พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยปรับปรุงได้ตามสัญญา และภริยาสามีเป็นลูกหนี้ร่วมกันในหนี้ที่เกิดจากสินสมรส
หนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาจำนองได้ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี หรือดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่โจทก์กำหนดและระบุด้วยว่าจำเลยผู้กู้และผู้จำนองตกลงให้โจทก์ขึ้นหรือปรับปรุง อัตราดอกเบี้ยตามความเหมาะสม โดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาต ได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ และถือว่าจำเลยได้ยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าแล้ว และตามสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เงินระบุว่าหากภายหลังวันทำสัญญาธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้จำเลยยินยอมให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ดังนั้นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 18 ต่อปีเป็นร้อยละ 19 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองที่กำหนดให้โจทก์มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แม้จำเลยจะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ก็ตาม ข้อสัญญาดังกล่าวจึงมิใช่เบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ที่ศาลจะลดลงได้ตามมาตรา 383 การที่โจทก์ปรับดอกเบี้ยตามข้อตกลงขณะจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา เป็นแต่เพียงวิธีการหนึ่งในการเรียกเอาชำระหนี้ทั้งหมดจากจำเลยเท่านั้นไม่ทำให้สภาพของดอกเบี้ยตามข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยอันมีอยู่แต่เดิมต้องแปรเปลี่ยนเป็นเบี้ยปรับไปไม่ จำเลยที่ 1 ได้ที่ดินที่จำนองมาในระหว่างที่จำเลยที่ 1สมรสกับจำเลยที่ 3 ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) และเมื่อจำเลยที่ 1 นำที่ดินอันเป็นสินสมรสไปจดทะเบียนจำนองแก่โจทก์โดยจำเลยที่ 3 ให้ความยินยอม หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาสามีเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 1490(2) โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา, การปรับขึ้นดอกเบี้ย, และความรับผิดของภริยาในหนี้สินสมรส
หนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาจำนองได้ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี หรือดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่โจทก์กำหนด และระบุด้วยว่าจำเลยผู้กู้และผู้จำนองตกลงให้โจทก์ขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ และถือว่าจำเลยได้ยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าแล้ว และตามสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เงินระบุว่าหากภายหลังวันทำสัญญาธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ จำเลยยินยอมให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ดังนั้นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ18 ต่อปี เป็นร้อยละ 19 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของโจทก์ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีจึงเป็นการคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองที่กำหนดให้โจทก์มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แม้จำเลยจะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ก็ตาม ข้อสัญญาดังกล่าวจึงมิใช่เบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ที่ศาลจะลดลงได้ตามมาตรา 383 การที่โจทก์ปรับดอกเบี้ยตามข้อตกลงขณะจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา เป็นแต่เพียงวิธีการหนึ่งในการเรียกเอาชำระหนี้ทั้งหมดจากจำเลยเท่านั้น ไม่ทำให้สภาพของดอกเบี้ยตามข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยอันมีอยู่แต่เดิมต้องแปรเปลี่ยนเป็นเบี้ยปรับไปไม่
จำเลยที่ 1 ได้ที่ดินที่จำนองมาในระหว่างที่จำเลยที่ 1 สมรสกับจำเลยที่ 3 ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ.มาตรา 1474 (1) และเมื่อจำเลยที่ 1 นำที่ดินอันเป็นสินสมรสไปจดทะเบียนจำนองแก่โจทก์โดยจำเลยที่ 3 ให้ความยินยอม หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาสามีเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 1490 (2) โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
จำเลยที่ 1 ได้ที่ดินที่จำนองมาในระหว่างที่จำเลยที่ 1 สมรสกับจำเลยที่ 3 ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ.มาตรา 1474 (1) และเมื่อจำเลยที่ 1 นำที่ดินอันเป็นสินสมรสไปจดทะเบียนจำนองแก่โจทก์โดยจำเลยที่ 3 ให้ความยินยอม หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาสามีเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 1490 (2) โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6907/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณดอกเบี้ย: นับแต่วันรุ่งขึ้นจากวันฟ้องตามหลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่จำเป็นต้องระบุเจาะจง
การคำนวณนับระยะเวลาในการคิดดอกเบี้ยนั้นอยู่ในบังคับของหลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง ซึ่งกำหนดมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมคำนวณเข้าด้วย จึงเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นโดยไม่นับวันฟ้องรวมคำนวณเข้าด้วยอยู่แล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ถ้อยคำเจาะจงว่าให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้องแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6343/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องหนี้จากการรับช่วงงานและเบิกจ่ายล่วงหน้า การคิดดอกเบี้ย และการรับฟังพยานหลักฐาน
