คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
โพยม เลขยานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,126 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับใช้ของสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกและการครอบครองทรัพย์สินตามสัญญา
สัญญาแบ่งทรัพย์มรดกมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750.
ฟ้องบรรยายว่าบรรดาทายาทนำพินัยกรรมไปให้เจ้าพนักงานอำเภอเปิดและยินยอมทำบันทึกประนีประนอมแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรมระหว่างทายาท โจทก์ได้ที่ดินแปลงพิพาท ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์. ดังนี้ เป็นการฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ตามสัญญาแบ่งทรัพย์. และเมื่อทำสัญญาแล้ว โจทก์ก็ครอบครองที่พิพาทตลอดมา. เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอแบ่งมรดก. จำเลยจึงอ้างเอาอายุความมรดกมาบังคับแก่คดีไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งทรัพย์มรดกมีผลบังคับใช้ได้ และไม่ถือเป็นการฟ้องแบ่งมรดก ทำให้ไม่ต้องติดอายุความมรดก
สัญญาแบ่งทรัพย์มรดกมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1750
ฟ้องบรรยายว่าบรรดาทายาทนำพินัยกรรมไปให้เจ้าพนักงานอำเภอเปิดและยินยอมทำบันทึกประนีประนอมแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรมระหว่างทายาท โจทก์ได้ที่ดินแปลงพิพาท ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ดังนี้ เป็นการฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ตามสัญญาแบ่งทรัพย์ และเมื่อทำสัญญาแล้ว โจทก์ก็ครอบครองที่พิพาทตลอดมา เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอแบ่งมรดก จำเลยจึงอ้างเอาอายุความมรดกมาบังคับแก่คดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีโดยจำเลย ศาลชอบที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
จำเลยพยายามที่จะให้คดีดำเนินไปอย่างล่าช้า กล่าวคือในเบื้องต้นจำเลยทำเป็นฟ้องแย้งแล้วปล่อยระยะเวลาให้ล่วงเลยไปโดยไม่นำเจ้าพนักงานไปส่งหมายเรียกและฟ้องแย้งให้โจทก์. ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีฟ้องแย้ง. วันชี้สองสถานฝ่ายจำเลยไม่มาศาล.วันสืบพยานจำเลยครั้งแรก ทนายจำเลยแถลงว่าปวดฟันขอเลื่อน ศาลอนุญาตและได้กำชับว่าหากมีกรณีขอเลื่อนไปอีกศาลจะไม่อนุญาตถ้าไม่มีเหตุผลที่หนักแน่นสมควร. นัดที่ 2 โจทก์ขอเลื่อน นัดที่ 3 จำเลยขอเลื่อนโดยอ้างเหตุป่วยปวดฟัน. ศาลอนุญาตให้เลื่อน และสั่งว่าจะอนุญาตให้จำเลยขอเลื่อนไปครั้งนี้ครั้งเดียว ในนัดหน้าจะไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนไปอีกไม่ว่ากรณีใด. นัดที่ 4 ทนายจำเลยขอเลื่อนอีก อ้างเหตุปวดฟัน. โจทก์คัดค้าน ศาลจึงไม่อนุญาตให้เลื่อน. ตามพฤติการณ์ที่ฝ่ายจำเลยดำเนินคดีตลอดมาดังกล่าวนี้ เป็นการประวิงคดี. ศาลจึงไม่อนุญาตให้เลื่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีด้วยการขอเลื่อนนัดสืบพยานซ้ำๆ ถือเป็นการจงใจทำให้คดีล่าช้า ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตให้เลื่อน
จำเลยพยายามที่จะให้คดีดำเนินไปอย่างล่าช้า กล่าวคือในเบื้องต้นจำเลยทำเป็นฟ้องแย้งแล้วปล่อยระยะเวลาให้ล่วงเลยไปโดยไม่นำเจ้าพนักงานไปส่งหมายเรียกและฟ้องแย้งให้โจทก์ ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีฟ้องแย้งวันชี้สองสถานฝ่ายจำเลยไม่มาศาลวันสืบพยานจำเลยครั้งแรก ทนายจำเลยแถลงว่าปวดฟันขอเลื่อน ศาลอนุญาตและได้กำชับว่าหากมีกรณีขอเลื่อนไปอีกศาลจะไม่อนุญาตถ้าไม่มีเหตุผลที่หนักแน่นสมควร นัดที่ 2 โจทก์ขอเลื่อน นัดที่ 3 จำเลยขอเลื่อนโดยอ้างเหตุป่วยปวดฟัน ศาลอนุญาตให้เลื่อน และสั่งว่าจะอนุญาตให้จำเลยขอเลื่อนไปครั้งนี้ครั้งเดียว ในนัดหน้าจะไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนไปอีกไม่ว่ากรณีใด นัดที่ 4 ทนายจำเลยขอเลื่อนอีก อ้างเหตุปวดฟันโจทก์คัดค้าน ศาลจึงไม่อนุญาตให้เลื่อนตามพฤติการณ์ที่ฝ่ายจำเลยดำเนินคดีตลอดมาดังกล่าวนี้ เป็นการประวิงคดี ศาลจึงไม่อนุญาตให้เลื่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีด้วยการขอเลื่อนนัดหลายครั้ง ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตให้เลื่อน และดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อไปได้
จำเลยพยายามที่จะให้คดีดำเนินไปอย่างล่าช้า กล่าวคือในเบื้องต้นจำเลยทำเป็นฟ้องแย้งแล้วปล่อยระยะเวลาให้ล่วงเลยไป โดยไม่นำเจ้าพนักงานไปส่งหมายเรียกและฟ้องแย้งให้โจทก์ ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีฟ้องแย้ง วันชี้สองสถานฝ่ายจำเลยไม่มาศาล วันสืบพยานจำเลยครั้งแรก ทนายจำเลยแถลงว่าปวดฟันขอเลื่อน ศาลอนุญาตและได้กำชับว่าหากมีกรณีขอเลื่อนไปอีกศาลจะไม่อนุญาตถ้าไม่มีเหตุผลที่หนักแน่นสมควร นัดที่ 2 โจทก์ขอเลื่อน นัดที่ 3 จำเลยขอเลื่อนโดยอ้างเหตุป่วยปวดฟัน ศาลอนุญาตให้เลื่อน และสั่งว่าจะอนุญาตให้จำเลยขอเลื่อนไปครั้งนี้ครั้งเดียว ในนัดหน้าจะไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนไปอีกไม่ว่ากรณีใด นัดที่ 4 จำเลยขอเลื่อนอีก อ้างเหตุปวดฟัน โจทก์คัดค้าน ศาลจึงไม่อนุญาตให้เลื่อน ตามพฤติการณ์ที่ฝ่ายจำเลยดำเนินคดีตลอดมาดังกล่าวนี้ เป็นการประวิงคดีศาลจึงไม่อนุญาตให้เลื่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายกับคนต่างด้าว: สัญญาจะซื้อขาย, การขออนุญาต, และผลของสัญญาจำนอง/เช่า
แม้สัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล.1 ข้อ 2 มีความว่านับแต่วันทำหนังสือสัญญาเป็นต้นไป กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายย่อมโอนไปเป็นของผู้ซื้อ ฯลฯ แต่สัญญาข้อ 4 ก็มีความว่า โดยที่ผู้ซื้อเป็นนิติบุคคลสัญชาติต่างด้าวจะต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยเสียก่อนจึงเข้ารับโอนกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนดได้ และเมื่อผู้ซื้อได้รับอนุญาตจากทางราชการให้เข้าถือกรรมสิทธิ์ได้แล้วผู้ขายพร้อมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนดให้เป็นของผู้ซื้อดังนี้ แสดงว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทยังไม่โอนไปเป็นของจำเลยผู้ซื้อซึ่งเป็นนิติบุคคลสัญชาติต่างด้าว โดยคู่สัญญามีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อไป ถึงแม้ว่าผู้จะซื้อได้ชำระราคาและเข้าครอบครองทรัพย์ด้วย ก็เป็นการครอบครองแทนผู้จะขาย เมื่อพิจารณาข้อความในสัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล. 1 ทั้งหมด สัญญานี้เป็นเพียงสัญญาจะซื้อขายเท่านั้น
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 คนต่างด้าวซึ่งมีสนธิสัญญากับประเทศไทยอาจได้มาซึ่งที่ดินตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อนุญาตแล้วจึงไม่เป็นข้อห้ามโดยเด็ดขาดที่ไม่ให้คนต่างด้าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในประเทศไทยฉะนั้น สัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล. 1 ซึ่งมีข้อความว่าให้จำเลยต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงจะทำการซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กัน จึงไม่เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหาเป็นโมฆะไม่ การที่ผู้จะขายกับผู้จะซื้อทำสัญญาจำนองและสัญญาเช่าทรัพย์พิพาทกันอีกชั้นหนึ่งนั้นเมื่อไม่มีผลทำให้กรรมสิทธิ์โอนไปจากผู้จะขาย ก็ถือไม่ได้ว่าผู้จะขายกับผู้จะซื้อมีเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมาย ไม่ต้องให้ผู้จะซื้อขออนุญาต เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน
ผู้จะขายตกลงจำนองทรัพย์ที่จะขายไว้กับผู้จะซื้อ และในสัญญาจำนองตกลงกันให้ถือเอาเงินที่ชำระราคาตามสัญญาจะซื้อขายเป็นเงินจำนอง เมื่อมีข้อสัญญาว่าให้การจำนองนี้เป็นประกันเงินที่ผู้จะขายอาจต้องคืนผู้จะซื้อเมื่อมีการเลิกสัญญาจะซื้อขายกัน ย่อมเป็นสัญญาที่มีมูลหนี้สมบูรณ์ใช้บังคับได้ และในกรณีที่ผู้จะซื้อตกลงเช่าทรัพย์พิพาทที่จะซื้อจากผู้จะขายสัญญาเช่าก็ย่อมปฏิบัติต่อกันได้ ซึ่งผู้จะซื้อซึ่งเป็นผู้เช่าย่อมใช้สิทธิตามสัญญานี้เข้าครอบครองใช้ทรัพย์พิพาท ฉะนั้น สัญญาจำนองสัญญาเช่าดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ และไม่เป็นการอำพรางนิติกรรมสัญญาจะซื้อขาย(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายกับคนต่างด้าว: สัญญาจะซื้อขาย vs. สัญญาซื้อขาย, การครอบครอง, และความสมบูรณ์ของสัญญาจำนอง/เช่า
แม้สัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล.1 ข้อ 2 มีความว่านับแต่วันทำหนังสือสัญญาเป็นต้นไป. กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายย่อมโอนไปเป็นของผู้ซื้อ ฯลฯ แต่สัญญาข้อ 4 ก็มีความว่า โดยที่ผู้ซื้อเป็นนิติบุคคลสัญชาติต่างด้าวจะต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยเสียก่อนจึงเข้ารับโอนกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนดได้ และเมื่อผู้ซื้อได้รับอนุญาตจากทางราชการให้เข้าถือกรรมสิทธิ์ได้แล้ว.ผู้ขายพร้อมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนดให้เป็นของผู้ซื้อ. ดังนี้ แสดงว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทยังไม่โอนไปเป็นของจำเลยผู้ซื้อซึ่งเป็นนิติบุคคลสัญชาติต่างด้าว. โดยคู่สัญญามีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อไป. ถึงแม้ว่าผู้จะซื้อได้ชำระราคาและเข้าครอบครองทรัพย์ด้วย ก็เป็นการครอบครองแทนผู้จะขาย. เมื่อพิจารณาข้อความในสัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล. 1 ทั้งหมด สัญญานี้เป็นเพียงสัญญาจะซื้อขายเท่านั้น.
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 คนต่างด้าวซึ่งมีสนธิสัญญากับประเทศไทยอาจได้มาซึ่งที่ดินตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อนุญาตแล้ว. จึงไม่เป็นข้อห้ามโดยเด็ดขาดที่ไม่ให้คนต่างด้าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในประเทศไทย. ฉะนั้น สัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล. 1 ซึ่งมีข้อความว่าให้จำเลยต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงจะทำการซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กัน. จึงไม่เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหาเป็นโมฆะไม่. การที่ผู้จะขายกับผู้จะซื้อทำสัญญาจำนองและสัญญาเช่าทรัพย์พิพาทกันอีกชั้นหนึ่งนั้นเมื่อไม่มีผลทำให้กรรมสิทธิ์โอนไปจากผู้จะขาย ก็ถือไม่ได้ว่าผู้จะขายกับผู้จะซื้อมีเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมาย ไม่ต้องให้ผู้จะซื้อขออนุญาต เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน.
