พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,126 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับจำนองแม้ขาดอายุความ: ทายาทลูกหนี้ร่วมรับผิดชอบหนี้จำนองได้
ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของเจ้ามรดกเพื่อให้จำเลยไถ่ถอนการจำนอง แม้สิทธิของโจทก์จะขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรค 3 แล้วก็ตามแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 ยังยอมให้โจทก์ผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับจากทรัพย์สินที่จำนองได้ ดังนี้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของเจ้ามรดกเป็นจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ให้โจทก์จากทรัพย์สินที่จำนองได้
หนี้จำนองที่เป็นหนี้ร่วม โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิง หรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 จำเลยจะอ้างว่าหนี้จำนองรายนี้ซึ่งเป็นหนี้ร่วม โจทก์จะต้องฟ้องบังคับจำนองร่วมกันไปคราวเดียวกันดังนี้ย่อมไม่ได้
หนี้จำนองที่เป็นหนี้ร่วม โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิง หรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 จำเลยจะอ้างว่าหนี้จำนองรายนี้ซึ่งเป็นหนี้ร่วม โจทก์จะต้องฟ้องบังคับจำนองร่วมกันไปคราวเดียวกันดังนี้ย่อมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411-1412/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาที่บังคับใช้กับบริวาร และข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อย
ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่นายดวกจำเลยนั้น นายดวกต่อสู้กรรมสิทธิ์ ทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง สำนวนที่โจทก์ฟ้องขับไล่นายหนูจำเลย นายหนูไม่ได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ถึงแม้นายหนูจะฎีกาได้ก็ตาม แต่ปรากฏว่าที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์ฟ้องขับไล่นายดวก เมื่อนายหนูต่อสู้ว่าอาศัยสิทธินายดวก จึงเป็นบริวารนายดวก ผลแห่งคำพิพากษาซึ่งบังคับแก่นายดวก ย่อมบังคับถึงนายหนูจำเลยด้วย นายหนูจะรื้อฟื้นข้อเท็จจริงซึ่งยุติแล้ว ให้วินิจฉัยเป็นอย่างอื่นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411-1412/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาข้อเท็จจริงในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 5,000 บาท และผลกระทบของคำพิพากษาต่อบริวาร
ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่นายดวกจำเลยนั้นนายดวกต่อสู้กรรมสิทธิ์ ทุนทรัพย์ไม่เกิน5,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง สำนวนที่โจทก์ฟ้องขับไล่นายหนูจำเลย นายหนูไม่ได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ถึงแม้นายหนูจะฎีกาได้ก็ตาม แต่ปรากฏว่าที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์ฟ้องขับไล่นายดวก เมื่อนายหนูต่อสู้ว่าอาศัยสิทธินายดวก จึงเป็นบริวารนายดวก ผลแห่งคำพิพากษาซึ่งบังคับแก่นายดวก ย่อมบังคับถึงนายหนูจำเลยด้วย นายหนูจะรื้อฟื้นข้อเท็จจริงซึ่งยุติแล้วให้วินิจฉัยเป็นอย่างอื่นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์คดีความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด ทำให้สิทธิฟ้องระงับ และคำพิพากษาศาลล่างสิ้นผล
คดีความผิดต่อส่วนตัว ก่อนคดีถึงที่สุด ผู้เสียหายย่อมถอนคำร้องทุกข์ได้ และสิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) คำพิพากษาศาลล่างก็ย่อมระงับไปในตัวไม่มีผลบังคับต่อไป ไม่จำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลล่างที่ลงโทษจำเลยไว้(อ้างนัยคำสั่งศาลฎีกาที่ 438/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ถอนฟ้องคดีอาญา: สิทธิก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด และผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลล่าง
คดีความผิดส่วนตัว ก่อนคดีถึงที่สุด ผู้เสียหายย่อมถอนคำร้องทุกข์ได้ และสิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) คำพิพากษาศาลล่างก็ย่อมระงับไปในตัวไม่มีผลบังคับต่อไป ไม่จำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลล่างที่ลงโทษจำเลยไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานรับของโจร: การเรียกค่าไถ่กระบือที่ถูกลักไป แม้รายละเอียดวันเวลาในฟ้องไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้
