พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,126 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวเด็กในระหว่างพิจารณาคดีและการหักวันกักขังเมื่อศาลเปลี่ยนโทษเป็นสถานฝึกอบรม
เด็กที่ถูกควบคุมระหว่างพิจารณาคดีตามหมายของศาลซึ่งให้สถานพินิจควบคุมไว้นั้น มาตรา 16 (4) แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็ก พ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 มาตรา 6 ให้อำนาจสถานพินิจฯ ส่งตัวไปกักไว้ที่เรือนจำได้ โดยถือว่าอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจ เมื่อเด็กถูกพิพากษาลงโทษศาลจะคิดหักวันที่ถูกกักอยู่ในเรือนจำให้ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ก็ได้
การที่สถานพินิจส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปกักไว้ที่เรือนจำในระหว่างพิจารณาคดีนั้น ไม่ใช่เป็นการกักและอบรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 มาตรา 31(1) ซึ่งให้กักและอบรมในสถานที่ที่ไม่ใช่เรือนจำ
การที่ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปยังสถานฝึกและอบรมตามมาตรา 31(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 มาตรา 9 ก็อยู่ในความหมายว่าได้พิพากษาลงโทษตามนัยมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ซึ่งต้องตีความคำว่า "ลงโทษ" อย่างกว้าง ให้รวมถึงการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่เด็กและเยาวชนซึ่งกระทำความผิดด้วย เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 เด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ไม่ต้องรับโทษอาญา ถ้าไม่ถือว่าการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นการลงโทษ ก็จะหักวันถูกควบคุมระหว่างพิจารณาคดีให้แก่เด็กดังกล่าวไม่ได้
เมื่อศาลคดีเด็กฯ พิพากษาเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งสถานฝึกและอบรมอันเป็นการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 31 (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ แล้ว จะอุทธรณ์ขอให้เปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลคดีเด็กฯ ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 27 (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ
การที่สถานพินิจส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปกักไว้ที่เรือนจำในระหว่างพิจารณาคดีนั้น ไม่ใช่เป็นการกักและอบรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 มาตรา 31(1) ซึ่งให้กักและอบรมในสถานที่ที่ไม่ใช่เรือนจำ
การที่ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปยังสถานฝึกและอบรมตามมาตรา 31(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 มาตรา 9 ก็อยู่ในความหมายว่าได้พิพากษาลงโทษตามนัยมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ซึ่งต้องตีความคำว่า "ลงโทษ" อย่างกว้าง ให้รวมถึงการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่เด็กและเยาวชนซึ่งกระทำความผิดด้วย เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 เด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ไม่ต้องรับโทษอาญา ถ้าไม่ถือว่าการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นการลงโทษ ก็จะหักวันถูกควบคุมระหว่างพิจารณาคดีให้แก่เด็กดังกล่าวไม่ได้
เมื่อศาลคดีเด็กฯ พิพากษาเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งสถานฝึกและอบรมอันเป็นการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 31 (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ แล้ว จะอุทธรณ์ขอให้เปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลคดีเด็กฯ ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 27 (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวเด็กในระหว่างพิจารณาคดีและการหักวันควบคุมตัวเมื่อศาลเปลี่ยนโทษเป็นวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน
เด็กที่ถูกควบคุมระหว่างพิจารณาคดีตามหมายของศาลซึ่งให้สถานพินิจควบคุมไว้นั้น มาตรา 16(4) แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กพ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 มาตรา 6 ให้อำนาจสถานพินิจฯ ส่งตัวไปกักไว้ที่เรือนจำได้ โดยถือว่าอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจ เมื่อเด็กถูกพิพากษาลงโทษศาลจะคิดหักวันที่ถูกกักอยู่ในเรือนจำให้ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯพ.ศ. 2494 ก็ได้
การที่สถานพินิจส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปกักไว้ที่เรือนจำในระหว่างพิจารณาคดีนั้น ไม่ใช่เป็นการกักและอบรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 มาตรา 31(1) ซึ่งให้กักและอบรมในสถานที่ที่ไม่ใช่เรือนจำ
