทนผู้กู้ไปลงจ่ายในบัญชีเดินสะพัดที่ผู้กู้มีอยู่กับผู้ให้กู้เพื่อให้ผู้กู้เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีต่อผู้ให้กู้ต่อไป และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยสำหรับต้นเงินค่าเบี้ยประกันภัยในอัตราดังกล่าว
แม้จำเลยผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีได้จดทะเบียนจำนองทรัพย์จำนองให้ไว้แก่โจทก์ก่อนเปิดบัญชีเดินสะพัดและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีก็ตาม แต่ ป.พ.พ.มาตรา 681 วรรคสอง บัญญัติว่า หนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขจะประกันไว้เพื่อเหตุการณ์ซึ่งหนี้นั้นอาจเป็นผลได้จริง ก็ประกันได้ และมาตรา 707 บัญญัติว่าบทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนอง อนุโลมตามควรดังนั้น สัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์จึงสามารถประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นหนี้ในอนาคตได้ สัญญาจำนองย่อมไม่ตกเป็นโมฆะ