พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,126 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนจากการประสบอันตรายจากการทำงาน ย่อมหมดไปหากไม่ยื่นคำร้องภายใน 90 วัน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินทดแทนซึ่งกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำหนดขึ้นได้ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ข้อ 3 วรรค 2 และมีผลบังคับอย่างกฎหมาย
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นคำร้องขอรับเงินค่าทดแทนต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนด 90 วัน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ ย่อมหมดสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2510)
เมื่อโจทก์ไม่ยื่นคำร้องขอรับเงินค่าทดแทนต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนด 90 วัน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ ย่อมหมดสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกและการทำให้เสียทรัพย์: การพิสูจน์การครอบครองและเจตนาทำลาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกนาของผู้เสียหายและถอนต้นข้าวที่ผู้เสียหายปลูกไว้ทิ้งเสีย เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมายังฟังไม่ได้ความชัดว่าที่พิพาทเป็นของผู้เสียหายดังที่โจทก์ฟ้องและตาม พยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบกันมาก็เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่าย ยังเถียงการครอบครองกันอยู่เช่นนี้ การที่จำเลยเข้าไปในที่พิพาท จำเลยจึงยังไม่มีความผิดฐานบุกรุก
ส่วนข้อหาทำให้เสียทรัพย์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าข้าวนั้นเป็นข้าวของผู้เสียหายปลูกไว้ซึ่งจำเลยก็รู้ การที่จำเลยถอนทำลายต้นข้าวที่เขาปลูกออกเสีย แล้วแช่น้ำทิ้งไว้ ย่อมเห็นได้ว่าทำให้ต้นข้าวที่ปลูกไว้นั้นเสียหายการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ส่วนข้อหาทำให้เสียทรัพย์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าข้าวนั้นเป็นข้าวของผู้เสียหายปลูกไว้ซึ่งจำเลยก็รู้ การที่จำเลยถอนทำลายต้นข้าวที่เขาปลูกออกเสีย แล้วแช่น้ำทิ้งไว้ ย่อมเห็นได้ว่าทำให้ต้นข้าวที่ปลูกไว้นั้นเสียหายการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องการครอบครองที่ดินและข้าว การกระทำที่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกนาของผู้เสียหายและถอนต้นข้าวที่ผู้เสียหายปลูกไว้ทิ้งเสีย เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมายังฟังไม่ได้ความชัดว่าที่พิพาทเป็นของผู้เสียหายดังที่โจทก์ฟ้อง และตามพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบกันมาก็เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายยังเถียงการครอบครองกันอยู่ เช่นนี้ การที่จำเลยเข้าไปในที่พิพาท จำเลยจึงยังไม่มีความผิดฐานบุกรุก
ส่วนข้อหาทำให้เสียทรัพย์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าข้าวนั้นเป็นข้าวของผู้เสียหายปลูกไว้ซึ่งจำเลยก็รู้ การที่จำเลยถอนทำลายต้นข้าวที่เขาปลูกออกเสีย แล้วแช่น้ำทิ้งไว้ ย่อมเห็นได้ว่าทำให้ต้นข้าวที่ปลูกไว้นั้นเสียหาย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ส่วนข้อหาทำให้เสียทรัพย์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าข้าวนั้นเป็นข้าวของผู้เสียหายปลูกไว้ซึ่งจำเลยก็รู้ การที่จำเลยถอนทำลายต้นข้าวที่เขาปลูกออกเสีย แล้วแช่น้ำทิ้งไว้ ย่อมเห็นได้ว่าทำให้ต้นข้าวที่ปลูกไว้นั้นเสียหาย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: แม้ความผิดฐานลักทรัพย์เปลี่ยนเป็นยักยอกทรัพย์ ศาลยังลงโทษฐานรับของโจรได้ หากมิใช่ข้อสารสำคัญที่จำเลยหลงต่อสู้
เรือเจ้าทรัพย์ถูกคนร้ายลักไป หากเรือนั้นจะหลุดลอยจากคนร้ายมาได้อย่างไร หาเป็นข้อสารสำคัญไม่ เรือก็ยังคงเป็นทรัพย์มีเจ้าของที่หายไปอยู่
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้ง 2 ร่วมกันรับของโจรแต่ถ้าฟังได้ว่าจำเลยรับของโจรคนละทีศาลก็ลงโทษจำเลยแต่ละคนฐานรับของโจรได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยรับเอาเรือของกลางไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของร้ายที่ได้มาโดยการกระทำผิดฐานลักทรัพย์แต่ปรากฏในการพิจารณาว่าจำเลยรับเอาเรือของกลางไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของร้าย ที่ได้มาโดยการกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ทั้งจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องในสารสำคัญย่อมลงโทษจำเลยฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2510)