การที่ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปยังสถานฝึกและอบรมตามมาตรา 31(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 มาตรา 9 ก็อยู่ในความหมายว่าได้พิพากษาลงโทษตามนัยมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯพ.ศ. 2494 ซึ่งต้องตีความคำว่า 'ลงโทษ' อย่างกว้าง ให้รวมถึงการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่เด็กและเยาวชนซึ่งกระทำความผิดด้วยเพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 เด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ไม่ต้องรับโทษอาญา ถ้าไม่ถือว่าการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นการลงโทษ ก็จะหักวันถูกควบคุมระหว่างพิจารณาคดีให้แก่เด็กดังกล่าวไม่ได้
เมื่อศาลคดีเด็กฯ พิพากษาเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งสถานฝึกและอบรม อันเป็นการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 31(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ แล้ว จะอุทธรณ์ขอให้เปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลคดีเด็กฯ ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 27(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ
การที่สถานพินิจส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปกักไว้ที่เรือนจำในระหว่างพิจารณาคดีนั้น ไม่ใช่เป็นการกักและอบรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 มาตรา 31(1) ซึ่งให้กักและอบรมในสถานที่ที่ไม่ใช่เรือนจำ
การที่ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปยังสถานฝึกและอบรมตามมาตรา 31(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 มาตรา 9 ก็อยู่ในความหมายว่าได้พิพากษาลงโทษตามนัยมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯพ.ศ. 2494 ซึ่งต้องตีความคำว่า 'ลงโทษ' อย่างกว้าง ให้รวมถึงการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่เด็กและเยาวชนซึ่งกระทำความผิดด้วยเพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 เด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ไม่ต้องรับโทษอาญา ถ้าไม่ถือว่าการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นการลงโทษ ก็จะหักวันถูกควบคุมระหว่างพิจารณาคดีให้แก่เด็กดังกล่าวไม่ได้
เมื่อศาลคดีเด็กฯ พิพากษาเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งสถานฝึกและอบรม อันเป็นการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 31(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ แล้ว จะอุทธรณ์ขอให้เปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลคดีเด็กฯ ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 27(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน: ศาลไม่ต้องสืบพยานซ้ำหากจำเลยรับสารภาพและไม่ติดใจสืบพยานโต้แย้งรายงานสถานพินิจ
ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 5 นั้นในการพิจารณาคดีศาลย่อมดำเนินการไปตามวิธีพิจารณาการที่ศาลได้แจ้งให้จำเลยทราบเกี่ยวกับรายงานของสถานพินิจฯจำเลยได้ทราบแล้ว มิได้แถลงต่อสู้หรือจะขอนำพยานมาสืบหักล้าง เมื่อศาลสอบถามคำให้การ จำเลยก็รับสารภาพแถลงว่า ไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาในวันเดียวกันนั้น ดังนี้ ถูกต้องด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน: การรับสารภาพและการไม่โต้แย้งรายงานสถานพินิจถือเป็นการไม่ติดใจสืบพยาน
ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 มาตรา 5 นั้น ในการพิจารณาคดีศาลย่อมดำเนินการไปตามวิธีพิจารณา การที่ศาลได้แจ้งให้จำเลยทราบเกี่ยวกับรายงานของสถานพินิจฯ จำเลยได้ทราบแล้ว มิได้แถลงต่อสู้หรือจะขอนำพยานมาสืบหักล้างเมื่อศาลสอบถามคำให้การ จำเลยก็รับสารภาพแถลงว่า ไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาในวันเดียวกันนั้น ดังนี้ ถูกต้องด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คส่วนตัวใช้ชำระหนี้ของห้าง: ห้างและหุ้นส่วนต้องรับผิดหากการกระทำอยู่ในวัตถุประสงค์ของห้าง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค จำเลยต่อสู้ว่าเช็คนั้นไม่ใช่เช็คของห้างหุ้นส่วนเป็นเช็คส่วนตัวของจำเลยที่ 2 การสลักหลังเช็คไม่ใช่วัตถุประสงค์ของห้าง อีกทั้งตราที่ประทับมิใช่ตราของห้างที่จดทะเบียนไว้ห้างและผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ต้องรับผิด เมื่อจำเลยปฏิเสธความรับผิดในเช็คเช่นนี้ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะนำสืบได้ว่าเช็คนั้นเป็นเช็คของห้างซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดและนำสืบได้ว่าหนี้สินของหุ้นส่วนนั้นเป็นมาอย่างไร
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการกับหุ้นส่วนได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์สั่งซื้อสินค้า เมื่อได้รับสินค้ามาแล้วและจำหน่ายหมดไปแล้ว จำเลยที่ 2 จึงได้จ่ายเช็คของจำเลยที่ 2 เองชำระหนี้แก่โจทก์เพราะเช็คของห้างหมดและธนาคารปิดบัญชี การที่จำเลยที่ 2เซ็นชื่อสลักหลังไปในเช็คโดยเอาตราของห้างซึ่งใช้เป็นประจำประทับลงไปแสดงว่ากระทำในนามของห้าง ชำระหนี้ของห้างกิจการที่กระทำนี้อยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของห้างดังนี้ ห้างหุ้นส่วนและผู้เป็นหุ้นส่วนจึงต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คนั้น
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการกับหุ้นส่วนได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์สั่งซื้อสินค้า เมื่อได้รับสินค้ามาแล้วและจำหน่ายหมดไปแล้ว จำเลยที่ 2 จึงได้จ่ายเช็คของจำเลยที่ 2 เองชำระหนี้แก่โจทก์เพราะเช็คของห้างหมดและธนาคารปิดบัญชี การที่จำเลยที่ 2เซ็นชื่อสลักหลังไปในเช็คโดยเอาตราของห้างซึ่งใช้เป็นประจำประทับลงไปแสดงว่ากระทำในนามของห้าง ชำระหนี้ของห้างกิจการที่กระทำนี้อยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของห้างดังนี้ ห้างหุ้นส่วนและผู้เป็นหุ้นส่วนจึงต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองรูปร่างลักษณะสินค้า: เมื่อไม่มีกฎหมายเฉพาะคุ้มครอง การผลิตสินค้าเลียนแบบจึงไม่ถือเป็นการละเมิด
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272(1) เป็นบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องเครื่องหมายการค้า มิได้บังคับในเรื่องรูปทรงลวดลายของสินค้าหรือสิ่งผลิต จึงมิใช่เป็นบทบัญญัติห้ามการผลิตวัตถุอันเป็นสินค้ามิให้ซ้ำกันหรือมีแบบรูปเหมือนคล้ายกัน
เมื่อไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิในการประดิษฐ์สินค้า แม้จำเลยจะผลิตสินค้ามีรูปลักษณะอย่างเดียวกับสินค้าของโจทก์ ก็หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่ โจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์หาได้ไม่
เมื่อไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิในการประดิษฐ์สินค้า แม้จำเลยจะผลิตสินค้ามีรูปลักษณะอย่างเดียวกับสินค้าของโจทก์ ก็หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่ โจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองรูปร่างสินค้า: แม้มีลักษณะเหมือนกัน แต่หากไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิในการประดิษฐ์ ก็ไม่ถือเป็นการละเมิด
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272(1) เป็นบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องเครื่องหมายการค้า มิได้บังคับในเรื่องรูปทรงลวดลายของสินค้าหรือสิ่งผลิตจึงมิใช่เป็นบทบัญญัติห้ามการผลิตวัตถุอันเป็นสินค้ามิให้ ซ้ำกันหรือมีแบบรูปเหมือนคล้ายกัน
เมื่อไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิในการประดิษฐ์สินค้าแม้จำเลยจะผลิตสินค้ามีรูปลักษณะอย่างเดียวกับสินค้าของโจทก์ก็หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่โจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์หาได้ไม่
เมื่อไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิในการประดิษฐ์สินค้าแม้จำเลยจะผลิตสินค้ามีรูปลักษณะอย่างเดียวกับสินค้าของโจทก์ก็หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่โจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวในคดีทำร้ายร่างกายถึงแก่ความตาย ศาลพิจารณาพฤติการณ์การต่อสู้และเจตนาของผู้กระทำ
จำเลยกับผู้ตายมีสาเหตุกันมาก่อน ในวันเกิดเหตุได้มีการท้าทายกันแล้วผู้ตายแสดงกิริยาจะเข้าทำร้ายจำเลย จำเลยชักปืนยิงถูกผู้ตาย 1 นัด ก่อนผู้ตายจะเข้าถึงตัว ครั้นเมื่อผู้ตายเข้าประชิดตัวจำเลยและแทงจำเลยได้จำเลยก็ยิงผู้ตายอีก 3 นัด เมื่อเหตุเกิดจากการสมัครใจต่อสู้กัน จำเลยจะอ้างว่าป้องกันตัวหาได้ไม่ พฤติการณ์ที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตายเช่นนี้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยิงต่อสู้จนถึงแก่ความตาย: ไม่เป็นเหตุป้องกันตัวหากเกิดจากการสมัครใจทะเลาะวิวาทและมีเจตนาฆ่า
จำเลยกับผู้ตายมีสาเหตุกันมาก่อน ในวันเกิดเหตุได้มีการท้าทายกัน แล้วผู้ตายแสดงกิริยาจะเข้าทำร้ายจำเลย จำเลยชักปืนยิงถูกผู้ตาย 1 นัดก่อนผู้ตายจะเข้าถึงตัว ครั้นเมื่อผู้ตายเข้าประชิดตัวจำเลยและแทงจำเลยได้ จำเลยก็ยิงผู้ตายอีก 3 นัด เมื่อเหตุเกิดจากการสมัครใจต่อสู้กัน จำเลยจะอ้างว่าป้องกันตัวหาได้ไม่ พฤติการณ์ที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตายเช่นนี้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนจากการประสบอันตรายจากการทำงาน ย่อมหมดไปหากไม่ยื่นคำร้องภายใน 90 วัน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินทดแทนซึ่งกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำหนดขึ้นได้ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ข้อ 3 วรรค 2 และมีผลบังคับอย่างกฎหมาย
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นคำร้องขอรับเงินค่าทดแทนต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนด 90 วัน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ ย่อมหมดสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2510)
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นคำร้องขอรับเงินค่าทดแทนต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนด 90 วัน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ ย่อมหมดสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2510)