คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 7

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3311/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา, เบี้ยปรับ, การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย, สัญญาเงินกู้, ข้อกำหนดสัญญา
ตามหนังสือสัญญากู้เงิน ระบุว่าผู้กู้หรือจำเลยยอมเสียดอกเบี้ย ให้แก่ผู้ให้กู้หรือโจทก์เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญา ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ข้างต้น และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศธนาคารฯ หรือตามหนังสือสัญญาจำนองก็ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เช่นเดียวกัน ดังนั้น นับแต่วันแรกที่จำเลยรับเงินกู้ยืมไปจากโจทก์ โจทก์ก็สามารถคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากจำเลยได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ จำเลยผิดนัดภายใต้การควบคุมหรือตามประกาศกระทรวงการคลัง จึงไม่ต้องด้วยข้อกำหนดหรือเงื่อนไขของเบี้ยปรับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ที่กำหนด ให้ลูกหนี้หรือจำเลยใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตน ไม่ชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราขั้นต่ำแก่จำเลยในระยะเริ่มแรก แล้วค่อย ๆ ปรับให้สูงขึ้นถือเป็นการให้ความอนุเคราะห์แก่ ลูกค้า ซึ่งไม่อาจแปลข้อกำหนดในเรื่องอัตราดอกเบี้ยธรรมดา ทั่ว ๆ ไปให้กลายเป็นเบี้ยปรับอันอาจก่อให้เกิดเป็นโทษ แก่โจทก์ได้ จึงไม่ควรที่จะลดดอกเบี้ยของโจทก์ลงเหลืออัตรา ร้อยละ 17 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชี: สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นสิ้นสุดเมื่อเลิกสัญญาสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2524 จำเลยได้ทำสัญญาเบิกเงิน เกินบัญชีจากบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์ ในวงเงิน 1,500,000 บาทมีกำหนดเวลา 12 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ตกลงชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากจำนวนเงินที่เบิกเงินเกินบัญชีแล้วจำเลยได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินออกจากบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีหักทอนบัญชีกับโจทก์เป็นการเดินสะพัดในบัญชีเรื่อยมา จนกระทั่งวันที่ 14 ธันวาคม 2526จึงไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป หลังจากนั้นแม้จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้ง แต่ก็เป็นการชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าได้มีการเลิกบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2526อันเป็นวันครบกำหนดการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ 2 สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นสัญญาที่มีลักษณะพิเศษคือช่วงระยะเวลาที่คู่สัญญายังเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแม้จะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 กำหนดไว้ แต่เมื่อมีการเลิกสัญญากันแล้วโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะถือเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้ เว้นโจทก์จะขอให้จำเลย ชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นสิ้นสุดเมื่อเลิกสัญญา
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2524 จำเลยได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์ ในวงเงิน 1,500,000 บาท มีกำหนดเวลา12 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ตกลงชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากจำนวนเงินที่เบิกเงินเกินบัญชี แล้วจำเลยได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินออกจากบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีหักทอนบัญชีกับโจทก์เป็นการเดินสะพัดในบัญชีเรื่อยมา จนกระทั่งวันที่ 14 ธันวาคม2526 จึงไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป หลังจากนั้นแม้จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้ง แต่ก็เป็นการชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ จึงถือได้ว่าได้มีการเลิกบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2526 อันเป็นวันครบกำหนดการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ 2
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นสัญญาที่มีลักษณะพิเศษคือ ช่วงระยะเวลาที่คู่สัญญายังเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แม้จะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าที่ ป.พ.พ.มาตรา 654 กำหนดไว้ แต่เมื่อมีการเลิกสัญญากันแล้วโจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะถือเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้ เว้นโจทก์จะขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยเบี้ยปรับสัญญาเงินกู้: ศาลยืนตามศาลชั้นต้นว่าเบี้ยปรับต้องไม่เกินที่กฎหมายกำหนด
ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทระบุว่า จำเลยผู้กู้ยอมให้ธนาคารโจทก์ผู้ให้กู้ขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยได้ตามความเหมาะสม โดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์กำหนดในวันที่โจทก์ฟ้องคดี โจทก์อาศัย อำนาจตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและตามประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินสินเชื่อซึ่งระบุว่า อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้มีระยะเวลาเท่ากับร้อยละ 18.00 ต่อปีและอัตราดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีส่วนที่เกินวงเงิน หรือเบิกเงินเกินบัญชีชั่วคราว หรือสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไข ตามสัญญาไม่เกินร้อยละ 25.00 ต่อปี ย่อมเห็นได้ว่า หนี้สินเชื่ออื่นนอกจากหนี้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์จะคิดดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 25.00 ต่อปี ได้เฉพาะกรณีลูกหนี้ผิดนัด เท่านั้น หากลูกหนี้ไม่ผิดนัดแล้วถ้าเป็นลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภท เงินกู้มีระยะเวลาซึ่งจำเลยเป็นลูกค้าประเภทดังกล่าวนี้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้สูงสุดเพียงร้อยละ 18.00 ต่อปีดังนี้อัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกสูงขึ้นได้ในกรณีจำเลย ผิดนัดหรือผิดเงื่อนไขตามสัญญามีลักษณะเป็นค่าเสียหาย ซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ให้สัญญาแก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ ว่าจะใช้เงินจำนวนอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว จึงเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ดังนั้น หากศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลย่อมมี อำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเสียดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง อัตราร้อยละ 19.50 ต่อปี ซึ่งหมายถึงกำหนดเบี้ยปรับ ให้อัตราดังกล่าวนั้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยเบี้ยปรับสัญญาเงินกู้ ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้หากสูงเกินส่วน
ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทระบุว่า จำเลยผู้กู้ยอมให้ธนาคารโจทก์ผู้ให้กู้ขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยได้ตามความเหมาะสม โดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์กำหนดในวันที่โจทก์ฟ้องคดี โจทก์อาศัยอำนาจตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและตามประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินสินเชื่อ ซึ่งระบุว่า อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้มีระยะเวลาเท่ากับร้อยละ 18.00 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีส่วนที่เกินวงเงิน หรือเบิกเงินเกินบัญชีชั่วคราว หรือสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขตามสัญญาไม่เกินร้อยละ 25.00 ต่อปี ย่อมเห็นได้ว่า หนี้สินเชื่ออื่นนอกจากหนี้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 25.00 ต่อปี ได้เฉพาะกรณีลูกหนี้ผิดนัดเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่ผิดนัดแล้วถ้าเป็นลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้มีระยะเวลาซึ่งจำเลยเป็นลูกค้าประเภทดังกล่าวนี้ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้สูงสุดเพียงร้อยละ18.00 ต่อปี ดังนี้อัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกสูงขึ้นได้ในกรณีจำเลยผิดนัดหรือผิดเงื่อนไขตามสัญญามีลักษณะเป็นค่าเสียหายซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ให้สัญญาแก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว จึงเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ดังนั้น หากศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเสียดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องอัตราร้อยละ 19.50 ต่อปี ซึ่งหมายถึงกำหนดเบี้ยปรับให้อัตราดังกล่าวนั้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้สิ้นสุดแล้ว ธนาคารไม่อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยได้เกินอัตราเดิมตามสัญญา
การที่ธนาคารโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระเงินกู้ทั้งหมดพร้อมไถ่ถอนจำนองและจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว แสดงว่า โจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแล้วตามหนังสือดังกล่าว เมื่อสัญญา สิ้นสุดลง โจทก์จะอาศัยประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงิน ให้สินเชื่อในอัตราที่โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ ที่ผิดเงื่อนไขได้ถึงร้อยละ 24 ต่อปีมาปรับคิดดอกเบี้ยกับจำเลย ในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นหาได้ไม่ เพราะสัญญาที่ให้สิทธิ แก่โจทก์ในการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสิ้นผลไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บอกเลิกสัญญากู้เงินและอัตราดอกเบี้ยหลังสัญญาหมดอายุ
การที่ธนาคารโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระเงินกู้ทั้งหมดพร้อมไถ่ถอนจำนองและจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว แสดงว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแล้วตามหนังสือดังกล่าว เมื่อสัญญาสิ้นสุดลง โจทก์จะอาศัยประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อในอัตราที่โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขได้ถึงร้อยละ 24 ต่อปีมาปรับคิดดอกเบี้ยกับจำเลยในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นหาได้ไม่ เพราะสัญญาที่ให้สิทธิแก่โจทก์ในการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสิ้นผลไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อใด และการคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน1,000,000 บาท เป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา แต่โจทก์ผู้ให้กู้จะเรียกร้องให้จำเลยผู้กู้ชำระหนี้ทั้งหมด หรือบางส่วนเมื่อใดก็ได้ ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร หลังจาก ทำสัญญาแล้วมีการเพิ่มและลดวงเงินหลายครั้ง