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้ง 2 ร่วมกันรับของโจรแต่ถ้าฟังได้ว่าจำเลยรับของโจรคนละทีศาลก็ลงโทษจำเลยแต่ละคนฐานรับของโจรได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยรับเอาเรือของกลางไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของร้ายที่ได้มาโดยการกระทำผิดฐานลักทรัพย์แต่ปรากฏในการพิจารณาว่าจำเลยรับเอาเรือของกลางไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของร้าย ที่ได้มาโดยการกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ทั้งจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องในสารสำคัญย่อมลงโทษจำเลยฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: แม้ฟ้องฐานลักทรัพย์ แต่หากเป็นยักยอก ศาลลงโทษได้หากไม่ต่างสาระสำคัญและจำเลยไม่หลงต่อสู้
เรือเจ้าทรัพย์ถูกคนร้ายลักไป หากเรือนั้นจะหลุดลอยจากคนร้ายมาได้อย่างไร หาเป็นข้อสารสำคัญไม่ เรือก็ยังคงเป็นทรัพย์มีเจ้าของที่หายไปอยู่
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้ง 2 ร่วมกันรับของโจร
แต่ถ้าฟังได้ว่าจำเลยรับของโจรคนละที ศาลก็ลงโทษจำเลยแต่ละคนฐานรับของโจรได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยรับเอาเรือของกลางไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของร้ายที่ได้มาโดยการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ แต่ปรากฏในการพิจารณาว่าจำเลยรับเอาเรือของกลางไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของร้ายที่ได้มาโดยการกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ทั้งจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ ดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องในสารสำคัญ ย่อมลงโทษจำเลยฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2510)
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้ง 2 ร่วมกันรับของโจร
แต่ถ้าฟังได้ว่าจำเลยรับของโจรคนละที ศาลก็ลงโทษจำเลยแต่ละคนฐานรับของโจรได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยรับเอาเรือของกลางไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของร้ายที่ได้มาโดยการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ แต่ปรากฏในการพิจารณาว่าจำเลยรับเอาเรือของกลางไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของร้ายที่ได้มาโดยการกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ทั้งจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ ดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องในสารสำคัญ ย่อมลงโทษจำเลยฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิความเป็นเจ้าของจากคำพิพากษาบังคับสัญญาซื้อขาย แม้ยังไม่มีการโอนจริง ยึดทรัพย์หลังมีสิทธิแล้วทำไม่ได้
การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนขายนาพิพาทซึ่งมีเพียง ส.ค.1 ให้แก่ผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายนั้น เป็นการบังคับโดยเฉพาะเจาะจง และสภาพแห่งหนี้เปิดช่องที่จะบังคับได้ จำเลยจะเลือกชำระหนี้เป็น อย่างอื่นมิได้คำพิพากษานี้ย่อมมีผลให้ผู้ร้องได้รับสิทธิแห่งความเป็น เจ้าของนาพิพาทโดยทันที แม้การชำระราคาที่ค้างรวมทั้งการไถ่ถอนจำนองและการจดทะเบียนโอนขายนาพิพาทจะยังมิได้กระทำกัน โจทก์เพิ่ง ทำการยึดนาพิพาทภายหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีนั้น โจทก์ จะอ้างว่า ผู้ร้องและจำเลยเพียงแต่มีสัญญาจะซื้อขายต่อกันซึ่งผู้ร้องยังไม่มีสิทธิอะไรในนาพิพาทหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของจากคำพิพากษาบังคับซื้อขาย แม้ยังไม่ได้โอน-ไถ่ถอนจำนอง ยึดทรัพย์หลังมีคำพิพากษาเป็นโมฆะ
การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนขายนาพิพาทซึ่งมีเพียง ส.ค.1 ให้แก่ผู้ร้อง ตามสัญญาจะซื้อจะขายนั้น เป็นการบังคับโดยเฉพาะเจาะจงและสภาพแห่งหนี้เปิดช่องที่จะบังคับได้ จำเลยจะเลือกชำระหนี้เป็นอย่างอื่นมิได้ คำพิพากษานี้ย่อมมีผลให้ผู้ร้องได้รับสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของนาพิพาทโดยทันที แม้การชำระราคาที่ค้าง รวมทั้งการไถ่ถอนจำนองและการจดทะเบียนโอนขายนาพิพาทจะยังมิได้กระทำกัน โจทก์เพิ่งทำการยึดนาพิพาทภายหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีนั้น โจทก์จะอ้างว่า ผู้ร้องและจำเลยเพียงแต่มีสัญญาจะซื้อจะขายต่อกันซึ่งผู้ร้องยังไม่มีสิทธิอะไรในนาพิพาทหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ลายเซ็นใน ส.ค.๑ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ หากไม่กระทบต่อเขตที่ดินพิพาท
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเบิกความเท็จในคดีแพ่งว่า ลายเซ็นใน ส.ค.1 ไม่ใช่ลายเซ็นของจำเลย ครั้นเมื่อสืบพยานบุคคลของโจทก์แล้ว โจทก์ขอส่ง ส.ค.1 ไปให้ผู้ชำนาญ พิสูจน์ว่าลายเซ็นใน ส.ค.1 นั้นใช่ลายเซ็นของจำเลยหรือไม่ ศาลชั้นต้นสั่งงดไม่ให้สืบและตรวจพิสูจน์ แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียทีเดียว เช่นนี้ เป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อปรากฏว่าในคดีแพ่งนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินโดยมิได้ทำการยึดและรังวัดเขตให้แน่นอน ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่าเขตที่ดินที่โจทก์อ้างว่าได้จากการขายทอดตลาดนั้นแค่ไหนแน่ ตาม ส.ค.1 ไม่ปรากฏเขตแน่นอน เนื้อที่ก็เพียงประมาณ ผู้แจ้งการครอบครองจะได้ครอบครองแค่ไหนเพียงใด ก็ฟังเอาเป็นหลักฐานแน่นอนมิได้ พยานที่เซ็นใน ส.ค.1 ก็ไม่ปรากฏว่าเซ็นกันอย่างไร ไม่มีระเบียบแน่นอน ดังนี้ จึงต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานอื่นในท้องสำนวน ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยจะเซ็นชื่อในฐานพยานใน ส.ค.1 จริง ก็มิได้เป็นหลักฐานเพิ่มพูนที่จะทำให้ฟังได้ว่าที่ดินที่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาดมีเขตแค่ไหนแต่อย่างใด และถึงแม้ที่จำเลยเบิกความว่าลายเซ็นนั้นมิใช่ลายเซ็นของจำเลยอันเป็นความเท็จก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีดังกล่าว จำเลยยังไม่ผิด จึงไม่ต้องส่ง ส.ค.1 ไปให้ผู้ชำนาญตรวจพิสูจน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ลายเซ็นใน ส.ค.1 ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเบิกความเท็จในคดีแพ่งว่า ลายเซ็นใน ส.ค.1 ไม่ใช่ลายเซ็นของจำเลย ครั้นเมื่อสืบพยานบุคคลของโจทก์แล้ว โจทก์ขอส่ง ส.ค.1 ไปให้ผู้ชำนาญพิสูจน์ว่าลายเซ็นใน ส.ค.1 นั้นใช่ลายเซ็นของจำเลยหรือไม่ศาลชั้นต้นสั่งงดไม่ให้สืบและตรวจพิสูจน์แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียทีเดียว เช่นนี้ เป็นการไม่ชอบแต่เมื่อปรากฏว่าในคดีแพ่งนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินโดยมิได้ทำการยึดและรังวัดเขตให้แน่นอนประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่าเขตที่ดินที่โจทก์อ้างว่าได้จากการขายทอดตลาดนั้นแค่ไหนแน่ตาม ส.ค.1ไม่ปรากฏเขตแน่นอนเนื้อที่ก็เพียงประมาณผู้แจ้งการครอบครองจะได้ครอบครองแค่ไหนเพียงใด ก็ฟังเอาเป็นหลักฐานแน่นอนมิได้พยานที่เซ็นใน ส.ค.1 ก็ไม่ปรากฏว่าเซ็นกันอย่างไรไม่มีระเบียบแน่นอน ดังนี้ จึงต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานอื่นในท้องสำนวน ฉะนั้นถึงแม้จำเลยจะเซ็นชื่อในฐานพยานใน ส.ค.1 จริงก็มิได้เป็นหลักฐานเพิ่มพูนที่จะทำให้ฟังได้ว่าที่ดินที่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาด มีเขตแค่ไหน แต่อย่างใด และถึงแม้ที่จำเลยเบิกความว่าลายเซ็นนั้นมิใช่ลายเซ็นของจำเลยอันเป็นความเท็จก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีดังกล่าวจำเลยยังไม่ผิด จึงไม่ต้องส่ง ส.ค.1 ไปให้ผู้ชำนาญตรวจพิสูจน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 202/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายจากการจราจร: ผู้เสียหายต้องได้รับความเสียหายโดยตรง และอันตรายแก่กายต้องร้ายแรงกว่าอาการบาดเจ็บเล็กน้อย
ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรนั้น โจทก์ร่วมไม่ใช่เป็นผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานนี้โดยตรง จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย
รอยบาดเจ็บเพียงโหนกแก้มถลอกโตกลมประมาณ 3 เซ็นติเมตร เข่าบวมโตกลมประมาณ 5 เซ็นติเมตร ข้อศอกหนังถลอกโตกลมประมาณ 5 เซ็นติเมตร รักษาประมาณ 4 วัน ยังไม่เป็นอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 390
รอยบาดเจ็บเพียงโหนกแก้มถลอกโตกลมประมาณ 3 เซ็นติเมตร เข่าบวมโตกลมประมาณ 5 เซ็นติเมตร ข้อศอกหนังถลอกโตกลมประมาณ 5 เซ็นติเมตร รักษาประมาณ 4 วัน ยังไม่เป็นอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 390