ผู้จะขายตกลงจำนองทรัพย์ที่จะขายไว้กับผู้จะซื้อ และในสัญญาจำนองตกลงกันให้ถือเอาเงินที่ชำระราคาตามสัญญาจะซื้อขายเป็นเงินจำนอง เมื่อมีข้อสัญญาว่าให้การจำนองนี้เป็นประกันเงินที่ผู้จะขายอาจต้องคืนผู้จะซื้อเมื่อมีการเลิกสัญญาจะซื้อขายกัน ย่อมเป็นสัญญาที่มีมูลหนี้สมบูรณ์ใช้บังคับได้ และในกรณีที่ผู้จะซื้อตกลงเช่าทรัพย์พิพาทที่จะซื้อจากผู้จะขายสัญญาเช่าก็ย่อมปฏิบัติต่อกันได้ ซึ่งผู้จะซื้อซึ่งเป็นผู้เช่าย่อมใช้สิทธิตามสัญญานี้เข้าครอบครองใช้ทรัพย์พิพาท. ฉะนั้น สัญญาจำนองสัญญาเช่าดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ และไม่เป็นการอำพรางนิติกรรมสัญญาจะซื้อขาย(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินของคนต่างด้าว: สัญญาซื้อขายไม่โมฆะหากยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ และสัญญาจำนอง/เช่าไม่เป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมาย
แม้สัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล. 1 ข้อ 2 มีความว่า นับแต่วันทำหนังสือสัญญาเป็นต้นไป กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายย่อมโอนไปเป็นของผู้ซื้อ ฯลฯ แต่สัญญาข้อ 4 ก็มีความว่า โดยที่ผู้ซื้อเป็นนิติบุคคลสัญชาติต่างด้าวจะต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยเสียก่อน จึงเข้ารับการโอนกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนดได้ และเมื่อผู้ซื้อได้รับอนุญาตจากทางราชการให้เข้าถือกรรมสิทธิ์ได้แล้ว ผู้ขายพร้อมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนดให้เป็นของผู้ซื้อ ดังนี้ แสดงว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทยังไม่โอนไปเป็นของจำเลยผู้ซื้อซึ่งเป็นนิติบุคคลสัญชาติต่างด้าว โดยคู่สัญญามีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อไป ถึงแม้ว่าผู้ซื้อจะได้ชำระราคาและเข้าครอบครองทรัพย์ด้วย ก็เป็นการครอบครองแทนผู้จะขาย เมื่อพิจารณาข้อความในสัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล. 1 ทั้งหมด สัญญานี้เป็นเพียงสัญญาจะซื้อขายเท่านั้น
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 คนต่างด้าวซึ่งมีสนธิสัญญากับประเทศไทยอาจได้มาซึ่งที่ดินตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับอนุญาตแล้ว จึงไม่เป็นข้อห้ามโดยเด็ดขาดที่ไม่ให้คนต่างด้าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในประเทศไทย ฉะนั้น สัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.ล. 1 ซึ่งมีข้อความว่า ให้จำเลยต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงจะทำการซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์กัน จึงไม่เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหาเป็นโมฆะไม่ การที่ผู้จะขายกับผู้จะซื้อทำสัญญาจำนองและสัญญาเช่าทรัพย์พิพาทกันอีกชั้นหนึ่งนั้น เมื่อไม่มีผลทำให้กรรมสิทธิ์โอนไปจากผู้จะขาย ก็ถือไม่ได้ว่าผู้จะขายกับผู้จะซื้อมีเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมาย ไม่ต้องให้ผู้จะซื้อขออนุญาต เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน
ผู้จะขายตกลงจำนองทรัพย์ที่จะขายไว้กับผู้จะซื้อ และในสัญญาจำนองตกลงกันให้ถือเอาเงินที่ชำระราคาตามสัญญาจะซื้อขายเป็นเงินจำนอง เมื่อมีข้อสัญญาว่าให้การจำนองนี้เป็นประกันเงินที่ผู้จะขายอาจต้องคืนผู้จะซื้อเมื่อมีการเลิกสัญญาจะซื้อขายกัน ย่อมเป็นสัญญาที่มีมูลหนี้สมบูรณ์ใช้บังคับได้ และในกรณีที่ผู้จะซื้อตกลงเช่าทรัพย์พิพาทที่จะซื้อจากผู้จะขายสัญญาเช่าก็ย่อมปฏิบัติต่อกันได้ ซึ่งผู้จะซื้อซึ่งเป็นผู้เช่าย่อมใช้สิทธิตามสัญญานี้เข้าครอบครองใช้ทรัพย์พิพาท ฉะนั้น สัญญาจำนอง สัญญาเช่าดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ และไม่เป็นการอำพรางนิติกรรมสัญญาจะซื้อขาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: ผู้ครอบครองก่อนย่อมมีสิทธิเหนือผู้ได้รับจัดสรรที่ดินภายหลัง หากยังมิได้เข้าครอบครอง
โจทก์ครอบครองที่ดินมือเปล่าโดยมิชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดินต่อมาทางการจัดสรรที่ดินนั้นให้จำเลย แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จัดให้จำเลยเข้าครอบครอง จำเลยจึงยังไม่ได้สิทธิครอบครองโจทก์ครอบครองอยู่ก่อนจึงมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย
คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไว้ ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงเองได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: ผู้ครอบครองก่อนย่อมมีสิทธิเหนือผู้ได้รับการจัดสรรภายหลัง หากยังไม่ได้เข้าครอบครอง
โจทก์ครอบครองที่ดินมือเปล่าโดยมิชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน ต่อมาทางการจัดสรรที่ดินนั้นให้จำเลย แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จัดให้จำเลยเข้าครอบครอง จำเลยจึงยังไม่ได้สิทธิครอบครอง โจทก์ครอบครองอยู่ก่อนจึงมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย
คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไว้ ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงเองได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2511)
of 113