รวมวงเงิน ที่อนุมัติ 3,000,000 บาท กำหนดหักทอนบัญชีทุกวันสิ้นเดือนแม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยจะไม่มี กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาก็ตาม แต่เมื่อมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 กรกฎาคม 2537แล้ว วงเงินค้างชำระเกิน 3,000,000 บาท โจทก์จึงได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ หลังจากนั้นจำเลยไม่ได้เบิกเงินจากบัญชีอีกเลย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาประสงค์ให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันที่ 31 กรกฎาคม 2537 นั่นเอง แม้หลังจากนั้นจำเลยจะนำเงินเข้าบัญชีอีก 2 ครั้ง ก็เป็นการชำระหนี้ที่ค้างอยู่ มิได้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันตามปรกติ อีกโจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้เพียงวันที่ 31กรกฎาคม 2537 เท่านั้น และหากในขณะสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลง โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราใด หลังจากเลิกสัญญาแล้วโจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราดังกล่าวแบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุด-ดอกเบี้ย: การคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาสิ้นสุด และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน 1,000,000บาท เป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา แต่โจทก์ผู้ให้กู้จะเรียกร้องให้จำเลยผู้กู้ชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนเมื่อใดก็ได้ ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร หลังจากทำสัญญาแล้วมีการเพิ่มและลดวงเงินหลายครั้ง รวมวงเงินที่อนุมัติ 3,000,000 บาท กำหนดหักทอนบัญชีทุกวันสิ้นเดือน แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยจะไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาก็ตาม แต่เมื่อมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่31 กรกฎาคม 2537 แล้ว วงเงินค้างชำระเกิน 3,000,000 บาท โจทก์จึงได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ หลังจากนั้นจำเลยไม่ได้เบิกเงินจากบัญชีอีกเลย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาประสงค์ให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันที่ 31 กรกฎาคม 2537 นั่นเอง แม้หลังจากนั้นจำเลยจะนำเงินเข้าบัญชีอีก 2 ครั้งก็เป็นการชำระหนี้ที่ค้างอยู่ มิได้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันตามปรกติอีก โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้เพียงวันที่ 31 กรกฎาคม 2537 เท่านั้น และหากในขณะสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลง โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราใด หลังจากเลิกสัญญาแล้วโจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราดังกล่าวแบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยหลังสัญญา และเบี้ยปรับ: ศาลฎีกาชี้ขาดขอบเขตการบังคับใช้
เบี้ยปรับนั้นเป็นข้อกำหนดในสัญญาที่ลูกหนี้ตกลงไว้ล่วงหน้ายอมชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่เจ้าหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทกำหนดว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารเป็นรายเดือนดังนี้ ปีแรกอัตราดอกเบี้ยร้อยละ12.95 ต่อปี ปีที่ 2 เป็นต้นไป แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว(FLOATINGRATE) ในอัตราร้อยละ HLR-0.5 ต่อปี(ซึ่ง ณ วันทำสัญญาอัตราดอกเบี้ย HLR-14.0 ต่อปี) แต่หากธนาคารจะขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่ากฎหมายอนุญาตให้คิดได้ ผู้กู้ตกลงให้ธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราใหม่ได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ โดยให้ถือว่า ผู้กู้ได้ทราบและให้ความยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวไว้ล่วงหน้าแล้วโดยไม่โต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น และตามสัญญาจำนองที่ดินฉบับพิพาทก็กำหนดให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ในทำนองเดียวกันนั้น อันเป็นกรณีที่จำเลยให้สิทธิแก่โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้ในวันทำสัญญาให้สูงขึ้นอีกได้ ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ศาลจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ให้โจทก์ทุกเดือนตามสัญญาเรื่อยมาโดยชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 แล้วก็ผิดนัดจนโจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองให้จำเลยดำเนินการชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นภายในวันที่5 ตุลาคม 2540 และหนังสือดังกล่าวไปถึงจำเลยแล้วเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2540 สัญญากู้จึงเป็นอันสิ้นสุดแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยคงมีอยู่ก่อนวันที่สัญญากู้สิ้นสุดเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าก่อนวันดังกล่าวโจทก์มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นไม่เกินอัตราร้อยละ19 ต่อปี ตามประกาศเรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อมิใช่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 24 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2540ตามอัตราที่โจทก์คิดคำนวณเอาโดยอาศัยตามประกาศ เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นประกาศของของโจทก์หลังจากที่สัญญากู้ได้สิ้นสุดไปแล้ว ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 28