คดีก่อนโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกรถพิพาทคืนจากจำเลยหรือไม่ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว ส่วนคดีก่อนอีกคดีหนึ่งจำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลย (โจทก์คดีนี้) ต้องรับผิดใช้เงินที่โจทก์ (จำเลยคดีนี้) ชำระหนี้แทนจำเลย (โจทก์คดีนี้) ต่อธนาคารโดยมาฟ้องไล่เบี้ยได้หรือไม่ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยคดีนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยฟ้องให้โจทก์ชำระเงินที่จำเลยทดรองจ่ายไปก่อน หลังจากหักกลบลบหนี้แล้ว ซึ่งปรากฏว่าโจทก์ยังติดค้างหนี้จำเลยอยู่ ดังนั้น คดีทั้งสองกับคดีนี้ มีประเด็นข้อพิพาทแตกต่างกัน หาใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และ 148 ไม่
แม้เอกสารพิพาทจำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียวโดยโจทก์มิได้รับรอง ทั้งยังเป็นสำเนาเอกสารก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าในขณะที่จำเลยอ้างเอกสารดังกล่าวต่อศาล โจทก์มิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือสำเนาเอกสารนั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ทั้งได้ความว่าต้นฉบับเอกสารดังกล่าวคู่ความได้อ้างส่งไว้ในสำนวนคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งของศาลชั้นต้น ศาลจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวนั้นได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93
การที่โจทก์ยอมให้จำเลยหักเงินจำนวนที่โจทก์เบิกล่วงหน้าจากเงินค่างานที่กรมทางหลวงจะจ่ายให้แก่จำเลยตามผลงานที่โจทก์ทำได้และส่งมอบให้กรมทางหลวงและโจทก์ยอมให้จำเลยคิดดอกเบี้ยในหนี้เงินที่เบิกล่วงหน้าแต่ละคราวในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี บ้าง ร้อยละ 17 ต่อปี บ้าง และร้อยละ 15 ต่อปี บ้าง เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารคิดจากจำเลยผู้กู้นั้นมีลักษณะเป็นบัญชีเดินสะพัด อัตราดอกเบี้ยของจำนวนเงินที่เบิกล่วงหน้าแต่ละยอดที่โจทก์ได้ตกลงยินยอมเสียให้แก่จำเลยย่อมหมดไปเมื่อมีการตัดทอนบัญชีแต่ละคราว มิใช่เป็นข้อสัญญาหรือนิติกรรมที่โจทก์ต้องผูกพันยอมให้จำเลยคิดดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้ตลอดไป เมื่อปรากฎจากบันทึกข้อตกลงในสัญญารับช่วงงานว่ามีการกำหนดดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ซึ่งเกินกว่ากฎหมายกำหนด ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้โจทก์รับผิดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันตัดทอนบัญชีในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 นั้น จึงชอบแล้ว
แม้เอกสารพิพาทจำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียวโดยโจทก์มิได้รับรอง ทั้งยังเป็นสำเนาเอกสารก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าในขณะที่จำเลยอ้างเอกสารดังกล่าวต่อศาล โจทก์มิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือสำเนาเอกสารนั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ทั้งได้ความว่าต้นฉบับเอกสารดังกล่าวคู่ความได้อ้างส่งไว้ในสำนวนคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งของศาลชั้นต้น ศาลจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวนั้นได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93
การที่โจทก์ยอมให้จำเลยหักเงินจำนวนที่โจทก์เบิกล่วงหน้าจากเงินค่างานที่กรมทางหลวงจะจ่ายให้แก่จำเลยตามผลงานที่โจทก์ทำได้และส่งมอบให้กรมทางหลวงและโจทก์ยอมให้จำเลยคิดดอกเบี้ยในหนี้เงินที่เบิกล่วงหน้าแต่ละคราวในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี บ้าง ร้อยละ 17 ต่อปี บ้าง และร้อยละ 15 ต่อปี บ้าง เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารคิดจากจำเลยผู้กู้นั้นมีลักษณะเป็นบัญชีเดินสะพัด อัตราดอกเบี้ยของจำนวนเงินที่เบิกล่วงหน้าแต่ละยอดที่โจทก์ได้ตกลงยินยอมเสียให้แก่จำเลยย่อมหมดไปเมื่อมีการตัดทอนบัญชีแต่ละคราว มิใช่เป็นข้อสัญญาหรือนิติกรรมที่โจทก์ต้องผูกพันยอมให้จำเลยคิดดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้ตลอดไป เมื่อปรากฎจากบันทึกข้อตกลงในสัญญารับช่วงงานว่ามีการกำหนดดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ซึ่งเกินกว่ากฎหมายกำหนด ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้โจทก์รับผิดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันตัดทอนบัญชีในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 นั้น จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญารับสภาพหนี้ไม่เป็นประนีประนอมยอมความ ดอกเบี้ยสูงกว่ากฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ
ตามสัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินมีข้อความว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาขายลดเช็ค และกู้ยืมเงิน ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ในวันที่ 31 ตุลาคม 2529 เป็นต้นเงินจำนวน 8,010,650 บาท และดอกเบี้ยจำนวน 1,987,439.27 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,998,089.27 บาทจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ยินยอมรับผิดใช้หนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี นับแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2529 โดยหนี้สัญญาขายลดเช็คจะผ่อนชำระเดือนละไม่ต่ำกว่า 45,000 บาท หนี้กู้ยืมเงินจะผ่อนชำระดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท หลังจากเดือนกรกฎาคม 2530 จะตกลงจำนวนเงินผ่อนชำระอีกครั้งโดยต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ 60,000 บาท และหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจะนำเงินเข้าหมุนเวียนลดยอดหนี้ในบัญชีให้อยู่ในวงเงินตามสัญญาภายใน6 เดือน หากผิดนัดชำระหนี้ตามเงื่อนไขดังกล่าวให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมดยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับได้ทั้งหมดทันที ดังนี้เป็นเพียงการที่จำเลยที่ 1 ที่ 4และที่ 5 เพียงฝ่ายเดียวได้ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาขายลดเช็ค และสัญญากู้ยืมเงินอยู่แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เป็นจำนวนเท่าใดและจะผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์อย่างไร ภายในระยะเวลาเท่าใด แต่หาได้มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันไม่สัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินตามเอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญา-ประนีประนอมยอมความ แต่เป็นเพียงการรับสภาพหนี้เท่านั้น
ขณะทำสัญญารับสภาพหนี้ได้มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินร้อยละ 15ต่อปี ดังนี้การที่ทำสัญญารับสภาพหนี้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ร้อยละ 19 ต่อปี จึงไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิย้อนกลับไปเรียกให้จำเลยทั้งหกรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีก คงรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องในต้นเงินที่ค้างชำระ
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ชำระไปแล้วย่อมไม่อาจเรียกคืนหรือให้กลับนำมาหักชำระต้นเงินได้อีก
ขณะทำสัญญารับสภาพหนี้ได้มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินร้อยละ 15ต่อปี ดังนี้การที่ทำสัญญารับสภาพหนี้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ร้อยละ 19 ต่อปี จึงไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิย้อนกลับไปเรียกให้จำเลยทั้งหกรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีก คงรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องในต้นเงินที่ค้างชำระ
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ชำระไปแล้วย่อมไม่อาจเรียกคืนหรือให้กลับนำมาหักชำระต้นเงินได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญารับสภาพหนี้ที่กำหนดดอกเบี้ยสูงเกินกฎหมายเป็นโมฆะ และการชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่อาจนำไปหักต้นเงินได้
ตามสัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 มีหนี้สินเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาขายลดเช็ค และกู้ยืมเงิน ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ในวันที่ 31 ตุลาคม 2529 เป็นต้นเงินจำนวน 8,010,650 บาท และดอกเบี้ยจำนวน1,987,439.27 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,998,089.27 บาท จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ยินยอมรับผิดใช้หนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ 21พฤศจิกายน 2529 โดยหนี้สัญญาขายลดเช็คจะผ่อนชำระเดือนละไม่ต่ำกว่า 45,000บาท หนี้กู้ยืมเงินจะผ่อนชำระดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท หลังจากเดือนกรกฎาคม 2530 จะตกลงจำนวนเงินผ่อนชำระอีกครั้งโดยต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ60,000 บาท และหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจะนำเงินเข้าหมุนเวียนลดยอดหนี้ในบัญชีให้อยู่ในวงเงินตามสัญญาภายใน 6 เดือน หากผิดนัดชำระหนี้ตามเงื่อนไขดังกล่าวให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมดยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับได้ทั้งหมดทันที ดังนี้เป็นเพียงการที่จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 เพียงฝ่ายเดียวได้ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสัญญาขายลดเช็ค และสัญญากู้ยืมเงินอยู่แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เป็นจำนวนเท่าใดและจะผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์อย่างไร ภายในระยะเวลาเท่าใด แต่หาได้มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันไม่ สัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินตามเอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เป็นเพียงการรับสภาพหนี้เท่านั้น
ขณะทำสัญญารับสภาพหนี้ได้มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ดังนี้การที่ทำสัญญารับสภาพหนี้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ร้อยละ 19 ต่อปี จึงไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิย้อนกลับไปเรียกให้จำเลยทั้งหกรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีก คงรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องในต้นเงินที่ค้างชำระ
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ชำระไปแล้วย่อมไม่อาจเรียกคืนหรือให้กลับนำมาหักชำระต้นเงินได้อีก