ในคดีลักทรัพย์หรือรับของโจรที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ข้อ 1 วันที่ 17 เมษายน 2507 มีคนร้ายลักกระบือไป ข้อ 2 วันที่ 19 เมษายน 2507 จำเลยได้รับเงินเป็นค่าไถ่กระบือแล้วนำกระบือมาคืน ทั้งนี้ตามวันเวลาดังกล่าวในข้อ 1 จำเลยเป็นคนร้ายลักเอากระบือไปโดยทุจริต หรือมิฉะนั้นตามวันเวลาดังกล่าวใน ข้อ 1 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2507 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดจำเลยรับเอากระบือรายนี้ไว้โดยรู้ว่าเป็นของร้ายได้มาโดยการกระทำผิดต่อกฎหมายอันเข้าลักษณะลักทรัพย์ จำเลยให้การปฏิเสธและนำสืบต่อสู้ว่าไถ่มาจากบุคคลอื่น เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยได้นำกระบือของผู้เสียหายไปซ่อนแล้วเรียกค่าไถ่จริง เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 357 (ฐานรับของโจร) เช่นนี้ การที่โจทก์กล่าวในฟ้องข้อ 2 ว่าจำเลยรับเงินค่าไถ่และคืนกระบือให้แก่ผู้เสียหายในวันที่ 19 เมษายน 2507 แต่ทางพิจารณาได้ความเป็นวันที่ 18 เมษายน 2507 นั้น ถือว่าเป็นการบรรยายรายละเอียดมิใช่ข้อสารสำคัญ และทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ คดีลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: การเรียกค่าไถ่กระบือที่ถูกลักย้อมทรัพย์ ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 357
ในคดีลักทรัพย์หรือรับของโจรที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าข้อ 1. วันที่ 17 เมษายน 2507 มีคนร้ายลักกระบือไป ข้อ 2. วันที่ 19 เมษายน 2507 จำเลยได้รับเงินเป็นค่าไถ่กระบือแล้วนำกระบือมาคืน ทั้งนี้ตามวันเวลาดังกล่าวในข้อ 1. จำเลยเป็นคนร้ายลักเอากระบือไปโดยทุจริต หรือมิฉะนั้นตามวันเวลาดังกล่าวในข้อ 1.ถึงวันที่ 19 เมษายน 2507 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยรับเอากระบือรายนี้ไว้โดยรู้ว่าเป็นของร้ายได้มาโดยการกระทำผิดต่อกฎหมายอันเข้าลักษณะลักทรัพย์จำเลยให้การปฏิเสธและนำสืบต่อสู้ว่าไถ่มาจากบุคคลอื่นเมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยได้นำกระบือของผู้เสียหายไปซ่อนแล้วเรียกค่าไถ่จริงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 (ฐานรับของโจร) เช่นนี้ การที่โจทก์กล่าวในฟ้องข้อ 2.ว่าจำเลยรับเงินค่าไถ่และคืนกระบือให้แก่ผู้เสียหายในวันที่ 19 เมษายน 2507 แต่ทางพิจารณาได้ความเป็นวันที่ 18 เมษายน 2507 นั้น ถือว่าเป็นการบรรยายรายละเอียดมิใช่ข้อสารสำคัญ และทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้คดีลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่มีกำหนดเวลา การบอกเลิกสัญญา และสิทธิในการฟ้องขับไล่
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากเรือนที่เช่าโดยโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยต่อสู้ใจความว่า จำเลยเช่าอยู่อาศัย โจทก์ให้คำมั่นว่าจะให้จำเลยเช่า 6 ปี และโจทก์ยังมิได้บอกเลิกสัญญาเช่า ขอให้ยกฟ้องโจทก์ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาเช่าต่อกันโดยไม่มีกำหนดเวลาเช่า โจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาพิพากษายกฟ้องโจทก์ ดังนี้ จึงเป็นการสมประโยชน์ของจำเลยที่ขอให้ยกฟ้องโจทก์แล้ว ศาลไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่มีกำหนดเวลา สิทธิการบอกเลิกสัญญา และการคุ้มครองผู้เช่าที่อยู่อาศัย
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากเรือนที่เช่าโดยโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยต่อสู้ใจความว่า จำเลยเช่าอยู่อาศัย โจทก์ให้คำมั่นว่าจะให้จำเลยเช่า 6 ปี และโจทก์ยังมิได้บอกเลิกสัญญาเช่า ขอให้ยกฟ้องโจทก์ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาเช่าต่อกันโดยไม่มีกำหนดเวลาเช่า โจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา พิพากษายกฟ้องโจทก์ ดังนี้ จึงเป็นการสมประโยชน์ของจำเลยที่ขอให้ยกฟ้องโจทก์แล้ว ศาลไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นอื่น ๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1294/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาในคดีอาญาที่ยังไม่ได้ประทับฟ้อง: จำเลยยังไม่มีฐานะคู่ความ จึงไม่มีสิทธิฎีกา
ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยแจ้งความเท็จเป็นเหตุให้โจทก์ถูกจับและควบคุมตัว และเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า ฟ้องไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 จำเลยไม่ต้องรับผิด พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เฉพาะข้อหาคดีอาญาว่าคดีมีมูลศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้พิจารณาว่าคดีมีมูลหรือไม่แล้วสั่งใหม่ตามรูปคดี เช่นนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 165 จำเลยยังมิเข้ามาสู่ฐานะคู่ความ ย่อมไม่มีสิทธิฎีกา (อ้างนัยฎีกาที่ 1229/2502)