พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,126 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินชายตลิ่งเป็นสาธารณสมบัติ สิทธิครอบครองเป็นโมฆะ การขายฝากไม่สมบูรณ์ แม้ครอบครองอยู่ก็ขับไล่ไม่ได้
ที่ดินที่น้ำยังคงท่วมทุกปีในฤดูน้ำ ต้องถือว่าเป็นที่ชายตลิ่ง อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ผู้ใดหามีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองไม่ แม้โจทก์จะเอาที่ดินนี้ไปขายฝากกับจำเลยโดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็จะถือว่าเป็นการมอบให้จำเลยครอบครองแทนมิได้ ระหว่างโจทก์จำเลย เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองอยู่ โจทก์ก็ขับไล่จำเลยไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 25/2509)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 25/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528-1530/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้าม กรณีศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 219
สำนวนที่ 2-3 ศาลชั้นต้นต้องฟังข้อเท็จจริงเพื่อนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายหรือไม่ แล้วจึงพิพากษาว่าไม่ใช่ผู้เสียหาย ยกฟ้องย่อมเป็นการยกฟ้องทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย โจทก์อุทธรณ์ข้อเท็จจริงรวมมากับข้อกฎหมายว่าเป็นผู้เสียหาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องอีกจึงถือได้ว่าศาลทั้งสองยกฟ้องในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ส่วนสำนวนที่ 1 แม้ศาลล่างยกฟ้องเพราะเหตุที่ฟ้องไม่ปรากฏชื่อผู้เรียงอีกเหตุหนึ่งด้วย ก็ต้องห้ามฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 219 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528-1530/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลทั้งสองชั้นพิพากษาโดยอาศัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายในคดีเช็ค
สำนวนที่ 2 - 3 ศาลชั้นต้นต้องฟังข้อเท็จจริงเพื่อนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายหรือไม่ แล้วจึงพิพากษาว่าไม่ใช่ผู้เสียหาย ยกฟ้อง ย่อมเป็นการยกฟ้องทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย โจทก์อุทธรณ์ข้อเท็จจริงรวมมากับข้อกฎหมายว่าเป็นผู้เสียหาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องอีก จึงถือได้ว่าศาลทั้งสองยกฟ้องในข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ส่วนสำนวนที่ 1 แม้ศาลล่างยกฟ้องเพราะเหตุที่ฟ้องไม่ปรากฏชื่อผู้เรียงอีกเหตุหนึ่งด้วย ก็ต้องห้ามฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 219 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนอำนาจตัวแทนจัดการศาสนสมบัติของวัด และขอบเขตการตีความคำว่า 'พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง'
คำว่า "พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง" ในมาตรา 26 แห่งสังฆาณัติระเบียบพระคณาธิการ พ.ศ.2486 ย่อมหมายความรวมถึงพระภิกษุในวัดอื่นด้วย
ระเบียบว่าด้วยการจัดการศาสนสมบัติของวัดตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 จะต้องเป็นระเบียบตามมาตรา 49 ระเบียบเกี่ยวกับการที่วัดต่างๆ จะถอนการจัดการดังกล่าว นอกจากไม่ใช่ระเบียบซึ่งมีมาแต่เดิม และยังไม่ใช่ระเบียบที่ได้ตราขึ้นตามมาตรา 49 ดังนี้ การที่วัดโจทก์ถอนกรมการศาสนาจากการเป็นตัวแทนโดยไม่ขออนุมัติคณะสงฆมนตรี ก็เป็นการเพิกถอนที่ใช้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827
ระเบียบว่าด้วยการจัดการศาสนสมบัติของวัดตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 จะต้องเป็นระเบียบตามมาตรา 49 ระเบียบเกี่ยวกับการที่วัดต่างๆ จะถอนการจัดการดังกล่าว นอกจากไม่ใช่ระเบียบซึ่งมีมาแต่เดิม และยังไม่ใช่ระเบียบที่ได้ตราขึ้นตามมาตรา 49 ดังนี้ การที่วัดโจทก์ถอนกรมการศาสนาจากการเป็นตัวแทนโดยไม่ขออนุมัติคณะสงฆมนตรี ก็เป็นการเพิกถอนที่ใช้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าอาวาสในการเพิกถอนตัวแทนจัดการศาสนสมบัติ และการตีความระเบียบการจัดการตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์
คำว่า"พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง" ในมาตรา 26 แห่งสังฆาณัติระเบียบพระคณาธิการ พ.ศ. 2486 ย่อมหมายความรวมถึงพระภิกษุในวัดอื่นด้วย
ระเบียบว่าด้วยการจัดการศาสนสมบัติของวัดตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 จะต้องเป็นระเบียบตามมาตรา 49 ระเบียบเกี่ยวกับการที่วัดต่าง ๆ จะถอนการจัดการดังกล่าวนอกจากไม่ใช่ระเบียบซึ่งมีมาแต่เดิม และยังไม่ใช่ระเบียบที่ได้ตราขึ้นตามมาตรา 49 ดังนี้ การที่วัดโจทก์ถอนกรมการศาสนาจากการเป็นตัวแทนโดยไม่ขออนุมัติคณะสังฆมนตรี ก็เป็นการเพิกถอนที่ใช้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827
ระเบียบว่าด้วยการจัดการศาสนสมบัติของวัดตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 จะต้องเป็นระเบียบตามมาตรา 49 ระเบียบเกี่ยวกับการที่วัดต่าง ๆ จะถอนการจัดการดังกล่าวนอกจากไม่ใช่ระเบียบซึ่งมีมาแต่เดิม และยังไม่ใช่ระเบียบที่ได้ตราขึ้นตามมาตรา 49 ดังนี้ การที่วัดโจทก์ถอนกรมการศาสนาจากการเป็นตัวแทนโดยไม่ขออนุมัติคณะสังฆมนตรี ก็เป็นการเพิกถอนที่ใช้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับสิทธิระหว่างเจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญกับเจ้าหนี้จำนอง: สิทธิจำนองมีลำดับก่อน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 284 เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญที่มิได้ลงทะเบียนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ใด ๆ ที่ไม่มีหลักประกันพิเศษได้เท่านั้น ในทางกลับกัน เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญก็ไม่มีสิทธิจะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีหลักประกันพิเศษ และตามมาตรา 287 บุริมสิทธิที่อาจใช้ได้ก่อนสิทธิจำนองนั้น จะต้องเป็นบุริมสิทธิที่ได้จดทะเบียนแล้วตามมาตรา 285 และ 286 เท่านั้น ฉะนั้น เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญเกี่ยวกับหนี้ค่าภาษีอากร ตามมาตรา 253(3) จึงจะมาขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้ผู้รับจำนองมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับสิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญกับเจ้าหนี้จำนอง: สิทธิบุริมสิทธิที่ไม่ได้จดทะเบียนไม่มีสิทธิเหนือเจ้าหนี้จำนอง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 284 เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญที่มิได้ลงทะเบียนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ใดๆ ที่ไม่มีหลักประกันพิเศษได้เท่านั้น ในทางกลับกันเจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญก็ไม่มีสิทธิจะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีหลักประกันพิเศษและตามมาตรา 287 บุริมสิทธิที่อาจใช้ได้ก่อนสิทธิจำนองนั้น จะต้องเป็นบุริมสิทธิที่ได้จดทะเบียนแล้วตามมาตรา 285 และ 286 เท่านั้น ฉะนั้น เจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญเกี่ยวกับหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 253(3) จึงจะมาขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้ผู้รับจำนองมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาช่วยเหลือคดีมรดก: จ่ายเงินรางวัลเมื่อยอมความได้ส่วนแบ่ง แม้ยังไม่มีผลพิสูจน์ลายมือ
จำเลยขอให้โจทก์เจรจาติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญการพิสูจน์ลายมือเพื่อพิสูจน์ลายมือในพินัยกรรมในคดีที่จำเลยฟ้องขอแบ่งมรดก โจทก์ได้เจรจาจนผู้เชี่ยวชาญนั้นยอมรับจะพิสูจน์ จำเลยจึงได้ทำสัญญาให้โจทก์ไว้มีข้อความว่า
ข้อ 1 ผู้ให้สัญญายอมให้ผู้ถือสัญญาจัดการวิ่งเต้นช่วยเหลือคดีมรดกของผู้ให้สัญญา และ
ข้อ 2 เมื่อคดีมรดกของผู้ให้สัญญาได้เสร็จสิ้นลงและผู้ให้สัญญาได้รับเงินส่วนแบ่งในคดีมรดกนั้นแล้ว ผู้ให้สัญญาต้องจ่ายเงิน 60,000 บาทให้แก่ผู้ถือสัญญา ฯลฯ
ข้อ 3 หากคดีมรดกนี้ได้มีการประนีประนอมยอมความลงก่อนศาลพิพากษา ผู้ให้สัญญายอมจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้ถือสัญญาเพียง 30,000 บาท
ดังนี้ หากมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลโดยจำเลยได้รับส่วนแบ่งมรดกแล้ว แม้ผู้เชี่ยวชาญจะยังมิได้ทำการพิสูจน์ลายมือ จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 3
ข้อ 1 ผู้ให้สัญญายอมให้ผู้ถือสัญญาจัดการวิ่งเต้นช่วยเหลือคดีมรดกของผู้ให้สัญญา และ
ข้อ 2 เมื่อคดีมรดกของผู้ให้สัญญาได้เสร็จสิ้นลงและผู้ให้สัญญาได้รับเงินส่วนแบ่งในคดีมรดกนั้นแล้ว ผู้ให้สัญญาต้องจ่ายเงิน 60,000 บาทให้แก่ผู้ถือสัญญา ฯลฯ
ข้อ 3 หากคดีมรดกนี้ได้มีการประนีประนอมยอมความลงก่อนศาลพิพากษา ผู้ให้สัญญายอมจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้ถือสัญญาเพียง 30,000 บาท
ดังนี้ หากมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลโดยจำเลยได้รับส่วนแบ่งมรดกแล้ว แม้ผู้เชี่ยวชาญจะยังมิได้ทำการพิสูจน์ลายมือ จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาช่วยเหลือคดีมรดก: สิทธิรับเงินรางวัลเมื่อยอมความได้ตามเจตนา
จำเลยขอให้โจทก์เจรจาติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญการพิสูจน์ลายมือเพื่อพิสูจน์ลายมือในพินัยกรรมในคดีที่จำเลยฟ้องขอแบ่งมรดก โจทก์ได้เจรจาจนผู้เชี่ยวชาญนั้นยอมรับจะพิสูจน์จำเลยจึงได้ทำสัญญาให้โจทก์ไว้มีข้อความว่า
ข้อ 1 ผู้ให้สัญญายอมให้ผู้ถือสัญญาจัดการวิ่งเต้นช่วยเหลือคดีมรดกของผู้ให้สัญญา และ
ข้อ 2 เมื่อคดีมรดกของผู้ให้สัญญาได้เสร็จสิ้นลงและผู้ให้สัญญาได้รับเงินส่วนแบ่งในคดีมรดกนั้นแล้ว ผู้ให้สัญญาต้องจ่ายเงิน 60,000 บาทให้แก่ผู้ถือสัญญา ฯลฯ
ข้อ 3 หากคดีมรดกนี้ได้มีการประนีประนอมยอมความลงก่อนศาลพิพากษาผู้ให้สัญญายอมจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้ถือสัญญาเพียง 30,000 บาท
ดังนี้ หากมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลโดยจำเลยได้รับส่วนแบ่งมรดกแล้ว แม้ผู้เชี่ยวชาญจะยังมิได้ทำการพิสูจน์ลายมือ จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 3
ข้อ 1 ผู้ให้สัญญายอมให้ผู้ถือสัญญาจัดการวิ่งเต้นช่วยเหลือคดีมรดกของผู้ให้สัญญา และ
ข้อ 2 เมื่อคดีมรดกของผู้ให้สัญญาได้เสร็จสิ้นลงและผู้ให้สัญญาได้รับเงินส่วนแบ่งในคดีมรดกนั้นแล้ว ผู้ให้สัญญาต้องจ่ายเงิน 60,000 บาทให้แก่ผู้ถือสัญญา ฯลฯ
ข้อ 3 หากคดีมรดกนี้ได้มีการประนีประนอมยอมความลงก่อนศาลพิพากษาผู้ให้สัญญายอมจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้ถือสัญญาเพียง 30,000 บาท
ดังนี้ หากมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลโดยจำเลยได้รับส่วนแบ่งมรดกแล้ว แม้ผู้เชี่ยวชาญจะยังมิได้ทำการพิสูจน์ลายมือ จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับจำนองแม้ขาดอายุความ: ทายาทลูกหนี้ร่วมรับผิดชอบหนี้จำนองได้
ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของเจ้ามรดกเพื่อให้จำเลยไถ่ถอนการจำนอง แม้สิทธิของโจทก์จะขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรค 3 แล้วก็ตามแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 ยังยอมให้โจทก์ผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับจากทรัพย์สินที่จำนองได้ ดังนี้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของเจ้ามรดกเป็นจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ให้โจทก์จากทรัพย์สินที่จำนองได้
หนี้จำนองที่เป็นหนี้ร่วม โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิง หรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 จำเลยจะอ้างว่าหนี้จำนองรายนี้ซึ่งเป็นหนี้ร่วม โจทก์จะต้องฟ้องบังคับจำนองร่วมกันไปคราวเดียวกันดังนี้ย่อมไม่ได้
หนี้จำนองที่เป็นหนี้ร่วม โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิง หรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 จำเลยจะอ้างว่าหนี้จำนองรายนี้ซึ่งเป็นหนี้ร่วม โจทก์จะต้องฟ้องบังคับจำนองร่วมกันไปคราวเดียวกันดังนี้ย่อมไม่ได้