ขณะทำสัญญารับสภาพหนี้ได้มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ดังนี้การที่ทำสัญญารับสภาพหนี้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ร้อยละ 19 ต่อปี จึงไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิย้อนกลับไปเรียกให้จำเลยทั้งหกรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีก คงรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องในต้นเงินที่ค้างชำระ
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ชำระไปแล้วย่อมไม่อาจเรียกคืนหรือให้กลับนำมาหักชำระต้นเงินได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญารับสภาพหนี้มีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ และการชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่อาจนำไปหักชำระต้นเงินได้
ตามสัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 มีหนี้สินเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาขายลดเช็ค และกู้ยืมเงิน ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ในวันที่ 31 ตุลาคม 2529 เป็นต้นเงินจำนวน 8,010,650 บาท และดอกเบี้ยจำนวน1,987,439.27 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,998,089.27 บาท จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ยินยอมรับผิดใช้หนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ 21พฤศจิกายน 2529 โดยหนี้สัญญาขายลดเช็คจะผ่อนชำระเดือนละไม่ต่ำกว่า 45,000บาท หนี้กู้ยืมเงินจะผ่อนชำระดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท หลังจากเดือนกรกฎาคม 2530 จะตกลงจำนวนเงินผ่อนชำระอีกครั้งโดยต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ60,000 บาท และหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจะนำเงินเข้าหมุนเวียนลดยอดหนี้ในบัญชีให้อยู่ในวงเงินตามสัญญาภายใน 6 เดือน หากผิดนัดชำระหนี้ตามเงื่อนไขดังกล่าวให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมดยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับได้ทั้งหมดทันที ดังนี้เป็นเพียงการที่จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 เพียงฝ่ายเดียวได้ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสัญญาขายลดเช็ค และสัญญากู้ยืมเงินอยู่แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เป็นจำนวนเท่าใดและจะผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์อย่างไร ภายในระยะเวลาเท่าใด แต่หาได้มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันไม่ สัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินตามเอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เป็นเพียงการรับสภาพหนี้เท่านั้น
ขณะทำสัญญารับสภาพหนี้ได้มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ดังนี้การที่ทำสัญญารับสภาพหนี้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ร้อยละ 19 ต่อปี จึงไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิย้อนกลับไปเรียกให้จำเลยทั้งหกรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีก คงรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องในต้นเงินที่ค้างชำระ
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ชำระไปแล้วย่อมไม่อาจเรียกคืนหรือให้กลับนำมาหักชำระต้นเงินได้อีก
ขณะทำสัญญารับสภาพหนี้ได้มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ดังนี้การที่ทำสัญญารับสภาพหนี้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ร้อยละ 19 ต่อปี จึงไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิย้อนกลับไปเรียกให้จำเลยทั้งหกรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีก คงรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องในต้นเงินที่ค้างชำระ
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ชำระไปแล้วย่อมไม่อาจเรียกคืนหรือให้กลับนำมาหักชำระต้นเงินได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4325/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดหย่อนตามกฎหมาย
จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยจำเลยตกลงเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเท่ากับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมประเภทมีกำหนดระยะเวลาที่ธนาคาร ก.เรียกเก็บจากลูกค้าชั้นดีของธนาคารบวก 1 เปอร์เซ็นต์ จำเลยต้องชำระเงินกู้เป็นต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นรายงวด งวดละเดือน เริ่มชำระงวดแรกภายในวันที่ 21 กรกฎาคม 2538 งวดต่อไปจะชำระภายในวันที่ 21 ของทุกเดือนในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใดจำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดสัญญาให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันผิดสัญญาเป็นต้นไปจนกว่าจะใช้หนี้ครบถ้วน ดังนี้ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์สูงขึ้น หากจำเลยผิดสัญญา มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าอันเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้สัญญาแก่โจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ฉะนั้นเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องหนี้หลังลูกหนี้เสียชีวิต และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีหนี้
แม้หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ ป. ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์ยังไม่ถึงกำหนดชำระแต่ ป. ได้ถึงแก่ความตายเสียก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ภายใน1 ปีนับแต่เมื่อโจทก์รู้ถึงความตายของ ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสาม เพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อ ป. ถึงแก่ความตายหากรอจนหนี้ถึงกำหนดชำระอายุความ 1 ปีอาจจะล่วงพ้นไปแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ได้แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
ป. ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยจำเลยที่ 6ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ท้องที่ดังกล่าวทำสัญญาค้ำประกันการกู้ยืมเงินด้วยดังนี้ เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26พฤศจิกายน 2535 คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคลตามบทมาตราดังกล่าว โจทก์สามารถโอนคดีฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 6 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นทั้งมูลคดีก็เกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น คดีย่อมอยู่ในอำนาจศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาได้โจทก์หาจำต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุให้ศาลชั้นต้นรับคดีไว้พิจารณาไม่
แม้ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินข้อ 2 จะระบุข้อความไว้ว่า ไม่มีดอกเบี้ย แต่ข้อความตอนต้นระบุไว้ว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันที่ทำสัญญา นอกจากนี้ ป. ผู้กู้ยังได้บันทึกรับรองไว้ตอนท้ายสัญญากู้ยืมว่า ถ้าหากไม่ชำระหนี้ตามสัญญาใน 2 ปี ยินยอมคิดดอกเบี้ยนับจากวันครบสัญญา แสดงให้เห็นว่าป. ยอมรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือน (ร้อยละ 15 ต่อปี)นับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว หาใช่คู่สัญญาไม่ได้ตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยในอันที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ไม่
ป. ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยจำเลยที่ 6ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ท้องที่ดังกล่าวทำสัญญาค้ำประกันการกู้ยืมเงินด้วยดังนี้ เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26พฤศจิกายน 2535 คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคลตามบทมาตราดังกล่าว โจทก์สามารถโอนคดีฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 6 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นทั้งมูลคดีก็เกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น คดีย่อมอยู่ในอำนาจศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาได้โจทก์หาจำต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุให้ศาลชั้นต้นรับคดีไว้พิจารณาไม่
แม้ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินข้อ 2 จะระบุข้อความไว้ว่า ไม่มีดอกเบี้ย แต่ข้อความตอนต้นระบุไว้ว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันที่ทำสัญญา นอกจากนี้ ป. ผู้กู้ยังได้บันทึกรับรองไว้ตอนท้ายสัญญากู้ยืมว่า ถ้าหากไม่ชำระหนี้ตามสัญญาใน 2 ปี ยินยอมคิดดอกเบี้ยนับจากวันครบสัญญา แสดงให้เห็นว่าป. ยอมรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือน (ร้อยละ 15 ต่อปี)นับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว หาใช่คู่สัญญาไม่ได้ตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยในอันที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้สัญญาเงินกู้และการบังคับจำนอง การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ตามสัญญากู้ยืม จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของเงินกู้ที่เบิกไปจากโจทก์ทุกวันทำการสิ้นเดือนของทุกเดือน หากผิดนัดชำระเงินงวดหนึ่งงวดใด ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดในจำนวนหนี้ทั้งหมดโดยหนี้ทั้งหมดตามสัญญาเป็นอันถึงกำหนดชำระทันที โดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดในสัญญากู้ยืม แต่โจทก์ยอมรับชำระดอกเบี้ยของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ทักท้วงว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนด-สัญญา พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฎิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเป็นสาระสำคัญ จึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยล่าช้าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาแล้ว
แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนอง โดยจำเลยที่ 1ในฐานะผู้กู้และผู้จำนอง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ดังกล่าว ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ 13 ต่อปี และอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ 1 ต่อปีและหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี
แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนอง โดยจำเลยที่ 1ในฐานะผู้กู้และผู้จำนอง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ดังกล่าว ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ 13 ต่อปี และอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ 1 ต่อปีและหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี